Tag Archives: ฉะเชิงเทรา

โบสถ์ร้างในหมู่บ้าน เก่าแก่โบราณกว่าร้อยปี วัดหนองเค็ด ฉะเชิงเทรา

หลังจากที่ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดสระแก้ว ระหว่างทางกลับผมตั้งใจที่จะแวะพักดื่มกาแฟที่ ไลฟ์เฮ้าส์ คิทเช่น อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดหนองเค็ด จึงนึกขึ้นได้ว่า “วัดหนองเค็ด” มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลบซ่อนอยู่  นั่นก็คือโบสถ์หลังเก่าที่มีอายุกว่าร้อยปี ผมจึงได้ถือโอกาสนี้ แวะเข้าไปเก็บภาพ วัดหนองเค็ด ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เดิมพื้นที่วัดหนองเค็ด จะอยู่ลึกเข้าไปในหมู่บ้านลึกเข้าไปจากถนนหลายเลข 304 เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ไม่ได้ตั้งอยู่ริมถนนเช่นปัจจุบันนี้ โบสถ์หลังใหม่สร้างเมื่อปี 2516 แต่โบสถ์หลังเก่าที่อยู่ลึกเข้าไป ยังคงหลงเหลือให้เห็นถึงปัจจุบันนี้ และผมจะพาทุกท่านเข้าไปชมครับ ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เขียนไว้ว่า วัดหนองเค็ด ตั้งมาตั้งแต่ปี 2375 ซึ่งมีข้อมูลไม่มากนัก ผมจึงไปพบข้อมูลในกลุ่มเฟสบุ๊คหอจดหมายเหตุบางคล้า ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า “วัดหนองเค็ด” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งแต่ปี 2426 และได้รับพระราชทานตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดพนมพนาวาศ”  แต่ชาวบ้านยังคงใช้ชื่อวัดหนองเค็ดตามชื่อของหมู่บ้าน ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันฯ ระบุ จ.ศ.1245 ตรงกับปี พ.ศ.2426 เป็นปีที่วัดหนองเค็ด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพนมพนาวาศ”  โบสถ์หลังเก่าวัดหนองเค็ด มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นโบสถ์โล่ง มีเสาไม้ หลังคาสังกะสี ภายในมีฐานชุกชีและประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ที่เคยเป็นพระประธาน แต่มีสภาพที่ทรุดโทรมอย่างหนักด้วยกาลเวลาที่ผ่านมานานกว่าร้อยปี โครงสร้างภายในมีความชำรุดพอสมควรจากปลวกที่ขึ้นกินเนื้อไม้ เกรงว่าจะพังทลายลงมา แต่ชาวบ้านในพื้นที่มีความหวงแหน จึงได้ร่วมกันอนุรักษ์โครงสร้างเดิม โดยการสร้างหลังคาถาวรขึ้นปกคลุมไว้ เพื่อย้ำเตือนความทรงจำในความศรัทธาของบรรพบุรุษ ที่ร่วมสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้น… Read More »

