Tag Archives: อยุธยา

ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก(วัดร้าง) ทุ่งอุทัย อยุธยา

https://youtu.be/V36jR40Hsfw ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก และคำบอกเล่าการขุดกรุสมบัติเมื่อครั้งอดีต โบราณสถานวัดร้างนามว่า “วัดเจดีย์หัก” แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้ซุง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่ถูกทิ้งร้างลงจากภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 กลุ่มนักเดินทาง ได้ทราบข้อมูลว่า มีพื้นที่วัดร้างในเขตอำเภออุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง จึงได้ค้นหาและสอบถามข้อมูลต่างๆจากชาวบ้านในพื้นที่ จึงได้รู้จักชื่อ “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งเป็นคำเรียกติดปากของชาวบ้าน เพราะในอดีตราว 40 – 50 ปีก่อน ยังปรากฏเยอดเจดีย์สูงตระหง่าน แต่ได้พังทลายลงไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา เราได้เดินทางมายัง ต.หนองไม้ซุง เพื่อมาตามหาวัดแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดหนองไม้ซุงเท่าไรนัก และปรากฏเห็นโคกโบราณสถานใกล้กับหมู่บ้าน ในบรรยากาศท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีสวยงามอย่างยิ่ง  บริเวณโคกโบราณสถานแห่งนี้ มีการสร้างศาลเล็กๆไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อขุนศึก” และ “เจ้าแม่จันทร์หอม”  การเดินทางวันนี้ อากาศเป็นใจอย่างยิ่ง เพราะแสงแดดอ่อนประกอบกับมีลมเย็นพัดตลอดเวลา พร้อมบรรยากาศทุ่งนาเขียวขจีสบายตาอย่างยิ่ง เราได้เดินขึ้นไปบนโคกโบราณสถานนี้ ปรากฏเห็นขนาดก้อนอิฐที่มีขนาดใหญ่ วัดได้ความยาวประมาณเกือบ 2 คืบ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก และอาจจะเป็นไปได้ว่า โบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เช่นนี้อาจจะมีอายุถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เราไม่พบเศษซากโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากซากอิฐ จึงไม่อาจจะสันนิษฐานอายุได้มากไปกว่านี้ ลักษณะโคกโบราณสถาน เป็นซากกองอิฐของเจดีย์ที่พูนสูงขึ้น และพบว่ามีร่องรอยการขุดกรุเจดีย์แห่งนี้เป็นหลุมลงไป ถ้าสังเกตด้วยสายตาพบว่ามีความลึกมากพอสมควร เราได้พยายามเดินสำรวจโดยรอบโบราณถานแห่งนี้ เพื่อจะหาเศษซากชิ้นส่วนโบราณวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะบ่งบอกอายุของวัดแห่งนี้ได้ชัดเจนขึ้น เช่น… Read More »

วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ วัดของสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรที่สาบสูญ เหลือเพียงชื่อในแผนที่

