Tag Archives: กรุงศรีอยุธยา

เทวสถาน โบสถ์เทพฮินดูในสมัยอยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานแห่งหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้ นั่นก็คือโบราณสถาน เทวสถานหรือโบสถ์เทวรูปฮินดูในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เทวสถานนี้เป็นไปตามคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดู และในสมัยกรุงอยุธยาให้การเคารพกษัตริย์เปรียบสมมุติเทพแสดงถึงอำนาจบารมีในการปกครองบ้านเมือง จึงมีพิธีกรรมทางพราหมณ์ในพระราชพิธีตลอดมาและมีเทวสถานตรงนี้นั่นเอง ปัจจุบัน โบราณสถานนี้ กำลังได้รับการขุดสำรวจทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร เพื่อเป็นการเปิดเผยเรื่องราวประวัติศาสตร์สู่สาธารณชนให้ได้เรียนรู้ และอาจจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ต่อไป โอกาสนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเทวสถานสมัยอยุธยามานำเสนอให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่ผู้สนใจดังต่อไปนี้ คติความเชื่อเรื่องเทพในสมัยอยุธยา คติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดูสมัยอยุธยานั้น มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง รูปเคารพในศาสนาฮินดูสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย ผศ.ดร.เอกสุดา สิงห์ลำพอง ได้อธิบายบันทึกคติความเชื่อในสมัยอยุธยาไว้ว่า ความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่แรกสร้างกรุง จากบันทึกในพงศาวดารหลายฉบับ เช่น ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์, ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม), ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น เนื้อความในพงศาวดารกล่าวถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนากรุงศรีอยุธยา ความว่า “…ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง… และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว…” และจากข้อมูลการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2512 กล่าวว่า เทวสถานเดิมของกรุงศรีอยุธยาคือบริเวณศาลพระกาฬ ในบริเวณแยกตะแลงแกง… Read More »

ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก(วัดร้าง) ทุ่งอุทัย อยุธยา

https://youtu.be/V36jR40Hsfw ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก และคำบอกเล่าการขุดกรุสมบัติเมื่อครั้งอดีต โบราณสถานวัดร้างนามว่า “วัดเจดีย์หัก” แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้ซุง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่ถูกทิ้งร้างลงจากภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 กลุ่มนักเดินทาง ได้ทราบข้อมูลว่า มีพื้นที่วัดร้างในเขตอำเภออุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง จึงได้ค้นหาและสอบถามข้อมูลต่างๆจากชาวบ้านในพื้นที่ จึงได้รู้จักชื่อ “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งเป็นคำเรียกติดปากของชาวบ้าน เพราะในอดีตราว 40 – 50 ปีก่อน ยังปรากฏเยอดเจดีย์สูงตระหง่าน แต่ได้พังทลายลงไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา เราได้เดินทางมายัง ต.หนองไม้ซุง เพื่อมาตามหาวัดแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดหนองไม้ซุงเท่าไรนัก และปรากฏเห็นโคกโบราณสถานใกล้กับหมู่บ้าน ในบรรยากาศท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีสวยงามอย่างยิ่ง  บริเวณโคกโบราณสถานแห่งนี้ มีการสร้างศาลเล็กๆไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อขุนศึก” และ “เจ้าแม่จันทร์หอม”  การเดินทางวันนี้ อากาศเป็นใจอย่างยิ่ง เพราะแสงแดดอ่อนประกอบกับมีลมเย็นพัดตลอดเวลา พร้อมบรรยากาศทุ่งนาเขียวขจีสบายตาอย่างยิ่ง เราได้เดินขึ้นไปบนโคกโบราณสถานนี้ ปรากฏเห็นขนาดก้อนอิฐที่มีขนาดใหญ่ วัดได้ความยาวประมาณเกือบ 2 คืบ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก และอาจจะเป็นไปได้ว่า โบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เช่นนี้อาจจะมีอายุถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เราไม่พบเศษซากโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากซากอิฐ จึงไม่อาจจะสันนิษฐานอายุได้มากไปกว่านี้ ลักษณะโคกโบราณสถาน เป็นซากกองอิฐของเจดีย์ที่พูนสูงขึ้น และพบว่ามีร่องรอยการขุดกรุเจดีย์แห่งนี้เป็นหลุมลงไป ถ้าสังเกตด้วยสายตาพบว่ามีความลึกมากพอสมควร เราได้พยายามเดินสำรวจโดยรอบโบราณถานแห่งนี้ เพื่อจะหาเศษซากชิ้นส่วนโบราณวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะบ่งบอกอายุของวัดแห่งนี้ได้ชัดเจนขึ้น เช่น… Read More »

