Tag Archives: วัดร้าง อยุธยา

วัดบันไดนาค วัดร้างที่เหลือเจดีย์ถูกเจาะหาสมบัติพรุนไปทั้งองค์ ในป่าที่อยุธยา

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยวัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้ามไปยังฝั่งทิศใต้นอกเกาะพระนครศรีอยุธยา ที่ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อไปยังวัดบันไดนาค ซึ่งเป็นวัดร้างยังไม่ผ่านการบูรณะ ปัจจุบัน(ปี 2566) ยังหลงเหลือซากเจดีย์สมัยอยุธยา ที่ถูกเจาะหาสมบัติจนพรุนทั้งองค์ วัดแห่งนี้ไม่พบข้อมูลเอกสารบันทึก แม้แต่หนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ที่ อ.น. ณ ปากน้ำได้ลงพื้นทีสำรวจ เมื่อราวปลายปี 2509 ก็ไม่ปรากฏการพบวัดแห่งนี้ ซึ่งสมัยนั้นคงอยู่ในป่ารกทึบ ประกอบกับวัดร้างในอยุธยามีเป็นจำนวนมาก จึงอาจตกสำรวจในครั้งนั้น แม้วัดบันไดนาค จะยังไม่ผ่านการบูรณะ แต่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้เรียบร้อยแล้ว  พื้นที่วัดบันไดนาค มีสภาพที่มีวัชพืชและต้นไม้ขึ้นปกคลุมจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะต้องลุยป่าเข้าไป ซากองค์เจดีย์ของวัดบันไดนาค มีสภาพถูกเจาะหาสมบัติด้านในจนพรุนไปทั้งองค์ เกือบจะพังทลายลงมา เมื่อเรามองเข้าไปด้านในจะเห็นช่องกรุ เป็นห้องกลวงที่เคยถูกค้นหาเมื่อครั้งอดีต สำหรับเรื่องการขุดหาสมบัติในอยุธยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากได้กอบกู้คืนเอกราช ซึ่งมีบันทึกในเอกสารจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาครั้งกรุงศรีอยุธยา บันทึกไว้ว่า มีการขุดหาสมบัติตามวัดในกรุงศรีอยุธยาโดยคนจีนและคนไทย พบของมีค่าและทองคำ มีจำนวนมากจึงต้องนำออกไปเป็นลำเรือ แม้แต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ให้รื้ออิฐไปสร้างกรุงใหม่ ก็มีการลักลอบขุดหาสมบัติด้วยเช่นกัน กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี จนมาถึงปัจจุบัน โบราณสถานทุกแห่งในกรุงศรีอยุธยา จึงถูกทำลายไปมากมาย เนื่องจากไม่พบบันทึกประวัติการสร้างวัด จึงสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปกรรมของเจดีย์ วัดบันไดนาค ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเจดีย์ของวัดบันไดนาคไว้ว่า ชั้นซ้อนเจดีย์มีความคล้ายกับเมรุรายที่วัดไชยวัฒนราม ซึ่งมีชั้นซ้อนรองรับด้วยบัวหงายต่อกันขึ้นไปหลายชั้นจนแทบไม่เหลือยอด แม้จะเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมก็ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างถึงสมัยอยุธยาต้น แต่เป็นเจดีย์ที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบวัดไชยวัฒนารามในสมัยอยุธยาตอนปลาย สุดท้ายนี้ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีครับ / แอดมินลุงตั้ม (ยุทธนา ผิวขม) ช่องทางการติดตาม Facebook : เพจภารกิจเที่ยววัด YouTube… Read More »

