Tag Archives: วิหารโบราณ

วัดใหญ่บ้านบ่อ สมุทรสาคร วิหารเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวโบราณสถานวัดใหญ่บ้านบ่อ ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านบ่อ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ประวัติวัดจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเขียนไว้ว่า สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ.2264 มีโบราณสถานที่น่าสนใจได้แก่ อุโบสถเก่า, หอไตรกลางน้ำ และวิหารเก่าโบราณ อุโบสถเก่ามีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2472 เพราะระบุปีการบูรณะไว้ที่หน้าบันด้วย มีการซ่อมแซมมุงหลังคาและซุ้มประตูใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2512 โดยมีพ่อเล็ก แม่หมา โพธิ์บุญ และพ่อบุญส่ง แม่ทองคำ ทองมาก มาสร้างพาไลด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงปูหินอ่อนใหม่ และในปี พ.ศ.2542 มีการบูรณะด้านในอุโบสถและปิดทององค์พระประธานใหม่ ภายในอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรม แต่ที่บานประตูมีการเขียนภาพโดยช่างท้องถิ่น หน้าอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาเลไลยก์ โดยรอบอุโบสถ มีใบเสมาคู่ ทำจากหินทรายแดงที่มีศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นโบราณวัตถุสำคัญที่อาจจะใช้ยืนยันได้ว่า วัดแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจริงๆ ข้างอุโบสถ มีหอไตรไตรกลางน้ำมีความเก่าแก่ และโดดเด่นงดงามยิ่งนัก ทางวัดได้อนุรักษ์เสริมความแข็งแรงยกพื้นสูงขึ้น เพื่อให้คงอยู่คู่วัดยาวนานที่สุด โบราณสถานแห่งที่สามคือวิหารเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องบนและหลังคาทำจากไม้ มีพาไลยื่นออกมาด้านหน้า ประดับบัวแวงหัวเสา ที่เป็นศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชี มีพระสาวกขนาบข้าง โดยรอบด้านในวิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชำรุดหลายองค์ รวมถึงเก็บรักษาโบราณวัตถุหลายชิ้น พระพุทธรูปองค์ใหญ่หลายองค์แตกชำรุดเศียรหายไป เห็นด้านในเป็นแกนไม้ และยังมีพระพุทธรูปเก่าองค์ขนาดเล็กอีกหลายองค์รวมอยู่ด้วย วิหารหลังนี้เปรียบเสมือนแหล่งเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายอย่างของวัดไว้ โบราณวัตถุสำคัญที่เก็บรักษาไว้ภายในอีกอย่างคือใบเสมา จึงอาจจะสันนิษฐานได้ว่า วิหารหลังนี้เคยเป็นอุโบสถมาก่อน ในวันที่ผมเดินทางไปนั้น เป็นช่วงที่ฝนตกชุก ประกอบกับหลังคาวิหารมีรอยรั่วหลายจุด ทำให้มีน้ำเจิ่งนองท่วมด้านใน ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการบูรณะรักษาโบราณสถานแห่งนี้ ให้คงทนแข็งแรงยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต … Read More »

พระพุทธรูปในโลงพระศพ วิหารโบราณ วัดสรรพยาวัฒนาราม ชัยนาท

YouTube : FaithThaiStory ผมมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดชัยนาท เพื่อไปสักการะรูปหล่อหลวงพ่อกวย ณ วัดโฆสิตาราม จึงได้เดินทางไปเที่ยวชัมโบราณสถานที่วัดสรรพยาวัฒนารามเพราะอยู่ห่างกันไม่มากนัก วัดสรรพยาวัฒนาราม ตั้งอยู่ที่ ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สังกัดสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2410 ปลายรัชกาลที่ 4 เดิมเรียกชื่อว่า วัดเสาธงหิน และ วัดวังหิน เพราะหน้าวัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสมัยก่อนเป็นวังน้ำวน น้ำหมุนเป็นเกลียวเห็นเป็นเสาหิน ต่อมาปีพ.ศ.2495 ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดสรรพยาวัฒนาราม เป็นวัดประจำอำเภอในปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างในวัดสรรพยาวัฒนาราม ที่สำคัญ ได้แก่ วิหารน้อย เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน หลังคาจั่วทรงไทยเป็นเครื่องไม้ มุงกระเบื้องดินเผา ผนังด้านหน้าเป็นประติกรรมพระพุทธฉายปางถวายเนตรมีพระสาวกพนมมือเบื้องซ้ายและขวา ด้านบนเป็นจิตกรรมภาพเทพธิดาผนังด้านหลังประดับประติมากรรมพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ภายในประดิษฐานโลงพระบรมศพพระพุทธเจ้า มีพระมหากัสสปะเถระพนมมือที่เบื้องพระพุทธบาทที่โผล่ยื่นออกมา แต่ความน่าสนใจพิเศษคือ การสร้างประติมากรรมนี้ จะเปิดโลงด้านบน ทำให้เรามองเห็นพระพุทธรูปนอนหงาย เป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จดับขันธปรินิพพาน วิหารแกลบ อยู่ข้างวิหารน้อย เป็นวิหารเปิดโล่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ เจดีย์ มีเจดีย์ทรงปราสาทยอด ฐานสิงห์ซ้อนสามชั้น รองรับด้วยฐานเขียงย่อมุมไม้สิบสอง มีฐานทักษิณ เรือนธาตุเป็นมณฑป มีบันไดทางขึ้น 2 ทาง และมีเจดีย์รายหน้าวิหารน้อยอีกหนึ่งองค์ นอกจากนี้ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 3 ศอก และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากศรีลังกา เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 9 ข้างอุโบสถมีมณฑป ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเฟื่องอดีตเจ้าอาวาสที่ได้รับความเคารพศรัทธาจากคนในท้องที่ ความโดเด่นคือวิหารน้อย… Read More »

