Tag Archives: ทวารวดี

“ดงละคร” เมืองโบราณพันปี สมัยทวารวดี นครนายก

เมืองโบราณดงละคร จ.นครนายก ชื่อ “ดงละคร” นี้มีที่มาจากชาวบ้านที่จะกล่าวกันว่า พื้นที่นี้คือ “เมืองลับแล” เพราะเล่าขานสืบต่อกันว่าในเวลากลางคืนจะได้ยินเสียงดนตรีวงมโหรีคล้ายการเล่นละครอยู่ในป่า จึงเรียกขานกันว่า “ดงละคร” ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งกล่าวว่า เดิมพื้นที่นี้เรียกว่า “ดงนคร” แปลว่า “นครในดงป่า” ต่อมาได้เรียกเพี้ยนไปเป็น ดงละคร ในภายหลัง  จากรายงานของคุณจิราพร เพชรดํา ผู้สํารวจ และนักวิชาการวัฒนธรรมชํานาญการ ได้เขียนรายงานไว้ว่า บ้านดงละครเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบย้อนการเข้ามาอยู่อาศัยหลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย โดยเข้ามาทำการเกษตรกรรม จึงขุดพบโบราณวัตถุมากมาย จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 จึงมีการสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นทางการ พบร่องรอยการเข้ามาอยู่อาศัยเป็นชุมชน ตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยการพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์เนื้อเงิน ศิลปะแบบทวาราวดีเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบสีน้ำตาล เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและซ้อง รวมทั้งลูกปัดแก้วหลายสี ลูกปัดแบบลูกตา ลูกปัดสลับสี ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาร์เกต พบความรุ่งเรืองอย่างเด่นชัดเป็น 2 ช่วงคือ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12 – 16 และในยุคขอมรุ่งเรือง ในพุทธศตวรรษที่ 17-19 เมืองดงละครมีผังเมืองเป็นรูปไข่หรือวงรีมีคันดินและคูน้ำ มีประตูทางเข้าเมืองและสระนาอยู่ทั้งสี่ทิศ สันนิษฐานว่าชุมชนนี้มี การติดต่อกับต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่เป็นทรัพยากรในป่า โดยใช้แม่น้ำนครนายกล่องเรือสู่ท้องทะเล เมืองโบราณดงละคร เป็นเมืองโบราณพันปี สมัยทวรวดี ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ แม้จะล่มสลายไปแล้ว แต่ยังคงหลงเหลือสภาพของสัณฐานชัดเจนของคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตามแผนผังของเมืองโบราณในสมัยทวารวดี อีกทั้งยังคงมีสภาพป่าหลงเหลือ ซึ่งผมเดินทางไปช่วงกลางวัน ยังได้ยินเสียงจั๊กจั่นร้องกันระงมป่า ถ้าช่วงกลางคืนคงวังเวงน่าดูเลยครับ  สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม… Read More »

