Category Archives: พระนครศรีอยุธยา

วัดขนอนใต้ พระพุทธบาทสี่รอยใหญ่ที่สุดในไทย

https://youtu.be/IhCAR3h6_yo วัดขนอนใต้ พระนครศรีอยุธยา พระพุทธบาทสี่รอยใหญ่ที่สุดในไทย… สวัสดีครับท่านที่รักการท่องเที่ยวทาวัฒนธรรม ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนบทความ วัดขนอนเหนือ ไปแล้วว่ามีตำนานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ในบริเวณด่านเก็บอากรในสมัยอยุธยา ผมจึงจะพาเที่ยววัดขนอนใต้ ซึ่งอยู่ใกล้กันอีกวัดหนึ่ง และมีตำนานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นจากเครือญาติของพระสีหนาถเดโช ผู้สร้างวัดขนอนเหนือนั่นเอง วัดขนอนใต้มีเรื่องราวที่น่าสนใจหลายอย่าง ได้แก่ ค้างคาวแม่ไก่ที่อาศัยอยู่ในวัดจำนวนมาก, พระเกจิในอดีต (หลวงปู่สาย), และพระพุทธบาทสี่รอยจำลองขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผมเดินทางมาถึงวัดขนอนใต้ มีบรรยากาศที่ดีมากๆครับ เห็นบ้านเรือนริมคลองโพธิ์เหมือนแถบชนบท ที่วิหารจตุรมุขประดิษฐานหลวงพ่อขาว และรูปหล่อหลวงพ่อสาย อดีตเจ้าอาวาส และเป็นพระเกจิที่ร่ำเรียนวิชามาจากหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา เรื่องราวการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย เกิดขึ้นจากเมื่อครั้งพระสงฆ์จากวัดขนอนใต้จำนวน 27 รูป นำโดยพระอาจารย์ตาบ ได้ออกธุดงค์ไปทางเหนือ เพื่อจำลองรอยพระพุทธบาทสี่รอย ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และกลับมายังวัดขนอนใต้ ราวปี พ.ศ.2448 และทำการหล่อรอยพระพุทธบาทแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ.2450 โดยมีความยาวประมาณ 11 ศอก 1 คืบ, กว้าง 4 ศอก 1 คืบ เมื่อเดินไปบริเวณหลังวิหารจะเห็นค้างคาวแม่ไก่เป็นจำนวนมาก ส่งเสียงร้องไปทั่วบริเวณ เป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยี่ยมชม และมีประวัติว่าในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสมาชมค้างคาวแม่ไก่ ที่วัดขนอนใต้อีกด้วย ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๒ ในหลวงรัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมค้างคาวแม่ไก่ที่วัดขนอนใต้ แจ้งในจดหมายเหตุกล่าวไว้ในพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วัน ๗ฯ ๑๒ ค่ำ… Read More »

