วัดเจดีย์ทอง ปทุมธานี วัดเก่าแก่ศูนย์รวมใจชาวมอญอพยพ

วัดเจดีย์ทอง ปทุมธานี วัดเก่าแก่ศูนย์รวมใจชาวมอญอพยพ… สวัสดีครับ ท่านที่รักการท่องเที่ยววัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อไปเที่ยวชมวัดแห่งหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์สะท้อนเรื่องราวในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวมอญอพยพ นั่นก็คือ วัดเจดีย์ทอง วัดแห่งนี้มีเอกลักษณ์สำคัญคือ เจดีย์ศิลปะมอญที่บ่งชี้ว่า แถบนี้มีการอพยพของชาวมอญถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวมอญในอดีต นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะแบบมอญ พระนามว่า “หลวงพ่อขาว” อีกด้วย วัดเจดีย์ทอง ติดริมน้ำเจ้าพระยาในบรรยากาศดีๆ ซึ่งเส้นทางริมน้ำเจ้าพระยาตลอดสายที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จะมีวัดเก่าแก่มากมายให้เที่ยวชม และสะท้อนเรื่องชุมชนมอญอีกหลายแห่งด้วยครับ  วัดเจดีย์ทอง มีความเป็นไปได้ว่าเป็นวัดเก่ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งรับกับศิลปกรรมใบเสมาหินทรายแดง สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 (อยุธยาตอนปลาย) จากข้อมูลของกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า วัดเจดีย์ทอง เดิมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้ร้างลงจากสงครามกรุงแตก เมื่อ ปี พ.ศ.2310 ต่อมาพระยารามซึ่งเป็นบุตรของพระยาเจ่ง (เป็นน้องเจ้าพระยามหาโยธา)เป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อสมัยได้อพยพหนีพม่า และได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ต่อมาพระยารามผู้นี้ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดี ศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษานครเขื่อนขันธ์ วัดเจดีย์ทองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2508  รูปแบบเจดีย์เลียนแบบมาจากอานันทเจดีย์ในเมืองพุกาม  ตำนานสัญลักษณ์ชาวมอญ ธงตะขาบ มีตำนานเล่าว่า ณ ดอยสิงคุตต์ เมืองย่างกุ้ง มีตะขาบยักษ์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่และชอบจับช้างมากินเป็นอาหาร จนซากช้างกองสุมเต็มไปหมด วันหนึ่งมีพ่อค้าจากต่างแดนผ่านมาพบซากช้างนี้ จึงอาศัยจังหวะที่ตะขาบยักษ์ออกไปหากิน คัดเลือกและขนงาช้างลงเรือสำเภาของตนไป เมื่อตะขาบยักษ์กลับมาเห็นก็โกรธมาก จึงไล่ตามพ่อค้านั้นลงไปในทะเล แต่กลับต้องพบกับปูยักษ์เจ้าทะเลขนาดมหึมา เจ้าตะขาบยักษ์สู้ไม่ได้จึงถูกปูยักษ์จับกินเป็นอาหารไปในที่สุด ต่อมาในสมัยพุทธกาล ตปุสสะและภัลลิกะ พ่อค้าจากอุกกลชนบท ได้พบกับพระพุทธเจ้าและได้แสดงตนเป็นอุบาสก พระพุทธเจ้าจึงประธานพระเกศาธาตุให้ทั้งสองคน ครั้นเมื่อกลับมาถึงบ้านเมืองของตนแล้ว… Read More »

