จิตรกรรมโบราณในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดเชิงท่า อยุธยา นอกจากโบราณสถานที่สวยงาม ได้แก่ วิหาร พระปรางค์ประธานของวัด ผมได้เกิดความประทับใจภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ภายในศาลาการเปรียญเป็นอย่างมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย ผมจึงขอนำภาพและเรื่องราวภาพจิตรกรรมมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชม ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยอาคารประธาน ๑ หลัง ผนังด้านในศาลาการเปรียญเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพวิถีชาวบ้านแทรกปะปน เหนือผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพพนม จิตรกรรมในศาลาการเปรียญนี้ เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรม เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้และนายแข ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์และแท่นพิธีธรรม ภาพจิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า ประกอบไปด้วย ผนังส่วนบนทั้งสี่ด้าน เขียนภาพชุมนุมเทวดานั่งประนมมือ หันหน้าไปยังผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่เขียนภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับในซุ้มเรือนแก้ว ขนาดข้างด้วยเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ธูปเทียนตั้งอยู่บนตั่งสีแดง ถัดลงมาผนังด้านล่างทั้งสี่ด้านเขียนเป็นภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติชาดก โดยที่ภาพพุทธประวัติเริ่มจากช่องว่างระหว่างประตูด้านทิศตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาไปทางผนังด้านทิศเหนือและสิ้นสุดที่ช่องว่างระหว่างประตูที่ผนังด้านทิศตะวันตก ส่วนภาพเรื่องทศชาติชาดกเริ่มจากผนังด้านทิศตะวันตก ช่องว่างซ้ายมือถัดจากประตูเขียนเป็นภาพเรื่องเตมีย์ชาดก แล้ววนมายังทางผนังด้านทิศใต้และสิ้นสุดที่เรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ผนังด้านทิศตะวันออก ภาพจิตรกรรมพุทธประวัติและทศชาติชาดกภายในศาลาการเปรียญนี้ เขียนขึ้นโดยครูแขร่วมกับคณะ และพระอาจารย์อาภรณ์ธรรม เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ ทั้งหมดนี้คือภาพความสวยงามของโบราณสถานภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวและเก็บภาพความสวยงามนี้ไว้เป็นที่ระลึก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่… Read More »

อันซีนลพบุรี สะพานโบราณอายุกว่า 300 ปี สะพานเรือก สมัยพระนารายณ์

https://youtu.be/A0FlFA8aRpg วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองลพบุรี เพื่อตามรอยโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันในปี 2563 กำลังได้รับการบูรณะ เพื่อเปิดเผยสู่สาธารณชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของลพบุรี นั่นก็คือ สะพานเรือก หรือสะพานคลองท่อ ซึ่งมีหลักฐานทาประวัติศาสตร์ว่ามีขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวเกี่ยวกับคลองเรือกมีความน่าสนใจ ผมจึงได้เดินทางร่วมกับเพจตามรอยวัดเก่าลุ่มน้ำลพบุรีเพื่อบันทึกข้อมูลนี้ไว้ ดังนี้ เมืองลพบุรีด้านทิศตะวันออกมีคูเมืองหลายชั้น ชั้นนอกสุดคูเมืองค่อนข้างกว้างและยังคงสภาพที่สมบูรณ์ขอคลองจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเมืองเรียกกันว่า คลองเรือก ในรายงานการเสด็จประพาสเมืองลพบุรีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ระบุชื่อคลองนี้ว่าคลองท่อ เช่นในข่าว เสด็จประพาสเมืองลพบุรีราชกิจจานุเบกษา วันที ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) ลงข่าวไว้ว่า …วันที่ ๓๑ ตุลาคม  เวลาเย็นเสด็จลงเรือพระที่นั่งพายประพาสในคลองท่อ จนถึงวัดตองปุ… …วันที่ ๑ พฤศจิกายน… เสด็จเรือพระที่นั่งพายล่องลงไปเข้าคลองเมืองด้านใต้ ทอดพระเนตรสถานที่โบราณนอกเมืองแล้วมาเข้าคลองท่อข้างใต้ ประทับวัดสัมปหล่อ (วัดสันเปาโล) แล้วเสด็จไปตามคลองท่อได้ไปออกข้างเหนือที่ทุ่งพรหมาสตร์… และมีปรากฏในหลักฐานทางประศาสตร์ในแผนที่เมืองลพบุรีสำรวจและวาดโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ชื่อ เดอ ลามาร์ เมื่อ ค.ศ ๑๖๘๗ (๒๒๓๐) ได้วาดตำแหน่งสะพานข้ามคลองท่อไว้ ๒ แห่ง คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและด้านทิศตะวันออก และในแผนที่เมืองลพบุรี จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ พ.ศ ๒๔๕๗ ระบุตำแหน่งข้ามคลองท่อด้านทิศตะวันออก ชื่อว่า สะพานราเมศร์ และน่าจะตรงกับตำแหน่งสะพานเดียวกับที่ระบุในแผนที่ของ เดอ ลามาร์ ฉะนั้นสะพานที่สร้างขึ้น ณ ตำแหน่งนี้มีมาแล้วตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ… Read More »

