Tag Archives: พระพุทธรูปโบราณ

เคยเห็นมั้ย พระพุทธรูปโลหะโบราณล้ำค่า ที่ถูกพอกปูนหุ้มไว้

https://youtu.be/PPE-FQhJJWw หลายท่านอาจจะเคยได้รับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการโบกปูนพอกทับหุ้มพระพุทธรูปโบราณล้ำค่า เช่น พระพุทธรูปทองคำ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม อาจจะเป็นการพลางสายตาจากโจรผู้ร้าย ไม่ให้เกิดการโจรกรรม รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการปิดบังความล้ำค้าไม่ให้ศรัตรูข้าศึกได้รับรู้ในช่วงที่เกิดภัยสงครามรุกราน และไม่นานมานี้เฟซบุ๊กของอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ได้โพสต์ภาพพระพุทธรูปโลหะที่ถูกปูนพอกทับได้แตกชำรุดตามสภาพกาลเวลาที่ผ่านมายาวนาน เผยให้เห็นพระพุทธรูปโลหะด้านในอย่างชัดเจน โดยเฉพาะส่วนของพระเศียร ซึ่งน้อยคนที่อาจจะเคยเห็นภาพชัดเจนเช่นนี้ ภาพจากเฟซบุ๊ก Paothong Thongchua โดยอาจารย์เผ่าทองเขียนโพสต์บรรยายไว้ว่า “ตื่นเต้นจัง ที่ได้เห็นวิธีการพอกปูนหุ้มพระพุทธรูปสำริดของคนโบราณ เชื่อว่าถ้าเอาเครื่องX-RAYไปไปไล่เอ็กส์พระพุทธรูปปูนปั้นตามพระระเบียงวัดต่างๆ คงได้เจอพระพุทธรูปสำริด หรือทองคำอีกหลายองค์”  จากลักษณะการพอกปูนทับพระพุทธรูปโบราณล้ำค่านี้ ทำให้ผมคิดไปถึงพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยน้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน และมีเรื่องราวการถูกปูนพอกทับไว้บริเวณพระพักตร์ ทำให้ไม่มีใครทราบเลยว่าด้านในของปูนพอกนี้คือทองคำทั้งองค์ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ เดิมจากองค์พระปูนปั้นหุ้มภายนอกที่แทบไม่มีใครสนใจ ได้เคลื่อนย้ายจากวัดพระยาไกรมาที่วัดไตรมิตรฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2498 เกิดการกระเทาะออกจากการเคลื่อนย้ายองค์พระประดิษฐานบนวิหารด้วยเพราะความหนักของปูนหุ้มพระและเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ระหว่างยกองค์พระขึ้นเชือกได้ขาดสะบั้น เกิดรอยแตกเห็นเนื้อทองคำสุกสว่าง จึงได้รู้ว่านี่คือพระพุทธรูปทองคำประเมินค่าไม่ได้ ที่สร้างมาแต่โบราณกาล จากรายละเอียดภาพเก่าได้เขียนไว้ว่า ผู้ที่ทำการกระเทาะปูนปั้นหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร คือนายสม พ่วงภักดี เจ้าของผู้จัดการสำนักงาน ส.ธรรมภักดี ซึ่งเป็นการเผยความจริงแห่งความล้ำค่าให้เปิดเผยสู่สาธารณะจนถึงปัจจุบันนี้ พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ถูกบันทึกว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดหน้าตั้งกว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร องค์พระสามารถถอดได้ 9 องค์ จากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40% พระพักตร์มีเนื้อทอง… Read More »

ตำนานพระพุทธรูปยืนโบราณพันปี สมัยทวารวดี เมืองโบราณกันทรวิชัย มหาสารคาม

https://youtu.be/CuiMdFZxnVo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยตำนาน ณ เมืองโบราณกันทรวิชัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีตำนานกล่าวถึงพระพุทธรูปสำคัญของเมืองโบราณแห่งนี้ ได้แก่ พระพุทธมงคล ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ลาดโพธิ์ วัดพุทธมงคล และ พระพุทธมิ่งเมือง ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดสุวรรณาวาส เป็นพระพุทธรูปยืนโบราณอายุมากกว่าพันปี สมัยทวาราวดี เป็นที่เคารพสักการะของชาวกันทรวิชัยมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีของเมืองโบราณกันทรวิชัย แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนขนาดใหญ่สืบเนื่องมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา หรือกว่า 1,400 ปีที่แล้ว  สภาพพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นเนินสูง มีคูน้ำล้อมรอบ มีป่าไม้และทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ หลักฐานบันทึกการตั้งเมืองในปัจจุบัน บันทึกว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2413 เพียคำมูล (ต้นตระกูลศิริกิจ) ได้อพยพผู้คนจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 2,700 คน มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ “บ้านกันทางร้าง” ขอขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ทางราชสำนักกรุงเทพฯ จึงตั้งเพียคำมูลเป็นพระปทุมวิเสศเจ้าเมืองคนแรก โดยยกบ้านกันทางร้างเป็นเมืองกันทะวิชัย ต่อมาในปี พ.ศ.2425 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวทองคำซึ่งเป็นหลานพระขันติยะวงศา(จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระปทุมวิเสศ ผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2443 เมืองกันทะวิชัย ได้ถูกยุบเป็นอำเภอ ชื่อ อำเภอกันทรวิชัย ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2456 อ.กันทรวิชัยถูกโอนขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม… Read More »

วัดสิงห์ปากน้ำ วัดร้างในชุมชนญี่ปุ่นสมัยอยุธยา พระพุทธรูปโบราณแบบอู่ทองเก่าแก่มาก

https://youtu.be/z2i3WBQXd0g ขณะนี้เรากำลังอยู่ที่วัดสิงห์ปากน้ำ เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ใกล้กับหมู่บ้านญี่ปุ่น ซอยทางเข้าเดียวกับสมาคมมวยไทยนายขนมต้ม ปัจจุบันวัดสิงห์ปากน้ำมีสภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยบ้านเรือน ก่อสร้างศาลาและนำเศษซากพระพุทธรูปหินทรายหลายองค์มาประดิษฐานรวมกันไว้ด้านบน มีพระพุทธรูปหินทรายองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ และมีพระเศียรอยู่ด้วย ผมจึงได้ส่งรูปให้อาจารย์ฉันทัสดู ซึ่งอาจารย์ให้ทัศนะว่า เป็นเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่มีความเก่าแก่มาก เป็นแบบศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 2 ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า ศิลปะพระพุทธรูปอู่ทองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อระหว่างศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20  เป็นศิลปะที่คลี่คลายมาจากการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบทวารวดีกับศิลปะขอม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า มีลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด มีลายเส้นขนาดใหญ่ เป็นอาการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิตที่จะเอาชนะกิเลส ตัณหา และค้นหาทางหลุดพ้น ตามที่อาจารย์ฉันทัสได้กล่าวไว้ว่า เป็นลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง รุ่นที่ 2 จะมีพัฒนาการคลายความเคร่งขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น ซึ่งศิลปะอู่ทองรุ่น 1 จะมีความเคร่งขรึมมากกว่า เราสามารถแบ่งพระพุทธรูปแบบอู่ทองได้ดังนี้ พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 1 หรืออู่ทองหน้าแก่ พบในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง เม็ดพระศกคมชัด ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระหนุป้านเป็นอย่างที่เราเรียกว่า คางคน พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 2 หรืออู่ทองหน้ากลาง จะมีพัฒนาการคลายความเคร่ง ขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ลดอิทธิพลทางศิลปะแบบขอมลง ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น… Read More »