Category Archives: ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

เมืองครุฑ เมืองโบราณที่ล่มสลาย สถานที่พบครุฑหินใหญ่ที่สุดในไทย

ผมได้มีโอกาสดินทางไปท่องเที่ยวที่ จ.กาญจนบุรี และได้ลองค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จึงมีความสนใจที่จะเดินทางไปยังปราสาทเมืองสิงห์ และโบราณสถานเมืองครุฑ หลายท่านคงคุ้นเคยกับปราสาทเมืองสิงห์ เพราะเป็นโบราณสถานที่ยังปรากฏโครงสร้างขนาดใหญ่ แต่โบราณสถานเมืองครุฑ หลายท่านก็อาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่งผมก็มีความสนใจจะเดินทางไปด้วยเช่นกัน และได้ทราบมาว่าเส้นทางจะไปยังเมืองครุฑ จะอยู่ห่างจากปราสาทเมืองสิงห์ราว 10 กิโลเมตร ผ่านเส้นทางลูกรัก เข้าสู่ซากโบราณสถานที่รายล้อมไปด้วยขุนเขา ปรากฏร่องรอยคันดินและรากฐานศิลาแลง ก่อนไปยังเมืองครุฑ ผมจะพาทุกท่านไปยังปราสาทเมืองสิงห์กันเสียก่อน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีคูเมืองคันดินและกำแพงเมืองศิลาแลงล้อมรอบ สร้างขึ้นตามลักษณะขอมแบบบายน ราวพุทธศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นักวิชาการส่วนใหญ่ ได้นำหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เชื่อมโยงกับข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ ซึ่งปรากฏชื่อเมืองที่สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย จึงอาจมีนัยยะสำคัญในการแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ก็มีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ได้สันนิษฐานว่า เขตภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมืองของเขมรโบราณ ปราสาทเมืองสิงห์เป็นเพียงการสร้างที่ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมเขมรเท่านั้น เช่น ในทัศนะของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ในหนังสือข้อขัดแย้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย และ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เดือนเมษายน พ.ศ.2530 หลังจากที่ผมได้ท่องเที่ยวที่ปราสาทเมืองสิงห์แล้ว จึงได้เดินไปชมประติมากรรมครุฑหินทรายขนาดใหญ่ ที่ได้นำมาจากโบราณสถานเมืองครุฑ แล้วนำมาตั้งไว้บริเวณลานจอดรถของอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ มีความสูงราว 3 เมตร ซึ่งถือได้ว่าเป็นประติมากรรมครุฑแบบลอยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมนี้ไม่มีเศียร จึงน่าจะถูกลักขโมยไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่นำเก็บเข้ามา เมื่อเรามาชมครุฑกันแล้ว ต่อไป เราจะเดินทางไปสู่โบราณสถานเมืองครุฑ ซึ่งเมื่อค้นหาสถานที่บน Google Earth จะพบว่าโบราณสถานนี้… Read More »

ภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เขาพระพุทธฉาย สระบุรี

วัดพระพุทธฉาย สระบุรี เป็นสถานที่มีบันทึกเรื่องราวตำนานมากอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี โดยเฉพาะเรื่องราวของพระพุทธฉายหรือเงาพระพุทธเจ้า ที่หลายๆท่านได้เดินทางไปสักการะ อีกทั้งบนยอดเขาลมหรือเขาพระพุทธฉายแห่งนี้ มีมณฑปประดิษฐานรอยประทับพระพุทธบาท จึงเป็นสถานที่ ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวตลอดมา นอกจากเรื่องราวตำนานของพระพุทธฉายแล้ว พื้นที่แห่งนี้ ยังเป็นโบราณสถานมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มายาวนาน เพราะมีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งน่าจะราว 3,000 ปีก่อน คำว่า ก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ในยุคที่มนุษย์ยังไม่มีการบันทึกหรือการประดิษฐ์ตัวอักษร เราจึงค้นหาประวัติความเป็นมาจากภาพการเขียนรูป เครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต บริเวณที่พบภาพเขียนอยู่บนเพิงผาเดียวกับรอยพระพุทธฉาย เป็นภาพเขียนสีแดง จึงเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง ที่เราจะได้สัมผัสถึงเรื่องในอดีต ที่บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณมายาวนาน สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผมจึงขอถือโอกาสนี้ นำข้อมูลจากกรมศิลปากร มาอธิบายไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจต่อไป ดังนี้  ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาลม (เขาพระพุทธฉาย) แหล่งเขียนภาพสียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเพิงผาเขาลม(เขาพระพุทธฉาย) วัดพระพุทธฉาย ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี มีลักษณะเป็นภาพเขียนสีแดง ปรากฏอยู่บนเพิงผาเดียวกับพระพุทธฉาย ลักษณะของเพิงผาคล้ายหลังคา หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ความยาวประมาณ 106 เมตร ความสูงจากเชิงเขาประมาณ 20 เมตร สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่พักอาศัยหรือประกอบกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต เทคนิคการเขียนภาพมีทั้งแบบการเขียนโครงร่างและระบายสีทึบภายในโครงร่าง ส่วนวัสดุทำพู่กัน สันนิษฐานว่าทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การนำเปลือกไม้มาทุบจุ่มสีแล้ววาดลงผนังหิน เนื่องด้วยภาพเขียนสีผ่นกาลเวลามายาวนานหลายพันปี จึงมีสภาพที่ค่อนข้างเลือนลาง แต่ก็ยังพอสังเกตได้บ้าง ดังนั้นขอความร่วมมือ ไม่สัมผัสบริเวณภาพเขียนสีดังกล่าว เพื่อให้มีสภาพที่คงอยู่ได้นานที่สุดต่อไปครับ ภาพเขียนผนังเพิงผาสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ ภาพคน พบทั้งภาพคนถืออาวุธ แสดงถึงการล่าสัตว์ และภาพคนเรียงกันเป็นแถวคล้ายขบวนแห่… Read More »

เทวสถาน โบสถ์เทพฮินดูในสมัยอยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานแห่งหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้ นั่นก็คือโบราณสถาน เทวสถานหรือโบสถ์เทวรูปฮินดูในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เทวสถานนี้เป็นไปตามคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดู และในสมัยกรุงอยุธยาให้การเคารพกษัตริย์เปรียบสมมุติเทพแสดงถึงอำนาจบารมีในการปกครองบ้านเมือง จึงมีพิธีกรรมทางพราหมณ์ในพระราชพิธีตลอดมาและมีเทวสถานตรงนี้นั่นเอง ปัจจุบัน โบราณสถานนี้ กำลังได้รับการขุดสำรวจทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร เพื่อเป็นการเปิดเผยเรื่องราวประวัติศาสตร์สู่สาธารณชนให้ได้เรียนรู้ และอาจจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ต่อไป โอกาสนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเทวสถานสมัยอยุธยามานำเสนอให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่ผู้สนใจดังต่อไปนี้ คติความเชื่อเรื่องเทพในสมัยอยุธยา คติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดูสมัยอยุธยานั้น มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง รูปเคารพในศาสนาฮินดูสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย ผศ.ดร.เอกสุดา สิงห์ลำพอง ได้อธิบายบันทึกคติความเชื่อในสมัยอยุธยาไว้ว่า ความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่แรกสร้างกรุง จากบันทึกในพงศาวดารหลายฉบับ เช่น ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์, ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม), ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น เนื้อความในพงศาวดารกล่าวถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนากรุงศรีอยุธยา ความว่า “…ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง… และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว…” และจากข้อมูลการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2512 กล่าวว่า เทวสถานเดิมของกรุงศรีอยุธยาคือบริเวณศาลพระกาฬ ในบริเวณแยกตะแลงแกง… Read More »

