วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญเป็นศูนย์การค้าเอเชียทีคในกรุงเทพฯ

  วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ จากวัดกลายเป็นวัดร้างและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เอเชียทีคในกรุงเทพฯ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวยังเอเชียทีค ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในย่านถนนเจริญกรุง มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากันมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยบรรยากาศติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และมีความทันสมัย จึงมีความคึกคักของนักท่องเที่ยวอย่างมาก เมื่อผมได้เดินทางไปถึงก็ได้ไปสะดุดตากับอาคารไม้เก่าหลังหนึ่งในเขตศูนย์การค้า จากป้ายเขียนไว้ว่าสร้างในปี ค.ศ. 1912 หรือ พ.ศ.2455 ซึ่งมีอายุเกิน 100 ปี มีความโดดเด่นในย่านธุรกิจ ผมจึงได้ลองค้นหาข้อมูล จึงได้พบว่าอาคารหลังนี้เป็นทรัพย์สินของ บริษัทอีสท์ เอเชียติก จำกัด แห่งประเทศเดนมาร์ก ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเลื่อย แต่ความน่าสนใจไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะก่อนที่จะมาเป็นโรงเลื่อย พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นวัดมาก่อน จนกระทั่งแปรเปลี่ยนเป็นโรงเลื่อย และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ก็คือเอเชียทีค วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ คำว่าวัดพระยาไกร ทำให้ผมนึกไปถึงพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เพราะแต่เดิมพระทองคำองค์ดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปที่มีปูนปั้นทับไว้ ทำให้ไม่มีผู้ใดทราบว่าคือพระพุทธรูปทองคำ จนกระทั่งได้ทำการอัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม จนเกิดการกระเทาะของปูนเผยให้เห็นความล้ำค้าด้านในองค์พระ สามารถเอ่านเพิ่มเติมจากบทความนี้ >> https://www.faiththaistory.com/precious-buddha เมื่อผมได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น จึงเกิดความสนใจในเรื่องราวนี้ขึ้นมา จึงได้ลองค้นหาข้อมูลจากหนังสือ “วัดร้างในบางกอก”  โดย ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ได้เขียนรายละเอียดไว้ได้อย่างน่าสนใจ  ในหนังสือได้เขียนว่า ที่ตั้งของวัดพระยาไกรจากแผนที่ ฉบับเก่าๆ ระบุว่าตั้งลงไปทางทิศใต้ของวัดราชสิงขรเล็กน้อย และวัดลาดบัวขาวขึ้นมาทางเหนือตามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือปัจจุบันคือถนนเจริญกรุงตอนล่าง ยังมีสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรและป้ายชุมชนที่มีชื่อวัดเป็นหลักฐาน จากสารานุกรมเสรี ได้เขียนว่า วัดพระยาไกร เป็นชื่อเดิมของวัดโชตนาราม และมีหลักฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2344 จนกระทั่งมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (บุญมา)… Read More »

