Tag Archives: เที่ยววัด

วัดอ้อย วัดเก่าแก่กว่า 400 ปี ริมแม่น้ำน้อย อ่างทอง

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดเก่าแก่สมัยอยุธยา อายุกว่า 400 ปีที่จังหวัดอ่างทอง นามว่า “วัดอ้อย” วัดอ้อยตั้งอยู่ที่ ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จากประวัติวัดกล่าวว่า เป็นวัดสมัยอยุธยา สร้างราวปี พ.ศ.2070 แต่ไม่พบบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้าง การเดินทางครั้งนี้ ผมจอดรถไว้ปากซอยบ้านไผ่จำศีล ซอย 1 แล้วเดินเข้าไป เพราะรถยนต์ไม่สามารถขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำน้อยได้ จึงได้พบความโดดเด่นของวัดแห่งนี้ ประกอบไปด้วยบรรยากาศท้องถิ่น ติดริมแม่น้ำน้อย ทำให้มีความเงียบสงบ เป็นการเดินทางที่ได้มีโอกาสสัมผัสความสวยงามทางธรรมชาติ ผสานความงดงามทางสถาปัตยกรรมของสิ่งปลูกสร้างอันโดดเด่น สิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัด คือ พระอุโบสถขนาดใหญ่ แบบโบสถ์มหาอุด ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบโบราณที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หลังคาเป็นเครื่องไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบกาบกล้วย ประดับเชิงชาย รอบอุโบสถมีใบเสมาคู่ ซึ่งจากการพิจารณามีทั้งแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนกลางและอยุธยาตอนปลาย บัวหัวเสาประดับด้วยบัวแวงที่เป็นแบบนิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน ภายในอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดปางมารวิชัย ขนานนามว่า หลวงพ่อดำ และประดิษฐานพระอันดับปางต่างๆอีกหลายองค์ ตำนานกล่าวว่า วัดอ้อยแห่งนี้ เคยเป็นวัดในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย วัดอ้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 การเดินทางครั้งนี้ ส่วนตัวผมมีความประทับใจในบรรยากาศและการจัดการของวัดแห่งนี้ แม้ว่าจะเป็นวัดในท้องถิ่นที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวสัญจรผ่าน แต่ทางวัดได้ดำเนินการให้ทุกท่านที่เดินทางไปถึง สามารถเข้าชมและสักการะภายในอุโบสถได้ทุกวัน โดยประตูอุโบสถไม่ได้ล็อคไว้ครับ ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube… Read More »

วัดใหญ่บ้านบ่อ สมุทรสาคร วิหารเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวโบราณสถานวัดใหญ่บ้านบ่อ ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านบ่อ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ประวัติวัดจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเขียนไว้ว่า สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ.2264 มีโบราณสถานที่น่าสนใจได้แก่ อุโบสถเก่า, หอไตรกลางน้ำ และวิหารเก่าโบราณ อุโบสถเก่ามีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2472 เพราะระบุปีการบูรณะไว้ที่หน้าบันด้วย มีการซ่อมแซมมุงหลังคาและซุ้มประตูใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2512 โดยมีพ่อเล็ก แม่หมา โพธิ์บุญ และพ่อบุญส่ง แม่ทองคำ ทองมาก มาสร้างพาไลด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงปูหินอ่อนใหม่ และในปี พ.ศ.2542 มีการบูรณะด้านในอุโบสถและปิดทององค์พระประธานใหม่ ภายในอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรม แต่ที่บานประตูมีการเขียนภาพโดยช่างท้องถิ่น หน้าอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาเลไลยก์ โดยรอบอุโบสถ มีใบเสมาคู่ ทำจากหินทรายแดงที่มีศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นโบราณวัตถุสำคัญที่อาจจะใช้ยืนยันได้ว่า วัดแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจริงๆ ข้างอุโบสถ มีหอไตรไตรกลางน้ำมีความเก่าแก่ และโดดเด่นงดงามยิ่งนัก ทางวัดได้อนุรักษ์เสริมความแข็งแรงยกพื้นสูงขึ้น เพื่อให้คงอยู่คู่วัดยาวนานที่สุด โบราณสถานแห่งที่สามคือวิหารเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องบนและหลังคาทำจากไม้ มีพาไลยื่นออกมาด้านหน้า ประดับบัวแวงหัวเสา ที่เป็นศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชี มีพระสาวกขนาบข้าง โดยรอบด้านในวิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชำรุดหลายองค์ รวมถึงเก็บรักษาโบราณวัตถุหลายชิ้น พระพุทธรูปองค์ใหญ่หลายองค์แตกชำรุดเศียรหายไป เห็นด้านในเป็นแกนไม้ และยังมีพระพุทธรูปเก่าองค์ขนาดเล็กอีกหลายองค์รวมอยู่ด้วย วิหารหลังนี้เปรียบเสมือนแหล่งเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายอย่างของวัดไว้ โบราณวัตถุสำคัญที่เก็บรักษาไว้ภายในอีกอย่างคือใบเสมา จึงอาจจะสันนิษฐานได้ว่า วิหารหลังนี้เคยเป็นอุโบสถมาก่อน ในวันที่ผมเดินทางไปนั้น เป็นช่วงที่ฝนตกชุก ประกอบกับหลังคาวิหารมีรอยรั่วหลายจุด ทำให้มีน้ำเจิ่งนองท่วมด้านใน ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการบูรณะรักษาโบราณสถานแห่งนี้ ให้คงทนแข็งแรงยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต … Read More »

