Tag Archives: แม่น้ำเจ้าพระยา

วัดสำแล วัดสวยที่ชาวมอญอพยพสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา

https://youtu.be/Jxg3Ce_d-_w วัดสำแล ปทุมธานี วัดสวยที่ชาวมอญอพยพสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา… สวัสดีครับท่านที่รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดสวยงามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อว่า “วัดสำแล” ที่มีเรื่องราวว่าชาวมอญอพยพได้สร้างไว้ ซึ่งมีอัตลักษณ์ความเป็นมอญอย่างชัดเจนคือ เจดีย์แบบมอญและเสาหงส์ธงตะขาบ อีกทั้งมีสถูปบรรจุอัฐิของคีตกวีชั้นครูอยู่ที่นี่ คือครูไพบูลย์ บุตรขัน ผู้แต่งเพลงชื่อดัง มนต์รักลูกทุ่ง วัดสำแล ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านกระแชง อ.เมือง จ.ปทุมธานี วัดแห่งนี้สร้างโดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาเมื่อสมัยรัชกาลที่ 2  ต่อมาวัดเกิดความทรุดโทรมและได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ.2412 วัดสำแลติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมีบรรยากาศที่เย็นสบาย ถ้าเราเดินทางผ่านหน้าวัดจะไม่เห็นความสวยงามของหมู่เจดีย์แบบมอญ ซึ่งตั้งหลังวัด (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) ดังนั้นเมื่อผ่านมายังวัดสำแล อย่าลืมแวะเที่ยวชมความงามของเจดีย์แบบมอญหลังวัดด้วยนะครับ ด้านหน้าวัดสำแล จะเห็นอุโบสถหลังใหม่สวยงาม ซึ่งสร้างแทนอุโบสถหลังเก่าในปี พ.ศ.2547 และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2551 โดยมีคุณสมบูรณ์ เตชะมงคลกิจ นักธุรกิจที่มีบ้านเกิดอยู่ที่นี่ร่วมบริจาคกว่า 16 ล้านบาท ข้างอุโบสถหลังใหม่ เป็นอุโบสถหลังเก่าเป็นแบบมหาอุตม์ แต่หันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากที่ชมความสวยงามหน้าบันของอุโบสถหลังใหม่แล้ว ผมจึงเดินไปหลังวัด ทั้งนี้เราสามารถขับรถไปจอดริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้เช่นกันครับ ตำนานสัญลักษณ์ชาวมอญ ธงตะขาบ มีตำนานเล่าว่า ณ ดอยสิงคุตต์ เมืองย่างกุ้ง มีตะขาบยักษ์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่และชอบจับช้างมากินเป็นอาหาร จนซากช้างกองสุมเต็มไปหมด วันหนึ่งมีพ่อค้าจากต่างแดนผ่านมาพบซากช้างนี้ จึงอาศัยจังหวะที่ตะขาบยักษ์ออกไปหากิน คัดเลือกและขนงาช้างลงเรือสำเภาของตนไป เมื่อตะขาบยักษ์กลับมาเห็นก็โกรธมาก จึงไล่ตามพ่อค้านั้นลงไปในทะเล แต่กลับต้องพบกับปูยักษ์เจ้าทะเลขนาดมหึมา เจ้าตะขาบยักษ์สู้ไม่ได้จึงถูกปูยักษ์จับกินเป็นอาหารไปในที่สุด ต่อมาในสมัยพุทธกาล ตปุสสะและภัลลิกะ พ่อค้าจากอุกกลชนบท… Read More »

วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ ตำนานหลวงพ่อแดงศักดิ์สิทธิ์

https://youtu.be/WWdnC9DkkNQ วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ ตำนานหลวงพ่อแดงศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปเก่าแก่จากกรุงศรีอยุธยา… สวัสดีครับวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยวชมวัดราชสิงขร พระอารามหลวง ซึ่งเป็นวัดเล็กๆบนถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ วัดแห่งนี้ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถเดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งมาสุดสถานี้ที่ท่าน้ำนี้ การเดินทางครั้งนี้ ผมไม่ได้วางแผนไว้ เนื่องจากจุดประสงค์จริงคือมาเที่ยวที่เอเชียทีค จึงเห็นว่าวัดราชสิงขรอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน จึงแวะถ่ายรูปนำเรื่องราวมาแบ่งปันครับ เรื่องราวประวัติวัดราชสิงขร ไม่พบหลักฐานการบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย และมีเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ ที่ชาวบ้านขนานนามว่า “หลวงพ่อแดง” ประวัติพระพุทธรูปสำคัญประจำวัด เล่าขานกันว่าการนำพระพุทธรูปที่ตนเลื่อมใสหลบหนีออกจากสถานที่ๆไม่ปลอดภัย ในภาวะสงคราม ต้องทำกันโดยการผูกแพแล้วนำพระพุทธรูปนอนบนแพ มัดจนแน่นหนาด้วยหวายแล้วคว่ำแพให้องค์พระพุทธรูปอยู่ในน้ำ เพื่อเป็นการอำพรางทั้งข้าศึกศัตรูและผู้คนทั่วไป ตำนานเล่าว่า หลวงพ่อแดงถูกชะลอมาจากกรุงศรีอยุธยา ทางแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนการเสียกรุง ขณะล่องแพมาใกล้ท่าน้ำวัดราชสิงขร ด้วยกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก  ทำให้ควบคุมแพลำบาก แพเกิดเสียหลักและกระแทกฝั่งจนแตกทำให้หลวงพ่อแดงจมลงฝั่งตรงข้ามกับวัดราชสิงขร จนกระทั่งถึงฤดูแล้ง น้ำลด ชาวบ้านจึงช่วยกันนำหลวงพ่อขึ้นจากน้ำ อัญเชิญขึ้นมาสู่วัดราชสิงขร ประดิษฐานไว้กลางแจ้ง เมื่อทำความสะอาดองค์พระ เกิดสนิมแดงขึ้นจับทั้งองค์ ชาวบ้านจึงขนาดนามว่าหลวงพ่อแดง และมีคำร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้มาสักการะขอพรได้สมปรารถนา หลวงพ่อแดงเป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดผสมทองคำ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.10 เมตร ความสูงวัดจากฐานองค์พระถึงยอดพระเกศ 2.90 เมตร ศิลปะแบบอยุธยามีอิทธิพลศิลปะสุโขทัย จึงขนานนามท่านว่า “หลวงพ่อพระพุทธสุโขทัย” กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระองค์ทรงใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางไปจากกรุงธนบุรีและกรุงศรีอยุธยาผ่านท่าน้ำวัดราชสิงขรสู่ปากน้ำ แล้วสามารถเดินทางต่อไปยังหัวเมืองต่างๆ จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก ในปี พ.ศ.2310 กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทพร้อมทหารหนีพม่า มาขึ้นที่ท่าน้ำวัดราชสิงขรได้โดยปลอดภัยจึงเสด็จขึ้นนมัสการหลวงพ่อแดง ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้สร้างอุโบสถวัดคอกควาย (วัดยานนาวา) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงทรงโปรดให้ช่างวังหน้ามาสร้างอุโบสถวัดราชสิงขร… Read More »