“เขาคลังหน้า” หรือจะเป็นสถูปพันปีอีกแห่งของเมืองโบราณศรีเทพ

พื้นที่การเกษตร ห่างจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ไปทางทิศใต้ ราว 10 กิโลเมตร ปรากฏร่องรอยเนินดินขนาดใหญ่ ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเขาคลังใน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “เขาคลังหน้า” ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เมืองโบราณพันปี สมัยทวารวดี ที่สืบทอดการอยู่อาศัยของมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จากหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โบราณสถานสำคัญของเมืองศรีเทพ ที่หลายท่านรู้จักกันดี อาทิ ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง เขาคลังใน ปรางค์ฤาษี เขาคลังนอก เป็นต้น ด้วยอาณาเขตของเมืองศรีเทพมีขนาดใหญ่ จากการสำรวจจึงพบร่องรอยโบราณสถานและกิจกรรมของมนุษย์ยุคโบราณ กระจายตัวนอกเขตคูเมืองโบราณอย่างกว้างขวาง ทำให้ทราบว่า ยังมีปริศนาที่ยังไม่ผ่านการสำรวจอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุมชนโบราณ และโบราณสถานที่ยังไม่ขุดค้น เมื่อเร็วๆนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์และสภาวัฒนธรรมอำเภอศรีเทพ ได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ ซึ่งย่อมาจาก Light Detection and Ranging ด้วยการยิงเลเซอร์ทางอากาศ กระทบกับวัตถุต่างๆบนพื้นโลก เพื่อวัดช่วงระยะทางที่แปรผันกับผิวโลก แล้วคำนวณสร้างภาพสามมิติ  หนึ่งในจุดสำรวจคือ พื้นที่เนินดินขนาด 13 ไร่ ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรม ต.คลองกระจัง อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็นสถานที่ที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้จัก ยกเว้นคนในพื้นที่ ที่เรียกกันว่า “เขาคลังหน้า” ซึ่งสถานีข่าว Thai PBS ได้เผยแพร่ออกอากาศการสำรวจครั้งนี้ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ผมได้เดินทางไปชมสถานที่จริง เส้นทางห่างจากเมืองโบราณศรีเทพราว 10 กิโลเมตร พบว่าปัจจุบันมีการสร้างที่พักสงฆ์ และก่อสร้างรูปเคารพ โดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม… Read More »

“พงตึก” ชุมชนการค้าโบราณพันปี กาญจนบุรี

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานพงตึก ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สถานที่แห่งนี้เคยเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มานานนับพันปี มาตั้งแต่สมัยทวารวดี พบหลักฐานทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู จากการศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า พื้นที่แถบนี้ จะเป็นชุมชนโบราณเชื่อมเส้นทางการค้าจากดินแดนฝั่งตะวันตก เชื่อมต่อกับเมืองโบราณอื่นๆ อาทิ เมืองคูบัว นครปฐม กำแพงแสน เมืองสิงห์ เมืองอู่ทอง เป็นต้น ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ ได้เข้ามาสำรวจโบราณสถานพงตึก เมื่อปี พ.ศ.2470 ได้พบพระพุทธรูป พระพิมพ์จำนวนหลายองค์ ซึ่งมีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ปัจจุบันมีโบราณสถาน 2 แห่ง ที่ได้รับการสำรวจอย่างเป็นทางการ แห่งที่ 1 มีลักษณะเป็นฐานศิลาแลงของอาคารมีบันไดทางขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นฐานของวิหาร ในช่วงแรก ที่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ เข้าสำรวจ พบหลักฐานโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ และพบโบราณวัตถุชิ้นเก่าแก่ คือ ตะเกียงแบบกรีก โรมัน ที่มีความเก่าแก่ถึง พุทธศตวรรษที่ 6 ตะเกียงกรีก-โรมัน ทำจากสำริด อายุกว่า 1,900 ปี พบที่โบราณสถานพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ที่ฝาตะเกียงเป็นลายใบหน้าของเทพเจ้าซิเลนุส (Silenus) ด้ามจับเป็นลายปาล์มและปลาโลมา 2 ตัว เชื่อกันว่าผลิตขึ้นในช่วงราชวงศ์ปโตเลมี แห่งอเล็กซานเดรีย อียิปต์ นักโบราณคดีประเมินอายุอาจเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 หรือมีอายุมากกว่า 1,900 ปี… Read More »

