Tag Archives: โบราณสถาน

เมืองโบราณเมืองไผ่ ทวารวดีสุดขอบตะวันออก สระแก้ว

ผมได้วางแผนเดินทางไปท่องเที่ยวโบราณสถานที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม แต่ระหว่างทางได้สังเกตเห็นแผนที่บน Google Map มีลักษณะคล้ายเมืองโบราณทวารวดี มีลักษณะคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทราบชื่อว่า “เมืองไผ่” และปรากฏร่องรอยโบราณสถานกลางเมือง ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นปราสาท ผมจึงได้ตัดสินใจแวะไปชม ซึ่งเส้นทางมีความสะดวก เป็นถนนคอนกรีตเข้าสู่ชุมชนไปตลอดทาง เมืองโบราณแห่งนี้ตามข้อมูลว่าเป็นเมืองโบราณทวารวดีสุดขอบตะวันออกของไทยเลยทีเดียว พบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จนกระทั่งรับวัฒนธรรมทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จนไปถึงยุคขอม เมืองโบราณเมืองไผ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านเมืองไผ่ ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นเมืองโบราณทวารวดีสุดขอบทิศตะวันออกของไทย สันนิษฐานว่ามีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมตั้งแต่ช่วงต้นทวารวดีพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ลักษณะสัณฐานเมืองโบราณคล้ายวงรี รูปไข่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีลำห้วยไหลผ่าน คล้ายเป็นการแบ่งเมืองชั้นนอกและเมืองชั้นใน โดยภายในเมืองชั้นใน ปรากฏร่องรอยโบราณสถาน เรียกกันว่า “ปราสาทเมืองไผ่” สาเหตุชื่อเมืองไผ่ เพราะบริเวณคูเมืองมีก่อไผ่เกิดขึ้นจำนวนมาก กรมศิลปากรได้เข้าสำรวจเบื้องต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 พบโบราณสถาน ต่างๆ ได้แก่ ปราสาทเมืองไผ่ เนินโบราณสถานนอกเมือง คูเมือง สระน้ำโบราณหรือบาราย ปราสาทเมืองไผ่ เป็นอาคารก่ออิฐ ส่วนฐานเป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ บริเวณผนังแกะสลักลวดลายต่างๆ เช่น หน้าบุคคล มีกำแพงแก้วล้อม 2 ชั้น และพบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น เทวรูปยืนถือกระบองศิลปะแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ธรรมจักรสมัยทวารวดี และจารึกอักษรปัลวะ ปราสาทเมืองไผ่ รายล้อมไปด้วยชุมชนในยุคปัจจุบัน ซึ่งทางชุมชนมีความคาดหวังที่จะทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง… Read More »

เมืองโบราณบ้านคูเมือง สิงห์บุรี จากเมืองโบราณพันปีสู่สวนรุกขชาติ

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองโบราณทวารวดีอีกแห่งหนึ่งในภาคกลาง นั่นก็คือ “เมืองโบราณบ้านคูเมือง” สิงห์บุรี ปัจจุบันพื้นที่ได้ถูกจัดสรรเป็นสวนรุกขชาติคูเมือง เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เมืองโบราณแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน และยังปรากฏคูน้ำคันดินล้อมรอบอย่างชัดเจน ภายในเมืองโบราณมีขนาดกว้าง 650 เมตร ยาว 750 เมตร สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันออก และแม่น้ำน้อยทางทิศตะวันตก และมีลำน้ำเครือข่ายอยู่โดยรอบ การขุดสำรวจภายในคูเมืองไม่หลงเหลือซากของโบราณสถาน  แต่พบหลักฐานทางโบราณวัตถุและร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ หลังการสำรวจ จึงได้จัดสรรพื้นที่ให้เป็นสวนรุกขชาติ เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชและเป็นแหล่งโบราณคดี การขุดสำรวจทางโบราณคดี ตั้งแต่ปี 2511-2526 พบโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา อาทิ ธรรมจักร พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา แวดินเผา ลูกปัด เป็นต้น คุณภัทราวดี ดีสมโชค นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 พบหลักฐานทางโบราณคดี เป็นโครงกระดูกเด็ก โครงกระดูกสัตว์ เครื่องประดับลูกปัดต่างๆ เครื่องปั้นดินเผาและ เศษภาชนะดินเผาที่มีอักษรปัลลวะ การหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ จากโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ด้วยวิธีคาร์บอน 14 พบว่ามีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 ในส่วนโบราณวัตถุที่พบ จะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่… Read More »

