เคยเห็นมั้ย พระพุทธรูปโลหะโบราณล้ำค่า ที่ถูกพอกปูนหุ้มไว้

https://youtu.be/PPE-FQhJJWw หลายท่านอาจจะเคยได้รับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการโบกปูนพอกทับหุ้มพระพุทธรูปโบราณล้ำค่า เช่น พระพุทธรูปทองคำ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม อาจจะเป็นการพลางสายตาจากโจรผู้ร้าย ไม่ให้เกิดการโจรกรรม รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการปิดบังความล้ำค้าไม่ให้ศรัตรูข้าศึกได้รับรู้ในช่วงที่เกิดภัยสงครามรุกราน และไม่นานมานี้เฟซบุ๊กของอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ได้โพสต์ภาพพระพุทธรูปโลหะที่ถูกปูนพอกทับได้แตกชำรุดตามสภาพกาลเวลาที่ผ่านมายาวนาน เผยให้เห็นพระพุทธรูปโลหะด้านในอย่างชัดเจน โดยเฉพาะส่วนของพระเศียร ซึ่งน้อยคนที่อาจจะเคยเห็นภาพชัดเจนเช่นนี้ ภาพจากเฟซบุ๊ก Paothong Thongchua โดยอาจารย์เผ่าทองเขียนโพสต์บรรยายไว้ว่า “ตื่นเต้นจัง ที่ได้เห็นวิธีการพอกปูนหุ้มพระพุทธรูปสำริดของคนโบราณ เชื่อว่าถ้าเอาเครื่องX-RAYไปไปไล่เอ็กส์พระพุทธรูปปูนปั้นตามพระระเบียงวัดต่างๆ คงได้เจอพระพุทธรูปสำริด หรือทองคำอีกหลายองค์”  จากลักษณะการพอกปูนทับพระพุทธรูปโบราณล้ำค่านี้ ทำให้ผมคิดไปถึงพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยน้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน และมีเรื่องราวการถูกปูนพอกทับไว้บริเวณพระพักตร์ ทำให้ไม่มีใครทราบเลยว่าด้านในของปูนพอกนี้คือทองคำทั้งองค์ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ เดิมจากองค์พระปูนปั้นหุ้มภายนอกที่แทบไม่มีใครสนใจ ได้เคลื่อนย้ายจากวัดพระยาไกรมาที่วัดไตรมิตรฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2498 เกิดการกระเทาะออกจากการเคลื่อนย้ายองค์พระประดิษฐานบนวิหารด้วยเพราะความหนักของปูนหุ้มพระและเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ระหว่างยกองค์พระขึ้นเชือกได้ขาดสะบั้น เกิดรอยแตกเห็นเนื้อทองคำสุกสว่าง จึงได้รู้ว่านี่คือพระพุทธรูปทองคำประเมินค่าไม่ได้ ที่สร้างมาแต่โบราณกาล จากรายละเอียดภาพเก่าได้เขียนไว้ว่า ผู้ที่ทำการกระเทาะปูนปั้นหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร คือนายสม พ่วงภักดี เจ้าของผู้จัดการสำนักงาน ส.ธรรมภักดี ซึ่งเป็นการเผยความจริงแห่งความล้ำค่าให้เปิดเผยสู่สาธารณะจนถึงปัจจุบันนี้ พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ถูกบันทึกว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดหน้าตั้งกว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร องค์พระสามารถถอดได้ 9 องค์ จากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40% พระพักตร์มีเนื้อทอง… Read More »

วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศร่มรื่นริมคลอง

https://youtu.be/b1t-nLsHqf0 วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศดีๆ ร่มรื่นริมคลองบางม่วงและคลองบางกอกน้อย เป็นวัดที่ผมประทับใจในความสวยงามของบรรยากาศอีกวัดหนึ่ง ที่ยังได้แลเห็นสภาพชีวิตวิถีริมแม่น้ำของชาวบ้านในพื้นที่ แม้จะอยู่ใกล้ความเจริญในยุคปัจจุบัน มองผิวเผินภายในวัด ก็เหมือนวัดในท้องถิ่นโดยทั่วไป แต่แท้จริงมีเรื่องราวตำนานการสร้างวัดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏโบราณสถานที่น่าสนใจอีกมากมายภายในวัด รวมถึงบรรยากาศความสงบร่มรื่นที่สุดประทับใจ จึงขอถือโอกาสนี้พาทุกท่านท่องเที่ยวไปด้วยกันเลยครับ ประวัติวัดอัมพวันและโบราณสถานที่น่าสนใจ วัดอัมพวันตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยและคลองบางม่วง เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี จากเอกสารประวัติวัดกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมืองถึงปากคลองบางกรวยวัดเขมาภิรตาราม และได้มีการอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนบริเวณ ต.บางม่วง และมีผู้ใจบุญมีจิตศรัทธาได้ร่วมสร้างวัดบางม่วง ต่อมาคือวัดอัมพวัน ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญได้แก่ หอไตรกลางน้ำ, มณฑปรอยพระพุทธบาท, ศาลาท่าน้ำและเจดีย์ทรงปรางค์ หอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่ภายในสระที่เชื่อมกับคลองบางกอกน้อย เป็นอาคารเรือนไทยยกใต้ถุนสูง ทำจากไม้สัก หลังคา 2 ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกา มุงกระเบื้องดินเผา ส่วนชั้นบนเป็นอาคาร 2 ห้อง มีระเบียงอยู่ในบริเวณส่วนหน้า ห้องตรงกลางไว้เก็บรักษาพระไตรปิฎก เหนือประตูทางเข้าห้องมีจิตรกรรมสีฝุ่น ผนังโดยรอบทาสีแดง มีลายรดน้ำที่ด้านล่างของหน้าต่างแต่ละบาน ส่วนท้ายเป็นห้องกั้นฝาไม้ คาดว่าน่าจะต่อเติมในภายหลัง หอไตรกลางน้ำได้ผ่านการบูรณะมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2466 และ พ.ศ.2547 มณฑปรอยพระพุทธบาท มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น บันไดอยู่ทางทิศใต้ ฝาผนังด้านล่างเจาะเป็นช่องสามเหลี่ยมด้านละ 3 ช่อง… Read More »

วัดป่าวังน้ำเย็น อุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในไทย

https://youtu.be/nTzWgiO7xOA วัดป่าวังน้ำเย็น อาคารไม้สัก อุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในไทย สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทุกท่าน ผมได้มีโอกาสไปจังหวัดมหาสารคาม จึงได้รับการแนะนำให้เดินทางไปท่องเที่ยวยังวัดป่าวังน้ำเย็น ที่กล่าวกันว่ามีความสวยงามและจะเป็นจุดเช็คอินท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดมหาสารคาม ด้วยความงดงามของมหาธาตุเจดีย์ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่สร้างจากไม้สักและไม้ตะเคียนทอง ที่มีผู้ศรัทธามากมายร่วมกันบริจาค วันนี้ผมจึงจะพาทุกท่านเดินทางไปชมความงามของสถานที่แห่งนี้ เมื่อเข้ามาถึงบริเวณวัด ยังแลเห็นการก่อสร้างที่กำลังดำเนินการอีกหลายๆจุด โดยเฉพาะอุโบสถไม้ตะเคียนทองที่เป็นรูปร่างของทรงอาคาร ที่ใกล้แล้วเสร็จในอีกไม่นาน และด้วยการที่เป็นวัดสวย น่าท่องเที่ยวจึงมีร้านกาแฟที่มาตั้งให้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้วยครับ เมื่อเข้ามาถึงพื้นที่ ต้องบอกเลยว่าสิ่งปลูกสร้างในวัดทุกอย่างมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก แลเห็นมหาธาตุเจดีย์มาแต่ไกล เมื่อจะเข้าเขตวัด จะเห็นศาลาปฏิบัติธรรมที่สร้างจากไม้สักอย่างโดดเด่น และก่อนเข้าตัววัด จะเห็นอุโบสถไม้ตะเคียนทองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นไปตามความศรัทธาที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคปัจจัยในการสร้างวัดแห่งนี้ วัดพุทธวนารามหรือวัดป่าวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ที่ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม มีพื้นที่กว่า 30 ไร่ และยกฐานะเป็นวัดอย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 สักัดสงฆ์มหานิกาย โดยมีความเป็นมาสืบเนื่องมาจากก่อนปี พ.ศ.2549 ขณะที่พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบูรพาเทพนิมิต อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม ทำให้ชาวจังหวัดมหาสารคามมีความเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันบริจาคที่ดินเพื่อให้พระอาจารย์สุริยันต์ได้สร้างวัด พระอาจารย์สุริยันต์ จึงฉลองศรัทธานั้นด้วยการสร้างวัดตามความปรารถนาของผู้มีจิตศรัทธา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันได้แก่ พระมหาธาตุเจดีย์ศรีมหาสารคาม, ศาลาปฏิบัติธรรมไม้สัก, อุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในประเทศไทย, ศาลาไม้ตะเคียนทอง, ฆ้องยักษ์ เป็นต้น การเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้ ได้เห็นถึงความศรัทธาต่อการสร้างวัดแห่งนี้เป็นอย่างมาก ที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลกว่าจะสร้างได้มากมายขนาดนี้ และถือเป็นวัดท่องเที่ยวเช็คอินแห่งใหม่ของจังหวัดมหาสารคามอย่างเต็มภาคภูมิต่อไป ขอขอบพระคุณการติดตามแล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ… Read More »

