Tag Archives: โบสถ์เก่า

โบสถ์ร้างในหมู่บ้าน เก่าแก่โบราณกว่าร้อยปี วัดหนองเค็ด ฉะเชิงเทรา

หลังจากที่ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดสระแก้ว ระหว่างทางกลับผมตั้งใจที่จะแวะพักดื่มกาแฟที่ ไลฟ์เฮ้าส์ คิทเช่น อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดหนองเค็ด จึงนึกขึ้นได้ว่า “วัดหนองเค็ด” มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลบซ่อนอยู่  นั่นก็คือโบสถ์หลังเก่าที่มีอายุกว่าร้อยปี ผมจึงได้ถือโอกาสนี้ แวะเข้าไปเก็บภาพ วัดหนองเค็ด ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เดิมพื้นที่วัดหนองเค็ด จะอยู่ลึกเข้าไปในหมู่บ้านลึกเข้าไปจากถนนหลายเลข 304 เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ไม่ได้ตั้งอยู่ริมถนนเช่นปัจจุบันนี้ โบสถ์หลังใหม่สร้างเมื่อปี 2516 แต่โบสถ์หลังเก่าที่อยู่ลึกเข้าไป ยังคงหลงเหลือให้เห็นถึงปัจจุบันนี้ และผมจะพาทุกท่านเข้าไปชมครับ ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เขียนไว้ว่า วัดหนองเค็ด ตั้งมาตั้งแต่ปี 2375 ซึ่งมีข้อมูลไม่มากนัก ผมจึงไปพบข้อมูลในกลุ่มเฟสบุ๊คหอจดหมายเหตุบางคล้า ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า “วัดหนองเค็ด” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งแต่ปี 2426 และได้รับพระราชทานตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดพนมพนาวาศ”  แต่ชาวบ้านยังคงใช้ชื่อวัดหนองเค็ดตามชื่อของหมู่บ้าน ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันฯ ระบุ จ.ศ.1245 ตรงกับปี พ.ศ.2426 เป็นปีที่วัดหนองเค็ด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพนมพนาวาศ”  โบสถ์หลังเก่าวัดหนองเค็ด มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นโบสถ์โล่ง มีเสาไม้ หลังคาสังกะสี ภายในมีฐานชุกชีและประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ที่เคยเป็นพระประธาน แต่มีสภาพที่ทรุดโทรมอย่างหนักด้วยกาลเวลาที่ผ่านมานานกว่าร้อยปี โครงสร้างภายในมีความชำรุดพอสมควรจากปลวกที่ขึ้นกินเนื้อไม้ เกรงว่าจะพังทลายลงมา แต่ชาวบ้านในพื้นที่มีความหวงแหน จึงได้ร่วมกันอนุรักษ์โครงสร้างเดิม โดยการสร้างหลังคาถาวรขึ้นปกคลุมไว้ เพื่อย้ำเตือนความทรงจำในความศรัทธาของบรรพบุรุษ ที่ร่วมสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้น… Read More »