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

https://youtu.be/F1anpvudLhU วันนี้ผมจะพาไปชมความงดงามของเศียรพระพุทธรูปโบราณที่มีอายุกว่าพันปี หรือสมัยทวารวดี ที่มีความสมบูรณ์สวยงามมากที่สุดเศียรหนึ่งที่เคยค้นพบ เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ก่อนการค้นพบเมืองโบราณซับจำปา ได้พบโบราณวัตถุต่างๆตามพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ตั๊กแตนปาทังการะบาดในพื้นที่ ราวปี พ.ศ.2513 กรมการเกษตรจึงส่งอากาศยานเพื่อโปรยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงได้เห็นสัณฐานคูเมืองโบราณซับจำปาทางอากาศ คล้ายรูปหัวใจ จึงเกิดข่าวโด่งดังแพร่กระจายในแวดวงโบราณคดี และเริ่มมีการสำรวจทางโบราณคดีนับแต่นั้นมา โดยนำทีมสำรวจโดยอาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ อาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ ได้กล่าวว่าการสำรวจเมืองโบราณซับจำปามีความน่าสนใจเพราะมีความผสมผสานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี เช่น มีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพบเศษภาชนะ รวมถึงรูปปั้นตุ๊กตาดินเผายุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีเป็นต้น การขุดสำรวจทางโบราณคดี ได้ค้นพบโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น แต่ในสมัยนั้น การควบคุมยังลำบากเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้มีโบราณวัตถุบางชิ้นได้หลุดรอดถูกลักขโมยไปขายในตลาดต่างประเทศ โบราณวัตถุที่ขุดพบในเมืองโบราณคดีซับจำปามีมากมาย จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ซับจำปา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี ส่วนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบคือ เศียรพระพุทธรูปโบราณ สมัยทวารวดี อายุกว่าพันปี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ที่มีความงดงามและสมบูรณ์มากเศียรหนึ่ง ภาพด้านบนที่ท่านได้เห็นในขณะนี้ เป็นภาพเมื่อครั้งขุดพบเศียรพระพุทธรูปครั้งแรก จากเพจเมืองโบราณซับจำปา และชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร คุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดี ผู้ขุดสำรวจในไซต์งานครั้งนั้น ได้กล่าวว่าตั้งแต่เขาได้เรียนและอ่านหนังสือทางโบราณคดี ไม่เคยพบเศียรพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่สวยงามขนาดนี้ โดยปกติจะพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีเป็นแบบพระเนตรโปนพระโอษฐ์ใหญ่ แต่การค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีความงดงามแตกต่างจากข้อมูลที่เคยรับรู้มาก่อน และโบราณวัตถุสำคัญอีกชิ้นที่ค้นพบคือ ฐานและเสาธรรมจักรแปดเหลี่ยม มีจารึกภาษาบาลี ตัวอักษรปัลลวะ คาถาในพระไตรปิฎก 4 คาถา อายุราวพุทธศตวรรษที่… Read More »

สระแก้ว สระน้ำโบราณพันปี เมืองโบราณศรีมโหสถ ปราจีนบุรี

https://youtu.be/qJYpAQ7oiRo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวตามรอยอดีตเมืองโบราณศรีมโหสถ อายุกว่าพันปี ที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีจุดสำคัญในการเดินทางไปเที่ยวชมครั้งนี้คือ โบราณสถานสระแก้ว ซึ่งเป็นสระน้ำโบราณที่มีความพิเศษกว่าจุดอื่นๆ ในเมืองโบราณศรีมโหสถ สมัยทวารวดี ด้วยรูปแบบที่มีการสลักรูปสัตว์มงคลไว้ขอบสระตามความเชื่อในศาสนาฮินดู และยังคงเห็นร่องรอยได้ถึงปัจจุบันนี้ เมืองโบราณศรีมโหสถ เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ที่บ้านโคกวัด ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ลักษณะของเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้าง 700 เมตร ยาว 1,550 เมตร มีคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ ภายในเมืองปรากฏซากโบราณสถาน สระน้ำ บ่อน้ำกระจัดกระจายโดยทั่วไป มีจำนวนมากกว่า 100 แห่ง ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู อาทิ ซากศาสนสถานที่ก่อด้วยศิลาแลงที่มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16, เทวรูป พระนารายณ์ ศิวลึงค์ เป็นต้น นอกจากนี้จากการดำเนินงานทางโบราณคดียังได้พบลูกปัดแก้วคาร์นีเลียนและลูกปัดหินอาเกตแบบทวารวดีอีกด้วย ศิวลึงค์โบราณขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ขนาดยาวเกือบ 3 เมตร เมืองโบราณศรีมโหสถ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมาโพธิ โบราณสถานสระแก้ว ตั้งอยู่ทางนอกเมืองโบราณศรีมโหสถ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 18*18 เมตร ลึกประมาณ 6.50 เมตร โดยขุดลงไปบนชั้นดินที่เป็นชั้นของศิลาแลง ริมผนังของสระด้านในทั้ง 4 ด้าน สลักเป็นภาพสัตว์ปรัมปรา อาทิ ช้าง สิงห์… Read More »