วัดขนอนเหนือ ด่านอากรสมัยอยุธยา จิตรกรรมโบราณ หลวงพ่อพรหมเกจิดัง

https://youtu.be/X7HxR7yOBNo วัดขนอนเหนือ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ด่านอากรสมัยอยุธยาและหลวงพ่อพรหมพระเกจิดังในอดีต… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านไปท่องเที่ยวยังวัดขนอนเหนือ ที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ว่าเคยเป็นด่านขนอนหรือด่านภาษีอากรทางน้ำในสมัยอยุธยา(คลองโพธิ์) มีภาพจิตรกรรมโบราณในอุโบสถและเรื่องราวของพระเกจิชื่อดังในอดีต “หลวงพ่อพรหม ติสสเทโว” เคยจำพรรษาที่นี่  ตำนานกล่าวว่า วัดขนอนเหนือได้สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยนายประทุมซึ่งมีตำแหน่งพระยาสีหราชเดโช เป็นผู้สร้างวัดและมีชื่อว่า “วัดประทุมสิงขร” ต่อมาเรียกชื่อ “วัดขนอนเหนือ” ในภายหลัง นอกจากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้ว ภายในอุโบสถยังพบกับความสวยงามของจิตรกรรมโบราณ แม้จะมีบางส่วนที่เสียหายจากความชื้นอยู่บ้าง จิตรกรรมหลังพระประธานเป็นภาพเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวึงส์ และปราสาทต่างๆบนสวรรค์ ช่องว่างระหว่างประตูเขียนภาพพระมาลัยโบรดสัตว์นรก ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ส่วนผนังด้านข้างทั้งสองตอนบนจะเขียนภาพวิทยาธรและเทพชุมนุมนั่งประนมมือไปทางพระประธาน ถัดลงมาเป็นภาพพุทธประวัติ ภาพจิตรกรรมสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมด้านล่างมีความเสียหายไปเป็นแนวทั้งแถบ ที่เกิดจากความชื้นเป็นที่น่าเสียดายมากครับ… ซึ่งน่าจะเกิดจากบริเวณรอบอุโบสถมีการเทปูนซีเมนต์และปูกระเบื้อง ทำให้ความชื้นไม่มีช่องระบายจนประทุออกมาที่ผนังอุโบสถและทำให้ภาพจิตรกรรมเกิดความเสียหายได้ นอกจากภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่าภายในอุโบสถแล้ว ที่วัดขนอนเหนือยังมีเรื่องราวของพระเกจิชื่อดังในอดีตคือ “หลวงพ่อพรหม ติสสเทโว” ซึ่งสืบทอดสายวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา หลวงพ่อพรหมสมัยเด็ก ร่ำเรียนที่โรงเรียนวัดขนอนเหนือ และก็ร่ำเรียนวิทยาคมจากบิดาเพราะว่าบิดาของท่านเป็นศิษย์ของขรัวตาแสง วัดน้อยทองอยู่ กรุงเทพฯ (หลวงตาแสงสืบทอดวิชาจากวัดประดู่ทรงธรรม) ทำให้หลวงพ่อพรหมแรกเริ่มได้ร่ำเรียนวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรมจากบิดานั่นเอง หลวงพ่อพรหม ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่  20  ตุลาคม  พ.ศ. 2456 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11  ปีฉลู  อุปสมบทในเดือน 6  ตรงกับปี พ.ศ. 2479  อายุ 23 ปี    พระครูสารกิจ(ฟัก)… Read More »