“ดงละคร” เมืองโบราณพันปี สมัยทวารวดี นครนายก

เมืองโบราณดงละคร จ.นครนายก ชื่อ “ดงละคร” นี้มีที่มาจากชาวบ้านที่จะกล่าวกันว่า พื้นที่นี้คือ “เมืองลับแล” เพราะเล่าขานสืบต่อกันว่าในเวลากลางคืนจะได้ยินเสียงดนตรีวงมโหรีคล้ายการเล่นละครอยู่ในป่า จึงเรียกขานกันว่า “ดงละคร” ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งกล่าวว่า เดิมพื้นที่นี้เรียกว่า “ดงนคร” แปลว่า “นครในดงป่า” ต่อมาได้เรียกเพี้ยนไปเป็น ดงละคร ในภายหลัง  จากรายงานของคุณจิราพร เพชรดํา ผู้สํารวจ และนักวิชาการวัฒนธรรมชํานาญการ ได้เขียนรายงานไว้ว่า บ้านดงละครเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบย้อนการเข้ามาอยู่อาศัยหลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย โดยเข้ามาทำการเกษตรกรรม จึงขุดพบโบราณวัตถุมากมาย จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 จึงมีการสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นทางการ พบร่องรอยการเข้ามาอยู่อาศัยเป็นชุมชน ตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยการพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์เนื้อเงิน ศิลปะแบบทวาราวดีเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบสีน้ำตาล เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและซ้อง รวมทั้งลูกปัดแก้วหลายสี ลูกปัดแบบลูกตา ลูกปัดสลับสี ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาร์เกต พบความรุ่งเรืองอย่างเด่นชัดเป็น 2 ช่วงคือ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12 – 16 และในยุคขอมรุ่งเรือง ในพุทธศตวรรษที่ 17-19 เมืองดงละครมีผังเมืองเป็นรูปไข่หรือวงรีมีคันดินและคูน้ำ มีประตูทางเข้าเมืองและสระนาอยู่ทั้งสี่ทิศ สันนิษฐานว่าชุมชนนี้มี การติดต่อกับต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่เป็นทรัพยากรในป่า โดยใช้แม่น้ำนครนายกล่องเรือสู่ท้องทะเล เมืองโบราณดงละคร เป็นเมืองโบราณพันปี สมัยทวรวดี ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ แม้จะล่มสลายไปแล้ว แต่ยังคงหลงเหลือสภาพของสัณฐานชัดเจนของคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตามแผนผังของเมืองโบราณในสมัยทวารวดี อีกทั้งยังคงมีสภาพป่าหลงเหลือ ซึ่งผมเดินทางไปช่วงกลางวัน ยังได้ยินเสียงจั๊กจั่นร้องกันระงมป่า ถ้าช่วงกลางคืนคงวังเวงน่าดูเลยครับ  สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม… Read More »

วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ เจดีย์ใหญ่ที่สุดในล้านนา วัดที่หลวงปู่มั่นเคยเป็นเจ้าอาวาส

  ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีจุดหมายสำคัญ คือการไปชมเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา ณ วัดเจดีย์หลวง ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นอกจากจะเป็นโบราณสถานสำคัญกลางเมืองเชียงใหม่แล้ว สถานที่แห่งนี้ ก็เป็นอนุสรณ์สถานเกี่ยวครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือ นั่นก็คือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านได้เคยจำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดแห่งนี้ เมื่อราวปี พ.ศ.2475 วัดเจดีย์หลวง ตามตำนานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ในพุทธศตวรรษที่ 20 เพื่ออุทิศถวายพระเจ้ากือนาผู้เป็นพระราชบิดา แต่สร้างไม่แล้วเสร็จก็เสด็จสวรรคตไปเสียก่อน จึงมีการก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยพระเจ้าติโลกราช ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 และมีการบูรณะในสมัยพระเมืองแก้วอีกครั้ง จนกระทั่งมีบันทึกว่าปี พ.ศ.2088 สมัยของพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวจนยอดเจดีย์พังทลาย ไม่สามารถซ่อมแซมได้ มีสภาพตามที่เห็นในปัจจุบันนี้ ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้วิเคราะห์และสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม จัดเป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา 2ประกอบด้วยส่วนฐานเพิ่มลานประทักษิณ ประดับด้วยช้างล้อม ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุประดับซุ้มจระนำ 3ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ ถัดไปเป็นชั้นหลังคาแบบเอนลาด 2 ชั้น เพื่อรับส่วนยอด ซึ่งถ้ายังสมบูรณ์จะมีลักษณะเหมือนกับเจดีย์ที่วัดเชียงมั่นที่มีขนาดเล็กกว่า จึงสามารถกำหนดอายุของเจดีย์อยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ในวันที่ผมเดินทางนั้น พระวิหารได้ปิดเพื่อทำการบูรณะ ผมจึงไม่ได้เข้าไปชมด้านใน แต่รู้มาว่าภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สร้างจากสำริด ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวก สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 หลังจากนั้นผมได้เข้าไปกราบสักการะในวิหารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นวิหารที่หลวงตามหาบัว ได้มาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 เพื่อประดิษฐานรูปเหมือนและพระอัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ไว้เป็นที่สักการะของสาธุชน เนื่องจากเมื่อราวปี พ.ศ.2475… Read More »