พระพุทธรูป 3 กาลเวลา วัดท่าซุง – สมเด็จองค์ปฐม องค์ปัจจุบันและพระศรีอริยเมตไตรย

https://youtu.be/P18_E2rrUx0 พระพุทธรูป 3 กาลเวลา วัดท่าซุง – องค์ปฐม องค์ปัจจุบันและพระศรีอริยเมตไตรย… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและสนใจท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธา วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นวัดหนึ่งที่ผมเดินทางไปอยู่เป็นประจำ เพราะมีความเคารพศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นอย่างมาก ความพิเศษของวัดท่าซุงมีอยู่หลายประการ แต่ครั้งนี้ผมจะพาทุกท่านไปกราบพระพุทธรูปที่มีความพิเศษกว่าวัดอื่นๆคือ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตัวแทนองค์พระพุทธเจ้าทั้ง 3 กาลเวลา คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งประดิษฐานองค์พระอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน พระพุทธรูปที่ผมกล่าวนั้นหลายท่านจะรู้จักกันดีในนาม สมเด็จองค์ปฐม หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา(พระยืน 30 ศอก) และพระศรีอริยเมตไตรย ดังนั้น ถ้าเราเดินทางมายังวัดท่าซุง จึงสามารถที่จะสักการะตัวแทนองค์พระพุทธเจ้าได้ทั้ง 3 กาลเวลา นั่นเอง สมเด็จองค์ปฐม หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้ให้สร้างต้นแบบหุ่นขี้ผึ้งสำหรับการสร้างสมเด็จองค์ปฐมขึ้นโดยมี นายประเสริฐ แก้วมณีเป็นผมออกแบบ สมเด็จองค์ปฐมเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าองค์แรกของโลกที่ตรัสรู้ มีพระนามว่าพระพุทธสิกขีที่ ๑ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปในเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราชหล่อด้วยโลหะผสมทองคำ ขนาดหน้าตัก ๔ ศอก ทำพิธีเททองหล่อพระเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ (บันทึกว่าใช้ทองคำหนัก ๗๕ กิโลกรัม เทลงในเบ้าหล่อพระ) ทำพิธีอัญเชิญประดิษฐานในวิหารเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ (ตรงกับวันวิสาขบูชา) และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมที่พระเกตุมาลา เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา (พระยืน ๓๐ ศอก) เป็นพระพุทธรูปองค์ยืนปางอุ้มบาตร องค์แทนพระพุทธเจ้าอค์ปัจจุบัน(พระพุทธเจ้าโคดม)… Read More »

วัดส้ม วิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น

https://youtu.be/OHA2QvrEFaw โบราณสถาน วัดส้ม ลวดลายปูนปั้นวิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น… วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปชมความงามลวดลายปูนปั้นที่โบราณสถาน วัดส้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ยังหลงเหลือความงาม วิจิตรให้ได้ชมแม้กาลเวลาจะผ่านมาแล้วหลายร้อยปี ข้อมูลจากกรมศิลปากร กล่าวว่า วัดส้มเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ติดกับคลองท่อ (คลองฉะไกรใหญ่) ทางด้านทิศตะวันตก ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัด สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ ปรางค์ประธาน วิหาร และเจดีย์ราย จากการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นปรางค์ก่ออิฐและมีการทำทับหลัง รวมทั้งลวดลายปูนปั้นประดับองค์ปรางค์วัดส้ม พบว่ามีวิวัฒนาการมาจากโครงสร้างและลวดลายในสถาปัตยกรรมเขมรซึ่งมีอายุการสร้างอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 แสดงให้เห็นว่าปรางค์ประธานวัดส้มนั้นน่าจะได้รับการสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาโดยมีอายุเก่ากว่าปรางค์องค์อื่นๆ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น พระปรางค์องค์เล็กที่วัดมหาธาตุ (พ.ศ. 1917) และวัดราชบูรณะ (พ.ศ. 1967) เล็กน้อย การสำรวจของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เดินทางสำรวจวัดส้ม เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 และบันทึกไว้ในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ไว้ว่า วัดส้มเป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่หลังศาลากลางจังหวัด(ปัจจุบันเป็นศูนย์การท่องเที่ยวอยุธยา) ติดกับคลองท่อ โบราณสถานอื่นๆพังทลายหมด เหลือเพียงปรางค์ขนาดย่อม รูปทรงกระทัดรัดน่าดู เป็นปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น ลวดลายประดับองค์ปรางค์งามมาก จัดว่าเป็นสองรองจากวัดภูเขาทอง อย่างไรก็ดี ลายปูนปั้นที่นี่เหลือมากกว่าแห่งอื่นทั้งหมดในอยุธยา ลายซุ้มประตู ลายทับหลัง กลีบขนุน ตลอดจนลายเฟื่องเชิงชายต่างๆ เหลือบริบูรณ์น่าอัศจรรย์ เมื่อส่องกล้องดูลายในที่สูงก็ยิ่งตื่นเต้นด้วยลายละเอียดประณีตอย่างคาดไม่ถึง หน้าบันเป็นภาพเทพพนมนั่งชันเข่าข้างซ้ายเรียงกันเป็นแถว ตรงกลางมีลายคั่น ก่อนที่ผมจะเดินทางไปชมพื้นที่วัดส้ม ได้ทำการเปิดอ่านเรื่องราวของวัดส้ม พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ… Read More »