วัดพระยาออก วัดร้างเก่าแก่สมัยอยุธยา ในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ลพบุรี

https://youtu.be/we541R49Uto สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวไปยังวัดร้างนามว่า วัดพระยาออก ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จ.ลพบุรี และจากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า อาจมีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาตอนต้นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังประดิษฐานหลวงพ่อขาว เป็นที่สักการะของประชาชนในพื้นที่มายาวนาน จึงเป็นอีกวัดร้างหนึ่งที่น่าสนใจ การเดินทาง ผมขอแนะนำให้เดินทางไปในวันหยุด เพราะไม่มีการเรียนการสอน จึงจะมีความสะดวกที่สุดครับ วัดพระยาออกเป็นวัดร้างอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ในตำแหน่งที่ตั้งภายในเมืองชั้นใน ใกล้กับกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณป้อมด้านหน้าเมือง ชื่อของวัดพระยาออก สันนิษฐานว่ามาจากตำแหน่งที่ตั้งของวัด ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเมือง เดิมนั้นบริเวณวัดพระยาออกจะก่อฐานด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตัก 420 เซนติเมตร ขนานนามว่า หลวงพ่อขาว ด้านหลังองค์พระพุทธรูปมีกำแพงเชื่อมต่อกับองค์พระ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาคารขนาดย่อมก่อด้วยศิลาแลง และทิศตะวันตกเฉียงใต้มีบ่อน้ำทรงแปดเหลี่ยมภายในก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี ชายจีวรยาวพาดข้อพระกรซ้าย ประทับนั่งบนฐานบัว ปัจจุบันถูกพอกทับเป็นฐานหน้ากระดาน พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม คล้ายได้รับอิธิพลจากเขมร พระรัศมีเป็นเปลวได้รับอิทธิพลแบบสุโขทัย จัดเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ 2 องค์หลวงพ่อขาวหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกพบได้ไม่บ่อยนัก อาจเทียบได้กับพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี และวัดอื่นๆที่มีอายุการสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น วัดราชบูรณะ วัดพุทไธศวรรย์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่าอาคารวิหารนี้น่าจะเป็นอุโบสถเช่นกัน จากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว จึงสันนิษฐานว่า วัดพระยาออกน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ระหว่างที่เดินชมพื้นที่วิหารหลวงพ่อขาว ได้เห็นแกนพระกรองค์เดิมเป็นไม้ ซึ่งผมไม่เคยเห็นพระแกนไม้แบบนี้มาก่อน… Read More »

ตำนานพระพุทธรูปยืนโบราณพันปี สมัยทวารวดี เมืองโบราณกันทรวิชัย มหาสารคาม

https://youtu.be/CuiMdFZxnVo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยตำนาน ณ เมืองโบราณกันทรวิชัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีตำนานกล่าวถึงพระพุทธรูปสำคัญของเมืองโบราณแห่งนี้ ได้แก่ พระพุทธมงคล ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ลาดโพธิ์ วัดพุทธมงคล และ พระพุทธมิ่งเมือง ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดสุวรรณาวาส เป็นพระพุทธรูปยืนโบราณอายุมากกว่าพันปี สมัยทวาราวดี เป็นที่เคารพสักการะของชาวกันทรวิชัยมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีของเมืองโบราณกันทรวิชัย แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนขนาดใหญ่สืบเนื่องมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา หรือกว่า 1,400 ปีที่แล้ว  สภาพพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นเนินสูง มีคูน้ำล้อมรอบ มีป่าไม้และทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ หลักฐานบันทึกการตั้งเมืองในปัจจุบัน บันทึกว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2413 เพียคำมูล (ต้นตระกูลศิริกิจ) ได้อพยพผู้คนจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 2,700 คน มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ “บ้านกันทางร้าง” ขอขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ทางราชสำนักกรุงเทพฯ จึงตั้งเพียคำมูลเป็นพระปทุมวิเสศเจ้าเมืองคนแรก โดยยกบ้านกันทางร้างเป็นเมืองกันทะวิชัย ต่อมาในปี พ.ศ.2425 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวทองคำซึ่งเป็นหลานพระขันติยะวงศา(จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระปทุมวิเสศ ผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2443 เมืองกันทะวิชัย ได้ถูกยุบเป็นอำเภอ ชื่อ อำเภอกันทรวิชัย ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2456 อ.กันทรวิชัยถูกโอนขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม… Read More »

