Tag Archives: สระบุรี

จารึกโบราณ ถ้ำวิมานจักรี สระบุรี เส้นทางประพาสหลายรัชกาล

คลิปจาก FaithThaiStory ท่องเที่ยวสระบุรี ชมถ้ำวิมานจักรีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 ตั้งอยู่ไหล่เขาดอกไม้ ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เป็นหนึ่งในถ้ำของเทือกเขาวง ในหลวงรัชกาลที่ 4 ค้นพบถ้ำนี้เมื่อครั้งทรงผนวช และโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางประทับยืนไว้ในถ้ำแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2370 ซึ่งขณะนั้นตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ การอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ในถ้ำ ปรากฏการจารึกในผนังถ้ำแห่งนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็เคยเสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ.2426 และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ไว้ที่ผนังถ้ำ แต่ปัจจุบัน จารึก จปร.นี้ได้ชำรุดหลุดหายไปด้วยแรงระเบิดจากการสัมปทานภูเขาหิน และในปี พ.ศ.2495 ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ก็เคยเสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้เช่นกัน เนื้อหาจารึกนี้ จารึกขึ้นในปี พ.ศ.2370 ตรงกับรัชกาลที่ 3 โดยมีเนื้อหาพอสังเขปว่าพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 4 ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธรูปจากรุงเทพ มาประดิษฐานไว้ในถ้ำวิมานจักรีแห่งนี้ เพื่อเป็นสถานที่สักการะบูชาของเหล่าภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสิริมงคลก่อนเดินทางไปสักการะรอยพระพุทธบาทต่อไป รวมถึงพระองค์ได้อำนวยพรแผ่ส่วนกุศลแด่ผู้ที่เดินทางมาสักการะ ทั้งนี้ ในจารึกได้ระบุไว้ด้วยว่า อย่าเข้าใจผิดคิดว่ามีการฝังสมบัติไว้ในถ้ำนี้ ไม่ควรขุนค้นเพราะเสียงแรงเปล่าและยังเกิดบาปอกุศลอีกด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จากประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ประกาศเรื่อง-ประดิษฐานพระพุทธรูปในถ้ำวิมานจักรี กล่าวถึงพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาครั้งนั้น เป็นพระพุทธรูปโบราณ เดิมประดิษฐานในถ้ำแขวงเมืองอุทัยธานี มีลักษณะงดงาม… Read More »

พระพุทธรูปทองคำที่เคยถูกปูนพอกทับ วัดพะเยาว์ สระบุรี

คลิปจาก FaithThaiStory พาท่องเที่ยววัดที่สระบุรี กราบสักการะหลวงพ่อทองคำ วัดพะเยาว์ จ.สระบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ล้ำค่าอีกองค์หนึ่งที่สร้างจากเนื้อโละทองคำ คล้ายที่วัดไตรมิตรฯ กรุงเทพมหานคร และเคยถูกปูนพอกทับไว้เช่นกันอีกด้วย กล่าวกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาด้วยการหล่อองค์พระด้วยโลหะทองคำ ซึ่งจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรกล่าวว่า น่าจะมีความบริสุทธิ์ของทองคำถึง 70% ต่อมาองค์พระได้ถูกลงรักพอกปูนทับเพื่อปิดบังความล้ำค่าไว้เป็นความลับยาวนานหลายร้อยปี ก่อนที่จะอัญเชิญหลวงพ่อทองคำมาที่วัดพะเยาว์ เดิมได้ประดิษฐานที่วัดร้างแห่งหนึ่งใน อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา(บางท่านสันนิษฐานว่าคือ วัดขุนตานาค) ต่อมาราวปี พ.ศ.2420 ชาวบ้าน ต.ศาลารีไทย อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในหมู่บ้าน ชื่อ วัดอุทิศสโมสร แต่ยังขาดพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้เป็นพระประธาน จึงอัญเชิญพระพุทธรูปที่ตากแดดตากฝนในวัดร้างองค์นี้ มายังวัดอุทิศสโมสรเพื่อเป็นพระประธาน จนกระทั่งราวปี พ.ศ.2478 ชาวบ้านได้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงอพยพไปที่อื่น ทำให้วัดอุทิศสโมสรถูกทิ้งร้างลง พร้อมกับพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ที่ขาดการดูแลไปเป็นเวลาหลายปี ต่อมาราวปี พ.ศ.2484 ทางวัดพะเยาว์ ต้องการพระพุทธรูปประธานมาประดิษฐานในอุโบสถ ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญองค์พระจากวัดอุทิศสโมสร มาประดิษฐานนับแต่นั้นมา ในราวปี พ.ศ.2493 ชาวบ้านได้นิมนต์พระเทพวิมลโมลี(อดีตเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี) มาเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ชาวบ้าน ท่านได้มองไปที่พระประธานแล้วกล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะดี แต่ตามองค์พระมีรอยปูนแตกร้าว ไม่สมควรปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้ จึงให้ชาวบ้านช่วยกันกะเทาะปูนออก จึงพบว่าด้านในเป็นโลหะทองคำล้ำค่า จากนั้น อาจารย์ปรีดา วีรสวัสดิ์ ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์โรงเรียนวัดไตรมิตร ได้เชิญเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตรวจสอบ จึงประเมินว่า เป็นเนื้อทองคำถึง 70% ชาวบ้านจึงขนานนามว่า หลวงพ่อทองคำ นับแต่นั้นมา ปัจจุบัน หลวงพ่อทองคำ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุข วัดพะเยาว์… Read More »

ภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เขาพระพุทธฉาย สระบุรี

วัดพระพุทธฉาย สระบุรี เป็นสถานที่มีบันทึกเรื่องราวตำนานมากอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี โดยเฉพาะเรื่องราวของพระพุทธฉายหรือเงาพระพุทธเจ้า ที่หลายๆท่านได้เดินทางไปสักการะ อีกทั้งบนยอดเขาลมหรือเขาพระพุทธฉายแห่งนี้ มีมณฑปประดิษฐานรอยประทับพระพุทธบาท จึงเป็นสถานที่ ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวตลอดมา นอกจากเรื่องราวตำนานของพระพุทธฉายแล้ว พื้นที่แห่งนี้ ยังเป็นโบราณสถานมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มายาวนาน เพราะมีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งน่าจะราว 3,000 ปีก่อน คำว่า ก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ในยุคที่มนุษย์ยังไม่มีการบันทึกหรือการประดิษฐ์ตัวอักษร เราจึงค้นหาประวัติความเป็นมาจากภาพการเขียนรูป เครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต บริเวณที่พบภาพเขียนอยู่บนเพิงผาเดียวกับรอยพระพุทธฉาย เป็นภาพเขียนสีแดง จึงเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง ที่เราจะได้สัมผัสถึงเรื่องในอดีต ที่บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณมายาวนาน สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผมจึงขอถือโอกาสนี้ นำข้อมูลจากกรมศิลปากร มาอธิบายไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจต่อไป ดังนี้  ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาลม (เขาพระพุทธฉาย) แหล่งเขียนภาพสียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเพิงผาเขาลม(เขาพระพุทธฉาย) วัดพระพุทธฉาย ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี มีลักษณะเป็นภาพเขียนสีแดง ปรากฏอยู่บนเพิงผาเดียวกับพระพุทธฉาย ลักษณะของเพิงผาคล้ายหลังคา หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ความยาวประมาณ 106 เมตร ความสูงจากเชิงเขาประมาณ 20 เมตร สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่พักอาศัยหรือประกอบกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต เทคนิคการเขียนภาพมีทั้งแบบการเขียนโครงร่างและระบายสีทึบภายในโครงร่าง ส่วนวัสดุทำพู่กัน สันนิษฐานว่าทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การนำเปลือกไม้มาทุบจุ่มสีแล้ววาดลงผนังหิน เนื่องด้วยภาพเขียนสีผ่นกาลเวลามายาวนานหลายพันปี จึงมีสภาพที่ค่อนข้างเลือนลาง แต่ก็ยังพอสังเกตได้บ้าง ดังนั้นขอความร่วมมือ ไม่สัมผัสบริเวณภาพเขียนสีดังกล่าว เพื่อให้มีสภาพที่คงอยู่ได้นานที่สุดต่อไปครับ ภาพเขียนผนังเพิงผาสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ ภาพคน พบทั้งภาพคนถืออาวุธ แสดงถึงการล่าสัตว์ และภาพคนเรียงกันเป็นแถวคล้ายขบวนแห่… Read More »