อันซีนหุ่นปั้น ถนนพระรถ เส้นทางโบราณ ฉะเชิงเทรา

คลิปจากช่องยูทูป FaithThaiStory อันซีนหุ่นปั้นบนถนนพระรถ เส้นทางโบราณ ฉะเชิงเทรา ที่หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังถนนเส้นหนึ่ง ที่เป็นเส้นทางโบราณและเรียกกันว่า “ถนนพระรถ” ในอ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งชื่อนี้ไปเกี่ยวของกับตำนานเรื่องพระรถ-เมรี หรือ นางสิบสอง ที่มีการกล่าวถึงตำนานนี้ทั้งในเขตอำเภอพนัสนิคม ชลบุรี รวมถึงฉะเชิงเทราที่ไปเชื่อมโยงถึงในเขต ต.ดงน้อย อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา ที่มีตำนานถ้ำนางสิบสองและลานพระรถชนไก่  การเดินทางครั้งนี้ถือว่าเป็นถนนที่มีความอันซีนเส้นหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จากการนำทางโดย คุณอัฐพงษ์ บุญสร้าง นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทำให้ได้ทราบถึงความแปลกของถนนเส้นนี้ เพราะเป็นถนนที่ได้รับการปรับปรุงลาดยางตลอดจากเส้นหลักสาย กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา (304) แต่แทบไม่มีการสัญจรผ่านเพราะไม่ใช่เส้นทางหลักในปัจจุบัน และสิ่งที่แปลกตาคือ มีหุ่นปั้นสร้างขึ้นและตั้งไว้ริมถนนเส้นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก  จากการสอบถามคุณอัฐพงษ์ ได้ความว่า ถนนเส้นนี้แต่เดิมขาดความสนใจในเรื่องราวและน้อยคนจะทราบว่าคือถนนพระรถในเส้นทางโบราณ จนกระทั่งพระอาจารย์ซ่วน แห่งวัดท่าลาดใต้ ได้เข้ามาบุกเบิกถนนเส้นนี้อีกครั้ง โดยการปั้นหุ่นปั้นมากมายมาตั้งไว้ข้างถนนเป็นจำนวนมาก มีทั้งรูปปั้นยักษ์, พระเรถ, นางยักษ์, พระสังกัจจายน์ และอีกมากมาย ลักษณะการปั้นหุ่นปั้นหลากหลายนี้ มีปรากฏในวัดท่าลาดใต้และที่ อุทยานหุ่นปั้นพระอาจารย์ซ่วน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ที่ผมเคยพาทุกท่านไปท่องเที่ยวมาแล้ว ถนนพระรถ มีบันทึกอยู่ในเอกสารการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากรเกี่ยวกับเส้นทางโบราณ อยู่ใกล้กับวัดท่าลาดใต้ ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านเส้นทางเดิมจะเริ่มจากวัดเมืองกาย และมีสะพานข้ามคลองท่าลาดและเป็นเส้นทางยาวไปจนถึงบึงกระจับ แต่ปัจจุบันสะพานดังกล่าวชำรุดหายไปและมีถนนเส้นหลักสาย 304 (กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา) ทำให้เส้นทางเดิมถูกตัดขาด สำหรับท่านที่สนใจสามารถเดินทางไปเที่ยวชมได้ตามแผนที่ด้านล่าง ซึ่งจะมีถนนเข้าไปตรงข้ามกับปั้ม ปตท.(หจก.รุ่งพิทักษ์ ปิโตรเลียม) ที่อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งผมได้ตีกรอบเส้นสีแดงไว้ให้แล้วครับ จากบันทึกการสำรวจทางโบราณคดีใกล้กับวัดท่าลาดใต้กลาวว่าว่า บริเวณนอกวัดท่าลาดใต้พบว่ามีแนวคันดิน… Read More »

ทำไมมีต้นพุทรามากมาย ในเขตวังหลวงโบราณ อยุธยา ?