โบสถ์โบราณ วัดปากบาง กาญจนบุรี

ผมได้เดินทางไปงานบุญที่จังหวัดกาญจนบุรี จึงถือโอกาสท่องเที่ยววัดเก่าในพื้นที่ใกล้เคียง และได้ทราบมาว่าที่วัดปากบาง มีโบราณสถานเป็นโบสถ์เก่าอายุกว่าร้อยปีให้ชม และเคยถูกปิดมานานกว่า 10 ปี วัดปากบาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเคยถูกทิ้งร้างลงช่วงหนึ่ง ก่อนได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 โบราณสถานสำคัญของวัดแห่งนี้คือ อุโบสถเก่า ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำแม่กลอง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ตัวอาคารใช้ผนังรองรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคา ไม่มีเสาในอาคาร มีพาไลยื่นออกมา มีช่องประตูทางเข้า 1 ช่อง หน้าต่างข้างละ 2 ช่อง ฐานอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ สร้างทับบนฐานอิฐของอาคารเดิมในสมัยแรก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า หลวงพ่อศรีมงคล โดยเป็นพระพุทธรูปเก่า 4 องค์ แบ่งเป็นปางมารวิชัย 2 องค์ และปางสมาธิ 2 องค์ ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างแทนองค์พระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ จำนวน 4 พระองค์ที่ผ่านมา ที่หน้าบันประดับประติมากรรมปูนปั้นและเขียนสีเล่าเรื่องทางพระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย หน้าบันด้านหน้าอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ถัดลงมาเป็นพระมาลัยขึ้นไปโปรดเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และสักการะพระจุฬามณีเจดีย์ หน้าบันด้านหลังอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืน มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา 5ถัดลงมาเป็นพระมาลัยรับถวายดอกไม้จากมานพผู้ยากไร้ กรอบซุ้มประตูและหน้าต่าง ประดับประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ โดยที่ซุ้มหน้าต่างเป็นอดีตพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ 3 พระองค์ และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 1 พระองค์ ที่ซุ้มประตูทางเข้าอุโบสถ เป็นภาพพระศรีอริยเมตรไตร… Read More »

เมืองครุฑ เมืองโบราณที่ล่มสลาย สถานที่พบครุฑหินใหญ่ที่สุดในไทย

ผมได้มีโอกาสดินทางไปท่องเที่ยวที่ จ.กาญจนบุรี และได้ลองค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จึงมีความสนใจที่จะเดินทางไปยังปราสาทเมืองสิงห์ และโบราณสถานเมืองครุฑ หลายท่านคงคุ้นเคยกับปราสาทเมืองสิงห์ เพราะเป็นโบราณสถานที่ยังปรากฏโครงสร้างขนาดใหญ่ แต่โบราณสถานเมืองครุฑ หลายท่านก็อาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่งผมก็มีความสนใจจะเดินทางไปด้วยเช่นกัน และได้ทราบมาว่าเส้นทางจะไปยังเมืองครุฑ จะอยู่ห่างจากปราสาทเมืองสิงห์ราว 10 กิโลเมตร ผ่านเส้นทางลูกรัก เข้าสู่ซากโบราณสถานที่รายล้อมไปด้วยขุนเขา ปรากฏร่องรอยคันดินและรากฐานศิลาแลง ก่อนไปยังเมืองครุฑ ผมจะพาทุกท่านไปยังปราสาทเมืองสิงห์กันเสียก่อน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีคูเมืองคันดินและกำแพงเมืองศิลาแลงล้อมรอบ สร้างขึ้นตามลักษณะขอมแบบบายน ราวพุทธศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นักวิชาการส่วนใหญ่ ได้นำหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เชื่อมโยงกับข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ ซึ่งปรากฏชื่อเมืองที่สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย จึงอาจมีนัยยะสำคัญในการแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ก็มีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ได้สันนิษฐานว่า เขตภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมืองของเขมรโบราณ ปราสาทเมืองสิงห์เป็นเพียงการสร้างที่ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมเขมรเท่านั้น เช่น ในทัศนะของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ในหนังสือข้อขัดแย้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย และ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เดือนเมษายน พ.ศ.2530 หลังจากที่ผมได้ท่องเที่ยวที่ปราสาทเมืองสิงห์แล้ว จึงได้เดินไปชมประติมากรรมครุฑหินทรายขนาดใหญ่ ที่ได้นำมาจากโบราณสถานเมืองครุฑ แล้วนำมาตั้งไว้บริเวณลานจอดรถของอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ มีความสูงราว 3 เมตร ซึ่งถือได้ว่าเป็นประติมากรรมครุฑแบบลอยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมนี้ไม่มีเศียร จึงน่าจะถูกลักขโมยไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่นำเก็บเข้ามา เมื่อเรามาชมครุฑกันแล้ว ต่อไป เราจะเดินทางไปสู่โบราณสถานเมืองครุฑ ซึ่งเมื่อค้นหาสถานที่บน Google Earth จะพบว่าโบราณสถานนี้… Read More »