Tag Archives: โบราณสถาน

โบสถ์โบราณ วัดปากบาง กาญจนบุรี

ผมได้เดินทางไปงานบุญที่จังหวัดกาญจนบุรี จึงถือโอกาสท่องเที่ยววัดเก่าในพื้นที่ใกล้เคียง และได้ทราบมาว่าที่วัดปากบาง มีโบราณสถานเป็นโบสถ์เก่าอายุกว่าร้อยปีให้ชม และเคยถูกปิดมานานกว่า 10 ปี วัดปากบาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเคยถูกทิ้งร้างลงช่วงหนึ่ง ก่อนได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 โบราณสถานสำคัญของวัดแห่งนี้คือ อุโบสถเก่า ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำแม่กลอง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ตัวอาคารใช้ผนังรองรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคา ไม่มีเสาในอาคาร มีพาไลยื่นออกมา มีช่องประตูทางเข้า 1 ช่อง หน้าต่างข้างละ 2 ช่อง ฐานอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ สร้างทับบนฐานอิฐของอาคารเดิมในสมัยแรก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป พระนามว่า หลวงพ่อศรีมงคล โดยเป็นพระพุทธรูปเก่า 4 องค์ แบ่งเป็นปางมารวิชัย 2 องค์ และปางสมาธิ 2 องค์ ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างแทนองค์พระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ จำนวน 4 พระองค์ที่ผ่านมา ที่หน้าบันประดับประติมากรรมปูนปั้นและเขียนสีเล่าเรื่องทางพระพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย หน้าบันด้านหน้าอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ถัดลงมาเป็นพระมาลัยขึ้นไปโปรดเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และสักการะพระจุฬามณีเจดีย์ หน้าบันด้านหลังอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืน มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา 5ถัดลงมาเป็นพระมาลัยรับถวายดอกไม้จากมานพผู้ยากไร้ กรอบซุ้มประตูและหน้าต่าง ประดับประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ โดยที่ซุ้มหน้าต่างเป็นอดีตพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ 3 พระองค์ และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 1 พระองค์ ที่ซุ้มประตูทางเข้าอุโบสถ เป็นภาพพระศรีอริยเมตรไตร… Read More »

วัดท่าแคลง จันทบุรี โบสถ์เก่าอายุเกือบ 200 ปี สุดคลาสสิค

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวถึงจันทบุรี เพื่อไปชมความงดงามเก่าแก่ของโบสถ์โบราณอายุเกือบ 200 ปี วัดท่าแคลง ที่มีความเป็นเอกลักษณ์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.สนามไชย อ.นายายอาม จ.จันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดที่ผมเคยทำงานประจำมาก่อน เมื่อราว 10 กว่าปีก่อน แต่ครั้งนั้นยังไม่ได้สนใจเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จึงไม่เคยรู้ว่ามีวัดเก่าแก่สวยงามใกล้บริษัทที่เคยทำงานครั้งนั้น วันนี้ได้มีโอกาสไปถึง อ.นายายอาม จ.จันทบุรี จึงได้ค้นหาข้อมูล พบว่าที่วัดท่าแคลงแห่งนี้ มีความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมโบสถ์เก่าที่ได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตกอยู่ด้วย มีอายุเกือบ 200 ปี และยังคงสภาพเดิมอยู่ในปัจจุบันนี้ วัดท่าแคลง ไม่ปรากฏบันทึกประวัติการสร้างชัดเจน จึงมีการสันนิษฐานอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบสถ์เก่า ซึ่งผมได้อ่านพบวิจัยเรื่อง สถาปัตยกรรมรัชกาลที่ 5 ในมณฑลการปกครองของภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา ได้อธิบายงานวิจัยไว้ว่า โบสถ์เก่าของวัดท่าแคลงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก สันนิษฐานสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 – 5 โดยช่างชาวจีนที่มีภูมิลำเนาในแถบนั้น โบสถ์มีขนาดกว้าง 8.86 เมตร ยาว 15.40 เมตร เป็นอาคารก่ออิฐแบบทรงโรง หลังคาทรงจั่วแบบชั้นลด มุงด้วยกระเบื้องว่าว มีชายคายื่นออกจากผนัง มีประตูทางเข้าด้านหน้าและหลัง ด้านละ 2 บาน ซุ้มประตูทางเข้ามีการตกแต่งด้วยปูนปั้นระบายสี ทำเป็นรูปซุ้มแบบใบโพธิ์ภายในมีการตกแต่งปูนปั้นรูปนกและพันธุ์พฤกษา กรอบประตูปั้นปูนคิ้วเลียบแบบเครื่องไม้ บางส่วนมีการเซาะร่องและระบายสีคราม เหลือง และน้ำตาลตามส่วนต่างๆของซุ้มประตู หน้าต่างโบสถ์เก่ามีด้านละ 3 บาน… Read More »

