Category Archives: กรุงเทพมหานคร

วัดกันมาตุยาราม วัดเก่า จิตรกรรมงดงาม ย่านเยาวราช กรุงเทพฯ

ก่อนหน้านี้ผมได้พาไปท่องเที่ยวที่วัดคณิกาผล กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวัดที่ยายแฟง นักธุรกิจด้านโสเภณีในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้สร้าง ซึ่งในสมัยนั้นการประกอบอาชีพด้านโสเภณีเป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฏหมาย สำหรับวันนี้ผมจะพาไปเที่ยววัดกันมาตุยาราม ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน และมีความเกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจโสเภณีเช่นกัน เพราะเป็นวัดที่ลูกสาวของยายแฟงเป็นผู้สร้าง นั่นก็คือ นางกลีบ สาครวาสี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2407 ต่อมาบุตรของนางกลีบ คือ พระดรุณรักษา (กัน สาครวาสี) ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว นางกลีบ ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดกันมาตุยาราม” อันหมายถึง “วัดที่มารดาของนายกันเป็นผู้สร้าง” สิ่งปลูกสร้างสำคัญในวัด ได้แก่ ธัมเมกขสถูปจำลอง อุโบสถภายในมีภาพจิตรกรรมพุทธประวัติ และประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆในจระนำบนผนังอุโบสถ ผมเดินชมตลาดย่านเยาวราช ซึ่งมีความคึกคักอย่างมาก และลัดเลาะเข้าไปในซอยเยาวราช ซอย 8 ซึ่งในอดีตสมัยรัชกาลที่ 3 จะเป็นย่านโสเภณีที่มีชื่อเสียงระดับไฮโซของยายแฟง ทะลุไปถึงวัดกันมาตุยาราม และโชคดีมากที่เป็นจังหวะที่กำลังจะปิดอุโบสถ ผมจึงได้ขออนุญาตเขาไปชม พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อกะไหล่ทอง ประดิษฐานในบุษบกไม้ ปิทอง ประดับกระจก บริเวณฐานบุษบก จำหลักเป็นรูปเทพพนมเรียงรายตลอด ผมมีความประทับใจความงดงามในอุโบสถมากเลยครับ ทั้งองค์พระประธาน และภาพจิตรกรรม ท่านที่สนใจไปเที่ยวชม จะเปิดให้เข้าในช่วงทำวัตรเช้าและเย็น เวลา 09.00 น. และ 17.00 น. เหตุที่ต้องปิดอุโบสถไว้ เพราะบ่อยครั้งจะมีคนไร้บ้านเข้าไปนอนภายในอุโบสถ และสัมผัสจิตรกรรมจนเกิดความเสียหายได้ครับ ยุทธนา ผิวขม… Read More »

วัดคณิกาผล ยายแฟงแม่เล้าโสเภณี บริจาคทรัพย์สร้าง

วัดคณิกาผล ยายแฟงแม่เล้าโสเภณี บริจาคทรัพย์สร้าง – ถ้ากล่าวถึงผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับโสเภณีที่และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย หลายคนต้องกล่าวถึง ยายแฟง ผู้สร้างวัดคณิกาผล แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2376 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3  อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย ได้ให้ทัศนะว่า โรงโสเภณีสมัยก่อน ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย สามารถดำเนินธุรกิจและจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งโรงโสเภณีของยายแฟง เป็นโรงโสเภณีชั้นสูงในสมัยนั้นเลยทีเดียว ปัจจุบันคือบริเวณตรอกเต๊า หรือเยาวราช ซอย 8 ซึ่งห่างจากวัดคณิกาผลไม่ถึง 1 กิโลเมตร ในช่วงบั้นปลายชีวิตของยายแฟง ได้บริจาคที่ดินและบริจาคเงินสร้างวัด แรกเริ่มเรียกกันว่า “วัดใหม่ยายแฟง” จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ลูกหลานยายแฟงได้ร่วมกันบูรณะวัด และขอพระราชทานนามใหม่ ได้ชื่อว่า วัดคณิกาผล ซึ่งคำว่า คณิกา คือหญิงบำเรอหรือโสเภณี แปลรวมคือ วัดที่โสเภณีสร้าง หรือวัดที่เกิดจากผลประโยชน์ของโสเภณี นั่นเอง วัดคณิกาผล ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย การเดินทางที่สะดวกสามารถลงที่สถานี MRT วัดมังกรแล้วเดินเข้าไปเล็กน้อย เมื่อมาถึงประตูวัด ด้านหน้าจะมีศาลาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เหตุที่สร้างเพราะมีตำนานเมื่อครั้งที่สร้างวัดเสร็จ ยายแฟงได้นิมนต์สมเด็จโตเพื่อเทศน์ฉลองวัด สมเด็จโตได้เทศน์ว่า การทำบุญสร้างวัดของยายแฟงอานิสงส์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำบุญ 1 บาท ได้บุญแค่สลึงเฟื้องเท่านั้น สิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัดได้แก่ อุโบสถซึ่งจะมีใบเสมาแบบรัตนโกสินทร์ล้อมรอบ ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย รูปพระพักตร์เป็นศิลปะแบบสุโขทัย ข้างกันเป็นวิหารหลวงพ่อดำ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทาสีทอง รายล้อมด้วยพระพุทธรูปอันดับอีกหลายองค์… Read More »