เขื่อนธารทองแดง เขื่อนโบราณสมัยอยุธยา ในวัดปราสาททรงธรรม สระบุรี

https://youtu.be/uqBIDvQOkA4 โบราณสถานเขื่อนดินธารทองแดง เขื่อนโบราณสมัยอยุธยา ที่ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมีความอันซีนที่หลายๆท่านอาจไม่เคยรู้ เพราะแอบซ่อนสายตาตั้งอยู่หลังวัดปราสาททรงธรรม อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี อาจจะถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมในสมัยโบราณ และเป็นเขื่อนแห่งแรกของสยามประเทศ การเดินทางถือว่าสะดวกมาก โดยให้ตั้ง GPS ไปที่วัดปราสาททรงธรรม สระบุรี ซึ่งเราจะเห็นป้ายบอกเส้นทางไปเขื่อนดินธารทองแดงอย่างชัดเจน เมื่อเดินทางมาถึงเขตพื้นที่วัดแล้ว ให้หาที่จอดรถแล้วเดินไปด้านหลังวัด หรือจะสอบถามคนภายในวัดก็ได้ครับ วัดปราสาททรงธรรม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามประวัติวัดบันทึกว่า ตั้งวัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2530 จึงเป็นวัดใหม่ที่ไม่ได้เก่าแก่มากนัก และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของเหล่าสาธุชน โดยมีการจัดสรรสถานที่ปฏิบัติอยู่บนภูเขา มีบรรยากาศสัปปายะอย่างยิ่ง เมื่อเดินมาหลังวัด เราจะเห็นลำธารทองแดง ซึ่งเป็นลำธารที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและปรากฏเห็นซากเขื่อนกั้นน้ำที่แอบซ่อนอยู่  ประวัติเขื่อนดินธารทองแดง ประวัติของเขื่อนแห่งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2173 – 2199) เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักธารเกษม ซึ่งตั้งอยู่ริมธารทองแดง และไขน้ำจากธารทองแดงมาใช้ในพระตำหนัก รวมถึงในพระตำหนักท้ายพิกุลด้วย ผมจึงได้ค้นหาเอกสารบันทึกในพงศาวดาร เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลนี้ คือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 2 สมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อผมอ่านเนื้อหาในพระราชพงศาวดารที่บันทึกถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อครั้งเสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี… Read More »

ศาลเจ้าพ่อเขาตก ศาลเจ้าสมัยอยุธยา เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สระบุรี

https://youtu.be/_3znyme6Dyo ศาลเจ้าพ่อเขาตก ศาลเจ้าสมัยอยุธยา เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สระบุรี… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปสักการะศาลเจ้าสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นเส้นทางการสักการะรอยพระพุทธบาท สระบุรี ที่มีมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ศาลเจ้าพ่อเขาตก ตั้งอยู่ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ห่างจากมณฑปพระพุทธบาทราว ๓ กิโลเมตร มีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์มากมาย แต่ผมได้พบชื่อศาลเจ้าแห่งนี้บ่อยครั้ง ในการเสด็จประพาสสระบุรี ของในหลวงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์เสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี และประพาสถ้ำแถบนี้มากมายและโปรดเกล้าฯ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ไว้หลายแห่ง อาทิ แท่งหินบนเขาพระพุทธบาท, ถ้ำวิมานจักรี, ถ้ำมหาสนุก เป็นต้น เนื่องจากเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่และมีบันทึกว่า รัชกาลที่ ๔ และ ๕ พระองค์ได้เสด็จมาสักการะบ่อยครั้ง ผมจึงได้เดินทางไปสักการะศาลเจ้านี้และนำเรื่องราวมาแบ่งปันครับ การเดินทางถือว่ามีความสะดวก เพราะมีถนนตัดผ่าน โดยศาลเจ้าตั้งอยู่ริมถนนมีป้ายบอกชัดเจน โดยการเดินทางจากพระพุทธบาท สระบุรี ไปทางอำเภอบ้านหมอ หรือจะใช้วิธีตั้ง GPS จาก Google Map ก็ถือว่าสะดวกดีครับ เมื่อเดินทางมาถึง มีบรรยากาศที่ค่อนข้างเงียบอาจจะเป็นเพราะผู้คนเดินทางไปสักการะศาลเจ้าพ่อเขาตกที่ตั้งใหม่บริเวณวงเวียนใกล้มณฑปพระพุทธบาท ซึ่งมีความสะดวกมากกว่า ถึงแม้จะมีความเงียบแต่สภาพมีการดูแลรักษาความสะอาดที่ดีอยู่ครับ  เทวรูปเจ้าพ่อเขาตก องค์ด้านบนเป็นองค์ที่รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยมีจารึกที่ฐานองค์เทวรูป ประวัติศาลเจ้าพ่อเขาตก จากคำบอกกล่าว ศาลเจ้าพ่อเขาตก เป็นเทวรูปในศาลเจ้าที่ตั้งอยู่เชิงเขาที่เรียกกันว่าเขาตก ตั้งอยู่ห่างจากมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี ราว 3 กิโลเมตร… Read More »