วัดโคก ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียร อีกแห่งในอยุธยา

https://youtu.be/2ZbHjefjn7U วัดโคก อ.บางปะหัน ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระและหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรกเก่าแก่สมัยลพบุรี… ถ้าจะกล่าวถึงตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระที่เป็นที่โด่งดังในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลายท่านจะต้องกล่าวถึงวัดตูม อย่างแน่นอน เพราะมีเรื่องราวเล่าขานมายาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สำหรับวัดโคก อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่เล่าขานถึงน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระ ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จัก อาจจะเพราะเรื่องเล่าตำนานการบันทึกไม่เก่าแก่เหมือนวัดตูม แต่ที่วัดโคกแห่งนี้ ก็มีความโด่งดังเกี่ยวกับพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง นั่นก็คือหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกเก่าแก่ ศิลปะสมัยลพบุรี ที่เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถมาก่อน ด้วยเรื่องราวดังกล่าวข้างต้น ผมจึงได้เดินทางไปยังวัดโคก เพื่อกราบสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ และนำภาพบรรยากาศมาฝากครับ วัดโคก ตั้งอยู่ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ไกลจากวัดตูมเท่าไรนัก ทางเข้าวัดจะมีป้ายขนาดใหญ่ชัดเจนครับ ภายในวัดมีบรรยากาศค่อนข้างเงียบ  ในอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสำริดขนาดหน้าตัก 42 นิ้ว สูง 56 นิ้ว ไม่พบประวัติการส้ราง แต่มีการบอกเล่ากันว่าสร้างในกรุงเทพฯ แล้วอาราธนามาประดิษฐานในอุโบสถวัดแห่งนี้เป็นพระประธานแทนหลวงพ่อนาค ตำนานบอกเล่าจากคนเก่าแก่ เล่าว่า ที่เศียรพระพุทธรูปส่วนบนสามารถเปิดออกได้ ด้านในจะเป็นโพรงมีน้ำซึมออกมา ซึ่งมีการกล่าวตำนานการพบคล้ายกับที่วัดตูม ว่ามีคนวิกลจริตมาอาศัยหลับนอนในวัด แล้วเปิดเศียรพระดื่มน้ำแก้กระหาย แต่ปรากฏว่าจากคนวิกลจริตกลับหายเป็นคนปกติดังเดิม จนเป็นที่กล่าวถึงกันและนำน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปเป็นสิริมงคลกันจนถึงทุกวันนี้ หลังจากที่ผมได้กราบสักการะหลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมจึงไปยังที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาค  หลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดหน้าตัก 13 นิ้ว สูง 31 นิ้ว ศิลปะสมัยลพบุรี เคยประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดโคก แต่ด้วยเป็นพระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นักและมีความเก่าแก่ จึงเป็นที่ปรารถนาของเหล่ามิจฉาชีพ และได้เกิดเหตุการโจรกรรมถึง 4… Read More »