วัดใหญ่เทพนิมิตร ชุมชนลาวอพยพลุ่มน้ำป่าสัก

https://youtu.be/6VktiBahWqw วัดใหญ่เทพนิมิตร ชุมชนลาวอพยพลุ่มน้ำป่าสัก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา… สวัสดีครับท่านที่รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เนื่องด้วยผมได้เห็นภาพวัดแห่งหนึ่งจากการเผยแพร่ของวารสารเมืองโบราณ เป็นภาพพระธาตุเจดีย์มีลักษณะคล้ายองค์พระธาตุพนม แต่อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผมจึงไม่รอช้าที่จะเดินทางไปเที่ยวชมวัดแห่งนั้น วัดที่ผมจะพาไปชมคือ วัดใหญ่เทพนิมิตร ต.สามไถ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา จุดเด่นคือพระธาตุเจดีย์ที่พบแถบทางอีสานและลาว ซึ่งสอดคล้องตามเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีจนถึงรัชกาลที่ 3 ได้มีการทำศึกสงครามและกวาดต้อนชาวลาวอพยพเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักจำนวนมาก รูปแบบพระธาตุเจดีย์ที่นี่คล้ายกับพระธาตุพนม และส่วนตัวผมมีความศรัทธาพระธาตุพนมเป็นอย่างมาก จึงได้เดินทางไปกราบสักการะ วัดใหญ่เทพนิมิตรห่างจากตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาไม่ถึง 30 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกตลอดเส้นทางครับ บรรยากาศที่วัดจะค่อนข้างเงียบ มีพื้นที่ติดกับโรงเรียนวัดใหญ่ ดูเผินๆ เหมือนสัมผัสบรรยากาศแถบอีสานบ้านเกิดผมครับ จากอัตลักษณ์รูปแบบลาวในวัดแห่งนี้ สอดคล้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มคนลาวอพยพที่มีบันทึกในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีและพระราชพงศาวดาร กล่าวว่า ในสมัยกรุงธนบุรีเกิดความขัดแย้งในอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์คุมกองกำลังไปยึดนครเวียงจันทน์และกวาดต้อนชาวลาวเข้านับหมื่นคนมาแถบลุ่มน้ำป่าสัก ในสมัยรัชกาลที่ 1 หลวงเทพหริรักษ์ได้คุมกองกำลังกับหัวเมืองเหนือขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนจนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ.2347 และได้กวาดต้อนชาวลาว(ลาวยวน) เข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก จนกระทั่งช่วงรัชกาลที่ 3 มีสงครามกับนครเวียงจันทน์จึงมีการกวาดต้อนชาวลาวมาเช่นกัน ระฆังไม้ หรือที่เรียกว่า โปง จะพบตามวัดแถบอีสานเป็นจำนวนมาก ในอุโบสถจะมีจิตรกรรมซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาพจิตกรรมมีความเลือนลางหายไปหลายส่วน ด้านข้างอุโบสถ จะเป็นภาพจิตรกรรม 4 แถว โดยแบ่งเป็น แถวบนสุดจะเป็นภาพพระพรหม, แถวที่สองและสาม จะเป็นภาพเทพชุมนุม นางอัปสร และเหล่ายักษ์นั่งประนมหันหน้าไปยังพระประธาน, แถวล่างสุดเป็นเรื่องราวของรามเกียรติ์ ส่วนด้านหลังพระประธาน เป็นภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระมาลัยกำลังสนทนากับพระอินทร์และมีภาพจุฬามณีมหาเจดีย์ สันนิษฐานว่าจิตรกรรมเขียนขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากชมความงามบริเวณรอบอุโบสถกันแล้ว ผมจึงเดินไปยังริมแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บบรรยากาศท้องถิ่น บรรยากาศโดยรวมที่วัดใหญ่เทพนิมิตร… Read More »

วัดส้ม วิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น

https://youtu.be/OHA2QvrEFaw โบราณสถาน วัดส้ม ลวดลายปูนปั้นวิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น… วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปชมความงามลวดลายปูนปั้นที่โบราณสถาน วัดส้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ยังหลงเหลือความงาม วิจิตรให้ได้ชมแม้กาลเวลาจะผ่านมาแล้วหลายร้อยปี ข้อมูลจากกรมศิลปากร กล่าวว่า วัดส้มเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ติดกับคลองท่อ (คลองฉะไกรใหญ่) ทางด้านทิศตะวันตก ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัด สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ ปรางค์ประธาน วิหาร และเจดีย์ราย จากการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นปรางค์ก่ออิฐและมีการทำทับหลัง รวมทั้งลวดลายปูนปั้นประดับองค์ปรางค์วัดส้ม พบว่ามีวิวัฒนาการมาจากโครงสร้างและลวดลายในสถาปัตยกรรมเขมรซึ่งมีอายุการสร้างอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 แสดงให้เห็นว่าปรางค์ประธานวัดส้มนั้นน่าจะได้รับการสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาโดยมีอายุเก่ากว่าปรางค์องค์อื่นๆ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น พระปรางค์องค์เล็กที่วัดมหาธาตุ (พ.ศ. 1917) และวัดราชบูรณะ (พ.ศ. 1967) เล็กน้อย การสำรวจของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เดินทางสำรวจวัดส้ม เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 และบันทึกไว้ในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ไว้ว่า วัดส้มเป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่หลังศาลากลางจังหวัด(ปัจจุบันเป็นศูนย์การท่องเที่ยวอยุธยา) ติดกับคลองท่อ โบราณสถานอื่นๆพังทลายหมด เหลือเพียงปรางค์ขนาดย่อม รูปทรงกระทัดรัดน่าดู เป็นปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น ลวดลายประดับองค์ปรางค์งามมาก จัดว่าเป็นสองรองจากวัดภูเขาทอง อย่างไรก็ดี ลายปูนปั้นที่นี่เหลือมากกว่าแห่งอื่นทั้งหมดในอยุธยา ลายซุ้มประตู ลายทับหลัง กลีบขนุน ตลอดจนลายเฟื่องเชิงชายต่างๆ เหลือบริบูรณ์น่าอัศจรรย์ เมื่อส่องกล้องดูลายในที่สูงก็ยิ่งตื่นเต้นด้วยลายละเอียดประณีตอย่างคาดไม่ถึง หน้าบันเป็นภาพเทพพนมนั่งชันเข่าข้างซ้ายเรียงกันเป็นแถว ตรงกลางมีลายคั่น ก่อนที่ผมจะเดินทางไปชมพื้นที่วัดส้ม ได้ทำการเปิดอ่านเรื่องราวของวัดส้ม พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ… Read More »

