Tag Archives: โบราณคดี

เทวสถาน โบสถ์เทพฮินดูในสมัยอยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานแห่งหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้ นั่นก็คือโบราณสถาน เทวสถานหรือโบสถ์เทวรูปฮินดูในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เทวสถานนี้เป็นไปตามคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดู และในสมัยกรุงอยุธยาให้การเคารพกษัตริย์เปรียบสมมุติเทพแสดงถึงอำนาจบารมีในการปกครองบ้านเมือง จึงมีพิธีกรรมทางพราหมณ์ในพระราชพิธีตลอดมาและมีเทวสถานตรงนี้นั่นเอง ปัจจุบัน โบราณสถานนี้ กำลังได้รับการขุดสำรวจทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร เพื่อเป็นการเปิดเผยเรื่องราวประวัติศาสตร์สู่สาธารณชนให้ได้เรียนรู้ และอาจจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ต่อไป โอกาสนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเทวสถานสมัยอยุธยามานำเสนอให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่ผู้สนใจดังต่อไปนี้ คติความเชื่อเรื่องเทพในสมัยอยุธยา คติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดูสมัยอยุธยานั้น มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง รูปเคารพในศาสนาฮินดูสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย ผศ.ดร.เอกสุดา สิงห์ลำพอง ได้อธิบายบันทึกคติความเชื่อในสมัยอยุธยาไว้ว่า ความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่แรกสร้างกรุง จากบันทึกในพงศาวดารหลายฉบับ เช่น ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์, ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม), ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น เนื้อความในพงศาวดารกล่าวถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนากรุงศรีอยุธยา ความว่า “…ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง… และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว…” และจากข้อมูลการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2512 กล่าวว่า เทวสถานเดิมของกรุงศรีอยุธยาคือบริเวณศาลพระกาฬ ในบริเวณแยกตะแลงแกง… Read More »

ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก(วัดร้าง) ทุ่งอุทัย อยุธยา

https://youtu.be/V36jR40Hsfw ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก และคำบอกเล่าการขุดกรุสมบัติเมื่อครั้งอดีต โบราณสถานวัดร้างนามว่า “วัดเจดีย์หัก” แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้ซุง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่ถูกทิ้งร้างลงจากภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 กลุ่มนักเดินทาง ได้ทราบข้อมูลว่า มีพื้นที่วัดร้างในเขตอำเภออุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง จึงได้ค้นหาและสอบถามข้อมูลต่างๆจากชาวบ้านในพื้นที่ จึงได้รู้จักชื่อ “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งเป็นคำเรียกติดปากของชาวบ้าน เพราะในอดีตราว 40 – 50 ปีก่อน ยังปรากฏเยอดเจดีย์สูงตระหง่าน แต่ได้พังทลายลงไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา เราได้เดินทางมายัง ต.หนองไม้ซุง เพื่อมาตามหาวัดแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดหนองไม้ซุงเท่าไรนัก และปรากฏเห็นโคกโบราณสถานใกล้กับหมู่บ้าน ในบรรยากาศท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีสวยงามอย่างยิ่ง  บริเวณโคกโบราณสถานแห่งนี้ มีการสร้างศาลเล็กๆไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อขุนศึก” และ “เจ้าแม่จันทร์หอม”  การเดินทางวันนี้ อากาศเป็นใจอย่างยิ่ง เพราะแสงแดดอ่อนประกอบกับมีลมเย็นพัดตลอดเวลา พร้อมบรรยากาศทุ่งนาเขียวขจีสบายตาอย่างยิ่ง เราได้เดินขึ้นไปบนโคกโบราณสถานนี้ ปรากฏเห็นขนาดก้อนอิฐที่มีขนาดใหญ่ วัดได้ความยาวประมาณเกือบ 2 คืบ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก และอาจจะเป็นไปได้ว่า โบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เช่นนี้อาจจะมีอายุถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เราไม่พบเศษซากโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากซากอิฐ จึงไม่อาจจะสันนิษฐานอายุได้มากไปกว่านี้ ลักษณะโคกโบราณสถาน เป็นซากกองอิฐของเจดีย์ที่พูนสูงขึ้น และพบว่ามีร่องรอยการขุดกรุเจดีย์แห่งนี้เป็นหลุมลงไป ถ้าสังเกตด้วยสายตาพบว่ามีความลึกมากพอสมควร เราได้พยายามเดินสำรวจโดยรอบโบราณถานแห่งนี้ เพื่อจะหาเศษซากชิ้นส่วนโบราณวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะบ่งบอกอายุของวัดแห่งนี้ได้ชัดเจนขึ้น เช่น… Read More »