วัดท่าทราย วัดร้างที่เคยพบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ

คลิปจากยูทูป FaithThaiStory วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดท่าทราย ซึ่งเป็นโบราณสถานวัดร้างสมัยอยุธยานอกเกาะเมืองอยุธยา ในเขต ต.วัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างที่แอบซ่อนใกล้กับบ่อดูดทรายใกล้เคียงกับวัดช้างใหญ่ ที่หลบซ่อนสายตาผู้คนทั่วไป วัดร้างแห่งนี้ ปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่กรมแผนที่ทหาร ฉบับตีพิมพ์ พ.ศ.2463 จึงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่น้อยคนจะรู้ จากการลงพื้นที่ พบโบราณวัตถุสำคัญคือใบเสมาหนึ่งใบที่ทำจากหินชนวน ลักษณะศิลปกรรมตามรูปแบบนี้ ซึ่งผมได้ค้นข้อมูลจากหนังสือเสมา สีมา โดยอาจารย์พิทยา บุนนาค ได้กล่าวว่าเป็นเสมาแบบลูกผสม พัฒนาการมาเป็นรุ่นที่ 4 โดยมีทับทรวงเป็นรูปข้าวหลามตัด ซึ่งจะมีอายุหลังจากเสมากลุ่มวัดไชยวัฒนารามเล็กน้อย โดยจะอยู่ในช่วงกลางรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้นไป ก็คือต้นพุทธศตวรรษที่ 23 หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย จากการสันนิษฐานยุคสมัยว่าวัดท่าทรายน่าจะเป็นวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 หรืออยุธยาตอนปลาย ซึ่งมีความสอดคล้องกับโบราณวัตถุที่พบอีกชิ้นหนึ่งคือกระเบื้องเชิงชายลายเทพพนม ที่มีความคลี่คลายของลวดลายกลีบบัวเป็นกลีบแบบสะบัดพลิ้วสามชั้น ที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบซากโบราณสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโคกเจดีย์ขนาดใหญ่ รวมถึงซากผนังอาคารที่หลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย พบพระพุทธรูปสำริด จมใต้น้ำบ่อดูดทรายติดวัดท่าทราย(ร้าง) อยุธยา มีเรื่องราวในอดีต จากโพสต์ในเฟซบุ๊คของอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ได้กล่าวว่า ราวปีพ.ศ.2533 ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่หาปลาในพื้นที่ ได้พบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ จึงได้แจ้งต่อกรมศิลปากร และได้มีการขอกำลังทหารมาช่วยกันงมพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวขึ้นมาได้สำเร็จ แต่พบว่าเศียรพระพุทธรูปได้หายไป ตามชุดภาพที่ท่านได้เห็นอยู่นี้ ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลว่า พระพุทธรูปองค์นี้ ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ใด การเดินทางเข้าชมสถานที่ การเดินทางค่อนข้างสะดวก ใกล้วัดช้างใหญ่ แต่จะเป็นเส้นทางที่แคบ ซึ่งอาจจะต้องขออนุญาตเจ้าของบ้านในพื้นที่ในการจอดรถเข้าชมสถานที่ ถ้าเดินทางมาจากวัดภูเขาทอง อยุธยา ให้ไปยูเทิร์นกลับเพื่อจะมายังวัดช้างใหญ่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยแรกก่อนถึงประตูวัดช้างใหญ่ จมีซอยเล็กๆเข้าไป สามารถชมคลิปการเดินทางประกอบการเดินทางที่ผมติดไว้ให้ด้านบนบทความนี้ วัดท่าทราย เป็นโบราณสถานวัดร้างอีกแห่งหนึ่งที่หลบสายตาที่น้อยคนจะรู้… Read More »