อันซีนหุ่นปั้น ถนนพระรถ เส้นทางโบราณ ฉะเชิงเทรา

คลิปจากช่องยูทูป FaithThaiStory อันซีนหุ่นปั้นบนถนนพระรถ เส้นทางโบราณ ฉะเชิงเทรา ที่หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังถนนเส้นหนึ่ง ที่เป็นเส้นทางโบราณและเรียกกันว่า “ถนนพระรถ” ในอ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งชื่อนี้ไปเกี่ยวของกับตำนานเรื่องพระรถ-เมรี หรือ นางสิบสอง ที่มีการกล่าวถึงตำนานนี้ทั้งในเขตอำเภอพนัสนิคม ชลบุรี รวมถึงฉะเชิงเทราที่ไปเชื่อมโยงถึงในเขต ต.ดงน้อย อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา ที่มีตำนานถ้ำนางสิบสองและลานพระรถชนไก่  การเดินทางครั้งนี้ถือว่าเป็นถนนที่มีความอันซีนเส้นหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จากการนำทางโดย คุณอัฐพงษ์ บุญสร้าง นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทำให้ได้ทราบถึงความแปลกของถนนเส้นนี้ เพราะเป็นถนนที่ได้รับการปรับปรุงลาดยางตลอดจากเส้นหลักสาย กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา (304) แต่แทบไม่มีการสัญจรผ่านเพราะไม่ใช่เส้นทางหลักในปัจจุบัน และสิ่งที่แปลกตาคือ มีหุ่นปั้นสร้างขึ้นและตั้งไว้ริมถนนเส้นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก  จากการสอบถามคุณอัฐพงษ์ ได้ความว่า ถนนเส้นนี้แต่เดิมขาดความสนใจในเรื่องราวและน้อยคนจะทราบว่าคือถนนพระรถในเส้นทางโบราณ จนกระทั่งพระอาจารย์ซ่วน แห่งวัดท่าลาดใต้ ได้เข้ามาบุกเบิกถนนเส้นนี้อีกครั้ง โดยการปั้นหุ่นปั้นมากมายมาตั้งไว้ข้างถนนเป็นจำนวนมาก มีทั้งรูปปั้นยักษ์, พระเรถ, นางยักษ์, พระสังกัจจายน์ และอีกมากมาย ลักษณะการปั้นหุ่นปั้นหลากหลายนี้ มีปรากฏในวัดท่าลาดใต้และที่ อุทยานหุ่นปั้นพระอาจารย์ซ่วน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ที่ผมเคยพาทุกท่านไปท่องเที่ยวมาแล้ว ถนนพระรถ มีบันทึกอยู่ในเอกสารการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากรเกี่ยวกับเส้นทางโบราณ อยู่ใกล้กับวัดท่าลาดใต้ ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านเส้นทางเดิมจะเริ่มจากวัดเมืองกาย และมีสะพานข้ามคลองท่าลาดและเป็นเส้นทางยาวไปจนถึงบึงกระจับ แต่ปัจจุบันสะพานดังกล่าวชำรุดหายไปและมีถนนเส้นหลักสาย 304 (กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา) ทำให้เส้นทางเดิมถูกตัดขาด สำหรับท่านที่สนใจสามารถเดินทางไปเที่ยวชมได้ตามแผนที่ด้านล่าง ซึ่งจะมีถนนเข้าไปตรงข้ามกับปั้ม ปตท.(หจก.รุ่งพิทักษ์ ปิโตรเลียม) ที่อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งผมได้ตีกรอบเส้นสีแดงไว้ให้แล้วครับ จากบันทึกการสำรวจทางโบราณคดีใกล้กับวัดท่าลาดใต้กลาวว่าว่า บริเวณนอกวัดท่าลาดใต้พบว่ามีแนวคันดิน… Read More »

อุทยานพุทธประวัติ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ฉะเชิงเทรา

https://youtu.be/BNc0Gsj7dK8 อุทยานพุทธประวัติ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ฉะเชิงเทรา… สวัสดีครับท่านที่รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมอุทยานพุทธประวัติซึ่งก่อสร้างไว้สวยงามภายในป่า ในเขตวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ และได้ศึกษาถึงเรื่องราวพุทธประวัติบางตอนอีกด้วย วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เส้นทางสะดวกดีครับ ประวัติวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์จากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรได้เขียนไว้ว่า  วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ตั้งเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 ชาวบ้านเรียกว่า วัดโกรกอีเหลือง เดิมพระภิกษุวงษ์ อินทสโร ร่วมกับชาวบ้านสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นมาก่อนเมื่อปีพ.ศ.2500 และต่อมาได้รับอนุญาตให้สร้างวัดในปี พ.ศ.2525 แรกเริ่มก่อสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญ เจ้าอาวาสรูปต่อมาคือ พระครูจันทรปุญญากร ได้บูรณะอุโบสถจนแล้วเสร็จ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 เป็นวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว นอกจากมีบรรยากาศร่มรื่นแล้ว ยังได้ศึกษาพุทธประวัติไปในตัวอีกด้วย จุดแรกคือปางประสูติ ซึ่งจะอยู่หลังอาคารเรียนพระปริยัติธรรม  ปางประสูติมีเรื่องราวในพุทธประวัติว่า พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตเทวโลก เสด็จปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์แก่ได้เสด็จกลับไปคลอดที่กรุงเทวหะ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เมื่อเสด็จถึงลุมพินีวันซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวหะ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ วันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพระพุทธศักราช 80 ปี ในเวลาใกล้เที่ยง พระนางก็ประสูติพระราชโอรส ณ โคนต้นสาละ ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ เมื่อประสูติพระราชกุมารก็อยู่ในอิริยาบถยืนหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จย่างพระบาทไป 7 ก้าว… Read More »

วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ ๓

https://youtu.be/mZ4-3XBzRyU วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ กราบหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีต… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดเตาเหล็ก จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดแห่งนี้มีความน่าสนใจก็คือ มีโบสถ์เก่าที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีภาพจิตรกรรมเขียนสีใช้เทคนิคเขียนสีแบบเฟรสโก คือการเขียนภาพในขณะที่ปูนยังเปียกอยู่ อีกทั้งเราจะได้กราบสังขารหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีตแห่งวัดเตาเหล็กอีกด้วย เมื่อมาถึงจะเห็นอุโบสถหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้ริมน้ำคลองท่าลาด มีขนาดเล็กบนพื้นที่ที่ได้รับการบูรณะปูพื้นกระเบื้อง อุโบสถหลังเก่า ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด 3 ห้อง ค่อนข้างแคบและยกฐานสูง หันหน้าทางทิศตะวันออก หลังคาทรงจั่วลดชั้น ลักษณะดูเรียบง่ายคล้าย “สิม” ในศิลปะล้านช้าง ผนังอุโบสถทั้งด้านนอกและด้านในมีภาพจิตรกรรมและประติมากรรม ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี ผนังด้านข้างเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายเรื่องราวในพุทธประวัติซึ่งมีร่องรอยการเขียนทับบนจิตรกรรมเดิม ส่วนผนังด้านในอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายวิถีชีวิตชาวบ้านและภาพสัตว  ซึ่งน่าจะแสดงถึงขบวนอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่าจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถจะเขียนขึ้นใกล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ ภายประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี จิตกรรมด้านนอกในกรอบด้านบน และลวดลายหน้าต่าง ที่เห็นภาพสีชัดเจนนั้น ได้ถูกเขียนเพิ่มเติมลงไปในภายหลังบนจิตรกรรมเดิม ซึ่งได้เขียนขึ้นมาพร้อมการบูรณะอุโบสถหลังนี้ ราวปี พ.ศ.2494 ผนังด้านนอกอุโบสถ ยังพอหลงเหลือภาพจิตรกรรมที่สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นมาในเวลาใหล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ แต่เลือนลางเต็มที ภายในอุโบสถหลังเก่า ประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ภาพจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถ จะเหลือให้เห็นชัดเพียงด้านเดียว เป็นภาพสัตว์และวิถีชีวิตซึ่งน่าจะเป็นภาพการอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเดินออกมาจากในอุโบสถ เราจะมองเห็นเจดีย์ 1 องค์ ซึ่งถ้ามองเผินๆคงไม่ได้ใส่ใจอะไร แต่จากศิลปะพบว่ามีอิทธิพลจากศิลปะล้านช้าง อีกทั้งเป็นเจดีย์เก่าคู่วัดที่สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมอุโบสถ เจดีย์เก่านี้ มีลักษณะก่ออิฐถือปูน… Read More »

