Tag Archives: สมัยอยุธยา

วัดอ้อย วัดเก่าแก่กว่า 400 ปี ริมแม่น้ำน้อย อ่างทอง

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดเก่าแก่สมัยอยุธยา อายุกว่า 400 ปีที่จังหวัดอ่างทอง นามว่า “วัดอ้อย” วัดอ้อยตั้งอยู่ที่ ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จากประวัติวัดกล่าวว่า เป็นวัดสมัยอยุธยา สร้างราวปี พ.ศ.2070 แต่ไม่พบบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้าง การเดินทางครั้งนี้ ผมจอดรถไว้ปากซอยบ้านไผ่จำศีล ซอย 1 แล้วเดินเข้าไป เพราะรถยนต์ไม่สามารถขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำน้อยได้ จึงได้พบความโดดเด่นของวัดแห่งนี้ ประกอบไปด้วยบรรยากาศท้องถิ่น ติดริมแม่น้ำน้อย ทำให้มีความเงียบสงบ เป็นการเดินทางที่ได้มีโอกาสสัมผัสความสวยงามทางธรรมชาติ ผสานความงดงามทางสถาปัตยกรรมของสิ่งปลูกสร้างอันโดดเด่น สิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัด คือ พระอุโบสถขนาดใหญ่ แบบโบสถ์มหาอุด ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบโบราณที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หลังคาเป็นเครื่องไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบกาบกล้วย ประดับเชิงชาย รอบอุโบสถมีใบเสมาคู่ ซึ่งจากการพิจารณามีทั้งแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนกลางและอยุธยาตอนปลาย บัวหัวเสาประดับด้วยบัวแวงที่เป็นแบบนิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน ภายในอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดปางมารวิชัย ขนานนามว่า หลวงพ่อดำ และประดิษฐานพระอันดับปางต่างๆอีกหลายองค์ ตำนานกล่าวว่า วัดอ้อยแห่งนี้ เคยเป็นวัดในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย วัดอ้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 การเดินทางครั้งนี้ ส่วนตัวผมมีความประทับใจในบรรยากาศและการจัดการของวัดแห่งนี้ แม้ว่าจะเป็นวัดในท้องถิ่นที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวสัญจรผ่าน แต่ทางวัดได้ดำเนินการให้ทุกท่านที่เดินทางไปถึง สามารถเข้าชมและสักการะภายในอุโบสถได้ทุกวัน โดยประตูอุโบสถไม่ได้ล็อคไว้ครับ ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube… Read More »

เทวสถาน โบสถ์เทพฮินดูในสมัยอยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานแห่งหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้ นั่นก็คือโบราณสถาน เทวสถานหรือโบสถ์เทวรูปฮินดูในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เทวสถานนี้เป็นไปตามคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดู และในสมัยกรุงอยุธยาให้การเคารพกษัตริย์เปรียบสมมุติเทพแสดงถึงอำนาจบารมีในการปกครองบ้านเมือง จึงมีพิธีกรรมทางพราหมณ์ในพระราชพิธีตลอดมาและมีเทวสถานตรงนี้นั่นเอง ปัจจุบัน โบราณสถานนี้ กำลังได้รับการขุดสำรวจทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร เพื่อเป็นการเปิดเผยเรื่องราวประวัติศาสตร์สู่สาธารณชนให้ได้เรียนรู้ และอาจจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ต่อไป โอกาสนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเทวสถานสมัยอยุธยามานำเสนอให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่ผู้สนใจดังต่อไปนี้ คติความเชื่อเรื่องเทพในสมัยอยุธยา คติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดูสมัยอยุธยานั้น มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง รูปเคารพในศาสนาฮินดูสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย ผศ.ดร.เอกสุดา สิงห์ลำพอง ได้อธิบายบันทึกคติความเชื่อในสมัยอยุธยาไว้ว่า ความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่แรกสร้างกรุง จากบันทึกในพงศาวดารหลายฉบับ เช่น ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์, ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม), ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น เนื้อความในพงศาวดารกล่าวถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนากรุงศรีอยุธยา ความว่า “…ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง… และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว…” และจากข้อมูลการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2512 กล่าวว่า เทวสถานเดิมของกรุงศรีอยุธยาคือบริเวณศาลพระกาฬ ในบริเวณแยกตะแลงแกง… Read More »