เที่ยวสำรวจวัดช่องลม วัดร้างแถบคลองมหานาค ที่อยุธยา

https://youtu.be/fHVZvRlGEWs สวัสดีครับจากบทความเดิม ภารกิจเที่ยววัดร้าง Episode 1 เราจะพาไปชมวัดร้างกันต่อที่วัดช่องลม แถบคลองมหานาค … ที่วัดแห่งนี้ทีมนักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาเดินทางค้นหาสักระยะหนึ่ง โดยใช้วิธีการสอบถามชาวบ้านแถบนี้ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี วัดช่องลม เป็นวัดร้างแถบคลองมหานาคที่ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เคยเข้ามาทำการสำรวจพื้นที่แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 โดยมีบันทึกในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นอมตะ พิมพ์มาหลายครั้งเนื่องจากได้รับการเรียกร้องจากผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวโบราณสถาน รวมถึงนักศึกษารุ่นหลังๆ ด้วย หนังสือเล่มนี้ เป็นการพิมพ์ครั้งล่าสุดของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ ซึ่งผมก็ได้หาซื้อมาไว้เป็นจ้าของเช่นกัน ตามบันทึกในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ได้เขียนบันทึกไว้ว่า “เรือแล่นได้ มุ่งตรงไปยังตำบลภูเขาทอง แวะลอกลายที่หน้าบันวัดช่องลม เข้าไปเขียนในเล้าเป็ด และไปทำแผนผังฐานชุกชีอุโบสถเก่าซึ่งอยู่ในป่ารก ลวดลายปูนปั้นที่นี่สวยงามแปลกตา การวางลายเป็นแบบอิสระ ไม่เคยเห็นที่ไหน” ทีมนักท่องเที่ยวกลุ่มของเราเดินทางมายังวัดช่องลม ในเวลาราวๆเที่ยงวัน แม้จะมีแสงแดดอยู่บ้างแต่ก็สนุกสนานในการเดินทาง เส้นทางจะเข้ามายังในซอย และก็ได้สอบถามชาวบ้านที่บ้านหลังในรูปด้านบน ซึ่งก็ได้คำตอบว่าเดินเข้าไปด้านในซอยนี้ เมื่อเดินเข้าไปถึง ก็พบกับส่วนผนังหรือกำแพงด้านเดียว ที่มีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รอวันที่จะพังทลายลงไป มีช่องโหว่ขนาดใหญ่ 2 ช่อง และช่องหนึ่งรอยแตกราวไปจนถึงสุดด้านบน… ซุ่งรอยแตกร้าวนี้ดูแล้วน่าจะมีโอกาสทลายลงมาในอนาคต สภาพอีกด้านหนึ่ง จะเห็นศิลปะปูนปั้นที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ได้หลุดร่นไปตามกาลเวลา หายไปมากกว่าครั้งที่ อาจารย น. ณ ปากน้ำ เคยเข้ามาสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2509 …… Read More »

เที่ยวสำรวจวัดร้างสมัยอยุธยา วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค

https://youtu.be/oWjTw8j7kPY จากบทความเดิม ภารกินเที่ยววัด สำรวจวัดร้างอยุธยา Episode 1 เราก็มาต่อกันที่วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค … สำหรับการเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ เราได้ตามรอยมาจากหนังสือ “อยุธยา ที่ไม่คุ้นเคย” โดย ปวัตร์ นวะมะรัตน ที่ได้ตีพิมพ์ไว้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เป็นหนังสือที่ทำให้กระแสการอนุรักษ์เกิดขึ้นได้มากเลยทีเดียว ถือว่าเป็นหนังสือที่น่าซื้อหามาไว้อ่านเป็นความรู้ที่ดีมากเล่มหนึ่ง ซึ่งยังสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ตามร้านหนังสือทั่วไป กลุ่มของเราได้เดินทางมาถึงราวๆเที่ยงวัน ด้วยบรรยากาศที่ไม่ร้อนมากนัก ขับรถลัดเลาะมาทางวัดภูเขาทองและได้สอบถามคนในพื้นที่จนมาพบกับวัดป่าพลูตาม แผนที่ เมื่อเดินทางมาถึง จะเห็นเพียงโคกดินสูงและเศษก้อนอิฐโบราณที่กระจายทั่วไป อีกทั้งได้พบกระเบื้องเชิงชายที่แตกหักจำนวนหนึ่ง รวมถึงเศษซากพระพุทธรูป และลูกนิมิตโบราณอีก 2 ลูก ที่ชาวบ้านได้ทำการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธรูปที่ยังพอหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เราเดินทางเข้ามายังพื้นที่วัดป่าพลู ก็ได้พบกับยาย ที่เป็นชาวบ้านแถบนี้ และก็นั่งคุยเรื่องราวกันอย่างเป็นกันเอง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีเลยครับ ผมได้เดินดูพื้นที่รอบๆ ก็จะเห็นเพียงเศษอิฐบางส่วน และศาลาพระพุทธรูปที่ชาวบ้านได้สร้างไว้ วัตถุโบราณที่มีให้เห็นคือเศษซากพระพุทธรูป แต่ส่วนเศียรนั้นได้หายไปแล้วครับ ลูกนิมิตโบราณ จะมีอยู่ 2 ลูกในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะที่ไม่กลมเหมือนกับปัจจุบันนี้ เราได้พบเศษกระเบื้องเชิงชายจำนวนหนึ่ง จึงได้เก็บรวบรวมไว้ และทำการโทรปรึกษาอาจารย์กรมศิลปากร และได้ส่งมอบทั้งหมดนี้ให้กับ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ประวัติวัดป่าพลู จากหนังสือ อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย โดยปวัตร์ นวะมะรัตน ได้เขียนไว้ว่า วัดป่าพลูแห่งนี้ไม่พบหลักฐานการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพราะมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ พ.ศ. 2091 มีความพอสังเขปว่า เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ ยกทัพเข้าล้อมพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091 –… Read More »