อันซีนลพบุรี สะพานโบราณอายุกว่า 300 ปี สะพานเรือก สมัยพระนารายณ์

https://youtu.be/A0FlFA8aRpg วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองลพบุรี เพื่อตามรอยโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันในปี 2563 กำลังได้รับการบูรณะ เพื่อเปิดเผยสู่สาธารณชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของลพบุรี นั่นก็คือ สะพานเรือก หรือสะพานคลองท่อ ซึ่งมีหลักฐานทาประวัติศาสตร์ว่ามีขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวเกี่ยวกับคลองเรือกมีความน่าสนใจ ผมจึงได้เดินทางร่วมกับเพจตามรอยวัดเก่าลุ่มน้ำลพบุรีเพื่อบันทึกข้อมูลนี้ไว้ ดังนี้ เมืองลพบุรีด้านทิศตะวันออกมีคูเมืองหลายชั้น ชั้นนอกสุดคูเมืองค่อนข้างกว้างและยังคงสภาพที่สมบูรณ์ขอคลองจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเมืองเรียกกันว่า คลองเรือก ในรายงานการเสด็จประพาสเมืองลพบุรีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ระบุชื่อคลองนี้ว่าคลองท่อ เช่นในข่าว เสด็จประพาสเมืองลพบุรีราชกิจจานุเบกษา วันที ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) ลงข่าวไว้ว่า …วันที่ ๓๑ ตุลาคม  เวลาเย็นเสด็จลงเรือพระที่นั่งพายประพาสในคลองท่อ จนถึงวัดตองปุ… …วันที่ ๑ พฤศจิกายน… เสด็จเรือพระที่นั่งพายล่องลงไปเข้าคลองเมืองด้านใต้ ทอดพระเนตรสถานที่โบราณนอกเมืองแล้วมาเข้าคลองท่อข้างใต้ ประทับวัดสัมปหล่อ (วัดสันเปาโล) แล้วเสด็จไปตามคลองท่อได้ไปออกข้างเหนือที่ทุ่งพรหมาสตร์… และมีปรากฏในหลักฐานทางประศาสตร์ในแผนที่เมืองลพบุรีสำรวจและวาดโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ชื่อ เดอ ลามาร์ เมื่อ ค.ศ ๑๖๘๗ (๒๒๓๐) ได้วาดตำแหน่งสะพานข้ามคลองท่อไว้ ๒ แห่ง คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและด้านทิศตะวันออก และในแผนที่เมืองลพบุรี จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ พ.ศ ๒๔๕๗ ระบุตำแหน่งข้ามคลองท่อด้านทิศตะวันออก ชื่อว่า สะพานราเมศร์ และน่าจะตรงกับตำแหน่งสะพานเดียวกับที่ระบุในแผนที่ของ เดอ ลามาร์ ฉะนั้นสะพานที่สร้างขึ้น ณ ตำแหน่งนี้มีมาแล้วตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ… Read More »

วัดสีฟัน ซากวัดร้างจุดจบกบฏธรรมเถียร สมัยพระเพทราชา กรุงศรีอยุธยา

https://youtu.be/rbgm8LwzPbQ วัดสีฟัน วัดร้างในประวัติกบฏธรรมเถียร สมัยพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา… โอกาสนี้ ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยวัดร้าง ที่มีชื่อว่า “วัดสีฟัน” ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดร้างที่เหลือเพียงโคกเนินดินธรรมดาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีนับสิบ นับร้อยวัด เพราะเคยเป็นดินแดนที่มีความรุ่งเรืองแห่งราชธานีในอดีต แม้ว่าวัดสีฟัน จะเหลือเพียงเนินดินและซากโบราณวัตถุแตกหักบางส่วน แต่ก็มีบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่ามีความเกี่ยวข้องในเรื่องราวของ กบฏธรรมเถียร(ข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าอภัยทศ) ที่ก่อกบฏในสมัยพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยมีความเคียดแค้นที่เจ้าฟ้าอภัยทศ พระราชอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถูกฝ่ายพระเพทราชาลวงให้เสด็จไปลพบุรี และถูกสำเร็จโทษที่วัดซาก วัดสีฟันมีชื่อพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด) ซึ่งผมจะขอคัดลอกมาจากเพจ กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ที่ได้เขียนเรียบเรียงไว้แล้ว ดังนี้ …. “ลุศักราช ๑๐๖๐ ปีขาล สำเรทธิศก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวร (อดีตหลวงสรศักดิ์หรือพระเจ้าเสือ : ผู้เขียน) เสด็จไปทอดพระเนตรมวยอยู่ ณ เพนียด ไอ้ธรรมเถียรปลอมตัวว่าเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศ ซึ่งเอาไปทุบเสีย ณ วัดซาก ช้างมงคลรัตนาศ ซึ่งอยู่ลพบุรีขี่เข้ามา ไพร่ซึ่งมาด้วยนั้นประมาณ ๕๐๐ ไพร่ ชาวนาเกี่ยวข้าวถือหอกบ้างคานหลาวบ้าง ขุนหลวงกรมพระราชวังบวรกราบทูลแก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวๆ ตรัสว่า ถ้าผู้มีบุญมาจริงแล้วเราจะยกให้…. กรมพระราชวังเสด็จอยู่ป้อมมหาชัย ธรรมเถียรยืนช้างอยู่ตีนรอ มีพระบัณฑูรให้ตำรวจไปพิเคราะห์ดูตัวให้แน่ ตำรวจกลับมากราบทูลว่ามิใช่เจ้าฟ้าอภัยทศ จึงมีพระบัณฑูรให้วางปืนใหญ่ออกไปพร้อมกันทั้งแปดบอก พวกธรรมเถียรก็แตกไปในเพลาค่ำ รุ่งเช้าจับตัวธรรมเถียรได้ในสวนดอกไม้วัดสีฟัน เอาไปประหารชีวิตเสีย พรรคพวกทั้งนั้นเอาไปเป็นตะพุ่น……” จากข้อมูลในพงศาวดาร กบฏธรรมเถียรคงได้รับบาดเจ็บแล้วหนีมายังสวนดอกไม้ในวัดสีฟันและถูกจับตัวประหารในที่สุด ทั้งนี้ เรื่องราวของกบฏธรรมเถียร ในพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด) มีความแตกต่างจากพระราชพงศาวดารฉบับที่ชำระใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงที่ฉบับหลังให้รายละเอียดไว้ว่า ธรรมเถียร ยกทัพมายืนช้างอยู่ที่วัดมณฑป… Read More »