พระนอนเก่าแก่ที่สุดในไทย วัดธรรมจักรเสมาราม โคราช

https://youtu.be/_2do5MP8ePc พระนอนเก่าแก่ที่สุดในไทย อายุนับพันปี ยุคทวารวดี ณ วัดธรรมจักรเสมาราม ต.เสมา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปกราบสักการะพระนอน(พระพุทธไสยาสน์) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานอายุกว่า 1,300 ปี หรือสร้างในสมัยทวารวดี นอกจากองค์พระนอนแล้ว ภายในวัดยังเก็บรักษาโบราณวัตถุไว้อีกหลายชิ้น อาทิ ธรรมจักรศิลาโบราณ และซากโบราณวัตถุอื่นๆ เป็นต้น การเดินทางค่อนข้างสะดวก โดยอาศัย GPS ตั้งเป้าหมายไปที่ วัดธรรมจักรเสมาราม  เมื่อมาถึงพื้นที่วัด จะเป็นวัดท่องเที่ยวในท้องถิ่น ที่ถูกจัดสถานที่และป้ายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวได้ทราบความสำคัญของสถานที่ได้เป็นอย่างดี พระนอนวัดธรรมจักรเสมาราม ประดิษฐานห่างจากเมืองเสมาโบราณมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 500 เมตร เป็นพระนอนหินทรายที่มีอายุเก่าแก่สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 13 (พ.ศ.1201 – 1300) ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงหลายก้อนประกอบกันขึ้น ขนาดองค์พระยาวประมาณ 13.30 เมตร สูง 2.5 เมตร พุทธลักษะหันพระเศียรไปทางทิศใต้ ผินพระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกในส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายสี่ก้อนประกอบวางซ้อนกันแล้วจึงสลักเป็นรูปวงพระจันทร์จึงทำให้มีลักษณะค่อนข้างเหลี่ยมและกว้าง ทรงแย้มพระสรวลที่มุม พระโอษฐ์ชี้ขึ้น พระขนงสลักเป็นสันนูนรูปปีกกา พระเนตรเหลือบลงตํ่า พระนาสิกแบน ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอย พระหัตถ์ขวารองอยู่ใต้พระเศียร ครองจีวร ปลายพระบาทเสมอกัน ประดิษฐานฐานในแนวทิศเหนือใต้ในวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยอิฐ ขนาดกว้าง 6.5 เมตร ยาว 26.00 เมตร ภาพพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อนการบูรณะ ณ วัดธรรมจักรเสมาราม ต.เสมา อ.สูงเนิน… Read More »

วัดสิงห์ปากน้ำ วัดร้างในชุมชนญี่ปุ่นสมัยอยุธยา พระพุทธรูปโบราณแบบอู่ทองเก่าแก่มาก

https://youtu.be/z2i3WBQXd0g ขณะนี้เรากำลังอยู่ที่วัดสิงห์ปากน้ำ เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ใกล้กับหมู่บ้านญี่ปุ่น ซอยทางเข้าเดียวกับสมาคมมวยไทยนายขนมต้ม ปัจจุบันวัดสิงห์ปากน้ำมีสภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยบ้านเรือน ก่อสร้างศาลาและนำเศษซากพระพุทธรูปหินทรายหลายองค์มาประดิษฐานรวมกันไว้ด้านบน มีพระพุทธรูปหินทรายองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ และมีพระเศียรอยู่ด้วย ผมจึงได้ส่งรูปให้อาจารย์ฉันทัสดู ซึ่งอาจารย์ให้ทัศนะว่า เป็นเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่มีความเก่าแก่มาก เป็นแบบศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 2 ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า ศิลปะพระพุทธรูปอู่ทองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อระหว่างศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20  เป็นศิลปะที่คลี่คลายมาจากการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบทวารวดีกับศิลปะขอม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า มีลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด มีลายเส้นขนาดใหญ่ เป็นอาการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิตที่จะเอาชนะกิเลส ตัณหา และค้นหาทางหลุดพ้น ตามที่อาจารย์ฉันทัสได้กล่าวไว้ว่า เป็นลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง รุ่นที่ 2 จะมีพัฒนาการคลายความเคร่งขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น ซึ่งศิลปะอู่ทองรุ่น 1 จะมีความเคร่งขรึมมากกว่า เราสามารถแบ่งพระพุทธรูปแบบอู่ทองได้ดังนี้ พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 1 หรืออู่ทองหน้าแก่ พบในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง เม็ดพระศกคมชัด ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระหนุป้านเป็นอย่างที่เราเรียกว่า คางคน พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 2 หรืออู่ทองหน้ากลาง จะมีพัฒนาการคลายความเคร่ง ขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ลดอิทธิพลทางศิลปะแบบขอมลง ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น… Read More »