Tag Archives: วัดเจดีย์ทอง

วัดเจดีย์ทอง ปทุมธานี วัดเก่าแก่ศูนย์รวมใจชาวมอญอพยพ

วัดเจดีย์ทอง ปทุมธานี วัดเก่าแก่ศูนย์รวมใจชาวมอญอพยพ… สวัสดีครับ ท่านที่รักการท่องเที่ยววัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อไปเที่ยวชมวัดแห่งหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์สะท้อนเรื่องราวในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวมอญอพยพ นั่นก็คือ วัดเจดีย์ทอง วัดแห่งนี้มีเอกลักษณ์สำคัญคือ เจดีย์ศิลปะมอญที่บ่งชี้ว่า แถบนี้มีการอพยพของชาวมอญถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวมอญในอดีต นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะแบบมอญ พระนามว่า “หลวงพ่อขาว” อีกด้วย วัดเจดีย์ทอง ติดริมน้ำเจ้าพระยาในบรรยากาศดีๆ ซึ่งเส้นทางริมน้ำเจ้าพระยาตลอดสายที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จะมีวัดเก่าแก่มากมายให้เที่ยวชม และสะท้อนเรื่องชุมชนมอญอีกหลายแห่งด้วยครับ  วัดเจดีย์ทอง มีความเป็นไปได้ว่าเป็นวัดเก่ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งรับกับศิลปกรรมใบเสมาหินทรายแดง สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 (อยุธยาตอนปลาย) จากข้อมูลของกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า วัดเจดีย์ทอง เดิมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้ร้างลงจากสงครามกรุงแตก เมื่อ ปี พ.ศ.2310 ต่อมาพระยารามซึ่งเป็นบุตรของพระยาเจ่ง (เป็นน้องเจ้าพระยามหาโยธา)เป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อสมัยได้อพยพหนีพม่า และได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ต่อมาพระยารามผู้นี้ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดี ศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษานครเขื่อนขันธ์ วัดเจดีย์ทองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2508  รูปแบบเจดีย์เลียนแบบมาจากอานันทเจดีย์ในเมืองพุกาม  ตำนานสัญลักษณ์ชาวมอญ ธงตะขาบ มีตำนานเล่าว่า ณ ดอยสิงคุตต์ เมืองย่างกุ้ง มีตะขาบยักษ์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่และชอบจับช้างมากินเป็นอาหาร จนซากช้างกองสุมเต็มไปหมด วันหนึ่งมีพ่อค้าจากต่างแดนผ่านมาพบซากช้างนี้ จึงอาศัยจังหวะที่ตะขาบยักษ์ออกไปหากิน คัดเลือกและขนงาช้างลงเรือสำเภาของตนไป เมื่อตะขาบยักษ์กลับมาเห็นก็โกรธมาก จึงไล่ตามพ่อค้านั้นลงไปในทะเล แต่กลับต้องพบกับปูยักษ์เจ้าทะเลขนาดมหึมา เจ้าตะขาบยักษ์สู้ไม่ได้จึงถูกปูยักษ์จับกินเป็นอาหารไปในที่สุด ต่อมาในสมัยพุทธกาล ตปุสสะและภัลลิกะ พ่อค้าจากอุกกลชนบท ได้พบกับพระพุทธเจ้าและได้แสดงตนเป็นอุบาสก พระพุทธเจ้าจึงประธานพระเกศาธาตุให้ทั้งสองคน ครั้นเมื่อกลับมาถึงบ้านเมืองของตนแล้ว… Read More »