ซุ้มพระยืนโบราณ วัดท่ายักษ์ วัดร้างริมคลองหัวรอ อยุธยา

พาไปชมซากซุ้มพระยืนโบราณอันโดดเดี่ยว ณ วัดท่ายักษ์หรือวัดพยัคฆ์ วัดร้างนอกแผนที่ ริมคลองหัวรอ อยุธยา สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน วันนี้แอดมินตั้มจะพาเดินทางไปชมพื้นที่วัดร้างนอกแผนที่แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกชื่อกันว่า “วัดท่ายักษ์” หรือบางท่านเรียก “วัดพยัคฆ์” ตั้งอยู่ที่ ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ติดกับคลองหัวรอหรือคลองบางขวด ก่อนถึงวัดดาวคะนองเพียง 200 เมตร การเดินทางครั้งนี้ เพราะได้ทราบว่าพบเพียงซุ้มพระพุทธรูปโบราณเพียงซุ้มเดียวหรืออาจจะเป็นมณฑป ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว และไม่ปรากฏในแผนที่ แต่พบว่ามีการสำรวจจากนักสำรวจต่างประเทศมาก่อนแล้วโดยใช้ชื่อว่า “วัดท่ายักษ์” ผมและทีมเดินทาง มายังวัดแห่งนี้หลายครั้ง เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงและชื่นชอบสถานที่แห่งนี้อย่างยิ่ง ท่านที่สนใจเดินทางไปชม ให้ตั้งพิกัด Google ตามลิ้งนี้ >> https://goo.gl/maps/yM5CMcZh5oBQaoat9 เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าซุ้มพระโบราณนี้ยังคงแข็งแรง ตั้งอย่างโดดเดี่ยว โดยแทบไม่เห็นซากโบราณสถานโดยรอบหลงเหลืออยู่เลย พบเพียงเศษซากอิฐและกระเบื้องบางส่วนเท่านั้น บรรยากาศโดยรวมได้เห็นถึงความแปลกตา ที่ไม่ค่อยได้เห็นกันโดยทั่วไป และมีผู้ติดต่อสอบถามเพื่อเดินทางไปชมอย่างมากมาย ปัจจุบันนี้ สำนักศิลปากร เขต 3 ได้เข้าพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทำการศึกษาเพื่อทำประวัติวัดแห่งนี้แล้วครับ เพื่อให้บทความมีเนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผมจึงได้ติดต่อ ดร.ฉันทัส เพียรธรรม อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อการสันนิษฐานรูปแบบศิลปกรรมของวัดแห่งนี้ ซึ่งอาจารย์ได้เดินทางไปยังสถานที่จริงและสเก็ตภาพสันนิษฐานให้ไว้ด้วยครับ ข้อสันนิษฐาน โดย ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ดร.ฉันทัส ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับศิลปกรรมไว้ดังนี้ วัดท่ายักษ์หรือวัดพยัคฆ์เหลือสิ่งก่อสร้างที่เป็นห้องมณฑปก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ​โดย​มี​ร่องรอยการต่อเติมเป็นทางเดินซุ้มวงโค้งแต่ว่าทางเดินทั้ง 3 ข้างนั้นพังไปแล้วทำให้เหลือแต่แกนมณฑป​ ด้านบนของมณฑกมีร่องรอยการต่อยอดเป็นเครื่อง​บนไม่ทราบว่าด้านบนนั้นจะมียอดเป็นอย่างไรแต่ว่ามีชุดฐานที่ปรากฏว่าพยายามจะต่อเป็นเครื่องบนแน่นอน ภายในมณฑป ปรากฏพระพุทธรูปยืนเป็นแบบยกพระหัตถ์​เป็นปางประทานอภัย สิ่ง​ก่อสร้างที่เหลืออยู่นี้ต้องบอกว่ามีลักษณะที่แปลก ไม่ปรากฏในวัดอื่นเลยทั้งในพระนครศรีอยุธยาหรือว่าเมืองสำคัญ​… Read More »