สำรวจวัดมงกุฏ ภารกิจเที่ยววัดร้าง อยุธยาที่ไม่เคยรู้

https://youtu.be/B5YygaBhRPg มาต่อกันกับ ภารกิจเที่ยววัดร้างที่อยุธยา Episode 1 กันต่อครับ … เราจะเดินทางไปที่วัดมงกุฏ ซึ่งเป็นวัดร้างแห่งหนึ่งที่กรมศิลปากรได้เข้าไปปักหมุดเพื่อรอการบูรณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมจึงขอนำภาพบรรยากาศมาแชร์ให้ดูกัน ทั้งนี้วัดมงกุฏ ผมก็ไม่ทราบข้อมูลเรื่องราวประวัติเพราะไม่พบปรากฏหลักฐาน สิ่งที่เป็นจุดเด่นของวัดมงกุฏ ก็คือจะมีปราค์ที่ยังตั้งสูงตระหง่านมองเห็นยอดปรางค์โผล่ขึ้นมาเหนือแมกไม้ แต่องค์ปรางค์ก็ยังถูกล้อมรอบไว้ด้วยหมู่บ้านและต้นไม้ที่ปกคลุมพื้นที่ทำให้ผ่านหูผ่านตาของใครหลายๆคน แม้ว่าวัดมงกุฏจะไม่ปรากฏในแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (ค.ศ. 1926) แต่สำหรับนักท่องเที่ยว และนักสำรวจเชิงอนุรักษ์หลายรายก็ได้เดินทางมาเก็บภาพเป็นที่ระลึกกันมากมายแล้วเช่นกัน ครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางไปถึง เมื่อพวกผมเดินทางมาถึง ก็วนเวียนหาทางเข้ากันสักพักเพราะจำเส้นทางไม่ได้ จนกระทั่งหาทางเข้าจนพบ และมองเห็นยอดปรางค์เหนือแมกไม้ … ปรางค์องค์นี้เมื่อซูมกล้องเข้าไปจับภาพ จะยังพบว่ามีลวดลายวิจิตรสวยงามหลงเหลืออยู่ เป็นปรางค์ที่ดูสวยงามมากองค์หนึ่งเลยหล่ะครับ ผมรู้สึกตื่นตาตื่นใจ กับการเดินทางมาวัดแห่งนี้พอสมควร เพราะบรรยากาศดูขลังๆ มีพระปรางค์กลางป่าดูแล้วมีความสุขครับ บริเวณนี้ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ทำให้น้อยคนนักที่จะเข้ามาถึง ถ้าไม่ใจรักกันจริงๆ คงไม่มากันแน่นอน … พวกผมก็วนเวียนดูความสวยงามโดยรอบสักระยะหนึ่ง เพื่อซึมซับบรรยากาศที่น้อยคนจะเคยเห็น … สำหรับพิกัดต่างๆ ผมคงไม่ขอกล่าวไว้ ด้วยเหตุผลบางประการ… แต่ถ้าใจรักกันจริง ผมคิดว่าทุกคนต้องไปกันถึงอย่างแน่นอน แล้วพบกันใหม่ ในภาพบรรยากาศเที่ยววัดต่างๆของผม … สวัสดีครับ … มาดูความเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2561 https://youtu.be/ckmVg3_npKg ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด… Read More »