วัดโคก ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียร อีกแห่งในอยุธยา

https://youtu.be/2ZbHjefjn7U วัดโคก อ.บางปะหัน ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระและหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรกเก่าแก่สมัยลพบุรี… ถ้าจะกล่าวถึงตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระที่เป็นที่โด่งดังในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลายท่านจะต้องกล่าวถึงวัดตูม อย่างแน่นอน เพราะมีเรื่องราวเล่าขานมายาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สำหรับวัดโคก อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่เล่าขานถึงน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระ ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จัก อาจจะเพราะเรื่องเล่าตำนานการบันทึกไม่เก่าแก่เหมือนวัดตูม แต่ที่วัดโคกแห่งนี้ ก็มีความโด่งดังเกี่ยวกับพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง นั่นก็คือหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกเก่าแก่ ศิลปะสมัยลพบุรี ที่เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถมาก่อน ด้วยเรื่องราวดังกล่าวข้างต้น ผมจึงได้เดินทางไปยังวัดโคก เพื่อกราบสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ และนำภาพบรรยากาศมาฝากครับ วัดโคก ตั้งอยู่ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ไกลจากวัดตูมเท่าไรนัก ทางเข้าวัดจะมีป้ายขนาดใหญ่ชัดเจนครับ ภายในวัดมีบรรยากาศค่อนข้างเงียบ  ในอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสำริดขนาดหน้าตัก 42 นิ้ว สูง 56 นิ้ว ไม่พบประวัติการส้ราง แต่มีการบอกเล่ากันว่าสร้างในกรุงเทพฯ แล้วอาราธนามาประดิษฐานในอุโบสถวัดแห่งนี้เป็นพระประธานแทนหลวงพ่อนาค ตำนานบอกเล่าจากคนเก่าแก่ เล่าว่า ที่เศียรพระพุทธรูปส่วนบนสามารถเปิดออกได้ ด้านในจะเป็นโพรงมีน้ำซึมออกมา ซึ่งมีการกล่าวตำนานการพบคล้ายกับที่วัดตูม ว่ามีคนวิกลจริตมาอาศัยหลับนอนในวัด แล้วเปิดเศียรพระดื่มน้ำแก้กระหาย แต่ปรากฏว่าจากคนวิกลจริตกลับหายเป็นคนปกติดังเดิม จนเป็นที่กล่าวถึงกันและนำน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปเป็นสิริมงคลกันจนถึงทุกวันนี้ หลังจากที่ผมได้กราบสักการะหลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมจึงไปยังที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาค  หลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดหน้าตัก 13 นิ้ว สูง 31 นิ้ว ศิลปะสมัยลพบุรี เคยประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดโคก แต่ด้วยเป็นพระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นักและมีความเก่าแก่ จึงเป็นที่ปรารถนาของเหล่ามิจฉาชีพ และได้เกิดเหตุการโจรกรรมถึง 4… Read More »