วัดแสนภุมราวาส (กกสับนอก) ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อทอง เกจิดังในท้องถิ่น

https://youtu.be/nv-ueSYA1cI วัดแสนภุมราวาส (กกสับนอก) เมืองแปดริ้วฉะเชิงเทรา หลวงพ่อทอง ภุมมปัญโญ… สวัสดีครับ ท่านผู้ติดตามเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธา วันนี้ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังเมืองแปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรา ผ่านไปยัง อ.ราชสาส์น จึงแวะท่องเที่ยววัดในท้องถิ่นดูบ้าง ซึ่งนานๆครั้งจะได้แวะท่องเที่ยวแบบนี้ โดยที่แทบไม่มีข้อมูลเรื่องราว ตั้งใจว่าจะไปหาข้อมูลข้างหน้า ผมเดินทางผ่านมายัง อ.บางคล้ามุ่งตรงสู่ อ.ราชสาส์น และได้เห็นซุ้มประตูวัดกกสับนอกข้างถนน จึงได้เลี้ยวรถเข้าไปเยี่ยมชม พื้นที่ลานวัดค่อนข้างกว้างขวางสามารถเลือกจอดได้ตามสะดวก ทั้งนี้สามารถหาที่จอดตามร่มไม้ก็ได้นะครับ เพราะยังมีร่มไม้ให้เลือกจอดอีกเยอะ เมื่อผมจอดรถเป็นที่เรียบร้อย จึงได้พบกับบรรยากาศที่เงียบสงบด้วยเพราะเป็นวัดในท้องถิ่น ที่จะคึกคักก็ต้องเมื่อมีงานบุญทางพระพุทธศาสนาหรือพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น …เรื่องของนักท่องเที่ยวคงไม่มีใครจะแวะชม การเดินทางมาที่นี่ ผมพอจะทราบเรื่องราวในอดีตว่า มีพระเกจิท้องถิ่นได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมา นั่นก็คือหลวงพ่อทอง ภุมมปัญโญ ท่านเป็นพระที่ชาวบ้านแถบนี้ให้ความเคารพศรัทธาอย่างมาก อีกทั้งตามประวัติของวัดแห่งนี้ หลวงพ่อทองได้ริเริ่มสร้างขึ้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 ชาวบ้านกกสับนอก จึงร่วมกันสร้างรูปหล่อหลวงพ่อทองเพื่อสักการะ ระลึกถึงคุณหลวงพ่อ มาตราบจนถึงทุกวันนี้ ภายในวิหารหลวงพ่อทอง ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อทองและหลวงปู่เจิม… จากการสอบถามชาวบ้านบอกว่าหลวงพ่อทองเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ส่วนหลวงปู่เจิมเป็นพระที่เคยจำพรรษาที่วัดกกสับนอกแห่งนี้ ต่อไปมาได้ย้ายไปจำพรรษาที่จังหวัดนครปฐม แต่ชาวบ้านมีความศรัทธาหลวงปู่เจิม จึงได้สร้างรูปหล่อท่านเพื่อกราบสักการะด้วยเช่นกัน วัดนี้แต่เดิม ชาวบ้านเรียกชื่อว่า “วัดหนองคันบวย” เพราะที่ตั้งวัดอยู่ใกล้กับหนองนํ้าที่มีลักษณะคล้ายกระบวยตักนํ้า ครั้นภายหลังชาวบ้านไล่ต้อนควายใช้หนองนํ้านี้เป็นที่อาบดื่มกิน จึงเรียกชื่อหนองนํ้านี้ใหม่ว่า “หนองไล่ควาย” พอนนานไปก็เพี้ยนเสียงเป็น “หนองลาดควาย” มาจนทุกวันนี้ วันที่ผมเดินทาง เป็นช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 อากาศเย็นลง มีลมพัด บรรยากาศสบายๆ …เลยรู้สึกเสียดายที่ศาลาตรงนี้ใกล้พัง เพราะเป็นจุดนั่งพักผ่อนที่ดีมากเลยทีเดียว ตรงข้าวก็เป็นร่มโพธิ์ใหญ่ดูร่มรื่น สามารถชมคลิปบรรยากาศได้ครับ ผมติดไวให้ชมแล้วด้านบนบทความนี้… Read More »