โบราณสถานและเจดีย์แบบลาว ลุ่มน้ำป่าสัก วัดพระนอน นครหลวง อยุธยา

วันนี้จะพาไปเที่ยววัดพระนอน อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้มีพื้นที่อยู่ทั้งสองฟากถนน ฝั่งหนึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารโบราณสถานร้าง อีกฟากหนึ่งจะเป็นสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งผมแวะเข้าไปด้วยความบังเอิญ และได้พบกับโบราณสถานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ได้แก่ อาคารร้างรวมถึงซากโบราณวัตถุหลายชิ้น และเจดีย์โบราณแบบลาว เป็นอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงชุมชนลาวที่เข้ามาอาศัยแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักตั้งแต่ครั้งอดีต เจดีย์โบราณซึ่งตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของโบราณสถานร้าง วัดพระนอน เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก จากรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเจดีย์แบบลาว ซึ่งมีความคล้ายกับพระธาตุดำ ในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในสมัยกรุงธนบุรี เกิดความขัดแย้งในอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์คุมกองกำลังไปยึดนครเวียงจันทน์และกวาดต้อนชาวลาวนับหมื่นเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก และในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการยกกองกำลังขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนจนประสบความสำเร็จ และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 ก็มีศึกกับนครเวียงจันทน์และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราจึงอาจจะได้พบเห็นอัตลักษณ์รูปแบบสถาปัตยกรรมของลาวในวัดแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง เช่น วัดใหญ่เทพนิมิตร เป็นต้น ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

วัดอุโปสถาราม วัดเก่าแก่ ริมแม่น้ำสะแกกรัง อุทัยธานี

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมพาทุกท่านไปท่องเที่ยวยังจังหวัดอุทัยธานี เพื่อไปเที่ยวที่วัดอุโปสถาราม ต.สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ ที่มีความสวยงามของโบราณสถานทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมภายในวิหารและอุโบสถ ซึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำสะแกกรังไป ผมจึงได้พบกับบรรยากาศในท้องถิ่นที่มีเสน่ห์ แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่เราจะได้เห็นความสวยงามของวิถีชีวิตในชุมชน ผมเดินผ่านตลาดตอนเช้า มีสินค้ามากมายที่พ่อค้าแม่ค้านำออกมาวางขายจำนวนมาก โดยตลาดจะเปิดขายบนถนนริมแม่น้ำสะแกกรังในเวลาเช้าและเย็นทุกวัน เป็นบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยว ที่มีความสุขจริงๆครับ บรรยากาศตอนเช้าวันนี้ มีผู้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยพอสมควร ผมเดินข้ามแม่น้ำสะแกกรัง ได้เห็นบ้านเรือนบนแพกลางแม่น้ำเรียงยาวเป็นแถว เป็นรูปแบบความเป็นอยู่ที่เราไม่ค่อยได้พบเห็น การได้มาท่องเที่ยวโบราณสถานในท้องถิ่นแห่งนี้เป็นการได้เปิดหูเปิดตามากๆครับ จากประวัติวัดกล่าวว่า วัดอุโปสถาราม สร้างขึ้นราว พ.ศ.2324 วางแผนผังเป็นฐานไพทียกสูง บนฐานตั้งอุโบสถขนานเสมอกับวิหาร โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีเจดีย์ 3 องค์ สร้างเรียงไว้ด้านทิศตะวันตก บริเวณริมแม่น้ำมีมณฑปแปดเหลี่ยม สถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสานแบบตะวันตก มีลวดลายปูนปั้นคล้ายไม้เลื้อยที่กรอบหน้าต่าง และมีพระพุทธรูปปูนสลักนูนสูงอยู่ด้านนอกอาคาร ใช้เป็นที่ไว้ศพและอัฐิพระครูสุนทรมุนี(จัน) อดีตเจ้าคณะจังหวัด เมื่อเดินขึ้นไปบนอุโบสถ จะพบเห็นใบเสมาหินทรายแบบอยุธยารอบอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปห้าองค์ แทนพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้  มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเทพชุมนุมและภาพในพุทธประวัติ เบื้องหลังพระประธานเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าชนะมาร สันนิษฐานว่าเขียนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วิหาร วัดอุโปสถาราม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนหลายองค์ และประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองเก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปี จารึกว่าสร้างในปี พ.ศ.2426 ภาพจิตรกรรมภายในวิหารด้านบนเป็นภาพพระอัครสาวก ด้านล่างลงมาเป็นภาพในพุทธประวัติ, อสุภกรรมฐาน และพระมาลัย รวมถึงภาพวิถีชีวิตของคนสมัยก่อน จากรูปแบบภาพเครื่องแต่งกาย สันนิษฐานกันว่าเป็นแบบนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5… Read More »

