Tag Archives: เฟรสโก

วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ ๓

https://youtu.be/mZ4-3XBzRyU วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ กราบหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีต… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดเตาเหล็ก จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดแห่งนี้มีความน่าสนใจก็คือ มีโบสถ์เก่าที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีภาพจิตรกรรมเขียนสีใช้เทคนิคเขียนสีแบบเฟรสโก คือการเขียนภาพในขณะที่ปูนยังเปียกอยู่ อีกทั้งเราจะได้กราบสังขารหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีตแห่งวัดเตาเหล็กอีกด้วย เมื่อมาถึงจะเห็นอุโบสถหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้ริมน้ำคลองท่าลาด มีขนาดเล็กบนพื้นที่ที่ได้รับการบูรณะปูพื้นกระเบื้อง อุโบสถหลังเก่า ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด 3 ห้อง ค่อนข้างแคบและยกฐานสูง หันหน้าทางทิศตะวันออก หลังคาทรงจั่วลดชั้น ลักษณะดูเรียบง่ายคล้าย “สิม” ในศิลปะล้านช้าง ผนังอุโบสถทั้งด้านนอกและด้านในมีภาพจิตรกรรมและประติมากรรม ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี ผนังด้านข้างเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายเรื่องราวในพุทธประวัติซึ่งมีร่องรอยการเขียนทับบนจิตรกรรมเดิม ส่วนผนังด้านในอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายวิถีชีวิตชาวบ้านและภาพสัตว  ซึ่งน่าจะแสดงถึงขบวนอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่าจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถจะเขียนขึ้นใกล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ ภายประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี จิตกรรมด้านนอกในกรอบด้านบน และลวดลายหน้าต่าง ที่เห็นภาพสีชัดเจนนั้น ได้ถูกเขียนเพิ่มเติมลงไปในภายหลังบนจิตรกรรมเดิม ซึ่งได้เขียนขึ้นมาพร้อมการบูรณะอุโบสถหลังนี้ ราวปี พ.ศ.2494 ผนังด้านนอกอุโบสถ ยังพอหลงเหลือภาพจิตรกรรมที่สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นมาในเวลาใหล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ แต่เลือนลางเต็มที ภายในอุโบสถหลังเก่า ประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ภาพจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถ จะเหลือให้เห็นชัดเพียงด้านเดียว เป็นภาพสัตว์และวิถีชีวิตซึ่งน่าจะเป็นภาพการอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเดินออกมาจากในอุโบสถ เราจะมองเห็นเจดีย์ 1 องค์ ซึ่งถ้ามองเผินๆคงไม่ได้ใส่ใจอะไร แต่จากศิลปะพบว่ามีอิทธิพลจากศิลปะล้านช้าง อีกทั้งเป็นเจดีย์เก่าคู่วัดที่สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมอุโบสถ เจดีย์เก่านี้ มีลักษณะก่ออิฐถือปูน… Read More »