Tag Archives: วัดเชิงท่า

คูไม้ร้อง ที่เก็บเรือหลวงพระที่นั่งสมัยอยุธยา วัดเชิงท่า อยุธยา

https://youtu.be/SGl6Fo79ZIE ในช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม พ.ศ.2563 กรมศิลปากรได้งบประมาณในโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และศาสนา จึงได้ทำการขุดสำรวจพื้นที่คลองโบราณติดกับวัดเชิงท่า รวมถึงบริเวณตลิ่งริมแม่น้ำลพบุรี ซึ่งจากแผนที่โบราณและบันทึกเอกสาร ได้ระบุว่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวคือ “คูไม้ร้อง” เคยใช้เป็นสถานที่จอดและเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์พระองค์สุดท้าย จึงถือได้ว่าบริเวณพื้นที่การขุดสำรวจนี้ เป็นอีกจุดหนึ่งในบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ การเดินทางเข้าชมครั้งนี้ ได้เดินทางมาพร้อมกับคุณจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกำลังมีการขุดสำรวจบริเวณข้างอุโบสถ และได้รับทราบข้อมูลว่าข้างอุโบสถมีลักษณะเป็นท่าน้ำ จึงสอดคล้องตามข้อมูลว่าเคยเป็นคลองโบราณมาก่อน แต่ปัจจุบันถูกทับถมไม่มีลักษณะเป็นลำคลองแล้ว นอกจากนี้ยังขุดพบโบราณวัตถุเป็นหม้ดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีสภาพที่สมบูรณ์มาก คูไม้ร้อง โรงเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยา ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า กล่าวถึงโรงเรือพระที่นั่งอยู่ใต้วัดเชิงท่า(ตามแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์) ซึ่งเป็นตำแหน่งตรงกับมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงสันนิษฐานได้ว่าโรงเรือหลวงแห่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างน้อย ในพื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านเล่ากันสืบต่อกันในภายหลังว่า ได้ยินเสียงร้องแปลกประหลาด ต่างบอกว่าเป็นเสียงนางไม้ ของโรงเรือพระที่นั่งสมัยโบราณ จึงขนานนามว่า “คูไม้ร้อง” และเคยมีผู้คนมาขุดหลุมสร้างบ้านเรือนในภายหลัง ก็พบกับอาถรรพ์จนไม่สามารถปลูกบ้านเรือนได้ บันทึกในประชุมพงศาวดารเพิ่มเติมว่า เมื่อครั้งสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พระเจ้าเอกทัศ ทรงโปรดให้ถอยเรือพระที่นั่งทั้งหลายลงไปไว้ท้ายคู ทัพพม่าได้เข้าตีท้ายคูแตก เผาเรือพระที่นั่งไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการค้นพบโขนเรือครุฑที่จมใต้น้ำใกล้เคียงจุดจอดเรือหลวง เคยตั้งศาลบูชากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งถึง ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) ตรงกับรัชกาลที่ ๕ ศาลได้พังลง ปัจจุบันได้นำเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา ในปี… Read More »

จิตรกรรมโบราณในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดเชิงท่า อยุธยา นอกจากโบราณสถานที่สวยงาม ได้แก่ วิหาร พระปรางค์ประธานของวัด ผมได้เกิดความประทับใจภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ภายในศาลาการเปรียญเป็นอย่างมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย ผมจึงขอนำภาพและเรื่องราวภาพจิตรกรรมมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชม ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยอาคารประธาน ๑ หลัง ผนังด้านในศาลาการเปรียญเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพวิถีชาวบ้านแทรกปะปน เหนือผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพพนม จิตรกรรมในศาลาการเปรียญนี้ เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรม เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้และนายแข ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์และแท่นพิธีธรรม ภาพจิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า ประกอบไปด้วย ผนังส่วนบนทั้งสี่ด้าน เขียนภาพชุมนุมเทวดานั่งประนมมือ หันหน้าไปยังผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่เขียนภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับในซุ้มเรือนแก้ว ขนาดข้างด้วยเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ธูปเทียนตั้งอยู่บนตั่งสีแดง ถัดลงมาผนังด้านล่างทั้งสี่ด้านเขียนเป็นภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติชาดก โดยที่ภาพพุทธประวัติเริ่มจากช่องว่างระหว่างประตูด้านทิศตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาไปทางผนังด้านทิศเหนือและสิ้นสุดที่ช่องว่างระหว่างประตูที่ผนังด้านทิศตะวันตก ส่วนภาพเรื่องทศชาติชาดกเริ่มจากผนังด้านทิศตะวันตก ช่องว่างซ้ายมือถัดจากประตูเขียนเป็นภาพเรื่องเตมีย์ชาดก แล้ววนมายังทางผนังด้านทิศใต้และสิ้นสุดที่เรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ผนังด้านทิศตะวันออก ภาพจิตรกรรมพุทธประวัติและทศชาติชาดกภายในศาลาการเปรียญนี้ เขียนขึ้นโดยครูแขร่วมกับคณะ และพระอาจารย์อาภรณ์ธรรม เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ ทั้งหมดนี้คือภาพความสวยงามของโบราณสถานภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวและเก็บภาพความสวยงามนี้ไว้เป็นที่ระลึก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่… Read More »