เทือกเขางู ราชบุรี อารยธรรมวิหารถ้ำโบราณพันปี

ก่อนหน้านี้ผมเคยเดินทางไปชมถ้ำฤาษี เทือกเขางู เมืองราชบุรีมาแล้ว ซึ่งเทือกเขาแห่งนี้ ประกอบด้วยถ้ำหลายแห่ง ที่เคยเป็นสถานที่ทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี และน่าจะมีความเชื่อมโยงกับเมืองโบราณคูบัว ที่ห่างออกไปไม่ถึง 20 กิโลเมตรเท่านั้น ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดราชบุรีอีกครั้ง เพื่อไปชมถ้ำต่างๆบนเทือกเขางู ที่ประกอบไปด้วยถ้ำหลักๆ 4 ถ้ำได้แก่ ถ้ำฤาษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ ซึ่งแต่ละถ้ำล้วนพบร่องรอยการใช้พื้นที่ในทางศาสนา ได้แก่ภาพสลักและลวดลายปูนปั้นในศาสนาพุทธ อีกทั้งยังพบว่ามีภาพสลักพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ที่ถือว่าเป็นภาพสลักผนังถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย จุดแรกที่เราจะเดินทางขึ้นไปสักการะคือที่ถ้ำฤาษี จะเป็นถ้ำที่อยู่ไม่สูง นับได้คงไม่เกิน 40 ขั้นบันไดเท่านั้น จึงเป็นจุดที่หลายท่านคุ้นเคย และได้เข้าชมและสักการะมากที่สุด ถ้ำฤาษี ภายในเป็นถ้ำตื้นๆมีหลืบช่องเป็นถ้ำย่อยอีก 2 ถ้ำ มีพระพุทธรูปหลายองค์ พระพุทธรูปสำคัญของถ้ำฤาษีคือ สลักพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรม มีความสูงราว 2.5 เมตร จากฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้ระบุว่าปรากฏจารึกโบราณที่ฐานพระบาทลักษณะรูปอักษรเหมือนรูปอักษรที่ใช้อยู่ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ประเทศอินเดีย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ยอร์ช เซเดส์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวฝรั่งเศส เคยขึ้นมาสำรวจเมื่อปีพ.ศ.2472 และทำการอ่านชำระเพิ่มเติมคำแปลและคำอธิบายเมื่อปี พ.ศ.2504 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2529 อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกโบราณ ได้ทำการอ่านและแปลจารึกนี้ใหม่อีกครั้ง ความแปลพอสังเขป อธิบายว่าอาจเป็นการบอกชื่อของผู้สร้างพระพุทธรูป ในที่นี้คือ ฤาษีสมาธิคุปตะ หรือ พระศรีสมาธิคุปตะ ว่าเป็น ผู้บริสุทธิ์ ด้วยการทำบุญ จากจารึกนี้ จึงมีการสร้างรูปฤาษีในหลืบถ้ำเพื่อเป็นการแสดงถึงสถานที่บำเพ็ญพรตของฤาษีผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา… Read More »

“เขาคลังหน้า” หรือจะเป็นสถูปพันปีอีกแห่งของเมืองโบราณศรีเทพ

พื้นที่การเกษตร ห่างจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ไปทางทิศใต้ ราว 10 กิโลเมตร ปรากฏร่องรอยเนินดินขนาดใหญ่ ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเขาคลังใน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “เขาคลังหน้า” ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เมืองโบราณพันปี สมัยทวารวดี ที่สืบทอดการอยู่อาศัยของมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จากหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โบราณสถานสำคัญของเมืองศรีเทพ ที่หลายท่านรู้จักกันดี อาทิ ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง เขาคลังใน ปรางค์ฤาษี เขาคลังนอก เป็นต้น ด้วยอาณาเขตของเมืองศรีเทพมีขนาดใหญ่ จากการสำรวจจึงพบร่องรอยโบราณสถานและกิจกรรมของมนุษย์ยุคโบราณ กระจายตัวนอกเขตคูเมืองโบราณอย่างกว้างขวาง ทำให้ทราบว่า ยังมีปริศนาที่ยังไม่ผ่านการสำรวจอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุมชนโบราณ และโบราณสถานที่ยังไม่ขุดค้น เมื่อเร็วๆนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์และสภาวัฒนธรรมอำเภอศรีเทพ ได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ ซึ่งย่อมาจาก Light Detection and Ranging ด้วยการยิงเลเซอร์ทางอากาศ กระทบกับวัตถุต่างๆบนพื้นโลก เพื่อวัดช่วงระยะทางที่แปรผันกับผิวโลก แล้วคำนวณสร้างภาพสามมิติ  หนึ่งในจุดสำรวจคือ พื้นที่เนินดินขนาด 13 ไร่ ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรม ต.คลองกระจัง อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็นสถานที่ที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้จัก ยกเว้นคนในพื้นที่ ที่เรียกกันว่า “เขาคลังหน้า” ซึ่งสถานีข่าว Thai PBS ได้เผยแพร่ออกอากาศการสำรวจครั้งนี้ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ผมได้เดินทางไปชมสถานที่จริง เส้นทางห่างจากเมืองโบราณศรีเทพราว 10 กิโลเมตร พบว่าปัจจุบันมีการสร้างที่พักสงฆ์ และก่อสร้างรูปเคารพ โดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม… Read More »