https://youtu.be/raWifsrc7L8 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยหาวัดสำคัญวัดหนึ่งที่สาบสูญไปแล้วในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่โบราณและแผนที่ของกรมศิลปากร ระบุถึงตำแหน่งวัดแห่งนี้ไว้ ชื่อว่า “วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ” คำว่าเจ้าฟ้าดอกเดื่อนี้ คืออีกชื่อหนึ่งของ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” นั่นเอง ที่มาของชื่อเจ้าฟ้าดอกเดื่อนั้น ตามพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ได้กล่าวว่า ขณะสมเด็จพระราชชนนีทรงครรภ์นั้น สมเด็จพระราชชนกทรงพระสุบินว่ามีผู้ถวายดอกมะเดื่อ ซึ่งพระองค์ทรงทำนายว่า “ดอกมะเดื่อเป็นคนหายากในโลกนี้” เมื่อพระราชโอรสประสูติ จึงพระราชทานนามว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร” ส่วนราษฎรเรียกว่า “เจ้าฟ้าดอกเดื่อ” หรือ “เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ซึ่งคำว่า “อุทุมพร” แปลว่า “ดอกมะเดื่อ” นั่นเอง เมื่อครั้งสมเด็จพระราชชนกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ทรงขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งมีบันทึกแตกต่างกัน บ้างว่าเป็นระยะเวลา 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือเพียง 10 วัน ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ความสำคัญคือ พระองค์สละราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบ แล้วลาผนวชทันที แต่พระองค์ก็เคยสึกออกมาเพื่อมาช่วยการศึกสงครามเมื่อครั้งศึกพระเจ้าอลองพญา เมื่อ ปี พ.ศ.2303 เมื่อเสร็จศึกพระองค์ก็ได้ออกผนวชอีก จึงจะเห็นได้ว่าพระองค์นั้นมีพระปรีชาสามารถทั้งสติปัญญาการปกครอง การรบ และใฝ่ในทางธรรม ไม่ปรารถนาในราชสมบัติ จนสุดท้ายในศึกเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2310 ฝ่ายเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าได้คุมตัวภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรกลับไปด้วย และต่อมาได้มีการค้นพบบันทึกคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า ต้นฉบับเป็นภาษามอญ เป็นเนื้อหาที่พระเจ้ากรุงอังวะให้สอบถามเชลยศึกเกี่ยวกับพงศาวดารไทยและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเชื่อว่าย่อมมีคำให้การจากสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรด้วย… Read More »

บ่อน้ำโบราณ ตำหนักท่าเจ้าสนุก เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สมัยอยุธยา

https://youtu.be/r-9d4qmJuAs อันซีน อยุธยา บ่อน้ำโบราณสมัยอยุธยาที่หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “ท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นชื่อตำบลในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีเรื่องราวความเกี่ยวข้องในเส้นทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท สระบุรี มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏซากร่องรอยบางอย่างที่แสดงให้เห็นในปัจจุบัน คือ บ่อน้ำโบราณ ที่กล่าวกันว่าเป็นบ่อน้ำที่นำน้ำมาใช้ในพระตำหนักที่มีชื่อว่า “พระตำหนักท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นไว้พักแรมระหว่างทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท จึงเป็นอีกสถานที่ ที่มีความน่าสนใจตามรอยและบันทึกไว้ในการเดินทางครั้งนี้ รอยพระพุทธบาท สระบุรี ถือได้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่และมีความสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะมีบันทึกการค้นพบในพระราชพงศาวดารและมีพระราชประเพณีการเสด็จสักการะมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่องราวของท่าเจ้าสนุกจากเว็บไซต์เทศบาลตำบลท่าเรือ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ท่าเรือ เดิมเรียกว่า “นครน้อย” ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ พ.ศ. 2153 – 2171 เสด็จประพาสเพื่อไปสักการะพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทางชลมารค(ทางเรือ) ได้จอดเรือเพื่อเสด็จทางสถลมารค(ทางบก)ต่อไป ขบวนเรือหลวงมากันคับคั่งจนไม่มีที่จอดเรือ เรือราษฎร์ได้จอดเลยตัวอำเภอท่าเรือในปัจจุบันขึ้นไปจนถึงตำบลท่าหลวง ส่วนขบวนเรือหลวงก็จอดที่ท่าเจ้าสนุก เพราะมีตำหนักประทับแรมตั้งอยู่ ส่วนเรือของบรมวงศานุวงศ์ ก็จอดท่าถัดๆไปจนถึงหน้าวัดสฎางค์ ได้พักค้างแรมที่ตำหนักท่าเจ้าสนุก วันรุ่งขึ้นก็ข้ามฝั่งไปขึ้นช้างที่ท่าเกย(ติดกับบริเวณวัดไม้รวกในปัจจุบัน) แล้วพระราชดำเนินต่อไปยังอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อทรงสักการะพระพุทธบาท ภายหลังพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ ต่างเจริญรอยตามพระราชประเพณีสืบมา  ซึ่งตามหลักฐานที่ สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่บริเวณวัดตำหนักพระเจ้าทรงธรรม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าเจ้าสนุก คือ บริเวณโบราณสถานท่าเจ้าสนุกและตำหนักท่าเจ้าสนุก ซึ่งปลูกสร้างด้วยไม้จึงไม่หลงเหลือซากตำหนักให้เห็นในปัจจุบัน ซากโบราณสำคัญที่ยังหลงเหลือให้เห็นและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของพระตำหนักท่าเจ้าสนุก คือ “บ่อน้ำโบราณ” สันนิษฐานว่าเป็นระบบสาธารณูปโภค เพื่อใช้ในเขตพระตำหนักท่าเจ้าสนุก… Read More »