เที่ยววัดจรเข้ตาย ฉะเชิงเทรา ตามรอยตำนานจระเข้ยักษ์

https://youtu.be/wDYkpBi_cWg สวัสดีกันอีกครั้ง ในภารกิจการเดินทางท่องเที่ยวัดตามสไตล์บ้านๆของผม ช่วงที่ผ่านมาเป็นวันหยุดยาวหลายวันผมจึงได้โอกาสเดินทางไกลขึ้นเล็กน้อย โดยมีเป้าหมายที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งก็มีเป้าหมายหลายๆวัดและก็มีวัดที่น่าสนใจมากมาย วัดที่ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมในครั้งนี้ จะมีชื่อที่ฟังแล้วก็แปลกดี เพราะชื่อว่า “วัดจรเข้ตาย” ตั้งอยู่ที่บ้านจรเข้ตาย ต.บางคา อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา  เมื่อได้ยินชื่อวัดแล้ว ผมก็ต้องคิดไปว่าต้องมีเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้เป็นแน่ และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะมีเรื่องเล่าตำนานเมื่อครั้งปี พ.ศ. 2400 ตำนานจระเข้ยักษ์ หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 ตามประวัติมีผู้เล่าว่า นายจ้อย นางยัง เป็นผู้เข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ก่อนผู้อื่นได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นในบริเวณแถบนี้ ต่อมามีครอบครัวนายกับและนายหลุ่ม ได้อพยพเข้ามาหากินอยู่ด้วยโดยตั้งบ้านเรือนใกล้กัน สำหรับครอบครัวของนายกับได้มีผู้อาศัยอยู่ด้วยเป็นคนลาวชื่อนายสาม อยู่ได้ไม่นานนักนายสามออกไปเลี้ยงควายแล้วหายไป ชาวบ้านได้ออกติดตามไปพบว่าถูกจระเข้ลากไปกินอยู่ที่หนองนํ้าแห่งหนึ่ง ต่อมาพวกวัว ควาย และสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านทั้งสามก็ถูกจระเข้ลักไปกินอีก บางครั้งก็กัดวัวควายที่ลงอยู่ในคลองจนเป็นที่เดือดร้อนกันไปทั่ว เมื่อทนไม่ไหวจึงได้ติดต่อหมอจระเข้มาทำการปราบ โดยทำการตั้งศาลเพียงตาตรงปากคลองที่แยกจากคลองท่าลาด เพราะเชื่อว่าเป็นถํ้าจรเข้ เล่ากันว่าสามารถปราบจรเข้ได้มากมาย แต่มีอยู่ตัวหนึ่งซึ่งใหญ่และเชื่อว่าคงเป็น หัวหน้าได้พยายามสู้หมอ แต่สู้ไม่ได้จึงหนีไปตามลำคลอง ในที่สุดก็ไปติดตรงส่วนที่แคบที่สุดของคลอง จึงได้ถูกชาวบ้านที่ติดตามไป ฆ่าตาย แล้วนำมารวมกันที่ศาลเพียงตา ในการนี้มีชาวบ้านต่างถิ่นเดินทางมาดูกันมาก เมื่อกลับไปก็ไปบอกต่อๆ กันว่าไปบ้านจรเข้ตายมา จึงได้พากันเรียก หมู่บ้านนี้ว่า “บ้านจรเข้ตาย” เมื่อผมเดินทางมาถึงวัดจรเข้ตาย ก็ขับรถตรงเข้ามาจอดติดริมคลอง ซึ่งจะมีศาลเพียงตาและศาลาท่าน้ำอยู่… บรรยากาศในวัดค่อนข้างเงียบ พื้นที่ค่อนข้างโล่ง อากาศร้อนพอสมควรเพราะผมเดินทางในช่วงเดือนเมษายน แต่ก็พอมีร่มเงาต้นไว้บริเวณริมคลองนี่แหละครับ ซึ่งผมก็มานั่งพักฟังเสียงนกร้อง ก็รู้สึกสงบดี ตรงศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่จรเข้ทอง จะมีหุ่นจระเข้ตั้งอยู่ดูน่ากลัวดีครับ และบ่อข้างๆ ก็มีหุ่นจระเข้ เล่นเอาผมตกใจพอสมควรเพราะเดินเพลินๆ แล้วบังเอิญเห็นแล้วใจหายแว๊บ จุดต่อไปที่ผมเดินทางไปกราบไหว้บูชาคือวิหารอดีตเจ้าอาวาสวัดจรเข้ตาย… Read More »