วัดโพธิ์กบเจา อยุธยา หลวงพ่อเมี้ยนพระเกจิดังในอดีต ศิษย์หลวงพ่อปาน

https://youtu.be/nli5r9z2eMM วัดโพธิ์กบเจา อยุธยา หลวงพ่อเมี้ยนพระเกจิดังในอดีต ศิษย์หลวงพ่อปาน… สวัสดีครับ ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวตามรอยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกรูปหนึ่ง เราจะไปที่วัดโพธิ์ กบเจา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อไปกราบสรีระสังขารของหลวงพ่อเมี้ยน พุทธสิริ พระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงปู่มีแห่งวัดมารวิชัย และท่านเป็นศิษย์ของครูบาอาจารย์ชื่อดังในอดีต เช่น หลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค หลวงพ่อจง พุทธสโร แห่งวัดหน้าต่างนอกเป็นต้น ก่อนที่จะเดินทางไปชมบรรยากาศที่วัดโพธิ์ กบเจา ผมขอนำเรื่องราวของหลวงพ่อเมี้ยนมากล่าวไว้พอสังเขป ดังนี้ ประวัติหลวงพ่อเมี้ยน พุทธสิริ (พอสังเขป) หลวงพ่อเมี้ยน เกิดที่ บ้านหาดทราย หมู่ 9 ต.บางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะเส็ง พ.ศ.2460 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายแก้ว และนางทองม้วน เกิดโภคทรัพย์ ตั้งแต่ยังเยาว์วัย หลวงพ่อเมี้ยนมีจิตใจเมตตา โอบอ้อมอารี จึงได้มีจิตมุ่งมั่นจะบวชเณรร่ำเรียน ท่านจึงได้บวชเณรเรียนที่วัดโพธิ์กบเจา เพื่อศึกษาธรรม จนจบนักธรรมชั้นตรี และได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์สมุนไพรมาจากพ่อของท่าน สามารถรักษาโรคได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับกระดูก จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี นได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์กบเจา ในปี พ.ศ.2481 โดยมีพระครูปุ้ย ธรรมโชติ วัดขวิด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสิริ” หลวงพ่อเมี้ยน ได้ฝึกปฏิบัติภาวนาบริเวณป่าช้าหลังวัด… Read More »

สำรวจวัดร้าง อดีตค่ายพม่าโจมตีกรุงศรีอยุธยา – วัดเต่า วัดตามุก วัดสุเรนทร์

https://youtu.be/ZB-X8wg3uj8 สำรวจวัดร้าง อดีตค่ายพม่าโจมตีกรุงศรีอยุธยา – วัดเต่า วัดตามุก วัดสุเรนทร์… สวัสดีครับ ครั้งนี้ผมจะพาทุกท่านเดินเข้าป่า เดินทางท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์เมื่อครั้งการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ซึ่งครั้งนั้นเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญเพราะเป็นการปิดฉากความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระเจ้าตากกลับมากู้เอกราช จึงได้ย้ายเมืองไปที่กรุงธนบุรีในเวลาต่อมา การเดินทางครั้งนี้ ผมไม่สามารถเดินทางไปทุกวัดที่มีบันทึกว่าเป็นค่ายพม่าได้ เพราะมีหลายวัดและจะใช้เวลานาน จึงขอพาไปชมสภาพพื้นที่บางวัด และผมได้วางแผนจะพาไปชม 3 วัดได้แก่ วัดเต่า วัดตามุก(วัดพลับพลาชัย) วัดสุเรนทร์ ซึ่งเป็นค่ายพม่าฝั่งตะวันตกของเกาะเมืองอยุธยา… ปัจจุบันทั้ง 3 วัดนี้ มีสภาพเป็นโคกวัดร้าง ให้เห็นเพียงเศษซากก้อนอิฐ ซากพระพุทธรูป ให้ได้รู้ว่าสถานที่แห่งนี้เคยมีความรุ่งเรืองมาก่อน หมายเลข ๑๐ : วัดเต่า, หมายเลข ๑๑ : วัดสุเรนทร์ สำหรับหนังสืออ้างอิงในการเดินทาง ผมจะใช้หนังสือ 2 เล่มคือ “Shutdown กรุงศรี” และ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” เพราะมีเนื้อหาสรุปความจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือพอสมควร และขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องราวการบันทึกการเดินทางทุกครั้ง ไม่ใช่เนื้อหาทางวิชาการ ขอให้ท่านผู้ติดตามอ่านแล้วนำไปค้นคว้าเพิ่มเติม ถ้าผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับเพื่อนำไปปรับปรุงครับ… บันทึกการเดินทางครั้งนี้ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2561 สั่งซื้อออนไลน์ >> หนังสือ “Shutdown กรุงศรี” จากบันทึกในพงศาวดารไทย ได้กล่าวถึงที่ตั้งมั่นค่ายพม่าไว้มากมาย เช่น วัดกระซ้าย… Read More »