คูไม้ร้อง ที่เก็บเรือหลวงพระที่นั่งสมัยอยุธยา วัดเชิงท่า อยุธยา

https://youtu.be/SGl6Fo79ZIE ในช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม พ.ศ.2563 กรมศิลปากรได้งบประมาณในโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และศาสนา จึงได้ทำการขุดสำรวจพื้นที่คลองโบราณติดกับวัดเชิงท่า รวมถึงบริเวณตลิ่งริมแม่น้ำลพบุรี ซึ่งจากแผนที่โบราณและบันทึกเอกสาร ได้ระบุว่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวคือ “คูไม้ร้อง” เคยใช้เป็นสถานที่จอดและเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์พระองค์สุดท้าย จึงถือได้ว่าบริเวณพื้นที่การขุดสำรวจนี้ เป็นอีกจุดหนึ่งในบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ การเดินทางเข้าชมครั้งนี้ ได้เดินทางมาพร้อมกับคุณจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกำลังมีการขุดสำรวจบริเวณข้างอุโบสถ และได้รับทราบข้อมูลว่าข้างอุโบสถมีลักษณะเป็นท่าน้ำ จึงสอดคล้องตามข้อมูลว่าเคยเป็นคลองโบราณมาก่อน แต่ปัจจุบันถูกทับถมไม่มีลักษณะเป็นลำคลองแล้ว นอกจากนี้ยังขุดพบโบราณวัตถุเป็นหม้ดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีสภาพที่สมบูรณ์มาก คูไม้ร้อง โรงเก็บรักษาเรือหลวงพระที่นั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยา ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า กล่าวถึงโรงเรือพระที่นั่งอยู่ใต้วัดเชิงท่า(ตามแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์) ซึ่งเป็นตำแหน่งตรงกับมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงสันนิษฐานได้ว่าโรงเรือหลวงแห่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างน้อย ในพื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านเล่ากันสืบต่อกันในภายหลังว่า ได้ยินเสียงร้องแปลกประหลาด ต่างบอกว่าเป็นเสียงนางไม้ ของโรงเรือพระที่นั่งสมัยโบราณ จึงขนานนามว่า “คูไม้ร้อง” และเคยมีผู้คนมาขุดหลุมสร้างบ้านเรือนในภายหลัง ก็พบกับอาถรรพ์จนไม่สามารถปลูกบ้านเรือนได้ บันทึกในประชุมพงศาวดารเพิ่มเติมว่า เมื่อครั้งสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พระเจ้าเอกทัศ ทรงโปรดให้ถอยเรือพระที่นั่งทั้งหลายลงไปไว้ท้ายคู ทัพพม่าได้เข้าตีท้ายคูแตก เผาเรือพระที่นั่งไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการค้นพบโขนเรือครุฑที่จมใต้น้ำใกล้เคียงจุดจอดเรือหลวง เคยตั้งศาลบูชากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งถึง ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) ตรงกับรัชกาลที่ ๕ ศาลได้พังลง ปัจจุบันได้นำเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา ในปี… Read More »

จิตรกรรมโบราณในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดเชิงท่า อยุธยา นอกจากโบราณสถานที่สวยงาม ได้แก่ วิหาร พระปรางค์ประธานของวัด ผมได้เกิดความประทับใจภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ภายในศาลาการเปรียญเป็นอย่างมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย ผมจึงขอนำภาพและเรื่องราวภาพจิตรกรรมมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชม ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยอาคารประธาน ๑ หลัง ผนังด้านในศาลาการเปรียญเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพวิถีชาวบ้านแทรกปะปน เหนือผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพพนม จิตรกรรมในศาลาการเปรียญนี้ เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรม เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้และนายแข ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์และแท่นพิธีธรรม ภาพจิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า ประกอบไปด้วย ผนังส่วนบนทั้งสี่ด้าน เขียนภาพชุมนุมเทวดานั่งประนมมือ หันหน้าไปยังผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่เขียนภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับในซุ้มเรือนแก้ว ขนาดข้างด้วยเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ธูปเทียนตั้งอยู่บนตั่งสีแดง ถัดลงมาผนังด้านล่างทั้งสี่ด้านเขียนเป็นภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติชาดก โดยที่ภาพพุทธประวัติเริ่มจากช่องว่างระหว่างประตูด้านทิศตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาไปทางผนังด้านทิศเหนือและสิ้นสุดที่ช่องว่างระหว่างประตูที่ผนังด้านทิศตะวันตก ส่วนภาพเรื่องทศชาติชาดกเริ่มจากผนังด้านทิศตะวันตก ช่องว่างซ้ายมือถัดจากประตูเขียนเป็นภาพเรื่องเตมีย์ชาดก แล้ววนมายังทางผนังด้านทิศใต้และสิ้นสุดที่เรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ผนังด้านทิศตะวันออก ภาพจิตรกรรมพุทธประวัติและทศชาติชาดกภายในศาลาการเปรียญนี้ เขียนขึ้นโดยครูแขร่วมกับคณะ และพระอาจารย์อาภรณ์ธรรม เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ ทั้งหมดนี้คือภาพความสวยงามของโบราณสถานภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวและเก็บภาพความสวยงามนี้ไว้เป็นที่ระลึก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่… Read More »

วัดสิงห์ปากน้ำ วัดร้างในชุมชนญี่ปุ่นสมัยอยุธยา พระพุทธรูปโบราณแบบอู่ทองเก่าแก่มาก

https://youtu.be/z2i3WBQXd0g ขณะนี้เรากำลังอยู่ที่วัดสิงห์ปากน้ำ เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ใกล้กับหมู่บ้านญี่ปุ่น ซอยทางเข้าเดียวกับสมาคมมวยไทยนายขนมต้ม ปัจจุบันวัดสิงห์ปากน้ำมีสภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยบ้านเรือน ก่อสร้างศาลาและนำเศษซากพระพุทธรูปหินทรายหลายองค์มาประดิษฐานรวมกันไว้ด้านบน มีพระพุทธรูปหินทรายองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ และมีพระเศียรอยู่ด้วย ผมจึงได้ส่งรูปให้อาจารย์ฉันทัสดู ซึ่งอาจารย์ให้ทัศนะว่า เป็นเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่มีความเก่าแก่มาก เป็นแบบศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 2 ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า ศิลปะพระพุทธรูปอู่ทองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อระหว่างศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20  เป็นศิลปะที่คลี่คลายมาจากการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบทวารวดีกับศิลปะขอม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า มีลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด มีลายเส้นขนาดใหญ่ เป็นอาการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิตที่จะเอาชนะกิเลส ตัณหา และค้นหาทางหลุดพ้น ตามที่อาจารย์ฉันทัสได้กล่าวไว้ว่า เป็นลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง รุ่นที่ 2 จะมีพัฒนาการคลายความเคร่งขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น ซึ่งศิลปะอู่ทองรุ่น 1 จะมีความเคร่งขรึมมากกว่า เราสามารถแบ่งพระพุทธรูปแบบอู่ทองได้ดังนี้ พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 1 หรืออู่ทองหน้าแก่ พบในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง เม็ดพระศกคมชัด ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระหนุป้านเป็นอย่างที่เราเรียกว่า คางคน พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 2 หรืออู่ทองหน้ากลาง จะมีพัฒนาการคลายความเคร่ง ขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ลดอิทธิพลทางศิลปะแบบขอมลง ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น… Read More »