Tag Archives: วังหลวง

ทำไมมีต้นพุทรามากมาย ในเขตวังหลวงโบราณ อยุธยา ?

https://youtu.be/1YjljPrBEsY ทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตพระราชวังหลวง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหลายคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นความเข้าใจผิดของหลายคนด้วยเช่นกัน ผมได้ลองค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ คือสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กล่าวว่า ต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา เริ่มปลูกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาโบราณราชธานินทร์ใช้เป็นกุศโลบายให้ประชาชนนำไปรับประทานได้ และช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลโบราณสถาน ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจอายุต้นพุทราเมื่อปี พ.ศ.2562 ว่าต้นพุทราที่เก่าแก่ที่สุด อยู่ในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา มีอายุราว 140 ปี ซึ่งจะตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง และต้นพุทราในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2562 อีกด้วย และอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ ที่บอกกล่าวเล่าเรื่องไว้โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ได้เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษในโครงการอบรมมัคคุเทศก์ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มานานหลายสิบปี โดยให้คำบรรยายและอบรมในระหว่างการท่องเที่ยวนำชมในเขตโบราณสถาน มักจะเกิดคำถามบ่อยครั้งเมื่อเดินเข้าในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ พระนครศรีอยุธยา ว่าทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตนี้?  และคำตอบจากมัคคุเทศก์ที่ได้ยินคือ กล่าวว่า ทัพพม่าได้ขนเสบียงเป็นพุทรามาเมื่อครั้งสงครามตีกรุงศรีอยุธยาจนแตก จึงได้ทิ้งเมล็ดพุทราไว้จำนวนมาก จนเกิดต้นพุทรามากมายในปัจจุบัน ซึ่งคำตอบดังกล่าวเป็นที่เฮฮา สนุกสนานของผู้เดินทางท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ตรงตามประวัติศาสตร์การบันทึก ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เล่าต่อว่า ได้บังเอิญไปค้นหาข้อมูลในวารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และได้ไปพบกับคอลัมน์และภาพถ่าย ที่เขียนและถ่ายภาพโดยคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนแห่งสยามรัฐ(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538) ซึ่งน่าจะเป็นฉบับในราวปี พ.ศ. 2505 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา ในวารสาร คุณรงค์ได้เขียนว่า ต้นพุทราในพระราชวังหลวงถูกปลูกขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2500 นานหลายปี… Read More »