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

https://youtu.be/F1anpvudLhU วันนี้ผมจะพาไปชมความงดงามของเศียรพระพุทธรูปโบราณที่มีอายุกว่าพันปี หรือสมัยทวารวดี ที่มีความสมบูรณ์สวยงามมากที่สุดเศียรหนึ่งที่เคยค้นพบ เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ก่อนการค้นพบเมืองโบราณซับจำปา ได้พบโบราณวัตถุต่างๆตามพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ตั๊กแตนปาทังการะบาดในพื้นที่ ราวปี พ.ศ.2513 กรมการเกษตรจึงส่งอากาศยานเพื่อโปรยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงได้เห็นสัณฐานคูเมืองโบราณซับจำปาทางอากาศ คล้ายรูปหัวใจ จึงเกิดข่าวโด่งดังแพร่กระจายในแวดวงโบราณคดี และเริ่มมีการสำรวจทางโบราณคดีนับแต่นั้นมา โดยนำทีมสำรวจโดยอาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ อาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ ได้กล่าวว่าการสำรวจเมืองโบราณซับจำปามีความน่าสนใจเพราะมีความผสมผสานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี เช่น มีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพบเศษภาชนะ รวมถึงรูปปั้นตุ๊กตาดินเผายุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีเป็นต้น การขุดสำรวจทางโบราณคดี ได้ค้นพบโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น แต่ในสมัยนั้น การควบคุมยังลำบากเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้มีโบราณวัตถุบางชิ้นได้หลุดรอดถูกลักขโมยไปขายในตลาดต่างประเทศ โบราณวัตถุที่ขุดพบในเมืองโบราณคดีซับจำปามีมากมาย จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ซับจำปา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี ส่วนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบคือ เศียรพระพุทธรูปโบราณ สมัยทวารวดี อายุกว่าพันปี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ที่มีความงดงามและสมบูรณ์มากเศียรหนึ่ง ภาพด้านบนที่ท่านได้เห็นในขณะนี้ เป็นภาพเมื่อครั้งขุดพบเศียรพระพุทธรูปครั้งแรก จากเพจเมืองโบราณซับจำปา และชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร คุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดี ผู้ขุดสำรวจในไซต์งานครั้งนั้น ได้กล่าวว่าตั้งแต่เขาได้เรียนและอ่านหนังสือทางโบราณคดี ไม่เคยพบเศียรพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่สวยงามขนาดนี้ โดยปกติจะพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีเป็นแบบพระเนตรโปนพระโอษฐ์ใหญ่ แต่การค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีความงดงามแตกต่างจากข้อมูลที่เคยรับรู้มาก่อน และโบราณวัตถุสำคัญอีกชิ้นที่ค้นพบคือ ฐานและเสาธรรมจักรแปดเหลี่ยม มีจารึกภาษาบาลี ตัวอักษรปัลลวะ คาถาในพระไตรปิฎก 4 คาถา อายุราวพุทธศตวรรษที่… Read More »

คูไม้ร้อง ที่เก็บเรือหลวงพระที่นั่งสมัยอยุธยา วัดเชิงท่า อยุธยา

https://youtu.be/SGl6Fo79ZIE ในช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม พ.ศ.2563 กรมศิลปากรได้งบประมาณในโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และศาสนา จึงได้ทำการขุดสำรวจพื้นที่คลองโบราณติดกับวัดเชิงท่า รวมถึงบริเวณตลิ่งริมแม่น้ำลพบุรี ซึ่งจากแผนที่โบราณและบันทึกเอกสาร ได้ระบุว่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวคือ “คูไม้ร้อง” เคยใช้เป็นสถานที่จอดและเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์พระองค์สุดท้าย จึงถือได้ว่าบริเวณพื้นที่การขุดสำรวจนี้ เป็นอีกจุดหนึ่งในบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ การเดินทางเข้าชมครั้งนี้ ได้เดินทางมาพร้อมกับคุณจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกำลังมีการขุดสำรวจบริเวณข้างอุโบสถ และได้รับทราบข้อมูลว่าข้างอุโบสถมีลักษณะเป็นท่าน้ำ จึงสอดคล้องตามข้อมูลว่าเคยเป็นคลองโบราณมาก่อน แต่ปัจจุบันถูกทับถมไม่มีลักษณะเป็นลำคลองแล้ว นอกจากนี้ยังขุดพบโบราณวัตถุเป็นหม้ดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีสภาพที่สมบูรณ์มาก คูไม้ร้อง โรงเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยา ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า กล่าวถึงโรงเรือพระที่นั่งอยู่ใต้วัดเชิงท่า(ตามแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์) ซึ่งเป็นตำแหน่งตรงกับมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงสันนิษฐานได้ว่าโรงเรือหลวงแห่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างน้อย ในพื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านเล่ากันสืบต่อกันในภายหลังว่า ได้ยินเสียงร้องแปลกประหลาด ต่างบอกว่าเป็นเสียงนางไม้ ของโรงเรือพระที่นั่งสมัยโบราณ จึงขนานนามว่า “คูไม้ร้อง” และเคยมีผู้คนมาขุดหลุมสร้างบ้านเรือนในภายหลัง ก็พบกับอาถรรพ์จนไม่สามารถปลูกบ้านเรือนได้ บันทึกในประชุมพงศาวดารเพิ่มเติมว่า เมื่อครั้งสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พระเจ้าเอกทัศ ทรงโปรดให้ถอยเรือพระที่นั่งทั้งหลายลงไปไว้ท้ายคู ทัพพม่าได้เข้าตีท้ายคูแตก เผาเรือพระที่นั่งไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการค้นพบโขนเรือครุฑที่จมใต้น้ำใกล้เคียงจุดจอดเรือหลวง เคยตั้งศาลบูชากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งถึง ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) ตรงกับรัชกาลที่ ๕ ศาลได้พังลง ปัจจุบันได้นำเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา ในปี… Read More »