วัดสีกุก ค่ายใหญ่พม่าของแม่ทัพมังมหานรธา เมื่อครั้งตีกรุงศรีอยุธยาแตก

https://youtu.be/JfT-voRvRYQ วัดสีกุก ส่วนหนึ่งของค่ายสีกุก ค่ายใหญ่พม่าของแม่ทัพมังมหานรธา เมื่อครั้งตีกรุงศรีอยุธยาแตก… สวัสดีครับ ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยววัดตามรอยประวัติศาสตร์เมื่อครั้งที่เราได้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยจุดที่จะพาทุกท่านเดินทางไปชมคือ วัดสีกุก พระนครศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งของค่ายสีกุก ที่มีแม่ทัพใหญ่พม่าคือ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพควบคุมการรบ เส้นสีแดงในแผนผังสันนิษฐานค่ายพม่า คือแนวกำแพงที่พม่าได้สร้างเมื่อครั้งเข้ารุกรานตีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขนาบไปกับกำแพงโรงเบียร์บนถนนเส้นเสนา-อยุธยา ซึ่งรวมเอาวัดสีกุกเป็นส่วนหนึ่งค่ายใหญ่นี้ (เส้นสีแดงที่ผมขีดไว้ เป็นตำแหน่งที่ผมประมาณการสันนิษฐาน ซึ่งอาจไม่ตรงจุดจริง เพราะผมไม่สามารถลงไปสำรวจได้ครับ) อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ นักโบราณคดีและศิลปินแห่งชาติ เคยมาสำรวจวัดสีกุก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2509 และได้บันทึกไว้ในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” มีความว่า “ตั้งอยู่ตรงข้ามกันกับวัดปากคลองบางบาล ซึ่งพื้นที่ตรงนั้นเป็นหัวเลี้ยวของแม่น้ำใหญ่ ตัวอุโบสถแม้จะถูกตกแต่งเป็นของใหม่ แต่ก็ยังเห็นเค้าของเก่าได้อย่างชัดเจน คือเสาแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นโครงเสาเดิม ภายในอุโบสถบูรณะใหม่หมด ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถมีเจดีย์ย่อมุมยี่สิบแบบสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมแบบอยุธยาตอนปลายอีกหลายองค์ หลังวัดไม่ไกลมากนักเป็นซากค่ายพม่า เนื่องจากบริเวณแถบนี้ทางแม้น้ำโค้งเป็นรูปเกือกม้า พม่าจึงเลือกตั้งค่ายตรงวัดสีกุก แล้วทำกำแพงตัดปลายเกือกม้าจรดสองข้างแม่น้ำ กำแพงก่อด้วยอิฐอย่างแข็งแรง แต่ถูกชาวบ้านรื้อเอาอิฐไปขายจนเกือบหมดแล้ว ค่ายสีกุกนี้เป็นค่ายที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ภายในค่ายกว้างขวาง มีอาณาบริเวณหลายสิบไร่ มีโคกช้าง โคกม้าพร้อม ดูแล้วไม่ผิดอะไรกับเมืองๆหนึ่งทีเดียว” จากข้อมูลในหนังสือ “อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย” ได้ระบุตำแหน่งโคกกำแพงค่ายพม่าขนาดไปกับกำแพงโรงงานเบียร์ ซึ่งโรงงานเบียร์ได้ซื้อที่ดินจรดเขตแนวกำแพงค่ายพม่าพอดี ค่ายวัดสีกุก เป็นค่ายของแม่ทัพมังมหานรธาที่การควบคุมการรบ แต่ก่อนที่กรุงศรีอยุธญาจะแตก มังมหานรธาได้ป่วยหนักและเสียชีวิตลง และบันทึกว่ามีการสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ในค่ายแห่งนี้อีกด้วย หลังการเสียชีวิตของมังมหานรธา ทำให้เนเมียวสีหบดีแห่งค่ายโพธิ์สามต้นขึ้นบัญชาการรบทั้งหมดและปิดฉากความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 อุโบสถวัดสีกุก ได้รับการบูรณะเรื่อยมา… Read More »