ปางถวายพระเพลิง พระพุทธรูปนอนหงาย วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ

  YouTube : FaithThaiStory   วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวที่วัดราชคฤห์วรวิหาร แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพราะสถานที่แห่งนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางหนึ่งที่หลายท่านไม่คุ้นเคย ที่เรียกกันว่า “ปางถวายพระเพลิง” (หลวงพ่อนอนหงาย) มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปนอนหงาย พระกรทั้งสองข้างแนบพระวรกาย กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งยังมีความสมบูรณ์อย่างมาก จากหนังสือประวัติวัดราชคฤห์วรวิหาร พ.ศ.2549 ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรี พระยาพิชัยดาบหัก ได้บูรณะวิหารเล็ก วัดราชคฤห์ จากนั้นได้ทำการบูรณะพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง หรือพระพุทธรูปนอนหงายองค์นี้ เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนทหารที่ต้องล้มตาย เพราะตนเป็นต้นเหตุ ด้วยเชื่อว่าเป็นการชดใช้ถ่ายกรรมที่ได้ฆ่าคนตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ชาวบ้านจึงนิยมมากราบไหว้ขอถ่ายกรรมและขอพร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีโชคลาภ แก้ร้ายให้กลายเป็นดี ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคลมายาวนาน พระพุทธรูปปางนี้ เป็นการสร้างตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพาน จึงได้อัญเชิญพระบรมศพประดิษฐานที่มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา เพื่อถวายพระเพลิง แต่ไม่สามารถประชุมเพลิงตามกำหนดการได้ จนกระทั่งพระมหากัสสปะเถระเดินทางมาถึงพร้อมเหล่าสาวก 500 รูป ได้ทำการสักการะพระบรมศพของพระพุทธเจ้า จึงสามารถถวายพระเพลิงได้ ดังนั้น พระพุทธรูปางนี้ จะมีการสร้างพระมหากัสสปะประคองอัญชลีที่เบื้องพระพุทธบาทอยู่เสมอ ในหลายสถานที่ การสร้างพระพุทธรูปปางนี้ จะเป็นลักษณะโลงพระบรมศพแล้วมีพระพุทธบาทยื่นออกมาจากโลง ไม่มีลักษณะประทับบรรทมหงายเหมือนที่วัดราชคฤห์ เช่น วัดกลาง อ.นครหลวง อยุธยา, วัดอินทาราม กรุงเทพ, วัดสรรพยาวัฒนาราม ชัยนาท เป็นต้น ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook… Read More »

วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญเป็นศูนย์การค้าเอเชียทีคในกรุงเทพฯ

  วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ จากวัดกลายเป็นวัดร้างและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เอเชียทีคในกรุงเทพฯ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวยังเอเชียทีค ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในย่านถนนเจริญกรุง มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากันมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยบรรยากาศติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และมีความทันสมัย จึงมีความคึกคักของนักท่องเที่ยวอย่างมาก เมื่อผมได้เดินทางไปถึงก็ได้ไปสะดุดตากับอาคารไม้เก่าหลังหนึ่งในเขตศูนย์การค้า จากป้ายเขียนไว้ว่าสร้างในปี ค.ศ. 1912 หรือ พ.ศ.2455 ซึ่งมีอายุเกิน 100 ปี มีความโดดเด่นในย่านธุรกิจ ผมจึงได้ลองค้นหาข้อมูล จึงได้พบว่าอาคารหลังนี้เป็นทรัพย์สินของ บริษัทอีสท์ เอเชียติก จำกัด แห่งประเทศเดนมาร์ก ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเลื่อย แต่ความน่าสนใจไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะก่อนที่จะมาเป็นโรงเลื่อย พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นวัดมาก่อน จนกระทั่งแปรเปลี่ยนเป็นโรงเลื่อย และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ก็คือเอเชียทีค วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ คำว่าวัดพระยาไกร ทำให้ผมนึกไปถึงพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เพราะแต่เดิมพระทองคำองค์ดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปที่มีปูนปั้นทับไว้ ทำให้ไม่มีผู้ใดทราบว่าคือพระพุทธรูปทองคำ จนกระทั่งได้ทำการอัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม จนเกิดการกระเทาะของปูนเผยให้เห็นความล้ำค้าด้านในองค์พระ สามารถเอ่านเพิ่มเติมจากบทความนี้ >> https://www.faiththaistory.com/precious-buddha เมื่อผมได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น จึงเกิดความสนใจในเรื่องราวนี้ขึ้นมา จึงได้ลองค้นหาข้อมูลจากหนังสือ “วัดร้างในบางกอก”  โดย ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ได้เขียนรายละเอียดไว้ได้อย่างน่าสนใจ  ในหนังสือได้เขียนว่า ที่ตั้งของวัดพระยาไกรจากแผนที่ ฉบับเก่าๆ ระบุว่าตั้งลงไปทางทิศใต้ของวัดราชสิงขรเล็กน้อย และวัดลาดบัวขาวขึ้นมาทางเหนือตามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือปัจจุบันคือถนนเจริญกรุงตอนล่าง ยังมีสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรและป้ายชุมชนที่มีชื่อวัดเป็นหลักฐาน จากสารานุกรมเสรี ได้เขียนว่า วัดพระยาไกร เป็นชื่อเดิมของวัดโชตนาราม และมีหลักฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2344 จนกระทั่งมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (บุญมา)… Read More »

วัดธรรมมงคล หลวงพ่อวิริยังค์ พระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น

https://youtu.be/JcNqMU9VtOg หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ผู้ก่อตั้งวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ผู้เป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น นานถึง 4 ปี … สวัสดีครับ ท่านผู้รักการท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธา ถ้าจะกล่าวถึงหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่ขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาหลังยุคกึ่งพุทธกาลอย่างแท้จริง หลวงปู่มั่นได้เผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจนมีลูกศิษย์มากมายทั่วประเทศที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และหนึ่งในนั้นคือ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ผู้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นและได้อุปัฏฐากหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิดนานถึง 4 ปี ย่อมได้รับข้อธรรมอันแสนวิเศษจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายป่าอย่างชัดเจนแน่นอน ปัจจุบัน(พ.ศ.2562) หลวงพ่อวิริยังค์มีอายุ 99 ปี ถือได้ว่าเป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นเพียงรูปเดียวที่ยังทรงขันธ์อยู่ เรื่องราวของหลวงพ่อวิริยังค์ก่อนที่จะเข้าสู่วงศ์พระพุทธศาสนานั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่ออายุเพียง 13 ปี เพราะตามเพื่อนไปนั่งสมาธิจนเกิดอัศจรรย์ทางจิต และต่อมาท่านได้บวชหนักถึงขั้นจะเป็นอัมพาต ขยับตัวไม่ได้ ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานถ้าหายจากอาการป่วยจะอุทิศชีวิตให้แก่พระพุทธศาสนา และก็เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์อีกเช่นกัน เมื่อท่านหายป่วยจึงบรรพชาและบวชเป็นพระสงฆ์ติดตามหลวงปู่กงมา จิรปุญโญนานถึง 8 ปี และอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นอีก 4 ปี จึงได้รับข้อธรรมที่ถูกต้องจากครูบาอาจารย์อย่างใกล้ชิด หลวงพ่อวิริยังค์อุทิศตนแก่พระพุทธศาสนามาโดยตลอดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการสอนสมาธิตามแนวทางหลวงปู่มั่นจนถึงปัจจุบัน ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องราวของหลวงพ่อ คงใช้เวลาเขียนอีกมากมาย แต่วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้ดำริให้สร้างขึ้น วัดธรรมมงคล เดิมมีชื่อว่า วัดป่าสะแก เพราะบริเวณวัดในอดีตมีต้นสะแกอยู่มาก มูลเหตุการณ์สร้างวัด เนื่องมาจากคหบดีเจ้าของที่ดินคือ นายเถาและนางบุญมา อยู่ประเทศ มีความประสงค์จะถวายที่ดินแก่พระสงฆ์ จนมาพบกับหลวงพ่อวิริยังค์ที่มาปักกลดบริเวณป่าสะแก มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากจึงเดินทางมาทำบุญกันมากมาย ทั้งมาปฏิบัติด้วยจนมีจำนวนมากขึ้นทุกวัน นายเถาและนางบุญมา จึงเกิดความเลื่อมใส จึงได้ถวายที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ความเจริญของสถานที่ได้ดำเนินไปตามกาลเวลา ต่อมาได้ตั้งชื่อวัดอย่างเป็นทางการว่า “วัดธรรมมงคล… Read More »