วัดโชติการาม โบสถ์โบราณทรงวิลันดา เมืองนนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวนนทบุรี ชมโบราณสถาน วัดโชติการาม เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” ตั้งอยู่ที่ ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อราวปี พ.ศ.2350 โดยชาวจีนสามคน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระยาโชฎึกราช(บุญมา) และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโชติการาม จากรูปแบบสถาปัตยกรรมมีการสืบทอดรูปแบบมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โบราณสถานสำคัญในวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ประธาน และวิหาร ซึ่งตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือและใต้ อุโบสถเป็นอาคารทรงวิลันดา เป็นอาคารขนาดเล็ก หน้าบันใช้การก่ออิฐประดับลวดลายปูนปั้นแทนจั่วไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีภาพปูนปั้นหน้าบันเล่าเรื่องราวในชาดกเรื่อง ภูริทัตชาดก ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่ามกลางลวดลายพรรณพฤกษา ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย และหมู่พระพุทธรูปอีกหลายองค์ เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สร้างบนฐานประทักษิณ 2 ชั้น ระเบียงฐานประทักษิณตกแต่งด้วยกระเบื้องปรุลายจีน มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ เจดีย์มีชุดฐานสิงห์ซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น เป็นรูปแบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย วิหารเป็นอาคารขนาดเล็ก บานประตูด้านนอกแกะสลักรูปทวารบาลแบบจีนยืนบนสิงโต บานหน้าต่างด้านนอกตกแต่งลายรดน้ำ ด้านในบานประตูและหน้าต่างเขียนภาพแจกันทรงสูงใส่ดอกไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3-4 เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าและภาพในพุทธประวัติ จากการสำรวจทางโบราณคดีรอบอุโบสถและเจดีย์ประธาน โดยกรมศิลปากร พบว่ามีการสร้างและบูรณะ 3 ระยะ ได้แก่ แรกสร้างวัด สันนิษฐานสร้างราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงรัชกาลที่… Read More »

วัดโปรดเกษ วัดชาวมอญอพยพ สมัยพระเจ้าตาก นนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดโบราณแห่งหนึ่งนามว่า วัดโปรดเกษ ตั้งอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ติดกับวัดสะพานสูง ริมคลองพระอุดม ตามประวัติว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยกลุ่มชาวมอญที่เข้ามาในสมัยนั้น มีชื่อเดิมว่า วัดสนามไก่ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เข้ามาบูรณะวัดแถบชุมชนมอญ 3 วัด ได้แก่ วัดป่าฝ้าย(วัดฉิมพลีสุทธาวาส), วัดเกาะปิ้น(วัดท้องคุ้ง) และวัดสนามไก่ ซึ่งต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดโปรดเกษ โบราณสถานสถานสำคัญในวัดโปรดเกษ ประกอบไปด้วยเจดีย์โบราณ 2 องค์ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ ตัวอุโบสถได้รับการบูรณะเรื่อยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 หน้าบันลวดลายปูนปั้นสวยงาม รอบอุโบสถมีเสมาหินทรายแดงตั้งบนฐานบัวกลุ่มแข้งสิงห์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน และพระอันดับอีก 3 องค์ จากการสอบถามลุงหมึก จิตอาสาดูแลวัดโปรดเกษ ได้เล่าให้ฟังว่าเดิมวัดโปรดเกษ สร้างจากกลุ่มคนชาวมอญที่อพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ใช้ชื่อว่า วัดไก่เตี้ย ต่อมาพื้นที่ป่าหลังวัด ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกทหาร จึงเรียกว่า วัดสนามไก่เตี้ย และ วัดสนามไก่ตามลำดับ มาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโปรดเกษ หลังการบูรณะใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ลุงหมึกเล่าเพิ่มเติมว่า ในอุโบสถแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ได้ชำรุดทรุดโทรมและเลือนรางไป ทางวัดจึงได้ก่อผนังทับใหม่ เมื่อราว 40 ปีก่อน จากข้อมูลการอพยพของชาวมอญในสมัยกรุงธนบุรี กล่าวว่า ในปีพ.ศ.… Read More »