อันซีนหุ่นปั้น ถนนพระรถ เส้นทางโบราณ ฉะเชิงเทรา

คลิปจากช่องยูทูป FaithThaiStory อันซีนหุ่นปั้นบนถนนพระรถ เส้นทางโบราณ ฉะเชิงเทรา ที่หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังถนนเส้นหนึ่ง ที่เป็นเส้นทางโบราณและเรียกกันว่า “ถนนพระรถ” ในอ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งชื่อนี้ไปเกี่ยวของกับตำนานเรื่องพระรถ-เมรี หรือ นางสิบสอง ที่มีการกล่าวถึงตำนานนี้ทั้งในเขตอำเภอพนัสนิคม ชลบุรี รวมถึงฉะเชิงเทราที่ไปเชื่อมโยงถึงในเขต ต.ดงน้อย อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา ที่มีตำนานถ้ำนางสิบสองและลานพระรถชนไก่  การเดินทางครั้งนี้ถือว่าเป็นถนนที่มีความอันซีนเส้นหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จากการนำทางโดย คุณอัฐพงษ์ บุญสร้าง นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทำให้ได้ทราบถึงความแปลกของถนนเส้นนี้ เพราะเป็นถนนที่ได้รับการปรับปรุงลาดยางตลอดจากเส้นหลักสาย กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา (304) แต่แทบไม่มีการสัญจรผ่านเพราะไม่ใช่เส้นทางหลักในปัจจุบัน และสิ่งที่แปลกตาคือ มีหุ่นปั้นสร้างขึ้นและตั้งไว้ริมถนนเส้นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก  จากการสอบถามคุณอัฐพงษ์ ได้ความว่า ถนนเส้นนี้แต่เดิมขาดความสนใจในเรื่องราวและน้อยคนจะทราบว่าคือถนนพระรถในเส้นทางโบราณ จนกระทั่งพระอาจารย์ซ่วน แห่งวัดท่าลาดใต้ ได้เข้ามาบุกเบิกถนนเส้นนี้อีกครั้ง โดยการปั้นหุ่นปั้นมากมายมาตั้งไว้ข้างถนนเป็นจำนวนมาก มีทั้งรูปปั้นยักษ์, พระเรถ, นางยักษ์, พระสังกัจจายน์ และอีกมากมาย ลักษณะการปั้นหุ่นปั้นหลากหลายนี้ มีปรากฏในวัดท่าลาดใต้และที่ อุทยานหุ่นปั้นพระอาจารย์ซ่วน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ที่ผมเคยพาทุกท่านไปท่องเที่ยวมาแล้ว ถนนพระรถ มีบันทึกอยู่ในเอกสารการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากรเกี่ยวกับเส้นทางโบราณ อยู่ใกล้กับวัดท่าลาดใต้ ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านเส้นทางเดิมจะเริ่มจากวัดเมืองกาย และมีสะพานข้ามคลองท่าลาดและเป็นเส้นทางยาวไปจนถึงบึงกระจับ แต่ปัจจุบันสะพานดังกล่าวชำรุดหายไปและมีถนนเส้นหลักสาย 304 (กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา) ทำให้เส้นทางเดิมถูกตัดขาด สำหรับท่านที่สนใจสามารถเดินทางไปเที่ยวชมได้ตามแผนที่ด้านล่าง ซึ่งจะมีถนนเข้าไปตรงข้ามกับปั้ม ปตท.(หจก.รุ่งพิทักษ์ ปิโตรเลียม) ที่อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งผมได้ตีกรอบเส้นสีแดงไว้ให้แล้วครับ จากบันทึกการสำรวจทางโบราณคดีใกล้กับวัดท่าลาดใต้กลาวว่าว่า บริเวณนอกวัดท่าลาดใต้พบว่ามีแนวคันดิน… Read More »

พระธาตุดอยตุง ปฐมธาตุศักดิ์สิทธิ์แห่งเทือกเขานางนอน

https://youtu.be/igNoOH5BF_k พระธาตุดอยตุง ปฐมธาตุศักดิ์สิทธิ์แห่งเทือกเขาดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สวัสดีครับบทความต่อไปนี้จะเป็นการเดินทางสักการะพระธาตุดอยตุง ณ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า หรือวัดพระธาตุดอยตุง  ซึ่งเป็นการเดินทางบูชาพระธาตุที่ไกลที่สุดของผม ด้วยระยะทางจากพระนครศรีอยุธยาจนถึงองค์พระธาตุดอยตุงกว่า 790 กิโลเมตร ถือเป็นทริปเสริมสิริมงคลและได้มีโอกาสค้นหาข้อมูลทางด้านตำนาน วัฒนธรรมและด้านจิตวิญญาณความเชื่ออีกด้วย บันทึกการเดินทาง 3 กรกฎาคม 2563 การเดินทางครั้งนี้ มีเหตุผลมาจากผมได้รับทราบเรื่องราวจาก เพจฅนขลัง คลังวิชา ที่ได้กล่าวถึงตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุแห่งนี้ ตามคำบอกกล่าวจากหลวงปู่เดินหน ซึ่งเป็นเรื่องเร้นลับด้านจิตวิญญาณที่น้อยคนจะรู้และเข้าใจ ผมจึงเกิดความสนใจที่จะเดินทางไปให้ได้สักครั้งในชีวิต  ด้วยระยะทางที่ไกล จึงได้มีการจัดรถบัสรวมกลุ่มเดินทางจากผู้ติดตามเพจฅนขลัง คลังวิชา เพื่อไปสักการะพระธาตุพร้อมกัน และผมก็ไม่พลาดโอกาสครั้งนี้ จึงได้นัดหมายเดินทาง โดยผมได้รอรถบัสที่อยุธยาปาร์ค เวลาราว 3 ทุ่ม ของวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 จึงได้ขึ้นรถตามนัดหมาย การเดินทางค่อนข้างไกล ซึ่งคงจะใช้เวลามากกว่า 12 ชั่วโมง แต่ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้ไปสักการะ เวลาราว 07.00 น. รถบัสได้มาถึง ปั้ม ปตท. อ.งาม จ.ลำปาง จึงได้จอดรถเพื่อพักทำภารกิจส่วนตัว และออกเดินทางต่อไป เพื่อขึ้นรถสองแถวขึ้นดอยตุงต่อไป จนกระทั่งเวลาประมาณ 10.00 น. รถบัสได้มาถึงจุดขึ้นรถสองแถว ซึ่งจะต้องขึ้นไปต่ออีกประมาณ 20 กิโลเมตร การเดินทางขึ้นดอยสมัยนี้มีความสะดวกมากขึ้น เพราะมีการตัดถนนใหม่ ท่านที่จะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถขึ้นได้นะครับ ใช้เวลาไม่นานนัก… Read More »