โคกหัวข้าว ชุมชนโบราณนับพันปี โบสถ์ดินโบราณและซากเจดีย์สมัยทวารวดี

สวัสดีครับท่านผู้ติดตามรักการท่องเที่ยวทุกท่าน วันน้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมแหล่งโบราณสถาน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่น่าจะเป็นสถานที่ Unseen อีกแห่งหนึ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ นั่นก็คือ แหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ความน่าสนใจของแหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าวนี้คือ มีโบสถ์ดินโบราณอายุกว่า 100 ปี และแหล่งโบราณสถาน เนินดินสมัยทวารวดีอายุนับพันปี พบซากเจดีย์ที่จมใต้ดินสันนิษฐานอายุว่าอาจจะเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา การเดินทางให้ไปตามถนนสายพนมสารคาม – กบินทร์บุรี(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) เลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านโคกหัวข้าว ไปตามทางจะพบโบสถ์ดินโบราณแล้วให้ไปจอดรถบริเวณพื้นที่โบสถ์นั้นครับ ส่วนแหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าว จะอยู่ถัดไปจากโบสถ์หลังนี้ราว 100 เมตร สามารถเดินไปชมได้ครับ จากการสอบถามและค้นหาข้อมูล ได้ระบุว่าโบสถ์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัดโคกหัวข้าวเดิม ส่วนของหลังคาสวยงามมากครับ โบสถ์ดินโบราณแห่งนี้ มีศิลปะสวยงามในส่วนของหลังคาและส่วนซุ้มหน้าต่างที่มีลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่ แต่มีเพียงบานเดียว… ส่วนหน้าต่างบานอื่น ไม่พบร่องรอยของลายปูนปั้นอยู่เลย จึงเป็นเรื่องที่แปลกว่าทำไมสร้างตกแต่งเพียงจุดเดียว ผมใช้เวลาถ่ายรูปและชมสถานที่ราวๆ 30 นาที จึงเดินไปยังเนินทวารวดีซึ่งห่างจากโบสถ์นี้ราวๆ 100 เมตร เมื่อเดินมาถึงศาลปู่ตา จะสังเกตุเห็นว่า มีการจัดสถานที่ระบุว่าเป็นแหล่งโบราณคดีเนินทวารวดี ได้แก่ มีการก่อสร้างทางเดินไม้ไผ่ เพื่อความสะดวกในการเดินเข้าชมพื้นที่ บรรยากาศการเดินทางมีความเป็นท้องถิ่นมากๆครับ ตั้งแต่ทางเข้าหมู่บ้านโคกหัวข้าว มีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ตลอดเส้นทาง จึงมีความร่มรื่นอย่างมาก จนมาถึงโบสถ์ดินโบราณจะผ่านทุ่งนาของชาวบ้านได้สัมผัสบรรยากาศท้องถิ่นอย่างเต็มๆเลยครับ ระหว่างทางจะมีร้านขนมของฝากตั้งอยู่ด้วย ท่านสามารถชมเพิ่มเติมได้ในคลิปวีดีโอ ที่ผมติดให้ชมด้านบนบทความนี้ เมื่อเดินมาถึงเนินทวารวดีโคกหัวข้าวแล้ว จะพบว่ามีร่องร่องการขุดสำรวจจากกรมศิลปากรแล้ว แต่ยังมีสภาพเป็นเพียงหลุมขุดเท่านั้น จะสังเกตุเห็นการเรียงอิฐของเจดีย์ที่จมอยู่ในหลุมที่ขุดสำรวจ จากการสังเกตุและค้นหาข้อมูลจากรายงานโบราณคดี พบว่ามีการเรียงอิฐขนาดใหญ่สอด้วยดิน เนื้ออิฐมีส่วนผสมของแกลบข้าว (เพื่อช่วยในการเผาอิฐ) การเรียงอิฐเป็นแบบ “เฟรมมิช” คือการเรียงอิฐด้านกว้างและด้านยาวไปตลอด พบเศษชิ้นส่วนโบราณวัตถุกระจายอยู่ทั้งแบบภาชนะกระเบื้องเคลือบและดินเผาทั่วไป… Read More »