วัดสองพี่น้องและวัดโตนดหลาย โบราณสถานอายุ 600 ปี ชัยนาท

  YouTube : FaithThaiStory   วัดสองพี่น้องและวัดโตนดหลาย(วัดร้าง) ที่มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ตั้งอยู่ที่ ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท วัดสองพี่น้องไม่ปรากฏข้อมูลบันทึกหลักฐานการสร้าง แต่มีตำนานท้องถิ่นกล่าวว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 จากสาเหตุที่เจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยาแย่งชิงราชสมบัติกัน และได้สิ้นพระชนม์ในสนามรบด้วยกันทั้งคู่ เจ้าสามพระยาผู้น้อง จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน และสร้างปรางค์ถวายเจ้าอ้ายพระยา สร้างเจดีย์ถวายแด่เจ้ายี่พระยา ซึ่งเป็นเพียงตำนานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น ไม่มีเอกสารทางประวัติศาสตร์บันทึกยืนยัน จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดสองพี่น้อง” ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาเกี่ยวกับวัดนี้ไว้เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสรรคบุรี พ.ศ. ๒๔๔๔ ไว้ว่า วัดสองพี่น้องคงไม่ใช่เรื่องของสองพี่น้องสร้าง แต่คงเป็นวัดสองวัดติดกัน เพราะเห็นกำแพงเหลื่อมกันอยู่ ซึ่งวัดดังกล่าวก็คือ วัดโตนดหลาย ซึ่งเป็นวัดร้างที่อยู่ติดกันนั่นเอง จากการขุดสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า มีการก่อตั้งวัดสองพี่น้อง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 หรือมีอายุราว 600 ปีขึ้นไป พบร่องรอยการบูรณะเรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 22 และถูกทิ้งร้างลงหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา และได้กลับมาใช้พื้นที่ใหม่อีกครั้งในปัจจุบัน ดังนั้นในปัจจุบันนี้ วัดสองพี่น้อง ไม่ใช่วัดร้าง มีพระจำพรรษา โดยมีโบราณสถานอยู่ในพื้นที่ โบราณสถานวัดโตนดหลาย อยู่ห่างจากวัดสองพี่น้องเพียง 300 เมตร มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีเจดีย์ประธานเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 นอกจากเจดีย์ประธาน ยังปรากฏร่องรอยโบราณสถาน ได้แก่ วิหาร… Read More »

เจดีย์ร้างกลางทุ่งที่สร้างไม่เสร็จ วัดเจดีย์หัก นครหลวง อยุธยา

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวอันซีน ไปชมโบราณสถานวัดร้าง กลางทุ่งนา ณ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยคนในพื้นที่เรียกกันว่า “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งหลงเหลือซากเจดีย์ตั้งโดดเด่นรายล้อมไปด้วยท้องทุ่งนาเกษตรกรรม และผมได้ทราบข้อมูลมาว่า เป็นเจดีย์ที่สร้างไม่แล้วเสร็จอายุราวร้อยกว่าปีมานี้เอง สร้างโดยหลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์ วัดบ้านชุ้ง แต่หลวงปู่ปลอดได้มรณภาพไปเสียก่อน ทำให้เจดีย์แห่งนี้สร้างไม่แล้วเสร็จ จึงถูกขนานนามกันว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา คุณณัชทัพพ์ ทองคำ(เพจไสยไสยวิทยา) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดเจดีย์หักไว้อย่างน่าสนใจ เพราะได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวมาจากแม่ยายของเขาเอง คือครูจินตนาซึ่งเป็นลูกหลานของหลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์  คุณณัชทัพพ์ให้ข้อมูลว่า วัดเจดีย์หัก ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์นี้สร้างไม่แล้วเสร็จ เหลือแต่ฐานล่างและซุ้มมุขหน้า แต่ยอดไม่แล้วเสร็จเพราะหลวงปู่ปลอดท่านได้มรณภาพเสียก่อน เจดีย์หักของหลวงปู่ปลอด ปัจจุบันคนนอกถิ่นไม่ค่อยรู้จัก หลายคนอาจคิดไปว่าเป็นโบราณสถานสมัยอยุธยา ซึ่งแท้จริงแล้วสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง หลวงปู่ปลอด ท่านเป็นพระเกจิที่มีพลังจิตแก่กล้า เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่นวม วัดกลาง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระเถระสหธรรมิกกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา และหลวงปู่กรอง วัดเทพจันทร์ลอย พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์ เป็นพระผู้สร้างวัดบ้านชุ้งและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นสายบรรพบุรุษของตระกูล “ทองสาริ” ตระกูลคหบดีเจ้าของคานเรือ และที่นาจำนวนมากในพื้นที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ปลอดท่านมีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ตั้งใจสร้างวัดและพระเจดีย์เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ในช่วงรัชกาลที่ 5 – 6 อีกทั้งท่านยังเป็นญาติและผู้อุปการะครูฟ้อน ดีสว่าง หรืออาจารย์ฟ้อน ประสะเลือด… Read More »