เที่ยววัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี ไหว้หลวงพ่อโต ชมบ้านขุนช้าง

By | September 20, 2015


https://youtu.be/oKf890Irm_U

กลับมาพบกันอีกครั้งกับภารกิจเที่ยววัด วันนี้ผมจะพาเดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดสุพรรณบุรีกันบ้าง และวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรีก็คงหนีไม่พ้น “วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร” อย่างแน่นอน

“วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร” ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ถ้าผ่านมาที่สุพรรณบุรี จะต้องผ่านวัดป่าเลไลยก์แน่นอน … ที่วัดแห่งนี้จะประดิษฐานหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์องค์ขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพศรัทธาของคนในจังหวัดและทั่วประเทศ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและทำบุญที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี

เมื่อผมมีโอกาสผ่านมาที่นี่ จึงต้องแวะท่องเที่ยวและกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการเดินทางครั้งนี้

บริเวณพื้นที่จอดรถ

บริเวณพื้นที่จอดรถ

เมื่อเดินทางมาถึงก็หาพื้นที่จอดรถกันก่อน ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ … ในวันที่ผมเดินทางไปถึง จะเห็นพระอุโบสถหลังใหม่กำลังทำการก่อสร้างอยู่นะครับ มีขนาดใหญ่กว่าพระอุโบสถหลังเดิมมากเลยทีเดียว

ด้านหน้าพระวิหารหลวงพ่อโต

ด้านหน้าพระวิหารหลวงพ่อโต

พระวิหารหลวงพ่อโต จะเดินมาทางฝั่งขวานะครับ

องค์ต้นแบบหลวงพ่ออู่ทอง

องค์ต้นแบบหลวงพ่ออู่ทอง

ด้านหน้าพระวิหารจะประดิษฐาน องค์พระต้นแบบหลวงพ่ออู่ทอง ที่จะทำการสลักบนหน้าผาเขาทำเทียม อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

ด้านหน้าวิหารหลวงพ่อโต

ด้านหน้าวิหารหลวงพ่อโต

พื้นที่ด้านหน้าวิหารหลวงพ่อโต จะเป็นสถานที่ให้จุดธูปเทียนบูชา และทำการปิดทองพระองค์จำลองหลวงพ่อโต

บรรยากาศความศรัทธา

บรรยากาศความศรัทธา

เราจะเห็นผู้คนเดินทางมาทำการกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อโตอย่างต่อเนื่องเลยครับ เป็นการยืนยันได้ว่า สถานที่แห่งนี้ได้รับความศรัทธา และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทำบุญมากมายจริงๆ

วิหารหลวงพ่อโต

วิหารหลวงพ่อโต

หลังจากที่ทำการจุดธูปเทียนบูชาด้านนอกพระวิหารกันแล้ว ผู้มีจิตศรัทธาก็จะเดินเข้าไปยังพระวิหาร เพื่อกราบไหว้องค์หลวงพ่อโต องค์จริงด้านใน

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโต

จุดถวายปัจจัย

จุดถวายปัจจัย

วัตถุมงคลและของที่ระลึกของวัด

วัตถุมงคลและของที่ระลึกของวัด

บ้านขุนช้าง

บ้านขุนช้าง

เนื่องจากว่าวัดป่าเลไลยก์ มีปรากฏชื่อในวรรณคดี “ขุนช้างขุนแผน” โดยขุนแผนเมื่อยังวัยเยาว์ได้บวชเรียนอยู่ที่วัดแห่งนี้ ชื่อว่าเณรแก้ว สำหรับในเสภาบางตอนที่เกี่ยวกับวัดนี้ตอนหนึ่งดังนี้

“ทีนี้จะกล่าวเรื่องเมืองสุพรรณ  ยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้า
จะทำบุญให้ทานการศรัทธา  ต่างมาที่วัดป่าเลไลยก์

หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัด  ขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่
ก่อพระเจดีย์ทรายเรี่ยรายไป  จะเลี้ยงพระกะไว้ในพรุ่งนี้