โบสถ์โบราณ วัดปากบาง กาญจนบุรี

ผมได้เดินทางไปงานบุญที่จังหวัดกาญจนบุรี จึงถือโอกาสท่องเที่ยววัดเก่าในพื้นที่ใกล้เคียง และได้ทราบมาว่าที่วัดปากบาง มีโบราณสถานเป็นโบสถ์เก่าอายุกว่าร้อยปีให้ชม และเคยถูกปิดมานานกว่า 10 ปี วัดปากบาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเคยถูกทิ้งร้างลงช่วงหนึ่ง ก่อนได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 โบราณสถานสำคัญของวัดแห่งนี้คือ อุโบสถเก่า ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำแม่กลอง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ตัวอาคารใช้ผนังรองรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคา ไม่มีเสาในอาคาร มีพาไลยื่นออกมา มีช่องประตูทางเข้า 1 ช่อง หน้าต่างข้างละ 2 ช่อง ฐานอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ สร้างทับบนฐานอิฐของอาคารเดิมในสมัยแรก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า หลวงพ่อศรีมงคล โดยเป็นพระพุทธรูปเก่า 4 องค์ แบ่งเป็นปางมารวิชัย 2 องค์ และปางสมาธิ 2 องค์ ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างแทนองค์พระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ จำนวน 4 พระองค์ที่ผ่านมา ที่หน้าบันประดับประติมากรรมปูนปั้นและเขียนสีเล่าเรื่องทางพระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย หน้าบันด้านหน้าอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ถัดลงมาเป็นพระมาลัยขึ้นไปโปรดเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และสักการะพระจุฬามณีเจดีย์ หน้าบันด้านหลังอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืน มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา 5ถัดลงมาเป็นพระมาลัยรับถวายดอกไม้จากมานพผู้ยากไร้ กรอบซุ้มประตูและหน้าต่าง ประดับประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ โดยที่ซุ้มหน้าต่างเป็นอดีตพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ 3 พระองค์ และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 1 พระองค์ ที่ซุ้มประตูทางเข้าอุโบสถ เป็นภาพพระศรีอริยเมตรไตร… Read More »

วัดท่าแคลง จันทบุรี โบสถ์เก่าอายุเกือบ 200 ปี สุดคลาสสิค

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวถึงจันทบุรี เพื่อไปชมความงดงามเก่าแก่ของโบสถ์โบราณอายุเกือบ 200 ปี วัดท่าแคลง ที่มีความเป็นเอกลักษณ์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.สนามไชย อ.นายายอาม จ.จันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดที่ผมเคยทำงานประจำมาก่อน เมื่อราว 10 กว่าปีก่อน แต่ครั้งนั้นยังไม่ได้สนใจเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จึงไม่เคยรู้ว่ามีวัดเก่าแก่สวยงามใกล้บริษัทที่เคยทำงานครั้งนั้น วันนี้ได้มีโอกาสไปถึง อ.นายายอาม จ.จันทบุรี จึงได้ค้นหาข้อมูล พบว่าที่วัดท่าแคลงแห่งนี้ มีความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมโบสถ์เก่าที่ได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตกอยู่ด้วย มีอายุเกือบ 200 ปี และยังคงสภาพเดิมอยู่ในปัจจุบันนี้ วัดท่าแคลง ไม่ปรากฏบันทึกประวัติการสร้างชัดเจน จึงมีการสันนิษฐานอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบสถ์เก่า ซึ่งผมได้อ่านพบวิจัยเรื่อง สถาปัตยกรรมรัชกาลที่ 5 ในมณฑลการปกครองของภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา ได้อธิบายงานวิจัยไว้ว่า โบสถ์เก่าของวัดท่าแคลงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก สันนิษฐานสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 – 5 โดยช่างชาวจีนที่มีภูมิลำเนาในแถบนั้น โบสถ์มีขนาดกว้าง 8.86 เมตร ยาว 15.40 เมตร เป็นอาคารก่ออิฐแบบทรงโรง หลังคาทรงจั่วแบบชั้นลด มุงด้วยกระเบื้องว่าว มีชายคายื่นออกจากผนัง มีประตูทางเข้าด้านหน้าและหลัง ด้านละ 2 บาน ซุ้มประตูทางเข้ามีการตกแต่งด้วยปูนปั้นระบายสี ทำเป็นรูปซุ้มแบบใบโพธิ์ภายในมีการตกแต่งปูนปั้นรูปนกและพันธุ์พฤกษา กรอบประตูปั้นปูนคิ้วเลียบแบบเครื่องไม้ บางส่วนมีการเซาะร่องและระบายสีคราม เหลือง และน้ำตาลตามส่วนต่างๆของซุ้มประตู หน้าต่างโบสถ์เก่ามีด้านละ 3 บาน… Read More »