ซุ้มพระยืนโบราณ วัดท่ายักษ์ วัดร้างริมคลองหัวรอ อยุธยา

พาไปชมซากซุ้มพระยืนโบราณอันโดดเดี่ยว ณ วัดท่ายักษ์หรือวัดพยัคฆ์ วัดร้างนอกแผนที่ ริมคลองหัวรอ อยุธยา สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน วันนี้แอดมินตั้มจะพาเดินทางไปชมพื้นที่วัดร้างนอกแผนที่แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกชื่อกันว่า “วัดท่ายักษ์” หรือบางท่านเรียก “วัดพยัคฆ์” ตั้งอยู่ที่ ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ติดกับคลองหัวรอหรือคลองบางขวด ก่อนถึงวัดดาวคะนองเพียง 200 เมตร การเดินทางครั้งนี้ เพราะได้ทราบว่าพบเพียงซุ้มพระพุทธรูปโบราณเพียงซุ้มเดียวหรืออาจจะเป็นมณฑป ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว และไม่ปรากฏในแผนที่ แต่พบว่ามีการสำรวจจากนักสำรวจต่างประเทศมาก่อนแล้วโดยใช้ชื่อว่า “วัดท่ายักษ์” ผมและทีมเดินทาง มายังวัดแห่งนี้หลายครั้ง เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงและชื่นชอบสถานที่แห่งนี้อย่างยิ่ง ท่านที่สนใจเดินทางไปชม ให้ตั้งพิกัด Google ตามลิ้งนี้ >> https://goo.gl/maps/yM5CMcZh5oBQaoat9 เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าซุ้มพระโบราณนี้ยังคงแข็งแรง ตั้งอย่างโดดเดี่ยว โดยแทบไม่เห็นซากโบราณสถานโดยรอบหลงเหลืออยู่เลย พบเพียงเศษซากอิฐและกระเบื้องบางส่วนเท่านั้น บรรยากาศโดยรวมได้เห็นถึงความแปลกตา ที่ไม่ค่อยได้เห็นกันโดยทั่วไป และมีผู้ติดต่อสอบถามเพื่อเดินทางไปชมอย่างมากมาย ปัจจุบันนี้ สำนักศิลปากร เขต 3 ได้เข้าพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทำการศึกษาเพื่อทำประวัติวัดแห่งนี้แล้วครับ เพื่อให้บทความมีเนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผมจึงได้ติดต่อ ดร.ฉันทัส เพียรธรรม อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อการสันนิษฐานรูปแบบศิลปกรรมของวัดแห่งนี้ ซึ่งอาจารย์ได้เดินทางไปยังสถานที่จริงและสเก็ตภาพสันนิษฐานให้ไว้ด้วยครับ ข้อสันนิษฐาน โดย ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ดร.ฉันทัส ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับศิลปกรรมไว้ดังนี้ วัดท่ายักษ์หรือวัดพยัคฆ์เหลือสิ่งก่อสร้างที่เป็นห้องมณฑปก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ​โดย​มี​ร่องรอยการต่อเติมเป็นทางเดินซุ้มวงโค้งแต่ว่าทางเดินทั้ง 3 ข้างนั้นพังไปแล้วทำให้เหลือแต่แกนมณฑป​ ด้านบนของมณฑกมีร่องรอยการต่อยอดเป็นเครื่อง​บนไม่ทราบว่าด้านบนนั้นจะมียอดเป็นอย่างไรแต่ว่ามีชุดฐานที่ปรากฏว่าพยายามจะต่อเป็นเครื่องบนแน่นอน ภายในมณฑป ปรากฏพระพุทธรูปยืนเป็นแบบยกพระหัตถ์​เป็นปางประทานอภัย สิ่ง​ก่อสร้างที่เหลืออยู่นี้ต้องบอกว่ามีลักษณะที่แปลก ไม่ปรากฏในวัดอื่นเลยทั้งในพระนครศรีอยุธยาหรือว่าเมืองสำคัญ​… Read More »