“พงตึก” ชุมชนการค้าโบราณพันปี กาญจนบุรี

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานพงตึก ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สถานที่แห่งนี้เคยเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มานานนับพันปี มาตั้งแต่สมัยทวารวดี พบหลักฐานทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู จากการศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า พื้นที่แถบนี้ จะเป็นชุมชนโบราณเชื่อมเส้นทางการค้าจากดินแดนฝั่งตะวันตก เชื่อมต่อกับเมืองโบราณอื่นๆ อาทิ เมืองคูบัว นครปฐม กำแพงแสน เมืองสิงห์ เมืองอู่ทอง เป็นต้น ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ ได้เข้ามาสำรวจโบราณสถานพงตึก เมื่อปี พ.ศ.2470 ได้พบพระพุทธรูป พระพิมพ์จำนวนหลายองค์ ซึ่งมีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ปัจจุบันมีโบราณสถาน 2 แห่ง ที่ได้รับการสำรวจอย่างเป็นทางการ แห่งที่ 1 มีลักษณะเป็นฐานศิลาแลงของอาคารมีบันไดทางขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นฐานของวิหาร ในช่วงแรก ที่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ เข้าสำรวจ พบหลักฐานโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ และพบโบราณวัตถุชิ้นเก่าแก่ คือ ตะเกียงแบบกรีก โรมัน ที่มีความเก่าแก่ถึง พุทธศตวรรษที่ 6 ตะเกียงกรีก-โรมัน ทำจากสำริด อายุกว่า 1,900 ปี พบที่โบราณสถานพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ที่ฝาตะเกียงเป็นลายใบหน้าของเทพเจ้าซิเลนุส (Silenus) ด้ามจับเป็นลายปาล์มและปลาโลมา 2 ตัว เชื่อกันว่าผลิตขึ้นในช่วงราชวงศ์ปโตเลมี แห่งอเล็กซานเดรีย อียิปต์ นักโบราณคดีประเมินอายุอาจเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 หรือมีอายุมากกว่า 1,900 ปี… Read More »

วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ เจดีย์ใหญ่ที่สุดในล้านนา วัดที่หลวงปู่มั่นเคยเป็นเจ้าอาวาส

  ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีจุดหมายสำคัญ คือการไปชมเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา ณ วัดเจดีย์หลวง ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นอกจากจะเป็นโบราณสถานสำคัญกลางเมืองเชียงใหม่แล้ว สถานที่แห่งนี้ ก็เป็นอนุสรณ์สถานเกี่ยวครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือ นั่นก็คือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านได้เคยจำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดแห่งนี้ เมื่อราวปี พ.ศ.2475 วัดเจดีย์หลวง ตามตำนานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ในพุทธศตวรรษที่ 20 เพื่ออุทิศถวายพระเจ้ากือนาผู้เป็นพระราชบิดา แต่สร้างไม่แล้วเสร็จก็เสด็จสวรรคตไปเสียก่อน จึงมีการก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยพระเจ้าติโลกราช ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 และมีการบูรณะในสมัยพระเมืองแก้วอีกครั้ง จนกระทั่งมีบันทึกว่าปี พ.ศ.2088 สมัยของพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวจนยอดเจดีย์พังทลาย ไม่สามารถซ่อมแซมได้ มีสภาพตามที่เห็นในปัจจุบันนี้ ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้วิเคราะห์และสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม จัดเป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา 2ประกอบด้วยส่วนฐานเพิ่มลานประทักษิณ ประดับด้วยช้างล้อม ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุประดับซุ้มจระนำ 3ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ ถัดไปเป็นชั้นหลังคาแบบเอนลาด 2 ชั้น เพื่อรับส่วนยอด ซึ่งถ้ายังสมบูรณ์จะมีลักษณะเหมือนกับเจดีย์ที่วัดเชียงมั่นที่มีขนาดเล็กกว่า จึงสามารถกำหนดอายุของเจดีย์อยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ในวันที่ผมเดินทางนั้น พระวิหารได้ปิดเพื่อทำการบูรณะ ผมจึงไม่ได้เข้าไปชมด้านใน แต่รู้มาว่าภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สร้างจากสำริด ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวก สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 หลังจากนั้นผมได้เข้าไปกราบสักการะในวิหารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นวิหารที่หลวงตามหาบัว ได้มาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 เพื่อประดิษฐานรูปเหมือนและพระอัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ไว้เป็นที่สักการะของสาธุชน เนื่องจากเมื่อราวปี พ.ศ.2475… Read More »