ตำนานพระพุทธรูปยืนโบราณพันปี สมัยทวารวดี เมืองโบราณกันทรวิชัย มหาสารคาม

https://youtu.be/CuiMdFZxnVo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยตำนาน ณ เมืองโบราณกันทรวิชัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีตำนานกล่าวถึงพระพุทธรูปสำคัญของเมืองโบราณแห่งนี้ ได้แก่ พระพุทธมงคล ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ลาดโพธิ์ วัดพุทธมงคล และ พระพุทธมิ่งเมือง ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดสุวรรณาวาส เป็นพระพุทธรูปยืนโบราณอายุมากกว่าพันปี สมัยทวาราวดี เป็นที่เคารพสักการะของชาวกันทรวิชัยมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีของเมืองโบราณกันทรวิชัย แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนขนาดใหญ่สืบเนื่องมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา หรือกว่า 1,400 ปีที่แล้ว  สภาพพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นเนินสูง มีคูน้ำล้อมรอบ มีป่าไม้และทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ หลักฐานบันทึกการตั้งเมืองในปัจจุบัน บันทึกว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2413 เพียคำมูล (ต้นตระกูลศิริกิจ) ได้อพยพผู้คนจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 2,700 คน มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ “บ้านกันทางร้าง” ขอขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ทางราชสำนักกรุงเทพฯ จึงตั้งเพียคำมูลเป็นพระปทุมวิเสศเจ้าเมืองคนแรก โดยยกบ้านกันทางร้างเป็นเมืองกันทะวิชัย ต่อมาในปี พ.ศ.2425 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวทองคำซึ่งเป็นหลานพระขันติยะวงศา(จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระปทุมวิเสศ ผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2443 เมืองกันทะวิชัย ได้ถูกยุบเป็นอำเภอ ชื่อ อำเภอกันทรวิชัย ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2456 อ.กันทรวิชัยถูกโอนขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม… Read More »

พระนอนเก่าแก่ที่สุดในไทย วัดธรรมจักรเสมาราม โคราช

https://youtu.be/_2do5MP8ePc พระนอนเก่าแก่ที่สุดในไทย อายุนับพันปี ยุคทวารวดี ณ วัดธรรมจักรเสมาราม ต.เสมา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปกราบสักการะพระนอน(พระพุทธไสยาสน์) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานอายุกว่า 1,300 ปี หรือสร้างในสมัยทวารวดี นอกจากองค์พระนอนแล้ว ภายในวัดยังเก็บรักษาโบราณวัตถุไว้อีกหลายชิ้น อาทิ ธรรมจักรศิลาโบราณ และซากโบราณวัตถุอื่นๆ เป็นต้น การเดินทางค่อนข้างสะดวก โดยอาศัย GPS ตั้งเป้าหมายไปที่ วัดธรรมจักรเสมาราม  เมื่อมาถึงพื้นที่วัด จะเป็นวัดท่องเที่ยวในท้องถิ่น ที่ถูกจัดสถานที่และป้ายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวได้ทราบความสำคัญของสถานที่ได้เป็นอย่างดี พระนอนวัดธรรมจักรเสมาราม ประดิษฐานห่างจากเมืองเสมาโบราณมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 500 เมตร เป็นพระนอนหินทรายที่มีอายุเก่าแก่สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 13 (พ.ศ.1201 – 1300) ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงหลายก้อนประกอบกันขึ้น ขนาดองค์พระยาวประมาณ 13.30 เมตร สูง 2.5 เมตร พุทธลักษะหันพระเศียรไปทางทิศใต้ ผินพระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกในส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายสี่ก้อนประกอบวางซ้อนกันแล้วจึงสลักเป็นรูปวงพระจันทร์จึงทำให้มีลักษณะค่อนข้างเหลี่ยมและกว้าง ทรงแย้มพระสรวลที่มุม พระโอษฐ์ชี้ขึ้น พระขนงสลักเป็นสันนูนรูปปีกกา พระเนตรเหลือบลงตํ่า พระนาสิกแบน ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอย พระหัตถ์ขวารองอยู่ใต้พระเศียร ครองจีวร ปลายพระบาทเสมอกัน ประดิษฐานฐานในแนวทิศเหนือใต้ในวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยอิฐ ขนาดกว้าง 6.5 เมตร ยาว 26.00 เมตร ภาพพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อนการบูรณะ ณ วัดธรรมจักรเสมาราม ต.เสมา อ.สูงเนิน… Read More »