คูไม้ร้อง ที่เก็บเรือหลวงพระที่นั่งสมัยอยุธยา วัดเชิงท่า อยุธยา

https://youtu.be/SGl6Fo79ZIE ในช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม พ.ศ.2563 กรมศิลปากรได้งบประมาณในโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และศาสนา จึงได้ทำการขุดสำรวจพื้นที่คลองโบราณติดกับวัดเชิงท่า รวมถึงบริเวณตลิ่งริมแม่น้ำลพบุรี ซึ่งจากแผนที่โบราณและบันทึกเอกสาร ได้ระบุว่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวคือ “คูไม้ร้อง” เคยใช้เป็นสถานที่จอดและเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์พระองค์สุดท้าย จึงถือได้ว่าบริเวณพื้นที่การขุดสำรวจนี้ เป็นอีกจุดหนึ่งในบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ การเดินทางเข้าชมครั้งนี้ ได้เดินทางมาพร้อมกับคุณจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกำลังมีการขุดสำรวจบริเวณข้างอุโบสถ และได้รับทราบข้อมูลว่าข้างอุโบสถมีลักษณะเป็นท่าน้ำ จึงสอดคล้องตามข้อมูลว่าเคยเป็นคลองโบราณมาก่อน แต่ปัจจุบันถูกทับถมไม่มีลักษณะเป็นลำคลองแล้ว นอกจากนี้ยังขุดพบโบราณวัตถุเป็นหม้ดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีสภาพที่สมบูรณ์มาก คูไม้ร้อง โรงเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยา ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า กล่าวถึงโรงเรือพระที่นั่งอยู่ใต้วัดเชิงท่า(ตามแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์) ซึ่งเป็นตำแหน่งตรงกับมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงสันนิษฐานได้ว่าโรงเรือหลวงแห่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างน้อย ในพื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านเล่ากันสืบต่อกันในภายหลังว่า ได้ยินเสียงร้องแปลกประหลาด ต่างบอกว่าเป็นเสียงนางไม้ ของโรงเรือพระที่นั่งสมัยโบราณ จึงขนานนามว่า “คูไม้ร้อง” และเคยมีผู้คนมาขุดหลุมสร้างบ้านเรือนในภายหลัง ก็พบกับอาถรรพ์จนไม่สามารถปลูกบ้านเรือนได้ บันทึกในประชุมพงศาวดารเพิ่มเติมว่า เมื่อครั้งสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พระเจ้าเอกทัศ ทรงโปรดให้ถอยเรือพระที่นั่งทั้งหลายลงไปไว้ท้ายคู ทัพพม่าได้เข้าตีท้ายคูแตก เผาเรือพระที่นั่งไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการค้นพบโขนเรือครุฑที่จมใต้น้ำใกล้เคียงจุดจอดเรือหลวง เคยตั้งศาลบูชากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งถึง ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) ตรงกับรัชกาลที่ ๕ ศาลได้พังลง ปัจจุบันได้นำเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา ในปี… Read More »

