Tag Archives: วัดร้าง

วัดท่าทราย วัดร้างที่เคยพบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ

คลิปจากยูทูป FaithThaiStory วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดท่าทราย ซึ่งเป็นโบราณสถานวัดร้างสมัยอยุธยานอกเกาะเมืองอยุธยา ในเขต ต.วัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างที่แอบซ่อนใกล้กับบ่อดูดทรายใกล้เคียงกับวัดช้างใหญ่ ที่หลบซ่อนสายตาผู้คนทั่วไป วัดร้างแห่งนี้ ปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่กรมแผนที่ทหาร ฉบับตีพิมพ์ พ.ศ.2463 จึงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่น้อยคนจะรู้ จากการลงพื้นที่ พบโบราณวัตถุสำคัญคือใบเสมาหนึ่งใบที่ทำจากหินชนวน ลักษณะศิลปกรรมตามรูปแบบนี้ ซึ่งผมได้ค้นข้อมูลจากหนังสือเสมา สีมา โดยอาจารย์พิทยา บุนนาค ได้กล่าวว่าเป็นเสมาแบบลูกผสม พัฒนาการมาเป็นรุ่นที่ 4 โดยมีทับทรวงเป็นรูปข้าวหลามตัด ซึ่งจะมีอายุหลังจากเสมากลุ่มวัดไชยวัฒนารามเล็กน้อย โดยจะอยู่ในช่วงกลางรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้นไป ก็คือต้นพุทธศตวรรษที่ 23 หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย จากการสันนิษฐานยุคสมัยว่าวัดท่าทรายน่าจะเป็นวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 หรืออยุธยาตอนปลาย ซึ่งมีความสอดคล้องกับโบราณวัตถุที่พบอีกชิ้นหนึ่งคือกระเบื้องเชิงชายลายเทพพนม ที่มีความคลี่คลายของลวดลายกลีบบัวเป็นกลีบแบบสะบัดพลิ้วสามชั้น ที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบซากโบราณสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโคกเจดีย์ขนาดใหญ่ รวมถึงซากผนังอาคารที่หลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย พบพระพุทธรูปสำริด จมใต้น้ำบ่อดูดทรายติดวัดท่าทราย(ร้าง) อยุธยา มีเรื่องราวในอดีต จากโพสต์ในเฟซบุ๊คของอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ได้กล่าวว่า ราวปีพ.ศ.2533 ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่หาปลาในพื้นที่ ได้พบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ จึงได้แจ้งต่อกรมศิลปากร และได้มีการขอกำลังทหารมาช่วยกันงมพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวขึ้นมาได้สำเร็จ แต่พบว่าเศียรพระพุทธรูปได้หายไป ตามชุดภาพที่ท่านได้เห็นอยู่นี้ ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลว่า พระพุทธรูปองค์นี้ ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ใด การเดินทางเข้าชมสถานที่ การเดินทางค่อนข้างสะดวก ใกล้วัดช้างใหญ่ แต่จะเป็นเส้นทางที่แคบ ซึ่งอาจจะต้องขออนุญาตเจ้าของบ้านในพื้นที่ในการจอดรถเข้าชมสถานที่ ถ้าเดินทางมาจากวัดภูเขาทอง อยุธยา ให้ไปยูเทิร์นกลับเพื่อจะมายังวัดช้างใหญ่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยแรกก่อนถึงประตูวัดช้างใหญ่ จมีซอยเล็กๆเข้าไป สามารถชมคลิปการเดินทางประกอบการเดินทางที่ผมติดไว้ให้ด้านบนบทความนี้ วัดท่าทราย เป็นโบราณสถานวัดร้างอีกแห่งหนึ่งที่หลบสายตาที่น้อยคนจะรู้… Read More »

วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญเป็นศูนย์การค้าเอเชียทีคในกรุงเทพฯ

  วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ จากวัดกลายเป็นวัดร้างและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เอเชียทีคในกรุงเทพฯ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวยังเอเชียทีค ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในย่านถนนเจริญกรุง มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากันมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยบรรยากาศติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และมีความทันสมัย จึงมีความคึกคักของนักท่องเที่ยวอย่างมาก เมื่อผมได้เดินทางไปถึงก็ได้ไปสะดุดตากับอาคารไม้เก่าหลังหนึ่งในเขตศูนย์การค้า จากป้ายเขียนไว้ว่าสร้างในปี ค.ศ. 1912 หรือ พ.ศ.2455 ซึ่งมีอายุเกิน 100 ปี มีความโดดเด่นในย่านธุรกิจ ผมจึงได้ลองค้นหาข้อมูล จึงได้พบว่าอาคารหลังนี้เป็นทรัพย์สินของ บริษัทอีสท์ เอเชียติก จำกัด แห่งประเทศเดนมาร์ก ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเลื่อย แต่ความน่าสนใจไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะก่อนที่จะมาเป็นโรงเลื่อย พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นวัดมาก่อน จนกระทั่งแปรเปลี่ยนเป็นโรงเลื่อย และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ก็คือเอเชียทีค วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ คำว่าวัดพระยาไกร ทำให้ผมนึกไปถึงพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เพราะแต่เดิมพระทองคำองค์ดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปที่มีปูนปั้นทับไว้ ทำให้ไม่มีผู้ใดทราบว่าคือพระพุทธรูปทองคำ จนกระทั่งได้ทำการอัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม จนเกิดการกระเทาะของปูนเผยให้เห็นความล้ำค้าด้านในองค์พระ สามารถเอ่านเพิ่มเติมจากบทความนี้ >> https://www.faiththaistory.com/precious-buddha เมื่อผมได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น จึงเกิดความสนใจในเรื่องราวนี้ขึ้นมา จึงได้ลองค้นหาข้อมูลจากหนังสือ “วัดร้างในบางกอก”  โดย ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ได้เขียนรายละเอียดไว้ได้อย่างน่าสนใจ  ในหนังสือได้เขียนว่า ที่ตั้งของวัดพระยาไกรจากแผนที่ ฉบับเก่าๆ ระบุว่าตั้งลงไปทางทิศใต้ของวัดราชสิงขรเล็กน้อย และวัดลาดบัวขาวขึ้นมาทางเหนือตามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือปัจจุบันคือถนนเจริญกรุงตอนล่าง ยังมีสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรและป้ายชุมชนที่มีชื่อวัดเป็นหลักฐาน จากสารานุกรมเสรี ได้เขียนว่า วัดพระยาไกร เป็นชื่อเดิมของวัดโชตนาราม และมีหลักฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2344 จนกระทั่งมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (บุญมา)… Read More »

ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก(วัดร้าง) ทุ่งอุทัย อยุธยา

https://youtu.be/V36jR40Hsfw ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก และคำบอกเล่าการขุดกรุสมบัติเมื่อครั้งอดีต โบราณสถานวัดร้างนามว่า “วัดเจดีย์หัก” แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้ซุง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่ถูกทิ้งร้างลงจากภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 กลุ่มนักเดินทาง ได้ทราบข้อมูลว่า มีพื้นที่วัดร้างในเขตอำเภออุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง จึงได้ค้นหาและสอบถามข้อมูลต่างๆจากชาวบ้านในพื้นที่ จึงได้รู้จักชื่อ “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งเป็นคำเรียกติดปากของชาวบ้าน เพราะในอดีตราว 40 – 50 ปีก่อน ยังปรากฏเยอดเจดีย์สูงตระหง่าน แต่ได้พังทลายลงไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา เราได้เดินทางมายัง ต.หนองไม้ซุง เพื่อมาตามหาวัดแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดหนองไม้ซุงเท่าไรนัก และปรากฏเห็นโคกโบราณสถานใกล้กับหมู่บ้าน ในบรรยากาศท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีสวยงามอย่างยิ่ง  บริเวณโคกโบราณสถานแห่งนี้ มีการสร้างศาลเล็กๆไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อขุนศึก” และ “เจ้าแม่จันทร์หอม”  การเดินทางวันนี้ อากาศเป็นใจอย่างยิ่ง เพราะแสงแดดอ่อนประกอบกับมีลมเย็นพัดตลอดเวลา พร้อมบรรยากาศทุ่งนาเขียวขจีสบายตาอย่างยิ่ง เราได้เดินขึ้นไปบนโคกโบราณสถานนี้ ปรากฏเห็นขนาดก้อนอิฐที่มีขนาดใหญ่ วัดได้ความยาวประมาณเกือบ 2 คืบ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก และอาจจะเป็นไปได้ว่า โบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เช่นนี้อาจจะมีอายุถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เราไม่พบเศษซากโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากซากอิฐ จึงไม่อาจจะสันนิษฐานอายุได้มากไปกว่านี้ ลักษณะโคกโบราณสถาน เป็นซากกองอิฐของเจดีย์ที่พูนสูงขึ้น และพบว่ามีร่องรอยการขุดกรุเจดีย์แห่งนี้เป็นหลุมลงไป ถ้าสังเกตด้วยสายตาพบว่ามีความลึกมากพอสมควร เราได้พยายามเดินสำรวจโดยรอบโบราณถานแห่งนี้ เพื่อจะหาเศษซากชิ้นส่วนโบราณวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะบ่งบอกอายุของวัดแห่งนี้ได้ชัดเจนขึ้น เช่น… Read More »