วัดป่ากลางกรุง วัดปทุมวนาราม เส้นทางธุดงค์ของหลวงปู่มั่น

https://youtu.be/7iljCCN7x2I ตามรอยเส้นทางธุดงค์แถบภาคกลางของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดปทุมวนาราม ที่ได้รับสมญานามว่า “วัดป่ากลางกรุง” ผมได้มีโอกาสเดินทางมาทำธุระที่กรุงเทพฯ และโดยสาร BTS มาถึงสถานนีสยาม สังเกตุเห็นวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ท่ามกลางตึกสูงและห้างสรรพสินค้าชื่อดังคือ สยามพารากอนและเซ็นทรัลเวิลด์ จึงได้ค้นหาข้อมูลพบว่าวัดแห่งนี้ชื่อว่า “วัดปทุมวนาราม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “วัดสระปทุม” วัดปทุมวนาราม ถ้าดูเผินๆ ก็คงเป็นวัดทั่วๆไป แต่สถานที่แห่งนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างมาก มีเรื่องราวที่น่าสนใจ เพราะเป็นวัดที่โปรดเกล้าสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสีของพระองค์ ซึ่งเริ่มสร้างในปี พ.ศ.2400 นอกจากนี้ ในอดีตนั้น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พ่อแม่ครูบาอาจารย์แห่งวงพระกรรมฐานสายป่า ได้มาพำนักที่วัดแห่งนี้ เมื่อครั้งธุดงค์มาแถบภาคกลาง และไปศึกษาธรรมะกับท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์หรือหลวงปู่จันทร์ สิริจันโท ที่วัดบรมนิวาส บางตำราได้กล่าวไว้ว่า ระหว่างที่หลวงปู่มั่นมาพำนักที่วัดปทุมวนาราม ท่านได้บรรลุอริยะขั้นที่ 2 หรือที่เรียกว่า สกิทาคามีผล อีกด้วย นอกจากนี้ ที่วิหารและพระอุโบสถได้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่อัญเชิญมาจากประเทศลาว เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 ส่งกองทัพไปตีเวียงจันทน์ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ มีพระพุทธรูปสำคัญรวม 3 องค์ ประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม ได้แก่ ที่พระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปพระนามว่า “พระสายน์” หรือ พระใส ที่พระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปพระนามว่า “พระเสริมและพระแสน” วัดปทุมวานาราม จึงเป็นสถานที่สำคัญด้วยเรื่องราวประวัติการสร้าง เรื่องราวของประวัติศาสตร์และพุทธรูปองค์สำคัญ รวมถึงประวัติชีวิตการแสวงหาธรรมของหลวงปู่มั่น พระอริยสงฆ์ที่ได้รับความเคารพศรัทธาสูงสุดในปัจจุบันอีกด้วย ประวัติวัดปทุมวนาราม… Read More »

วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ ตำนานหลวงพ่อแดงศักดิ์สิทธิ์

https://youtu.be/WWdnC9DkkNQ วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ ตำนานหลวงพ่อแดงศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปเก่าแก่จากกรุงศรีอยุธยา… สวัสดีครับวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยวชมวัดราชสิงขร พระอารามหลวง ซึ่งเป็นวัดเล็กๆบนถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ วัดแห่งนี้ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถเดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งมาสุดสถานี้ที่ท่าน้ำนี้ การเดินทางครั้งนี้ ผมไม่ได้วางแผนไว้ เนื่องจากจุดประสงค์จริงคือมาเที่ยวที่เอเชียทีค จึงเห็นว่าวัดราชสิงขรอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน จึงแวะถ่ายรูปนำเรื่องราวมาแบ่งปันครับ เรื่องราวประวัติวัดราชสิงขร ไม่พบหลักฐานการบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย และมีเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ ที่ชาวบ้านขนานนามว่า “หลวงพ่อแดง” ประวัติพระพุทธรูปสำคัญประจำวัด เล่าขานกันว่าการนำพระพุทธรูปที่ตนเลื่อมใสหลบหนีออกจากสถานที่ๆไม่ปลอดภัย ในภาวะสงคราม ต้องทำกันโดยการผูกแพแล้วนำพระพุทธรูปนอนบนแพ มัดจนแน่นหนาด้วยหวายแล้วคว่ำแพให้องค์พระพุทธรูปอยู่ในน้ำ เพื่อเป็นการอำพรางทั้งข้าศึกศัตรูและผู้คนทั่วไป ตำนานเล่าว่า หลวงพ่อแดงถูกชะลอมาจากกรุงศรีอยุธยา ทางแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนการเสียกรุง ขณะล่องแพมาใกล้ท่าน้ำวัดราชสิงขร ด้วยกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก  ทำให้ควบคุมแพลำบาก แพเกิดเสียหลักและกระแทกฝั่งจนแตกทำให้หลวงพ่อแดงจมลงฝั่งตรงข้ามกับวัดราชสิงขร จนกระทั่งถึงฤดูแล้ง น้ำลด ชาวบ้านจึงช่วยกันนำหลวงพ่อขึ้นจากน้ำ อัญเชิญขึ้นมาสู่วัดราชสิงขร ประดิษฐานไว้กลางแจ้ง เมื่อทำความสะอาดองค์พระ เกิดสนิมแดงขึ้นจับทั้งองค์ ชาวบ้านจึงขนาดนามว่าหลวงพ่อแดง และมีคำร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้มาสักการะขอพรได้สมปรารถนา หลวงพ่อแดงเป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดผสมทองคำ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.10 เมตร ความสูงวัดจากฐานองค์พระถึงยอดพระเกศ 2.90 เมตร ศิลปะแบบอยุธยามีอิทธิพลศิลปะสุโขทัย จึงขนานนามท่านว่า “หลวงพ่อพระพุทธสุโขทัย” กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระองค์ทรงใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางไปจากกรุงธนบุรีและกรุงศรีอยุธยาผ่านท่าน้ำวัดราชสิงขรสู่ปากน้ำ แล้วสามารถเดินทางต่อไปยังหัวเมืองต่างๆ จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก ในปี พ.ศ.2310 กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทพร้อมทหารหนีพม่า มาขึ้นที่ท่าน้ำวัดราชสิงขรได้โดยปลอดภัยจึงเสด็จขึ้นนมัสการหลวงพ่อแดง ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้สร้างอุโบสถวัดคอกควาย (วัดยานนาวา) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงทรงโปรดให้ช่างวังหน้ามาสร้างอุโบสถวัดราชสิงขร… Read More »

วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ ๓

https://youtu.be/mZ4-3XBzRyU วัดเตาเหล็ก ฉะเชิงเทรา จิตรกรรมฝาผนังโบราณสมัยรัชกาลที่ กราบหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีต… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดเตาเหล็ก จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดแห่งนี้มีความน่าสนใจก็คือ มีโบสถ์เก่าที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีภาพจิตรกรรมเขียนสีใช้เทคนิคเขียนสีแบบเฟรสโก คือการเขียนภาพในขณะที่ปูนยังเปียกอยู่ อีกทั้งเราจะได้กราบสังขารหลวงพ่อสบู่ พระเกจิชื่อดังในอดีตแห่งวัดเตาเหล็กอีกด้วย เมื่อมาถึงจะเห็นอุโบสถหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้ริมน้ำคลองท่าลาด มีขนาดเล็กบนพื้นที่ที่ได้รับการบูรณะปูพื้นกระเบื้อง อุโบสถหลังเก่า ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด 3 ห้อง ค่อนข้างแคบและยกฐานสูง หันหน้าทางทิศตะวันออก หลังคาทรงจั่วลดชั้น ลักษณะดูเรียบง่ายคล้าย “สิม” ในศิลปะล้านช้าง ผนังอุโบสถทั้งด้านนอกและด้านในมีภาพจิตรกรรมและประติมากรรม ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี ผนังด้านข้างเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายเรื่องราวในพุทธประวัติซึ่งมีร่องรอยการเขียนทับบนจิตรกรรมเดิม ส่วนผนังด้านในอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรมบรรยายวิถีชีวิตชาวบ้านและภาพสัตว  ซึ่งน่าจะแสดงถึงขบวนอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่าจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถจะเขียนขึ้นใกล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ ภายประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ผนังภายนอกข้างซุ้มประตูมีภาพนางเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน กึ่งกลางระหว่างช่องประตูมีประติมากรรมนูนสูงรูปเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนถือพระขรรค์ตัดพระเมาลี จิตกรรมด้านนอกในกรอบด้านบน และลวดลายหน้าต่าง ที่เห็นภาพสีชัดเจนนั้น ได้ถูกเขียนเพิ่มเติมลงไปในภายหลังบนจิตรกรรมเดิม ซึ่งได้เขียนขึ้นมาพร้อมการบูรณะอุโบสถหลังนี้ ราวปี พ.ศ.2494 ผนังด้านนอกอุโบสถ ยังพอหลงเหลือภาพจิตรกรรมที่สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นมาในเวลาใหล้เคียงกับการสร้างอุโบสถ แต่เลือนลางเต็มที ภายในอุโบสถหลังเก่า ประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า “พระทศพลดลศรีเวียงวโรดม” หรือชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อหลวง” ภาพจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถ จะเหลือให้เห็นชัดเพียงด้านเดียว เป็นภาพสัตว์และวิถีชีวิตซึ่งน่าจะเป็นภาพการอพยพของชาวลาวในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเดินออกมาจากในอุโบสถ เราจะมองเห็นเจดีย์ 1 องค์ ซึ่งถ้ามองเผินๆคงไม่ได้ใส่ใจอะไร แต่จากศิลปะพบว่ามีอิทธิพลจากศิลปะล้านช้าง อีกทั้งเป็นเจดีย์เก่าคู่วัดที่สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมอุโบสถ เจดีย์เก่านี้ มีลักษณะก่ออิฐถือปูน… Read More »