https://youtu.be/1YjljPrBEsY ทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตพระราชวังหลวง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหลายคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นความเข้าใจผิดของหลายคนด้วยเช่นกัน ผมได้ลองค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ คือสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กล่าวว่า ต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา เริ่มปลูกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาโบราณราชธานินทร์ใช้เป็นกุศโลบายให้ประชาชนนำไปรับประทานได้ และช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลโบราณสถาน ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจอายุต้นพุทราเมื่อปี พ.ศ.2562 ว่าต้นพุทราที่เก่าแก่ที่สุด อยู่ในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา มีอายุราว 140 ปี ซึ่งจะตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง และต้นพุทราในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2562 อีกด้วย และอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ ที่บอกกล่าวเล่าเรื่องไว้โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ได้เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษในโครงการอบรมมัคคุเทศก์ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มานานหลายสิบปี โดยให้คำบรรยายและอบรมในระหว่างการท่องเที่ยวนำชมในเขตโบราณสถาน มักจะเกิดคำถามบ่อยครั้งเมื่อเดินเข้าในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ พระนครศรีอยุธยา ว่าทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตนี้?  และคำตอบจากมัคคุเทศก์ที่ได้ยินคือ กล่าวว่า ทัพพม่าได้ขนเสบียงเป็นพุทรามาเมื่อครั้งสงครามตีกรุงศรีอยุธยาจนแตก จึงได้ทิ้งเมล็ดพุทราไว้จำนวนมาก จนเกิดต้นพุทรามากมายในปัจจุบัน ซึ่งคำตอบดังกล่าวเป็นที่เฮฮา สนุกสนานของผู้เดินทางท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ตรงตามประวัติศาสตร์การบันทึก ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เล่าต่อว่า ได้บังเอิญไปค้นหาข้อมูลในวารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และได้ไปพบกับคอลัมน์และภาพถ่าย ที่เขียนและถ่ายภาพโดยคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนแห่งสยามรัฐ(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538) ซึ่งน่าจะเป็นฉบับในราวปี พ.ศ. 2505 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา ในวารสาร คุณรงค์ได้เขียนว่า ต้นพุทราในพระราชวังหลวงถูกปลูกขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2500 นานหลายปี… Read More »

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

https://youtu.be/F1anpvudLhU วันนี้ผมจะพาไปชมความงดงามของเศียรพระพุทธรูปโบราณที่มีอายุกว่าพันปี หรือสมัยทวารวดี ที่มีความสมบูรณ์สวยงามมากที่สุดเศียรหนึ่งที่เคยค้นพบ เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ก่อนการค้นพบเมืองโบราณซับจำปา ได้พบโบราณวัตถุต่างๆตามพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ตั๊กแตนปาทังการะบาดในพื้นที่ ราวปี พ.ศ.2513 กรมการเกษตรจึงส่งอากาศยานเพื่อโปรยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงได้เห็นสัณฐานคูเมืองโบราณซับจำปาทางอากาศ คล้ายรูปหัวใจ จึงเกิดข่าวโด่งดังแพร่กระจายในแวดวงโบราณคดี และเริ่มมีการสำรวจทางโบราณคดีนับแต่นั้นมา โดยนำทีมสำรวจโดยอาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ อาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ ได้กล่าวว่าการสำรวจเมืองโบราณซับจำปามีความน่าสนใจเพราะมีความผสมผสานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี เช่น มีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพบเศษภาชนะ รวมถึงรูปปั้นตุ๊กตาดินเผายุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีเป็นต้น การขุดสำรวจทางโบราณคดี ได้ค้นพบโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น แต่ในสมัยนั้น การควบคุมยังลำบากเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้มีโบราณวัตถุบางชิ้นได้หลุดรอดถูกลักขโมยไปขายในตลาดต่างประเทศ โบราณวัตถุที่ขุดพบในเมืองโบราณคดีซับจำปามีมากมาย จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ซับจำปา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี ส่วนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบคือ เศียรพระพุทธรูปโบราณ สมัยทวารวดี อายุกว่าพันปี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ที่มีความงดงามและสมบูรณ์มากเศียรหนึ่ง ภาพด้านบนที่ท่านได้เห็นในขณะนี้ เป็นภาพเมื่อครั้งขุดพบเศียรพระพุทธรูปครั้งแรก จากเพจเมืองโบราณซับจำปา และชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร คุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดี ผู้ขุดสำรวจในไซต์งานครั้งนั้น ได้กล่าวว่าตั้งแต่เขาได้เรียนและอ่านหนังสือทางโบราณคดี ไม่เคยพบเศียรพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่สวยงามขนาดนี้ โดยปกติจะพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีเป็นแบบพระเนตรโปนพระโอษฐ์ใหญ่ แต่การค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีความงดงามแตกต่างจากข้อมูลที่เคยรับรู้มาก่อน และโบราณวัตถุสำคัญอีกชิ้นที่ค้นพบคือ ฐานและเสาธรรมจักรแปดเหลี่ยม มีจารึกภาษาบาลี ตัวอักษรปัลลวะ คาถาในพระไตรปิฎก 4 คาถา อายุราวพุทธศตวรรษที่… Read More »