วิญญาณเร้นลับกับทางจงกรม วัดป่าอาจารย์มั่น เชียงใหม่

https://youtu.be/kDbRjW4RMjQ วัดป่าอาจารย์มั่น ตั้งอยู่ที่บ้านแม่กอย ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เป็นสถานที่ตั้งกุฏิและทางเดินจงกรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อครั้งที่ท่านได้จาริกธุดงค์มาปฏิบัติภาวนาเป็นเวลา 1 พรรษา เมื่อราวปี พ.ศ.2482 (ข้อมูลจากนิยสารสารคดี ๓ อริยสงฆ์ ฉบับพิเศษ) และวัดแห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของพระกรรมฐานลูกศิษย์หลวงปู่มั่นหลายรูป เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่เจี๊ยะ  จุนโท เป็นต้น และภายหลังหลวงปู่สิมได้มาสร้างศาลาบำเพ็ญบุญไว้ 1 หลัง ทางเดินจงกรมที่เห็นในภาพคือ ทางเดินจงกรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดป่าอาจารย์มั่น ลักษณะทางเดินจงกรมจะมีก้อนอิฐเก่ามากมายเรียงตลอดทาง อิฐเก่าเหล่านี้มีเรื่องราวบันทึกไว้ เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นจาริกธุดงค์มาปฏิบัติภาวนา เมื่อปี พ.ศ.2482 เรื่องราวนี้เกิดขึ้นที่สำนักสงฆ์บ้านแม่กอย ปัจจุบันก็คือวัดป่าอาจารย์มั่น ที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ในราวปี พ.ศ.2482 ขณะที่หลวงปู่มั่น บำเพ็ญภาวนาในเวลาดึกสงัด ได้ปรากฏร่างสามเณรและหญิงคนหนึ่ง เดินไปเดินมาในบริเวณที่ท่านปฏิบัติภาวนา หลวงปู่มั่นจึงได้กำหนดจิต สอบถามวิญญาณนั้น จึงได้รู้ว่าเป็นวิญญาณพี่น้องกัน ที่ไม่ไปผุดไปเกิด เนื่องจากความห่วงอาลัยที่สร้างเจดีย์ไม่แล้วเสร็จเพราะได้เสียชีวิตไปเสียก่อน ทำให้ดวงวิญญาณไม่ไปจุติและยังวนเวียนในที่แห่งนี้   หลวงปู่มั่นจึงให้โอวาทธรรมแก่ดวงวิญญาณทั้งสองว่า “การสร้างเจดีย์ สร้างเพื่อผลบุญกุศล ไม่ได้สร้างเพื่อเอาจิตผูกติดที่ก้อนอิฐไปด้วย  สิ่งที่เป็นสมบัติของเรานั่นคือบุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ละเอียดและสำเร็จไปแล้วจึงไม่ควรมาห่วงใยก้อนอิฐที่มีความหยาบและสุดวิสัยของพวกเธอ ถ้าเธอทั้งสอง ยินดีเฉพาะกุศลผลบุญจากการสร้างเจดีย์ ไม่เอาจิตมาแบกรับกับก้อนอิฐเหล่านี้ พวกเธอจะไปสุคติภูมิกันนานแล้ว” จากบันทึกเพิ่มเติมของอาจารย์ปฐม… Read More »

สระแก้ว สระน้ำโบราณพันปี เมืองโบราณศรีมโหสถ ปราจีนบุรี

https://youtu.be/qJYpAQ7oiRo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวตามรอยอดีตเมืองโบราณศรีมโหสถ อายุกว่าพันปี ที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีจุดสำคัญในการเดินทางไปเที่ยวชมครั้งนี้คือ โบราณสถานสระแก้ว ซึ่งเป็นสระน้ำโบราณที่มีความพิเศษกว่าจุดอื่นๆ ในเมืองโบราณศรีมโหสถ สมัยทวารวดี ด้วยรูปแบบที่มีการสลักรูปสัตว์มงคลไว้ขอบสระตามความเชื่อในศาสนาฮินดู และยังคงเห็นร่องรอยได้ถึงปัจจุบันนี้ เมืองโบราณศรีมโหสถ เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ที่บ้านโคกวัด ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ลักษณะของเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้าง 700 เมตร ยาว 1,550 เมตร มีคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ ภายในเมืองปรากฏซากโบราณสถาน สระน้ำ บ่อน้ำกระจัดกระจายโดยทั่วไป มีจำนวนมากกว่า 100 แห่ง ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู อาทิ ซากศาสนสถานที่ก่อด้วยศิลาแลงที่มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16, เทวรูป พระนารายณ์ ศิวลึงค์ เป็นต้น นอกจากนี้จากการดำเนินงานทางโบราณคดียังได้พบลูกปัดแก้วคาร์นีเลียนและลูกปัดหินอาเกตแบบทวารวดีอีกด้วย ศิวลึงค์โบราณขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ขนาดยาวเกือบ 3 เมตร เมืองโบราณศรีมโหสถ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมาโพธิ โบราณสถานสระแก้ว ตั้งอยู่ทางนอกเมืองโบราณศรีมโหสถ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 18*18 เมตร ลึกประมาณ 6.50 เมตร โดยขุดลงไปบนชั้นดินที่เป็นชั้นของศิลาแลง ริมผนังของสระด้านในทั้ง 4 ด้าน สลักเป็นภาพสัตว์ปรัมปรา อาทิ ช้าง สิงห์… Read More »