โคกหัวข้าว ชุมชนโบราณนับพันปี โบสถ์ดินโบราณและซากเจดีย์สมัยทวารวดี

สวัสดีครับท่านผู้ติดตามรักการท่องเที่ยวทุกท่าน วันน้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมแหล่งโบราณสถาน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่น่าจะเป็นสถานที่ Unseen อีกแห่งหนึ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ นั่นก็คือ แหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ความน่าสนใจของแหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าวนี้คือ มีโบสถ์ดินโบราณอายุกว่า 100 ปี และแหล่งโบราณสถาน เนินดินสมัยทวารวดีอายุนับพันปี พบซากเจดีย์ที่จมใต้ดินสันนิษฐานอายุว่าอาจจะเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา การเดินทางให้ไปตามถนนสายพนมสารคาม – กบินทร์บุรี(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) เลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านโคกหัวข้าว ไปตามทางจะพบโบสถ์ดินโบราณแล้วให้ไปจอดรถบริเวณพื้นที่โบสถ์นั้นครับ ส่วนแหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าว จะอยู่ถัดไปจากโบสถ์หลังนี้ราว 100 เมตร สามารถเดินไปชมได้ครับ จากการสอบถามและค้นหาข้อมูล ได้ระบุว่าโบสถ์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัดโคกหัวข้าวเดิม ส่วนของหลังคาสวยงามมากครับ โบสถ์ดินโบราณแห่งนี้ มีศิลปะสวยงามในส่วนของหลังคาและส่วนซุ้มหน้าต่างที่มีลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่ แต่มีเพียงบานเดียว… ส่วนหน้าต่างบานอื่น ไม่พบร่องรอยของลายปูนปั้นอยู่เลย จึงเป็นเรื่องที่แปลกว่าทำไมสร้างตกแต่งเพียงจุดเดียว ผมใช้เวลาถ่ายรูปและชมสถานที่ราวๆ 30 นาที จึงเดินไปยังเนินทวารวดีซึ่งห่างจากโบสถ์นี้ราวๆ 100 เมตร เมื่อเดินมาถึงศาลปู่ตา จะสังเกตุเห็นว่า มีการจัดสถานที่ระบุว่าเป็นแหล่งโบราณคดีเนินทวารวดี ได้แก่ มีการก่อสร้างทางเดินไม้ไผ่ เพื่อความสะดวกในการเดินเข้าชมพื้นที่ บรรยากาศการเดินทางมีความเป็นท้องถิ่นมากๆครับ ตั้งแต่ทางเข้าหมู่บ้านโคกหัวข้าว มีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ตลอดเส้นทาง จึงมีความร่มรื่นอย่างมาก จนมาถึงโบสถ์ดินโบราณจะผ่านทุ่งนาของชาวบ้านได้สัมผัสบรรยากาศท้องถิ่นอย่างเต็มๆเลยครับ ระหว่างทางจะมีร้านขนมของฝากตั้งอยู่ด้วย ท่านสามารถชมเพิ่มเติมได้ในคลิปวีดีโอ ที่ผมติดให้ชมด้านบนบทความนี้ เมื่อเดินมาถึงเนินทวารวดีโคกหัวข้าวแล้ว จะพบว่ามีร่องร่องการขุดสำรวจจากกรมศิลปากรแล้ว แต่ยังมีสภาพเป็นเพียงหลุมขุดเท่านั้น จะสังเกตุเห็นการเรียงอิฐของเจดีย์ที่จมอยู่ในหลุมที่ขุดสำรวจ จากการสังเกตุและค้นหาข้อมูลจากรายงานโบราณคดี พบว่ามีการเรียงอิฐขนาดใหญ่สอด้วยดิน เนื้ออิฐมีส่วนผสมของแกลบข้าว (เพื่อช่วยในการเผาอิฐ) การเรียงอิฐเป็นแบบ “เฟรมมิช” คือการเรียงอิฐด้านกว้างและด้านยาวไปตลอด พบเศษชิ้นส่วนโบราณวัตถุกระจายอยู่ทั้งแบบภาชนะกระเบื้องเคลือบและดินเผาทั่วไป… Read More »