Tag Archives: ท่าเจ้าสนุก

บ่อน้ำโบราณ ตำหนักท่าเจ้าสนุก เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สมัยอยุธยา

https://youtu.be/r-9d4qmJuAs อันซีน อยุธยา บ่อน้ำโบราณสมัยอยุธยาที่หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “ท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นชื่อตำบลในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีเรื่องราวความเกี่ยวข้องในเส้นทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท สระบุรี มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏซากร่องรอยบางอย่างที่แสดงให้เห็นในปัจจุบัน คือ บ่อน้ำโบราณ ที่กล่าวกันว่าเป็นบ่อน้ำที่นำน้ำมาใช้ในพระตำหนักที่มีชื่อว่า “พระตำหนักท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นไว้พักแรมระหว่างทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท จึงเป็นอีกสถานที่ ที่มีความน่าสนใจตามรอยและบันทึกไว้ในการเดินทางครั้งนี้ รอยพระพุทธบาท สระบุรี ถือได้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่และมีความสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะมีบันทึกการค้นพบในพระราชพงศาวดารและมีพระราชประเพณีการเสด็จสักการะมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่องราวของท่าเจ้าสนุกจากเว็บไซต์เทศบาลตำบลท่าเรือ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ท่าเรือ เดิมเรียกว่า “นครน้อย” ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ พ.ศ. 2153 – 2171 เสด็จประพาสเพื่อไปสักการะพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทางชลมารค(ทางเรือ) ได้จอดเรือเพื่อเสด็จทางสถลมารค(ทางบก)ต่อไป ขบวนเรือหลวงมากันคับคั่งจนไม่มีที่จอดเรือ เรือราษฎร์ได้จอดเลยตัวอำเภอท่าเรือในปัจจุบันขึ้นไปจนถึงตำบลท่าหลวง ส่วนขบวนเรือหลวงก็จอดที่ท่าเจ้าสนุก เพราะมีตำหนักประทับแรมตั้งอยู่ ส่วนเรือของบรมวงศานุวงศ์ ก็จอดท่าถัดๆไปจนถึงหน้าวัดสฎางค์ ได้พักค้างแรมที่ตำหนักท่าเจ้าสนุก วันรุ่งขึ้นก็ข้ามฝั่งไปขึ้นช้างที่ท่าเกย(ติดกับบริเวณวัดไม้รวกในปัจจุบัน) แล้วพระราชดำเนินต่อไปยังอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อทรงสักการะพระพุทธบาท ภายหลังพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ ต่างเจริญรอยตามพระราชประเพณีสืบมา  ซึ่งตามหลักฐานที่ สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่บริเวณวัดตำหนักพระเจ้าทรงธรรม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าเจ้าสนุก คือ บริเวณโบราณสถานท่าเจ้าสนุกและตำหนักท่าเจ้าสนุก ซึ่งปลูกสร้างด้วยไม้จึงไม่หลงเหลือซากตำหนักให้เห็นในปัจจุบัน ซากโบราณสำคัญที่ยังหลงเหลือให้เห็นและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของพระตำหนักท่าเจ้าสนุก คือ “บ่อน้ำโบราณ” สันนิษฐานว่าเป็นระบบสาธารณูปโภค เพื่อใช้ในเขตพระตำหนักท่าเจ้าสนุก… Read More »