โคกหัวข้าว ชุมชนโบราณนับพันปี โบสถ์ดินโบราณและซากเจดีย์สมัยทวารวดี

สวัสดีครับท่านผู้ติดตามรักการท่องเที่ยวทุกท่าน วันน้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมแหล่งโบราณสถาน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่น่าจะเป็นสถานที่ Unseen อีกแห่งหนึ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ นั่นก็คือ แหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ความน่าสนใจของแหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าวนี้คือ มีโบสถ์ดินโบราณอายุกว่า 100 ปี และแหล่งโบราณสถาน เนินดินสมัยทวารวดีอายุนับพันปี พบซากเจดีย์ที่จมใต้ดินสันนิษฐานอายุว่าอาจจะเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา การเดินทางให้ไปตามถนนสายพนมสารคาม – กบินทร์บุรี(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) เลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านโคกหัวข้าว ไปตามทางจะพบโบสถ์ดินโบราณแล้วให้ไปจอดรถบริเวณพื้นที่โบสถ์นั้นครับ ส่วนแหล่งโบราณคดีโคกหัวข้าว จะอยู่ถัดไปจากโบสถ์หลังนี้ราว 100 เมตร สามารถเดินไปชมได้ครับ จากการสอบถามและค้นหาข้อมูล ได้ระบุว่าโบสถ์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัดโคกหัวข้าวเดิม ส่วนของหลังคาสวยงามมากครับ โบสถ์ดินโบราณแห่งนี้ มีศิลปะสวยงามในส่วนของหลังคาและส่วนซุ้มหน้าต่างที่มีลายปูนปั้นหลงเหลืออยู่ แต่มีเพียงบานเดียว… ส่วนหน้าต่างบานอื่น ไม่พบร่องรอยของลายปูนปั้นอยู่เลย จึงเป็นเรื่องที่แปลกว่าทำไมสร้างตกแต่งเพียงจุดเดียว ผมใช้เวลาถ่ายรูปและชมสถานที่ราวๆ 30 นาที จึงเดินไปยังเนินทวารวดีซึ่งห่างจากโบสถ์นี้ราวๆ 100 เมตร เมื่อเดินมาถึงศาลปู่ตา จะสังเกตุเห็นว่า มีการจัดสถานที่ระบุว่าเป็นแหล่งโบราณคดีเนินทวารวดี ได้แก่ มีการก่อสร้างทางเดินไม้ไผ่ เพื่อความสะดวกในการเดินเข้าชมพื้นที่ บรรยากาศการเดินทางมีความเป็นท้องถิ่นมากๆครับ ตั้งแต่ทางเข้าหมู่บ้านโคกหัวข้าว มีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ตลอดเส้นทาง จึงมีความร่มรื่นอย่างมาก จนมาถึงโบสถ์ดินโบราณจะผ่านทุ่งนาของชาวบ้านได้สัมผัสบรรยากาศท้องถิ่นอย่างเต็มๆเลยครับ ระหว่างทางจะมีร้านขนมของฝากตั้งอยู่ด้วย ท่านสามารถชมเพิ่มเติมได้ในคลิปวีดีโอ ที่ผมติดให้ชมด้านบนบทความนี้ เมื่อเดินมาถึงเนินทวารวดีโคกหัวข้าวแล้ว จะพบว่ามีร่องร่องการขุดสำรวจจากกรมศิลปากรแล้ว แต่ยังมีสภาพเป็นเพียงหลุมขุดเท่านั้น จะสังเกตุเห็นการเรียงอิฐของเจดีย์ที่จมอยู่ในหลุมที่ขุดสำรวจ จากการสังเกตุและค้นหาข้อมูลจากรายงานโบราณคดี พบว่ามีการเรียงอิฐขนาดใหญ่สอด้วยดิน เนื้ออิฐมีส่วนผสมของแกลบข้าว (เพื่อช่วยในการเผาอิฐ) การเรียงอิฐเป็นแบบ “เฟรมมิช” คือการเรียงอิฐด้านกว้างและด้านยาวไปตลอด พบเศษชิ้นส่วนโบราณวัตถุกระจายอยู่ทั้งแบบภาชนะกระเบื้องเคลือบและดินเผาทั่วไป… Read More »