ทำไมมีต้นพุทรามากมาย ในเขตวังหลวงโบราณ อยุธยา ?

https://youtu.be/1YjljPrBEsY ทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตพระราชวังหลวง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหลายคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นความเข้าใจผิดของหลายคนด้วยเช่นกัน ผมได้ลองค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ คือสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กล่าวว่า ต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา เริ่มปลูกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาโบราณราชธานินทร์ใช้เป็นกุศโลบายให้ประชาชนนำไปรับประทานได้ และช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลโบราณสถาน ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจอายุต้นพุทราเมื่อปี พ.ศ.2562 ว่าต้นพุทราที่เก่าแก่ที่สุด อยู่ในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา มีอายุราว 140 ปี ซึ่งจะตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง และต้นพุทราในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2562 อีกด้วย และอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ ที่บอกกล่าวเล่าเรื่องไว้โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ได้เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษในโครงการอบรมมัคคุเทศก์ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มานานหลายสิบปี โดยให้คำบรรยายและอบรมในระหว่างการท่องเที่ยวนำชมในเขตโบราณสถาน มักจะเกิดคำถามบ่อยครั้งเมื่อเดินเข้าในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ พระนครศรีอยุธยา ว่าทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตนี้?  และคำตอบจากมัคคุเทศก์ที่ได้ยินคือ กล่าวว่า ทัพพม่าได้ขนเสบียงเป็นพุทรามาเมื่อครั้งสงครามตีกรุงศรีอยุธยาจนแตก จึงได้ทิ้งเมล็ดพุทราไว้จำนวนมาก จนเกิดต้นพุทรามากมายในปัจจุบัน ซึ่งคำตอบดังกล่าวเป็นที่เฮฮา สนุกสนานของผู้เดินทางท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ตรงตามประวัติศาสตร์การบันทึก ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เล่าต่อว่า ได้บังเอิญไปค้นหาข้อมูลในวารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และได้ไปพบกับคอลัมน์และภาพถ่าย ที่เขียนและถ่ายภาพโดยคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนแห่งสยามรัฐ(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538) ซึ่งน่าจะเป็นฉบับในราวปี พ.ศ. 2505 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา ในวารสาร คุณรงค์ได้เขียนว่า ต้นพุทราในพระราชวังหลวงถูกปลูกขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2500 นานหลายปี… Read More »