วัดพระยาออก วัดร้างเก่าแก่สมัยอยุธยา ในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ลพบุรี

https://youtu.be/we541R49Uto สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวไปยังวัดร้างนามว่า วัดพระยาออก ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จ.ลพบุรี และจากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า อาจมีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาตอนต้นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังประดิษฐานหลวงพ่อขาว เป็นที่สักการะของประชาชนในพื้นที่มายาวนาน จึงเป็นอีกวัดร้างหนึ่งที่น่าสนใจ การเดินทาง ผมขอแนะนำให้เดินทางไปในวันหยุด เพราะไม่มีการเรียนการสอน จึงจะมีความสะดวกที่สุดครับ วัดพระยาออกเป็นวัดร้างอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ในตำแหน่งที่ตั้งภายในเมืองชั้นใน ใกล้กับกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณป้อมด้านหน้าเมือง ชื่อของวัดพระยาออก สันนิษฐานว่ามาจากตำแหน่งที่ตั้งของวัด ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเมือง เดิมนั้นบริเวณวัดพระยาออกจะก่อฐานด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตัก 420 เซนติเมตร ขนานนามว่า หลวงพ่อขาว ด้านหลังองค์พระพุทธรูปมีกำแพงเชื่อมต่อกับองค์พระ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาคารขนาดย่อมก่อด้วยศิลาแลง และทิศตะวันตกเฉียงใต้มีบ่อน้ำทรงแปดเหลี่ยมภายในก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี ชายจีวรยาวพาดข้อพระกรซ้าย ประทับนั่งบนฐานบัว ปัจจุบันถูกพอกทับเป็นฐานหน้ากระดาน พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม คล้ายได้รับอิธิพลจากเขมร พระรัศมีเป็นเปลวได้รับอิทธิพลแบบสุโขทัย จัดเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ 2 องค์หลวงพ่อขาวหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกพบได้ไม่บ่อยนัก อาจเทียบได้กับพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี และวัดอื่นๆที่มีอายุการสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น วัดราชบูรณะ วัดพุทไธศวรรย์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่าอาคารวิหารนี้น่าจะเป็นอุโบสถเช่นกัน จากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว จึงสันนิษฐานว่า วัดพระยาออกน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ระหว่างที่เดินชมพื้นที่วิหารหลวงพ่อขาว ได้เห็นแกนพระกรองค์เดิมเป็นไม้ ซึ่งผมไม่เคยเห็นพระแกนไม้แบบนี้มาก่อน… Read More »