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัย วัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ พระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัย วัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ… หลวงพ่อพระร่วงเป็นพระพุทธรูปทองคำอีกองค์หนึ่งที่ประดิษฐานในกรุงเทพมหานคร ที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้มาก่อน… ผมก็เช่นเดียวกันที่ไม่รู้มาก่อนว่ามีพระพุทธรูปทองคำในกรุงเทพฯนอกจากที่วัดไตรมิตร การเดินทางมาถึงัดมหรรณพารามครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นความบังเอิญ เพราะเดิมจะเดินทางมากินหมูปลาร้าแถวสี่แยกคอกวัว แต่หาที่จอดรถไม่ได้จึงวนมาจอดในวัดมหรรณพาราม จึงได้รู้ว่าที่วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปอันทรงคุณค่าประดิษฐานอยู่ ผมได้เดินทางมาถึงวัดมหรรณพาราม ราวๆ 2 ทุ่ม ซึ่งขณะนั้นภายในวิหารหลวงพ่อพระร่วงทองคำได้มีการสวดมนต์ทำวัตรเป็นที่แล้วเสร็จพอดี และกำลังจะปิดวิหาร ผมจึงรีบไปขออนุญาตเข้าไปกราบหลวงพ่อพระร่วงทองคำและขอถ่ายรูป เมื่อเข้าไปภายในวิหาร เห็นองค์หลวงพ่อพระร่วงทองคำ ประดิษฐานสูงเด่นบนฐานชุกชี มีความสวยงามยิ่งนัก…จากนั้นจึงได้กราบขอพรซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธ จากนั้นจึงได้ถวายปัจจัยแล้วออกจากวิหาร เมื่อได้กราบขอพรหลวงพ่อแล้ว รู้สึกถึงความโชคดีอย่างบอกไม่ถูก เพราะไม่ได้ตั้งใจมาที่วัดแต่แรก…จากนั้นจึงมาอ่านเรื่องราวของหลวงพ่อพระร่วงทองคำ ที่ทางวัดได้ทำการรวบรวมติดไว้ให้อ่านด้านนอกพระวิหาร… หลวงพ่อพระร่วงทองคำ พระร่วงทองคำ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดโคกสิงคาราม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งปัจจุบันเป็นโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย หลวงพ่อพระร่วงทองคำ สร้างในรัชสมัยใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง 1 วา 1 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูว 1 วา 3 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว องค์พระเป็นโลหะทองคำ 60% มีรอยต่อ 9 แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อมที่รอยต่อ ชุกชีที่ประดิษฐานองค์พระมีขนาดยาว 2 วา… Read More »