สำรวจวัดผีเสื้อ ภารกิจเที่ยววัดร้างที่อยุธยา

https://youtu.be/aosmT1IvqLo เรามาเดินทางต่อในวัดที่ 3 กันเลยครับ ใน “ภารกิจเที่ยววัด สำรวจวัดร้างอยุธยา Episode 1” วัดที่ 3 ที่เราได้เดินทางกันมาคือวัดผีเสื้อ ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในย่านคลองสระบัวเช่นกัน มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างขวาง และก็เช่นเดิมจะมีบ้านของชาวบ้านตั้งอยู่ใกล้บริเวณนี้ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์ในการนำทางเข้าไปยังพื้นที่วัดผีเสื้อแห่งนี้ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์สำหรับวัดผีเสื้อยังไม่พบหลักทางทางเอกสาร แต่มีบันทึกในแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ … ชื่อวัดผีเสื้อ น่าจะเกี่ยวข้องกับชื่อของยักษ์ คงจะไม่เกี่ยวกับผีเสื้อ (ผมคิดว่าอย่างนั้นนะ) ชาวบ้าน ที่ตั้งบ้านเรือนใกล้พื้นที่วัดผีเสื้อ ให้ความช่วยเหลืออย่างดีเลยครับ จัดเตรียมรองเท้าบู้ท เพื่อให้ลุยเข้าไปในป่าเพราะช่วงที่ผมเดินทางนั้นตรงกับฤดูฝน น้ำจะเยอะ … ซึ้งใจจริงๆครับ เมื่อจัดเตรียมรองเท้ากันเรียบร้อยก็ได้เวลาลุยแล้วหล่ะครับ เดินเข้ามาสักเล็กน้อยก็เจอกับคลอง ซึ่งต้องระมัดระวังในการเดินข้าม และช่วยกันดึงมือให้ข้ามไป… จุดนี้ระวังเรื่องอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคด้วยนะครับ เดี๋ยวจะร่วงซะก่อน ต้องบอกว่า เป็นป่าดีๆนี่เองครับ… ด้วยความชุ่มชื้นของฝนที่โปรยปรายลงมา ทำให้ต้นไม้ขึ้นเขียวขจีไปทั่วบริเวณ จะต้องมีคนเดินนำหน้าแล้วคอยถางป่านำทางไปให้ จุดแรกที่เราเข้าไปถึง ก็จะพบกับโคกเจดีย์โบราณ ซึ่งไม่เหลือสภาพให้เห็นแล้วครับ มีลักษณะเป็นโคกดินที่เจดีย์ได้พังทลายไปจนหมดแล้ว จะพบเพียงเศษอิฐโบราณกระจายอยู่เท่านั้น เท่าที่ผมมองไปรอบๆ พบว่าพื้นที่วัดมีขนาดที่กว้างใหญ่มากเลยครับ มีร่องรอยสถานที่ ที่สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถ และพระเจดีย์ พระเจดีย์ ที่กลุ่มเราเข้าไปพบ จะมีลักษณะพังทลายไปจนหมด และมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมแทน แต่ก็ยังสังเกตุเห็นอิฐโบราณมีลักษณะก่อฐานขึ้นไป และมีตกกระจายไปทั่วบริเวณ บ่อยครั้งที่ผมได้เดินทางไปยังวัดร้างต่างๆ มักจะเห็นถึงร่องรอยการขุดเจาะของนักล่าสมบัติ ซึ่งก็รู้สึกหดหู่พอสมควร แต่ก็เป็นการห้ามกันได้ยาก ตราบใดที่ยังมีคนที่หวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว สำหรับเรื่องวัตถุโบราณต่างๆ ทางกลุ่มเราได้ย้ำเตือนซึ่งกันและกันเสมอว่า จะไม่หยิบสิ่งใดๆแม้แต่อิฐเพียงก้อนเดียวกลับไปอย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นอุดมการณ์และจรรยาบรรณของนักสำรวจและนักท่องเที่ยว ที่จะไม่ทำลายและนำสิ่งใดๆไปเป็นสมบัติส่วนตัว โดยส่วนตัวผมเองนั้น ก็ได้ยึดถืออุดมการณ์นี้อย่างเคร่งครัด อีกทั้งผมคิดว่าสมบัติต่างๆนี้เป็นของชาติและเป็นของสงฆ์… Read More »