Tag Archives: เมืองโบราณ

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

https://youtu.be/F1anpvudLhU วันนี้ผมจะพาไปชมความงดงามของเศียรพระพุทธรูปโบราณที่มีอายุกว่าพันปี หรือสมัยทวารวดี ที่มีความสมบูรณ์สวยงามมากที่สุดเศียรหนึ่งที่เคยค้นพบ เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ก่อนการค้นพบเมืองโบราณซับจำปา ได้พบโบราณวัตถุต่างๆตามพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ตั๊กแตนปาทังการะบาดในพื้นที่ ราวปี พ.ศ.2513 กรมการเกษตรจึงส่งอากาศยานเพื่อโปรยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงได้เห็นสัณฐานคูเมืองโบราณซับจำปาทางอากาศ คล้ายรูปหัวใจ จึงเกิดข่าวโด่งดังแพร่กระจายในแวดวงโบราณคดี และเริ่มมีการสำรวจทางโบราณคดีนับแต่นั้นมา โดยนำทีมสำรวจโดยอาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ อาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ ได้กล่าวว่าการสำรวจเมืองโบราณซับจำปามีความน่าสนใจเพราะมีความผสมผสานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี เช่น มีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพบเศษภาชนะ รวมถึงรูปปั้นตุ๊กตาดินเผายุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีเป็นต้น การขุดสำรวจทางโบราณคดี ได้ค้นพบโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น แต่ในสมัยนั้น การควบคุมยังลำบากเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้มีโบราณวัตถุบางชิ้นได้หลุดรอดถูกลักขโมยไปขายในตลาดต่างประเทศ โบราณวัตถุที่ขุดพบในเมืองโบราณคดีซับจำปามีมากมาย จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ซับจำปา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี ส่วนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบคือ เศียรพระพุทธรูปโบราณ สมัยทวารวดี อายุกว่าพันปี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ที่มีความงดงามและสมบูรณ์มากเศียรหนึ่ง ภาพด้านบนที่ท่านได้เห็นในขณะนี้ เป็นภาพเมื่อครั้งขุดพบเศียรพระพุทธรูปครั้งแรก จากเพจเมืองโบราณซับจำปา และชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร คุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดี ผู้ขุดสำรวจในไซต์งานครั้งนั้น ได้กล่าวว่าตั้งแต่เขาได้เรียนและอ่านหนังสือทางโบราณคดี ไม่เคยพบเศียรพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่สวยงามขนาดนี้ โดยปกติจะพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีเป็นแบบพระเนตรโปนพระโอษฐ์ใหญ่ แต่การค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีความงดงามแตกต่างจากข้อมูลที่เคยรับรู้มาก่อน และโบราณวัตถุสำคัญอีกชิ้นที่ค้นพบคือ ฐานและเสาธรรมจักรแปดเหลี่ยม มีจารึกภาษาบาลี ตัวอักษรปัลลวะ คาถาในพระไตรปิฎก 4 คาถา อายุราวพุทธศตวรรษที่… Read More »

สระแก้ว สระน้ำโบราณพันปี เมืองโบราณศรีมโหสถ ปราจีนบุรี

https://youtu.be/qJYpAQ7oiRo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวตามรอยอดีตเมืองโบราณศรีมโหสถ อายุกว่าพันปี ที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีจุดสำคัญในการเดินทางไปเที่ยวชมครั้งนี้คือ โบราณสถานสระแก้ว ซึ่งเป็นสระน้ำโบราณที่มีความพิเศษกว่าจุดอื่นๆ ในเมืองโบราณศรีมโหสถ สมัยทวารวดี ด้วยรูปแบบที่มีการสลักรูปสัตว์มงคลไว้ขอบสระตามความเชื่อในศาสนาฮินดู และยังคงเห็นร่องรอยได้ถึงปัจจุบันนี้ เมืองโบราณศรีมโหสถ เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ที่บ้านโคกวัด ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ลักษณะของเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้าง 700 เมตร ยาว 1,550 เมตร มีคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ ภายในเมืองปรากฏซากโบราณสถาน สระน้ำ บ่อน้ำกระจัดกระจายโดยทั่วไป มีจำนวนมากกว่า 100 แห่ง ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู อาทิ ซากศาสนสถานที่ก่อด้วยศิลาแลงที่มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16, เทวรูป พระนารายณ์ ศิวลึงค์ เป็นต้น นอกจากนี้จากการดำเนินงานทางโบราณคดียังได้พบลูกปัดแก้วคาร์นีเลียนและลูกปัดหินอาเกตแบบทวารวดีอีกด้วย ศิวลึงค์โบราณขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ขนาดยาวเกือบ 3 เมตร เมืองโบราณศรีมโหสถ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมาโพธิ โบราณสถานสระแก้ว ตั้งอยู่ทางนอกเมืองโบราณศรีมโหสถ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 18*18 เมตร ลึกประมาณ 6.50 เมตร โดยขุดลงไปบนชั้นดินที่เป็นชั้นของศิลาแลง ริมผนังของสระด้านในทั้ง 4 ด้าน สลักเป็นภาพสัตว์ปรัมปรา อาทิ ช้าง สิงห์… Read More »

ตำนานพระพุทธรูปยืนโบราณพันปี สมัยทวารวดี เมืองโบราณกันทรวิชัย มหาสารคาม

https://youtu.be/CuiMdFZxnVo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยตำนาน ณ เมืองโบราณกันทรวิชัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีตำนานกล่าวถึงพระพุทธรูปสำคัญของเมืองโบราณแห่งนี้ ได้แก่ พระพุทธมงคล ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ลาดโพธิ์ วัดพุทธมงคล และ พระพุทธมิ่งเมือง ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดสุวรรณาวาส เป็นพระพุทธรูปยืนโบราณอายุมากกว่าพันปี สมัยทวาราวดี เป็นที่เคารพสักการะของชาวกันทรวิชัยมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีของเมืองโบราณกันทรวิชัย แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนขนาดใหญ่สืบเนื่องมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา หรือกว่า 1,400 ปีที่แล้ว  สภาพพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นเนินสูง มีคูน้ำล้อมรอบ มีป่าไม้และทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ หลักฐานบันทึกการตั้งเมืองในปัจจุบัน บันทึกว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2413 เพียคำมูล (ต้นตระกูลศิริกิจ) ได้อพยพผู้คนจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 2,700 คน มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ “บ้านกันทางร้าง” ขอขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ทางราชสำนักกรุงเทพฯ จึงตั้งเพียคำมูลเป็นพระปทุมวิเสศเจ้าเมืองคนแรก โดยยกบ้านกันทางร้างเป็นเมืองกันทะวิชัย ต่อมาในปี พ.ศ.2425 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวทองคำซึ่งเป็นหลานพระขันติยะวงศา(จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระปทุมวิเสศ ผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2443 เมืองกันทะวิชัย ได้ถูกยุบเป็นอำเภอ ชื่อ อำเภอกันทรวิชัย ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2456 อ.กันทรวิชัยถูกโอนขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม… Read More »