นิมนต์สงฆ์สวดมนต์เวลาบ่าย  ต่างฉลองพระทรายอยู่อึงมี่
แล้วกลับบ้านเตรียมการเลี้ยงเจ้าชี  ปิ้งจี่สารพัดจัดแจงไว้

ทำน้ำยาแกงขมต้มแกง  ผ่าฟักจักแฟงพะแนงไก่
บ้างทำห่อหมกปกปิดไว้  ต้มไข่ผัดปลาแห้งทั้งแกงบวน

บ้างก็ทำวุ้นชาสาคู  ข้าวเหนียวหน้าหมูไว้ถี่ถ้วน
หน้าเตียงเรียงเล็ดข้าวเม่ากวน  ของสวนส้มสูกทั้งลูกไม้”

ด้วยเหตุนี้ภายในวัดจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับวรรณคดีนี้ นั่นก็คือบ้านขุนช้าง

อนุสาวรีย์ครูสุรพล สมบัติเจริญ

อนุสาวรีย์ครูสุรพล สมบัติเจริญ

ด้านหน้าทางเข้าบ้านขุนช้าง จะมีอนุสาวรีย์ครูสุรพล สมบัติเจริญอยู่ด้วย

บ้านขุนช้าง

บ้านขุนช้าง

หลวงพ่อทันใจที่บ้านขุนช้าง

หลวงพ่อทันใจที่บ้านขุนช้าง

หลวงพ่อทันใจ

หลวงพ่อทันใจ

บ้านขุนช้างจะเป็นบ้านไม้เรือนไทยสวยงามครับ ประดิษฐานหลวงพ่อทันใจ และจัดพิพิธภัณฑ์ไว้ด้านบนด้วย

พิพิธภัณฑ์ บ้านขุนช้าง

พิพิธภัณฑ์ บ้านขุนช้าง

พิพิธภัณฑ์บ้านขุนช้าง

พิพิธภัณฑ์บ้านขุนช้าง

มณฑปหลวงพ่อถิร

มณฑปหลวงพ่อถิร

ตรงข้ามกับบ้านขุนช้าง จะเป็นมณฑปหลวงพ่อถิร ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร รูปที่ 4 ซึ่งท่านได้มรณภาพไปเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งสังขารของท่านยังเก็บรักษาไว้ในโลงที่มณฑปแห่งนี้

โลงบรรจุสังขารหลวงพ่อถิร

โลงบรรจุสังขารหลวงพ่อถิร

วังมัจฉา

วังมัจฉา

ถัดจากมณฑปหลวงพ่อถิร จะเป็นวังมัจฉา สามารถให้อาหารปลากันได้

วังมัจฉา

วังมัจฉา

สภาพน้ำ ผมมองดูแล้วไม่ค่อยใสเลยครับ ก็เลยไม่ได้ให้อาหารปลา … ณ จุดตรงนี้ ก็เป็นจุดสุดท้ายที่ผมเดินทางมาท่องเที่ยวที่วัดป่าเลไลยก์

เรื่องราวประวัติวัดป่าเลไลยก์

ชื่อวัดปรากฏในพงศาวดารเหนือ ว่า พระเจ้ากาแต เชื้อสายมอญได้เสวยราชย์ในเมืองอู่ทอง แล้วย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่เมืองพันธุมบุรี ได้มอบหมายให้มอญน้อย (พระญาติ) สร้างวัดสนามไชยและบูรณะวัดลานมะขวิด (วัดป่าเลไลยก์) เมื่อ พ.ศ. 1724

สำหรับการสร้างขึ้นเมื่อไหร่นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากการสันนิษฐานตามโบราณวัตถุของวัด ประมาณอายุตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงช่วงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา จึงน่าจะมีอายุระหว่าง 650 – 1,300 ปี

แต่เดิมองค์พระเป็นพระพุทธรูปนั่งกลางแจ้ง พระหัตถ์ขวา ได้หักไป จึงได้มีการบูรณะองค์พระและสร้างวิหารขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

 

ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด

ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108

หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory

ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด

เว็บไซต์หลัก www.faiththaistory.com