บ่อน้ำโบราณ ตำหนักท่าเจ้าสนุก เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สมัยอยุธยา

https://youtu.be/r-9d4qmJuAs อันซีน อยุธยา บ่อน้ำโบราณสมัยอยุธยาที่หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “ท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นชื่อตำบลในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีเรื่องราวความเกี่ยวข้องในเส้นทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท สระบุรี มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏซากร่องรอยบางอย่างที่แสดงให้เห็นในปัจจุบัน คือ บ่อน้ำโบราณ ที่กล่าวกันว่าเป็นบ่อน้ำที่นำน้ำมาใช้ในพระตำหนักที่มีชื่อว่า “พระตำหนักท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นไว้พักแรมระหว่างทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท จึงเป็นอีกสถานที่ ที่มีความน่าสนใจตามรอยและบันทึกไว้ในการเดินทางครั้งนี้ รอยพระพุทธบาท สระบุรี ถือได้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่และมีความสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะมีบันทึกการค้นพบในพระราชพงศาวดารและมีพระราชประเพณีการเสด็จสักการะมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่องราวของท่าเจ้าสนุกจากเว็บไซต์เทศบาลตำบลท่าเรือ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ท่าเรือ เดิมเรียกว่า “นครน้อย” ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ พ.ศ. 2153 – 2171 เสด็จประพาสเพื่อไปสักการะพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทางชลมารค(ทางเรือ) ได้จอดเรือเพื่อเสด็จทางสถลมารค(ทางบก)ต่อไป ขบวนเรือหลวงมากันคับคั่งจนไม่มีที่จอดเรือ เรือราษฎร์ได้จอดเลยตัวอำเภอท่าเรือในปัจจุบันขึ้นไปจนถึงตำบลท่าหลวง ส่วนขบวนเรือหลวงก็จอดที่ท่าเจ้าสนุก เพราะมีตำหนักประทับแรมตั้งอยู่ ส่วนเรือของบรมวงศานุวงศ์ ก็จอดท่าถัดๆไปจนถึงหน้าวัดสฎางค์ ได้พักค้างแรมที่ตำหนักท่าเจ้าสนุก วันรุ่งขึ้นก็ข้ามฝั่งไปขึ้นช้างที่ท่าเกย(ติดกับบริเวณวัดไม้รวกในปัจจุบัน) แล้วพระราชดำเนินต่อไปยังอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อทรงสักการะพระพุทธบาท ภายหลังพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ ต่างเจริญรอยตามพระราชประเพณีสืบมา  ซึ่งตามหลักฐานที่ สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่บริเวณวัดตำหนักพระเจ้าทรงธรรม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าเจ้าสนุก คือ บริเวณโบราณสถานท่าเจ้าสนุกและตำหนักท่าเจ้าสนุก ซึ่งปลูกสร้างด้วยไม้จึงไม่หลงเหลือซากตำหนักให้เห็นในปัจจุบัน ซากโบราณสำคัญที่ยังหลงเหลือให้เห็นและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของพระตำหนักท่าเจ้าสนุก คือ “บ่อน้ำโบราณ” สันนิษฐานว่าเป็นระบบสาธารณูปโภค เพื่อใช้ในเขตพระตำหนักท่าเจ้าสนุก… Read More »