วัดเทียนถวาย วิหารโบราณสุดขลัง และตำนานเก่าแก่ก่อนอยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวปทุมธานี หลังจากที่ไปท่องเที่ยวไหว้พระที่วัดไก่เตี้ย สามโคก ปทุมธานีแล้ว จึงมาชมโบราณสถาน ณ วัดเทียนถวาย ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี ตำนานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1880 เล่ากันว่า พระเจ้าอู่ทองในฐานะเป็นเจ้าเมืองขณะนั้น ทรงรับสั่งให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเมื่อครั้งที่ได้อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งกองเกวียนพักอาศัย ยามถึงกลางคืนจะจุดไฟสว่างไสว โดยพักอาศัยอยู่ประมาณ 1 เดือนเศษ ก่อนที่จะอพยพกลับเมือง จึงได้พาขนานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดเกวียนไสว” และต่อมาได้เรียกว่า “วัดเทียนถวาย” บางกระแสว่าชื่อวัดมาจากคำว่า “เกรียนสวาย” มาจากภาษาเขมรที่แปลว่า “ป่ามะม่วง” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จทางชลมารคพร้อมด้วยข้าราชบริพารเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ 20 บาท เพื่อเป็นพระราชกุศล พร้อมกับโปรดให้ถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระธรรมานุสสารี หลวงพ่อสว่าง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสขณะนั้นด้วย ความโดดเด่นของวัดได้แก่อุโบสถเก่า ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยถ่ายภาพอุโบสถหลังนี้ไว้ด้วย ครั้งเสด็จประพาส เมื่อปี 2449 โดยรอบอุโบสถมีใบเสมาแบบอยุธยาตอนปลายล้อมรอบ ทั้ง 8 ทิศ  ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานแบบอู่ทองปางมารวิชัย และพระปางป่าเลไลย์ หน้าบันอุโบสถมีลวดลายปูนปั้นก้านขดสวยงาม มีสัตว์ในป่าหิมพานต์คือ อรหันประดับไว้ด้วย มีลักษณะรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มีสองเท้า ศีรษะเป็นมนุษย์… Read More »

วัดโพธิ์บางคล้า วิหารพระนอนโบราณ ชมค้างคาวแม่ไก่ ฉะเชิงเทรา

คลิปบนช่อง FaithThaiStory วัดโพธิ์บางคล้า วันนี้ผมจะพาไปเที่ยววัดแห่งหนึ่งในเมืองแปดริ้ว หรือจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็น Unseen อีกแห่งหนึ่งของเมืองแปดริ้ว เพราะด้วยจุดเด่นคือมีค้างคาวแม่ไก่อยู่ในบริเวณพื้นที่วัดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งวัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงเป็นวัดที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวแปดริ้วอีกแห่งหนึ่งด้วย นั่นก็คือ “วัดโพธิ์บางคล้า” วัดโพธิ์บางคล้า อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอบางคล้า ห่างจากตลาดน้ำบางคล้าเล็กน้อย การเดินทางถ้าออกจากตลาดน้ำบางคล้า ให้เลี้ยวมาทางขวา หรือสอบถามคนในละแวกนั้นก็ได้ครับ เพราะห่างจากตลาดน้ำบางคล้าประมาณ 2 – 3 กิโลเมตรเท่านั้น “วัดโพธิ์บางคล้า” สันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ราว พ.ศ. 2310 – 2315 เพื่อใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นอนุสรณ์ที่เคยใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่พักทัพ ในครั้งที่เดินทัพเพื่อกอบกู้เอกราช ปัจจุบันมีวิหารเก่าอยู่หลังหนึ่ง รูปทรงจัตุรมุข ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชน ในปี พ.ศ. 2485 ได้มีผู้มีจิตศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์วิหาร โดยการซ่อมเปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องเกล็ดเต่าเขียว ประดับด้วยช่อฟ้ารูปหัวพญานาคและมีใบระกา หน้าจั่วทางทิศตะวันตกปั้นเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับด้วยลายเครือเถา หน้าจั่วด้านทิศเหนือปั้นเป็นรูปดอกบัว 5 ดอกประดับแจกัน ต่อมาหลังคาได้พังลงมาทำให้พญานาคและใบระกาชำรุดเสียหาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ชาวอำเภอบางคล้าได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์เป็นเงินกว่า 350,000 บาท เพื่อทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วิหารในส่วนของโครงสร้างหลังคาโดยยังคงรูปแบบเดิมไว้โดยได้ตั้งเสาขึ้นทั้งหมด 8 ต้นเพื่อเสริมความแข็งแรงของหลังคาทั้งสี่ด้าน พื้นรอบวิหารปูด้วยศิลาแลง ผนังภายในก่ออิฐฉาบปูน และเปลี่ยนเพดานใหม่ พร้อมทั้งติดตั้งโคมไฟ ปูพื้นด้วยหินอ่อน จุดเด่นสำคัญของวัดโพธิ์… Read More »