วัดสีกุก ค่ายใหญ่พม่าของแม่ทัพมังมหานรธา เมื่อครั้งตีกรุงศรีอยุธยาแตก

https://youtu.be/JfT-voRvRYQ วัดสีกุก ส่วนหนึ่งของค่ายสีกุก ค่ายใหญ่พม่าของแม่ทัพมังมหานรธา เมื่อครั้งตีกรุงศรีอยุธยาแตก… สวัสดีครับ ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยววัดตามรอยประวัติศาสตร์เมื่อครั้งที่เราได้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยจุดที่จะพาทุกท่านเดินทางไปชมคือ วัดสีกุก พระนครศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งของค่ายสีกุก ที่มีแม่ทัพใหญ่พม่าคือ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพควบคุมการรบ เส้นสีแดงในแผนผังสันนิษฐานค่ายพม่า คือแนวกำแพงที่พม่าได้สร้างเมื่อครั้งเข้ารุกรานตีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขนาบไปกับกำแพงโรงเบียร์บนถนนเส้นเสนา-อยุธยา ซึ่งรวมเอาวัดสีกุกเป็นส่วนหนึ่งค่ายใหญ่นี้ (เส้นสีแดงที่ผมขีดไว้ เป็นตำแหน่งที่ผมประมาณการสันนิษฐาน ซึ่งอาจไม่ตรงจุดจริง เพราะผมไม่สามารถลงไปสำรวจได้ครับ) อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ นักโบราณคดีและศิลปินแห่งชาติ เคยมาสำรวจวัดสีกุก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2509 และได้บันทึกไว้ในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” มีความว่า “ตั้งอยู่ตรงข้ามกันกับวัดปากคลองบางบาล ซึ่งพื้นที่ตรงนั้นเป็นหัวเลี้ยวของแม่น้ำใหญ่ ตัวอุโบสถแม้จะถูกตกแต่งเป็นของใหม่ แต่ก็ยังเห็นเค้าของเก่าได้อย่างชัดเจน คือเสาแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นโครงเสาเดิม ภายในอุโบสถบูรณะใหม่หมด ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถมีเจดีย์ย่อมุมยี่สิบแบบสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมแบบอยุธยาตอนปลายอีกหลายองค์ หลังวัดไม่ไกลมากนักเป็นซากค่ายพม่า เนื่องจากบริเวณแถบนี้ทางแม้น้ำโค้งเป็นรูปเกือกม้า พม่าจึงเลือกตั้งค่ายตรงวัดสีกุก แล้วทำกำแพงตัดปลายเกือกม้าจรดสองข้างแม่น้ำ กำแพงก่อด้วยอิฐอย่างแข็งแรง แต่ถูกชาวบ้านรื้อเอาอิฐไปขายจนเกือบหมดแล้ว ค่ายสีกุกนี้เป็นค่ายที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ภายในค่ายกว้างขวาง มีอาณาบริเวณหลายสิบไร่ มีโคกช้าง โคกม้าพร้อม ดูแล้วไม่ผิดอะไรกับเมืองๆหนึ่งทีเดียว” จากข้อมูลในหนังสือ “อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย” ได้ระบุตำแหน่งโคกกำแพงค่ายพม่าขนาดไปกับกำแพงโรงงานเบียร์ ซึ่งโรงงานเบียร์ได้ซื้อที่ดินจรดเขตแนวกำแพงค่ายพม่าพอดี ค่ายวัดสีกุก เป็นค่ายของแม่ทัพมังมหานรธาที่การควบคุมการรบ แต่ก่อนที่กรุงศรีอยุธญาจะแตก มังมหานรธาได้ป่วยหนักและเสียชีวิตลง และบันทึกว่ามีการสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ในค่ายแห่งนี้อีกด้วย หลังการเสียชีวิตของมังมหานรธา ทำให้เนเมียวสีหบดีแห่งค่ายโพธิ์สามต้นขึ้นบัญชาการรบทั้งหมดและปิดฉากความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 อุโบสถวัดสีกุก ได้รับการบูรณะเรื่อยมา… Read More »

วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ ตำนานหลวงพ่อแดงศักดิ์สิทธิ์

https://youtu.be/WWdnC9DkkNQ วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ ตำนานหลวงพ่อแดงศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปเก่าแก่จากกรุงศรีอยุธยา… สวัสดีครับวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยวชมวัดราชสิงขร พระอารามหลวง ซึ่งเป็นวัดเล็กๆบนถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ วัดแห่งนี้ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถเดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งมาสุดสถานี้ที่ท่าน้ำนี้ การเดินทางครั้งนี้ ผมไม่ได้วางแผนไว้ เนื่องจากจุดประสงค์จริงคือมาเที่ยวที่เอเชียทีค จึงเห็นว่าวัดราชสิงขรอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน จึงแวะถ่ายรูปนำเรื่องราวมาแบ่งปันครับ เรื่องราวประวัติวัดราชสิงขร ไม่พบหลักฐานการบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย และมีเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ ที่ชาวบ้านขนานนามว่า “หลวงพ่อแดง” ประวัติพระพุทธรูปสำคัญประจำวัด เล่าขานกันว่าการนำพระพุทธรูปที่ตนเลื่อมใสหลบหนีออกจากสถานที่ๆไม่ปลอดภัย ในภาวะสงคราม ต้องทำกันโดยการผูกแพแล้วนำพระพุทธรูปนอนบนแพ มัดจนแน่นหนาด้วยหวายแล้วคว่ำแพให้องค์พระพุทธรูปอยู่ในน้ำ เพื่อเป็นการอำพรางทั้งข้าศึกศัตรูและผู้คนทั่วไป ตำนานเล่าว่า หลวงพ่อแดงถูกชะลอมาจากกรุงศรีอยุธยา ทางแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนการเสียกรุง ขณะล่องแพมาใกล้ท่าน้ำวัดราชสิงขร ด้วยกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก  ทำให้ควบคุมแพลำบาก แพเกิดเสียหลักและกระแทกฝั่งจนแตกทำให้หลวงพ่อแดงจมลงฝั่งตรงข้ามกับวัดราชสิงขร จนกระทั่งถึงฤดูแล้ง น้ำลด ชาวบ้านจึงช่วยกันนำหลวงพ่อขึ้นจากน้ำ อัญเชิญขึ้นมาสู่วัดราชสิงขร ประดิษฐานไว้กลางแจ้ง เมื่อทำความสะอาดองค์พระ เกิดสนิมแดงขึ้นจับทั้งองค์ ชาวบ้านจึงขนาดนามว่าหลวงพ่อแดง และมีคำร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้มาสักการะขอพรได้สมปรารถนา หลวงพ่อแดงเป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดผสมทองคำ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.10 เมตร ความสูงวัดจากฐานองค์พระถึงยอดพระเกศ 2.90 เมตร ศิลปะแบบอยุธยามีอิทธิพลศิลปะสุโขทัย จึงขนานนามท่านว่า “หลวงพ่อพระพุทธสุโขทัย” กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระองค์ทรงใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางไปจากกรุงธนบุรีและกรุงศรีอยุธยาผ่านท่าน้ำวัดราชสิงขรสู่ปากน้ำ แล้วสามารถเดินทางต่อไปยังหัวเมืองต่างๆ จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก ในปี พ.ศ.2310 กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทพร้อมทหารหนีพม่า มาขึ้นที่ท่าน้ำวัดราชสิงขรได้โดยปลอดภัยจึงเสด็จขึ้นนมัสการหลวงพ่อแดง ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้สร้างอุโบสถวัดคอกควาย (วัดยานนาวา) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงทรงโปรดให้ช่างวังหน้ามาสร้างอุโบสถวัดราชสิงขร… Read More »