วัดเลขธรรมกิตติ์ โบสถ์เก่ารากโพธิ์ปกคลุม ประตูกาลเวลาแห่งนครนายก

https://youtu.be/5Woijeaahk8 วัดเลขธรรมกิตติ์ โบราณสถานประตูแห่งกาลเวลา นครนายก ถ้าจะกล่าวถึงวัดที่ได้สมญานามว่า “ประตูแห่งกาลเวลา” ส่วนใหญ่จะคิดไปถึง วัดพระงามแห่งพระนครศรีอยุธยา ด้วยความงดงามเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวอยุธยา จะต้องแวะวัดพระงามจนมีความคึกคักจนถึงปัจจุบัน แต่รู้หรือไม่ว่า ที่นครนายก ก็มีวัดที่ได้รับสมญานามว่า “ประตูแห่งกาลเวลา” อีกแห่งหนึ่ง ที่มีความงดงามไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “วัดเลขธรรมกิตติ์” ซึ่งเป็นส่วนของโบราณสถานอาคารอุโบสถหลังเดิม ที่ธรรมชาติได้รังสรรค์ความงดงามให้ได้ไปยล วัดเลขธรรมกิตติ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 14 ตําบลบางอ้อ อําเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก มีความงดงามของโบราณสถานคืออุโบสถหลังเก่าที่แอบซ่อนอยู่ด้านหลังวัด ดังนั้นเมื่อเข้ามาในเขตวัดแล้ว จะต้องเดินเข้าไปด้านหลัง ซึ่งทางวัดได้ติดป้ายบอกทางไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายในอุโบสถเก่านี้ มีสภาพพังทลายไปเกือบทั้งหมด เหลือเพียงผนังอาคารบางส่วนที่ถูกรากต้นโพธิ์ร้อยรัดให้คงทนไม่ทลายไป จนเกิดการรังสรรค์ให้เป็นความสวยงามขึ้นโดยธรรมชาติ และถือว่าเป็นอันซีนอีกจุดหนึ่งของจังหวัดนครนายก จากประวัติบันทึกที่วัด ได้เขียนไว้ว่าวัดเลขธรรมกิตติ์สังกัดฝ่ายสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2413 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ 25 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา มีชื่อเดิมว่า “วัดอ้อนอก” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครนายก ต่อมาปี พ.ศ.2462 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อว่า “วัดเลขธรรมกิตติ์” ซึ่งแปลว่า “วัดมีเกียรติด้วยธรรมอันจารึกไว้แล้ว” ตรงนี้เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2440 โดยเจ้าอาวาสในสมัยนั้น และมีคุณปู่เผือกและคุณย่าลำภูเป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อสร้างอุโบสถหลังนี้ ส่วนอุโบสถหลังใหม่สร้างทดแทนหลังเดิมสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2508 ประตูแห่งกาลเวลา วัดเลขธรรมกิตติ์ นครนายก อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของนักท่องเที่ยวเท่าที่อยุธยา เพราะอยุธยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม… Read More »

ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก(วัดร้าง) ทุ่งอุทัย อยุธยา

https://youtu.be/V36jR40Hsfw ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก และคำบอกเล่าการขุดกรุสมบัติเมื่อครั้งอดีต โบราณสถานวัดร้างนามว่า “วัดเจดีย์หัก” แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้ซุง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่ถูกทิ้งร้างลงจากภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 กลุ่มนักเดินทาง ได้ทราบข้อมูลว่า มีพื้นที่วัดร้างในเขตอำเภออุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง จึงได้ค้นหาและสอบถามข้อมูลต่างๆจากชาวบ้านในพื้นที่ จึงได้รู้จักชื่อ “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งเป็นคำเรียกติดปากของชาวบ้าน เพราะในอดีตราว 40 – 50 ปีก่อน ยังปรากฏเยอดเจดีย์สูงตระหง่าน แต่ได้พังทลายลงไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา เราได้เดินทางมายัง ต.หนองไม้ซุง เพื่อมาตามหาวัดแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดหนองไม้ซุงเท่าไรนัก และปรากฏเห็นโคกโบราณสถานใกล้กับหมู่บ้าน ในบรรยากาศท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีสวยงามอย่างยิ่ง  บริเวณโคกโบราณสถานแห่งนี้ มีการสร้างศาลเล็กๆไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อขุนศึก” และ “เจ้าแม่จันทร์หอม”  การเดินทางวันนี้ อากาศเป็นใจอย่างยิ่ง เพราะแสงแดดอ่อนประกอบกับมีลมเย็นพัดตลอดเวลา พร้อมบรรยากาศทุ่งนาเขียวขจีสบายตาอย่างยิ่ง เราได้เดินขึ้นไปบนโคกโบราณสถานนี้ ปรากฏเห็นขนาดก้อนอิฐที่มีขนาดใหญ่ วัดได้ความยาวประมาณเกือบ 2 คืบ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก และอาจจะเป็นไปได้ว่า โบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เช่นนี้อาจจะมีอายุถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เราไม่พบเศษซากโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากซากอิฐ จึงไม่อาจจะสันนิษฐานอายุได้มากไปกว่านี้ ลักษณะโคกโบราณสถาน เป็นซากกองอิฐของเจดีย์ที่พูนสูงขึ้น และพบว่ามีร่องรอยการขุดกรุเจดีย์แห่งนี้เป็นหลุมลงไป ถ้าสังเกตด้วยสายตาพบว่ามีความลึกมากพอสมควร เราได้พยายามเดินสำรวจโดยรอบโบราณถานแห่งนี้ เพื่อจะหาเศษซากชิ้นส่วนโบราณวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะบ่งบอกอายุของวัดแห่งนี้ได้ชัดเจนขึ้น เช่น… Read More »