จารึก จปร. บนแท่งหินจากภาพวาดของมูโอต์ และวิหารร้างบนเขาพระพุทธบาท สระบุรี

  คลิปจาก FaithThaiStory ตามรอยวิหารร้างและจารึกพระปรมาภิไธย จปร. ร.ศ.๑๑๕ บนแท่งหินซึ่งปรากฏภาพแท่นหินนี้จากภาพวาดของ อ็องรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสำรวจในสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๔๐๑ – ๒๔๐๔) จารึกนี้เป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งที่ รัชกาลที่ ๕ เสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๙ (ร.ศ.๑๑๕) สวัสดีครับ ท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทางวัฒนธรรมทุกท่าน การเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางร่วมค้นหาโบราณสถานบนเขาพระพุทธบาท โดยมีทีมร่วมเดินทางจากเพจภารกิจเที่ยววัด และ เพจตามรอยวัดเก่าลุ่มน้ำลพบุรี ผมได้รับข้อมูลว่า มีวิหารร้างบนเขาพระพุทธบาท แต่น้อยคนจะทราบว่ามีโบราณสถานด้านบนนี้ นอกจากวิหารร้าง ยังพบซากโบราณสถานอีกหลายจุด เช่น วิหารแกลบ หอระฆัง เจดีย์ รวมถึงพบจารึก จปร. บนแท่นหินสูงอีกด้วย และมีข้อมูลว่าแท่นหินนี้ ได้ถูกสเก็ตภาพไว้โดย อ็องรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสในระหว่างการเดินทางไปยังเขาพระพุทธบาท แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่าก้อนหินนี้อยู่ตรงไหน  การเดินทางครั้งนี้จึงเป็นการค้นหาโบราณสถาน แท่นหินในประวัติศาสตร์และจารึก จปร. พระพุทธบาทที่นี่ ถือเป็นพระพุทธบาทที่มีความเก่าแก่ และเป็นรอยพระพุทธบาทที่ค้นพบเป็นรอยแรกในผืนแผ่นดินไทย ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่พระสงฆ์กรุงศรีอยุธยา เดินทางไปสักการะพระพุทธบาทยังลังกา และได้รับทราบข้อมูลว่าที่กรุงศรีอยุธยาก็มีรอยพระพุทธบาทตามพระคัมภีร์ และถูกค้นพบในเวลาต่อมาโดยนายพรานบุญ เป็นผู้ค้นพบคนแรก หลังจากที่กราบสักการะรอยพระพุทธบาท เป็นที่เรียร้อยแล้ว จึงได้เดินทางขึ้นไปบนเขาพระบาทเพื่อหาซากโบราณสถานทันที ก่อนไปถึงยอดเขา จะผ่านจุดที่เรียกว่าพระพุทธฉาย ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างและเขียนขึ้นภายหลังให้สอดคล้องกับที่วัดพระพุทธฉาย สระบุรี เมื่อเดินขึ้นมาจนถึงหน้าถ้ำพระนอน จะมีทางบันไดลงไปตามทาง… Read More »