พระพุทธรูปในโลงพระศพ วิหารโบราณ วัดสรรพยาวัฒนาราม ชัยนาท

YouTube : FaithThaiStory ผมมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดชัยนาท เพื่อไปสักการะรูปหล่อหลวงพ่อกวย ณ วัดโฆสิตาราม จึงได้เดินทางไปเที่ยวชัมโบราณสถานที่วัดสรรพยาวัฒนารามเพราะอยู่ห่างกันไม่มากนัก วัดสรรพยาวัฒนาราม ตั้งอยู่ที่ ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สังกัดสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2410 ปลายรัชกาลที่ 4 เดิมเรียกชื่อว่า วัดเสาธงหิน และ วัดวังหิน เพราะหน้าวัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสมัยก่อนเป็นวังน้ำวน น้ำหมุนเป็นเกลียวเห็นเป็นเสาหิน ต่อมาปีพ.ศ.2495 ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดสรรพยาวัฒนาราม เป็นวัดประจำอำเภอในปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างในวัดสรรพยาวัฒนาราม ที่สำคัญ ได้แก่ วิหารน้อย เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน หลังคาจั่วทรงไทยเป็นเครื่องไม้ มุงกระเบื้องดินเผา ผนังด้านหน้าเป็นประติกรรมพระพุทธฉายปางถวายเนตรมีพระสาวกพนมมือเบื้องซ้ายและขวา ด้านบนเป็นจิตกรรมภาพเทพธิดาผนังด้านหลังประดับประติมากรรมพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ภายในประดิษฐานโลงพระบรมศพพระพุทธเจ้า มีพระมหากัสสปะเถระพนมมือที่เบื้องพระพุทธบาทที่โผล่ยื่นออกมา แต่ความน่าสนใจพิเศษคือ การสร้างประติมากรรมนี้ จะเปิดโลงด้านบน ทำให้เรามองเห็นพระพุทธรูปนอนหงาย เป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จดับขันธปรินิพพาน วิหารแกลบ อยู่ข้างวิหารน้อย เป็นวิหารเปิดโล่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ เจดีย์ มีเจดีย์ทรงปราสาทยอด ฐานสิงห์ซ้อนสามชั้น รองรับด้วยฐานเขียงย่อมุมไม้สิบสอง มีฐานทักษิณ เรือนธาตุเป็นมณฑป มีบันไดทางขึ้น 2 ทาง และมีเจดีย์รายหน้าวิหารน้อยอีกหนึ่งองค์ นอกจากนี้ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 3 ศอก และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากศรีลังกา เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 9 ข้างอุโบสถมีมณฑป ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเฟื่องอดีตเจ้าอาวาสที่ได้รับความเคารพศรัทธาจากคนในท้องที่ ความโดเด่นคือวิหารน้อย… Read More »

วัดเลขธรรมกิตติ์ โบสถ์เก่ารากโพธิ์ปกคลุม ประตูกาลเวลาแห่งนครนายก

https://youtu.be/5Woijeaahk8 วัดเลขธรรมกิตติ์ โบราณสถานประตูแห่งกาลเวลา นครนายก ถ้าจะกล่าวถึงวัดที่ได้สมญานามว่า “ประตูแห่งกาลเวลา” ส่วนใหญ่จะคิดไปถึง วัดพระงามแห่งพระนครศรีอยุธยา ด้วยความงดงามเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวอยุธยา จะต้องแวะวัดพระงามจนมีความคึกคักจนถึงปัจจุบัน แต่รู้หรือไม่ว่า ที่นครนายก ก็มีวัดที่ได้รับสมญานามว่า “ประตูแห่งกาลเวลา” อีกแห่งหนึ่ง ที่มีความงดงามไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “วัดเลขธรรมกิตติ์” ซึ่งเป็นส่วนของโบราณสถานอาคารอุโบสถหลังเดิม ที่ธรรมชาติได้รังสรรค์ความงดงามให้ได้ไปยล วัดเลขธรรมกิตติ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 14 ตําบลบางอ้อ อําเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก มีความงดงามของโบราณสถานคืออุโบสถหลังเก่าที่แอบซ่อนอยู่ด้านหลังวัด ดังนั้นเมื่อเข้ามาในเขตวัดแล้ว จะต้องเดินเข้าไปด้านหลัง ซึ่งทางวัดได้ติดป้ายบอกทางไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายในอุโบสถเก่านี้ มีสภาพพังทลายไปเกือบทั้งหมด เหลือเพียงผนังอาคารบางส่วนที่ถูกรากต้นโพธิ์ร้อยรัดให้คงทนไม่ทลายไป จนเกิดการรังสรรค์ให้เป็นความสวยงามขึ้นโดยธรรมชาติ และถือว่าเป็นอันซีนอีกจุดหนึ่งของจังหวัดนครนายก จากประวัติบันทึกที่วัด ได้เขียนไว้ว่าวัดเลขธรรมกิตติ์สังกัดฝ่ายสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2413 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ 25 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา มีชื่อเดิมว่า “วัดอ้อนอก” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครนายก ต่อมาปี พ.ศ.2462 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อว่า “วัดเลขธรรมกิตติ์” ซึ่งแปลว่า “วัดมีเกียรติด้วยธรรมอันจารึกไว้แล้ว” ตรงนี้เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2440 โดยเจ้าอาวาสในสมัยนั้น และมีคุณปู่เผือกและคุณย่าลำภูเป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อสร้างอุโบสถหลังนี้ ส่วนอุโบสถหลังใหม่สร้างทดแทนหลังเดิมสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2508 ประตูแห่งกาลเวลา วัดเลขธรรมกิตติ์ นครนายก อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของนักท่องเที่ยวเท่าที่อยุธยา เพราะอยุธยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม… Read More »