Tag Archives: จิตรกรรมฝาผนัง

วัดปราสาท จิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ที่สุดในนนทบุรี

  YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเข้าไปชมความสวยงามของอุโบสถวัดปราสาท ที่ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณที่ถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในนนทบุรี แม้จะลบเลือนไปมาก แต่ก็ยังคงเห็นความงดงามวิจิตร วัดปราสาท ตั้งอยู่ที่ ต.บางกร่าง อ.เมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ที่มีความสวยงามของอุโบสถและภาพจิตกรรมฝาผนังโบราณอยู่ภายใน ฐานอุโบสถแอ่นคล้ายโค้งเรือสำเภา เป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยา หน้าบันอุโบสถเป็นไม้จำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑที่มีความสวยงามยิ่งนัก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พญาครุฑของเดิมนั้น ถูกลักขโมยไป ซึ่งปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ทำขึ้นใหม่ ติดตั้งไว้ทดแทนของเดิม อุโบสถมีลักษณะเป็นมหาอุด คือ ผนังทั้งสองด้านไม่มีหน้าต่าง ผนังด้นหลังพระประธานมีเพียงช่องแสงสว่างขนาดเล็กเท่านั้น ในอุโบสถมีพระประธานประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง รายล้อมไปด้วยพระสาวกและหมู่พระพุทธรูปหลายองค์ ภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณภายในอุโบสถเขียนด้วยสีฝุ่น แม้จะเลือนลางไปมากกว่า 50% ซึ่งเป็นไปตามกาลเวลา แต่ยังมองเห็นลวดลายอันวิจิตร โดยภาพจิตกรรมฝาผนังตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า ถัดลงมาเป็นภาพในชาดกและพุทธประวัติ คั่นด้วยภาพเทพนม ผนังด้านหลังและหน้าพระประธานคงเคยมีภาพจิตรกรรมแต่เลือนหายไปหมดสิ้นแล้ว ตามประวัติวัดกล่าวว่า วัดปราสาทแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พุทธศตวรรษที่ 22 หรืออยุธยาตอนกลาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวในนนทบุรี ทางวัดได้จัดแสงไฟส่องสว่างภายในอุโบสถทำให้มีบรรยากาศที่สวยงามยิ่งนัก จึงมีผู้เดินทางเข้าชมอยู่เป็นระยะตลอดทั้งวัน เพื่อเข้าชมความงดงามของอุโบสถ รวมถึงมานั่งทำสมาธิให้จิตสงบในช่วงเวลาหนึ่ง ความงดงามภายในของอุโบสถด้วยการจัดแสงไฟเช่นนี้ มีอีกแห่งหนึ่งที่ผมประทับใจคือ ที่วัดเพลง ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เป็นโบราณสถานวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่น่าไปท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งเช่นกันครับ นอกจากความงดงามของอุโบสถ ภายในวัดยังมีสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่อื่นๆเช่นศาลาไม้ หมู่กุฏิเก่าให้ได้เที่ยวชม แต่เนื่องด้วยในวันที่ผมเดินทางไปนั้น มีฝนตกลงมาอย่างหนัก จึงได้เข้าชมเพียงภายในอุโบสถเท่านั้น แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าที่ได้เห็นความงดงามของจิตรกรรมในครั้งนี้ ท่านที่สนใจเดินทางไปชมความงดงาม สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกวัน โดยอุโบสถจะเปิดตั้งแต่เวลา 8.00 – 18.00… Read More »

จิตรกรรมโบราณในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดเชิงท่า อยุธยา นอกจากโบราณสถานที่สวยงาม ได้แก่ วิหาร พระปรางค์ประธานของวัด ผมได้เกิดความประทับใจภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ภายในศาลาการเปรียญเป็นอย่างมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย ผมจึงขอนำภาพและเรื่องราวภาพจิตรกรรมมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชม ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยอาคารประธาน ๑ หลัง ผนังด้านในศาลาการเปรียญเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพวิถีชาวบ้านแทรกปะปน เหนือผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพพนม จิตรกรรมในศาลาการเปรียญนี้ เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรม เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้และนายแข ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์และแท่นพิธีธรรม ภาพจิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า ประกอบไปด้วย ผนังส่วนบนทั้งสี่ด้าน เขียนภาพชุมนุมเทวดานั่งประนมมือ หันหน้าไปยังผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่เขียนภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับในซุ้มเรือนแก้ว ขนาดข้างด้วยเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ธูปเทียนตั้งอยู่บนตั่งสีแดง ถัดลงมาผนังด้านล่างทั้งสี่ด้านเขียนเป็นภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติชาดก โดยที่ภาพพุทธประวัติเริ่มจากช่องว่างระหว่างประตูด้านทิศตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาไปทางผนังด้านทิศเหนือและสิ้นสุดที่ช่องว่างระหว่างประตูที่ผนังด้านทิศตะวันตก ส่วนภาพเรื่องทศชาติชาดกเริ่มจากผนังด้านทิศตะวันตก ช่องว่างซ้ายมือถัดจากประตูเขียนเป็นภาพเรื่องเตมีย์ชาดก แล้ววนมายังทางผนังด้านทิศใต้และสิ้นสุดที่เรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ผนังด้านทิศตะวันออก ภาพจิตรกรรมพุทธประวัติและทศชาติชาดกภายในศาลาการเปรียญนี้ เขียนขึ้นโดยครูแขร่วมกับคณะ และพระอาจารย์อาภรณ์ธรรม เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ ทั้งหมดนี้คือภาพความสวยงามของโบราณสถานภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวและเก็บภาพความสวยงามนี้ไว้เป็นที่ระลึก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่… Read More »

วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ ๓

https://youtu.be/mZ4-3XBzRyU วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ กราบหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีต… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดเตาเหล็ก จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดแห่งนี้มีความน่าสนใจก็คือ มีโบสถ์เก่าที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีภาพจิตรกรรมเขียนสีใช้เทคนิคเขียนสีแบบเฟรสโก คือการเขียนภาพในขณะที่ปูนยังเปียกอยู่ อีกทั้งเราจะได้กราบสังขารหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีตแห่งวัดเตาเหล็กอีกด้วย เมื่อมาถึงจะเห็นอุโบสถหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้ริมน้ำคลองท่าลาด มีขนาดเล็กบนพื้นที่ที่ได้รับการบูรณะปูพื้นกระเบื้อง อุโบสถหลังเก่า ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด 3 ห้อง ค่อนข้างแคบและยกฐานสูง หันหน้าทางทิศตะวันออก หลังคาทรงจั่วลดชั้น ลักษณะดูเรียบง่ายคล้าย “สิม” ในศิลปะล้านช้าง ผนังอุโบสถทั้งด้านนอกและด้านในมีภาพจิตรกรรมและประติมากรรม ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี ผนังด้านข้างเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายเรื่องราวในพุทธประวัติซึ่งมีร่องรอยการเขียนทับบนจิตรกรรมเดิม ส่วนผนังด้านในอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายวิถีชีวิตชาวบ้านและภาพสัตว  ซึ่งน่าจะแสดงถึงขบวนอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่าจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถจะเขียนขึ้นใกล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ ภายประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี จิตกรรมด้านนอกในกรอบด้านบน และลวดลายหน้าต่าง ที่เห็นภาพสีชัดเจนนั้น ได้ถูกเขียนเพิ่มเติมลงไปในภายหลังบนจิตรกรรมเดิม ซึ่งได้เขียนขึ้นมาพร้อมการบูรณะอุโบสถหลังนี้ ราวปี พ.ศ.2494 ผนังด้านนอกอุโบสถ ยังพอหลงเหลือภาพจิตรกรรมที่สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นมาในเวลาใหล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ แต่เลือนลางเต็มที ภายในอุโบสถหลังเก่า ประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ภาพจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถ จะเหลือให้เห็นชัดเพียงด้านเดียว เป็นภาพสัตว์และวิถีชีวิตซึ่งน่าจะเป็นภาพการอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเดินออกมาจากในอุโบสถ เราจะมองเห็นเจดีย์ 1 องค์ ซึ่งถ้ามองเผินๆคงไม่ได้ใส่ใจอะไร แต่จากศิลปะพบว่ามีอิทธิพลจากศิลปะล้านช้าง อีกทั้งเป็นเจดีย์เก่าคู่วัดที่สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมอุโบสถ เจดีย์เก่านี้ มีลักษณะก่ออิฐถือปูน… Read More »