เขื่อนธารทองแดง เขื่อนโบราณสมัยอยุธยา ในวัดปราสาททรงธรรม สระบุรี

https://youtu.be/uqBIDvQOkA4 โบราณสถานเขื่อนดินธารทองแดง เขื่อนโบราณสมัยอยุธยา ที่ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมีความอันซีนที่หลายๆท่านอาจไม่เคยรู้ เพราะแอบซ่อนสายตาตั้งอยู่หลังวัดปราสาททรงธรรม อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี อาจจะถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมในสมัยโบราณ และเป็นเขื่อนแห่งแรกของสยามประเทศ การเดินทางถือว่าสะดวกมาก โดยให้ตั้ง GPS ไปที่วัดปราสาททรงธรรม สระบุรี ซึ่งเราจะเห็นป้ายบอกเส้นทางไปเขื่อนดินธารทองแดงอย่างชัดเจน เมื่อเดินทางมาถึงเขตพื้นที่วัดแล้ว ให้หาที่จอดรถแล้วเดินไปด้านหลังวัด หรือจะสอบถามคนภายในวัดก็ได้ครับ วัดปราสาททรงธรรม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามประวัติวัดบันทึกว่า ตั้งวัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2530 จึงเป็นวัดใหม่ที่ไม่ได้เก่าแก่มากนัก และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของเหล่าสาธุชน โดยมีการจัดสรรสถานที่ปฏิบัติอยู่บนภูเขา มีบรรยากาศสัปปายะอย่างยิ่ง เมื่อเดินมาหลังวัด เราจะเห็นลำธารทองแดง ซึ่งเป็นลำธารที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและปรากฏเห็นซากเขื่อนกั้นน้ำที่แอบซ่อนอยู่  ประวัติเขื่อนดินธารทองแดง ประวัติของเขื่อนแห่งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2173 – 2199) เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักธารเกษม ซึ่งตั้งอยู่ริมธารทองแดง และไขน้ำจากธารทองแดงมาใช้ในพระตำหนัก รวมถึงในพระตำหนักท้ายพิกุลด้วย ผมจึงได้ค้นหาเอกสารบันทึกในพงศาวดาร เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลนี้ คือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 2 สมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อผมอ่านเนื้อหาในพระราชพงศาวดารที่บันทึกถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อครั้งเสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี… Read More »

โบราณสถานแปลกตา ปล่องระบายแรงดันน้ำประปา สมัยอยุธยา

https://youtu.be/80tyfssifJ0 วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวของท่อหรือปล่องระบายความดับน้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่อาจจะไม่คุ้นตาของใครหลายๆคน ที่ยังปรากฏให้เห็นชัดเจนในปัจจุบัน จากข้อมูลระบุว่ามีอยู่สองแห่งในเมืองลพบุรี ได้แก่ ข้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และถ้าจะกล่าวถึงระบบท่อประปา จะถือกันว่าในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเป็นต้นกำเนิดครั้งแรกในแผ่นดินสยาม ดังที่เราได้เห็นหลักฐานท่อประปาดินเผาและระบบประปามากมายในโบราณสถานต่างๆ และในเขตพระราชวัง ข้อมูลจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลพบุรี. กรมศิลปากรจัดพิมพ์ ปี พ.ศ.2542 ได้เขียนเรื่องการนำน้ำสะอาดมาใช้ในเขตพระราชวังไว้ว่า มีการนำน้ำมาจากทะเลชุบศรและห้วยซับเหล็ก ในระยะแรก รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้นำน้ำมาจากทะเลชุบศร ด้วยการสร้างประตูระบายน้ำปากจั่นและบังคับให้น้ำไหลตามท่อไปยังอ่างพักตะกอน (อ่างแก้วและสระแก้ว) จากนั้นจึงจ่ายน้ำตามท่อน้ำดินเผาที่ฝังใต้ดินเพื่อนำไปใช้ยังพื้นที่ต่างๆ โดยมีวิศวกรชาวเปอร์เซียเป็นที่ปรึกษาและออกแบบ ในส่วนของห้วยซับเหล็กได้เริ่มนำมาใช้ช่วงท้ายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เพราะต้องใช้น้ำมากขึ้นจากการสร้างเมืองที่ใหญ่ขึ้น และมีการสร้างน้ำพุภายในพระราชวัง   ซึ่งน้ำจากห้วยซับเหล็กเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ใสสะอาดที่ไหลลงมาตามซอกเขาธรรมชาติที่อยู่ในระดับสูงน้ำไหลแรงดี และเนื่องจากระยะทางค่อนข้างไกลมากห่างจากเมืองลพบุรีไปทางทิศตะวันออกราว 12 กิโลเมตร จึงมีการดำเนินการเป็นสองช่วง ช่วงแรกทำเป็นลำรางชักบังคับน้ำจากลำห้วยซับเหล็ก ยาวทอดจนมาถึงบริเวณวังศาลา(ต.ท่าศาลา เมืองลพบุรี) และมีการดำเนินงานประปาช่วงที่สองตั้งแต่วังศาลาจนถึงเมืองลพบุรีโดยวิธีการฝังท่อน้ำดินเผาลงใต้ดิน และในระหว่างเส้นทางลำเลียงน้ำเข้าเมืองลพบุรี จะมีการสร้างท่อหรือปล่องระบายแรงดันของน้ำไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นจุดผ่อนคลายแรงดันของน้ำในฤดูที่มีน้ำมาก กระแสน้ำไหลแรง ป้องกันไม่ให้แรงน้ำสูงมากเกินไป จนเกินกำลังรับน้ำของท่อน้ำดินเผา และนี่ก็คือเรื่องราวความเป็นมาของโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นสูงเด่นผ่านสายตาของหลายคนมากมาย ที่อาจไม่มีใครรู้เลยว่าคืออะไร ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไป สวัสดีครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศร่มรื่นริมคลอง