วัดสิงห์ปากน้ำ วัดร้างในชุมชนญี่ปุ่นสมัยอยุธยา พระพุทธรูปโบราณแบบอู่ทองเก่าแก่มาก

https://youtu.be/z2i3WBQXd0g ขณะนี้เรากำลังอยู่ที่วัดสิงห์ปากน้ำ เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ใกล้กับหมู่บ้านญี่ปุ่น ซอยทางเข้าเดียวกับสมาคมมวยไทยนายขนมต้ม ปัจจุบันวัดสิงห์ปากน้ำมีสภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยบ้านเรือน ก่อสร้างศาลาและนำเศษซากพระพุทธรูปหินทรายหลายองค์มาประดิษฐานรวมกันไว้ด้านบน มีพระพุทธรูปหินทรายองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ และมีพระเศียรอยู่ด้วย ผมจึงได้ส่งรูปให้อาจารย์ฉันทัสดู ซึ่งอาจารย์ให้ทัศนะว่า เป็นเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่มีความเก่าแก่มาก เป็นแบบศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 2 ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า ศิลปะพระพุทธรูปอู่ทองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อระหว่างศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20  เป็นศิลปะที่คลี่คลายมาจากการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบทวารวดีกับศิลปะขอม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า มีลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด มีลายเส้นขนาดใหญ่ เป็นอาการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิตที่จะเอาชนะกิเลส ตัณหา และค้นหาทางหลุดพ้น ตามที่อาจารย์ฉันทัสได้กล่าวไว้ว่า เป็นลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง รุ่นที่ 2 จะมีพัฒนาการคลายความเคร่งขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น ซึ่งศิลปะอู่ทองรุ่น 1 จะมีความเคร่งขรึมมากกว่า เราสามารถแบ่งพระพุทธรูปแบบอู่ทองได้ดังนี้ พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 1 หรืออู่ทองหน้าแก่ พบในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง เม็ดพระศกคมชัด ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระหนุป้านเป็นอย่างที่เราเรียกว่า คางคน พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 2 หรืออู่ทองหน้ากลาง จะมีพัฒนาการคลายความเคร่ง ขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ลดอิทธิพลทางศิลปะแบบขอมลง ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น… Read More »

วัดนางคำ(ร้าง) พระเจ้าบรมโกศเสด็จฉลองสมโภช – อารามหลวงสมัยอยุธยา

https://youtu.be/YgGvfH6wNCw วัดนางคำ(วัดร้าง) พระเจ้าบรมโกศเสด็จฉลองสมโภช – อารามหลวงสมัยอยุธยา… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดนางคำ ซึ่งเป็นวัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และถือเป็นอารามหลวงในสมัยอยุธยาอีกด้วย เพราะมีบันทึกในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จฉลองวัดนางคำ เมื่อจุลศักราช ๑๑๑๗ ตรงกับ พุทธศักราช ๒๒๙๘ จึงถือว่าวัดแห่งนี้มีความสำคัญในอดีตมากอีกวัดหนึ่ง การเดินทางถือว่าสะดวก ซอยเข้าวัดถือว่าแคบรถสวนทางกันไม่ได้ แต่ก็เข้าซอยไม่ลึกมากครับ ท่านสามารถใช้ Google Map เดินทางได้ ซอยเข้าวัดจะอยู่ที่ซอยอโยธยา 4/2 บันทึกอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ เมื่อข้ามคลองบ้านบาตรจะเห็นจุดเด่นคือเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา เจดีย์ประธานของวัดนางคำ ตั้งตระหง่านคงทนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ เคยเดินทางมาสำรวจเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๙ และเขียนลงในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ไว้ว่า พบเจดีย์ลังกาขนาดใหญ่ องค์ระฆังเพรียวสูงขึ้นเล็กน้อย ใต้องค์ระฆังเป็นลูกแก้วกลมสามชั้น ต่อลงมาเป็นฐานบัวสามชั้น ทรงแปดเหลี่ยม อาจเป็นีมือช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนบรรยายสภาพการสำรวจเพิ่มเติมไว้ว่า ตรงฐานเจดีย์ถูกนักล่าของเก่าขุดจนพรุน มองเห็นโครงภายในของเจดีย์ ซึ่งก่อเป็นโพรงไปตลอดทั้งองค์ เหนือองค์ระฆังเป็นคานไม้ ตังเจดีย์ผนังหนาประมาณ ๑.๓๐ เมตร อิฐที่ก่อมีขนาด ๓๐ x ๔.๕ x ๑๖ เซนติเมตร บัลลังก์ย่อมุมสิบสอง… Read More »