https://youtu.be/b1t-nLsHqf0 วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศดีๆ ร่มรื่นริมคลองบางม่วงและคลองบางกอกน้อย เป็นวัดที่ผมประทับใจในความสวยงามของบรรยากาศอีกวัดหนึ่ง ที่ยังได้แลเห็นสภาพชีวิตวิถีริมแม่น้ำของชาวบ้านในพื้นที่ แม้จะอยู่ใกล้ความเจริญในยุคปัจจุบัน มองผิวเผินภายในวัด ก็เหมือนวัดในท้องถิ่นโดยทั่วไป แต่แท้จริงมีเรื่องราวตำนานการสร้างวัดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏโบราณสถานที่น่าสนใจอีกมากมายภายในวัด รวมถึงบรรยากาศความสงบร่มรื่นที่สุดประทับใจ จึงขอถือโอกาสนี้พาทุกท่านท่องเที่ยวไปด้วยกันเลยครับ ประวัติวัดอัมพวันและโบราณสถานที่น่าสนใจ วัดอัมพวันตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยและคลองบางม่วง เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี จากเอกสารประวัติวัดกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมืองถึงปากคลองบางกรวยวัดเขมาภิรตาราม และได้มีการอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนบริเวณ ต.บางม่วง และมีผู้ใจบุญมีจิตศรัทธาได้ร่วมสร้างวัดบางม่วง ต่อมาคือวัดอัมพวัน ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญได้แก่ หอไตรกลางน้ำ, มณฑปรอยพระพุทธบาท, ศาลาท่าน้ำและเจดีย์ทรงปรางค์ หอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่ภายในสระที่เชื่อมกับคลองบางกอกน้อย เป็นอาคารเรือนไทยยกใต้ถุนสูง ทำจากไม้สัก หลังคา 2 ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกา มุงกระเบื้องดินเผา ส่วนชั้นบนเป็นอาคาร 2 ห้อง มีระเบียงอยู่ในบริเวณส่วนหน้า ห้องตรงกลางไว้เก็บรักษาพระไตรปิฎก เหนือประตูทางเข้าห้องมีจิตรกรรมสีฝุ่น ผนังโดยรอบทาสีแดง มีลายรดน้ำที่ด้านล่างของหน้าต่างแต่ละบาน ส่วนท้ายเป็นห้องกั้นฝาไม้ คาดว่าน่าจะต่อเติมในภายหลัง หอไตรกลางน้ำได้ผ่านการบูรณะมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2466 และ พ.ศ.2547 มณฑปรอยพระพุทธบาท มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น บันไดอยู่ทางทิศใต้ ฝาผนังด้านล่างเจาะเป็นช่องสามเหลี่ยมด้านละ 3 ช่อง… Read More »