วัดขุนตานาค อำเภออุทัย วัดร้างนอกเกาะเมืองอยุธยา ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแล

By | February 8, 2015

วัดขุนตานาค อำเภออุทัย วัดร้างนอกเกาะเมืองอยุธยา ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแล

https://youtu.be/VUXi5oskhcg

วัดขุนตานาค อำเภออุทัย วัดร้างนอกเกาะเมืองอยุธยา ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแล

สวัสดีครับ ครั้งนี้ผมมีโอกาสอีกครั้งที่จะเดินทางไปสำรวจพื้นที่วัดร้างอีก 1 แห่ง ซึ่งข้อมูลนี้ผมได้ทราบจากน้องท่านหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากข้อมูลเบื้องต้นนั้นจะต้องข้ามคลองเข้าไปยังพื้นที่วัด ถ้าจะเดินกันเข้ามาก็คงจะลำบากเพราะไม่ทราบว่าจะต้องเดินเข้ามาจากทางไหน เพราะโดยรอบพื้นที่นั้นล้อมรอบไปด้วยพื้นที่นาของชาวบ้าน และที่สำคัญคือช่วงที่ผมเดินทางไปนั้น เป็นช่วงที่กำลังสูบน้ำเข้านากันด้วย เพราะฉะนั้นแล้วทางสะดวกที่สุดคือนั่งเรือข้ามคลองนี่แหละครับ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของพื้นที่นี้คือ ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการพยายามที่จะบูรณะสถานที่แห่งนี้ขึ้นมา ไม่ได้ล่วงล้ำพื้นที่เขตที่เป็นสถานที่ตั้งวัดเดิม อีกทั้งได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างพระพุทธรูป โดยการพอกปูนทับเศษซากพระพุทธรูปเดิมขึ้นมาอีกครั้ง เป็นสิ่งที่ดีและน่าภูมิใจมากๆเลยครับ ที่ชาวบ้านมีน้ำใจกันขนาดนี้

พื้นที่วัดขุนตานาค เป็นวัดร้าง ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางจะผ่านสถานีตำรวจภูธรอุทัย และผ่านโรงเรียนอุทัย เข้ามาเล็กน้อย เส้นทางเล็กๆ ถ้าเดินทางด้วยจักรยานยนต์จะสะดวกกว่า แต่ทั้งนี้ถ้าจะลุยเดี่ยวไปคนเดียวผมไม่ขอแนะนำนะครับ เพราะว่าสุนัขเจ้าถิ่นเยอะเหลือเกิน ซึ่งมีจำนวนมากตลอดเส้นทางเลยครับ เป็นสุนัขของชาวบ้านนั่นแหละครับ คอยเห่าหอนได้ตลอดเวลา และเห่าหอนไม่หยุดซะด้วยสิครับ นอกจากเรื่องสุนัขแล้ว จะต้องนั่งเรือข้ามคลอง ถ้าไม่รู้จักชาวบ้านแถวนั้นก็ไปลำบากแล้วหล่ะครับ เพราะต้องอาศัยเรือของคนพื้นที่

ครั้งนี้ผมก็มากับน้องที่รู้จัก โดยมีเพื่อนในพื้นที่อาสาพาไปด้วย เลยเป็นโอกาสที่ดีครับ เรานัดกันเวลาประมาณ 7 โมงครึ่ง มาเจอกันที่ สน.อุทัย และก็ตรงเวลาเป๊ะครับ

พื้นที่บ้านของผู้ที่จะพาเดินทาง

พื้นที่บ้านของผู้ที่จะพาเดินทาง

พื้นที่เกษตรกรรมของคนในพื้นที่

พื้นที่เกษตรกรรมของคนในพื้นที่

เราเดินทางมาถึงและก็เดินทางเข้ามาหาผู้นำทาง บรรยากาศในพื้นที่ช่วงนี้เย็นๆสบายดีมากครับ และโดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน ดูสงบดีจริงๆ

พื้นที่วัดล้อมรอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรม

พื้นที่วัดล้อมรอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรม

จากนั้นเราก็เดินทางไปยังพื้นที่เป้าหมายของเราเลยครับ สำหรับประวัติเบื้องต้นนั้น ไม่ทราบเลยครับ คงจะเป็นพื้นที่วัดราษฏร์ทั่วไป ที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วหล่ะครับ

พี่ที่นำทาง เป็นธุระในการพายเรือข้ามให้ครับ

พี่ที่นำทาง เป็นธุระในการพายเรือข้ามให้ครับ

ต้องข้ามคลองไป

ต้องข้ามคลองไป

ผมข้ามฝั่งมาเป็นคนแรก โดยมีพี่ซึ่งเป็นคนในพื้นที่นำทางและพายเรือข้ามฟากให้ ผมรู้จักพี่เขาวันแรก แต่อัธยาศัยดีมากๆ ผมนี่เกรงใจมากเลยครับ

พระพุทธรูปที่ชาวบ้านช่วยกันบูรณะขึ้น

พระพุทธรูปที่ชาวบ้านช่วยกันบูรณะขึ้น

สิ่งที่เราจะเห็นเป็นจุดหลักๆกันก่อนก็คือ พระพุทธรูปที่ชาวบ้านช่วยกันบูรณะขึ้นใหม่ ประดิษฐานที่บริเวณหน้าพระเจดีย์โบราณ โดยพระพุทธรูปทั้งหมดนั้น จะมีเศษซากพระพุทธรูปเดิมเป็นโครงด้านในและได้พอกอิฐและปูนเสริมให้เป็นรูปร่างขึ้นมา

ชาวบ้านในพื้นที่เล่าให้ฟังว่า พระพุทธรูปสีทองนั้นจะมีเพียงส่วนลำตัวแต่ส่วนเศียรนั้นหายไป ส่วนองค์อื่นๆจะเหลือเพียงเศษฐานและหน้าตักเท่านั้น

พระพุทธรูปที่วัดขุนตานาค

พระพุทธรูปที่วัดขุนตานาค

พระพุทธรูปประธาน

พระพุทธรูปประธาน

ฐานและหน้าตักพระพุทธรูปเนื้อเดิม

ฐานและหน้าตักพระพุทธรูปเนื้อเดิม

รูปด้านบนจะเป็นเนื้อพระพุทธรูปเนื้อเดิมๆ ที่ยังหลงเหลือและชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณะพอกปูนเพิ่มให้เป็นรูปร่างและประดิษฐานไว้ที่นี่

สิ่งที่น่าดีใจและภูมิใจคือ ชาวบ้านที่นี่ดูเป็นมิตรอย่างมากเลยครับ พอเห็นพวกผมเดินทางมายังพื้นที่ ก็คอยมาอธิบายเรื่องราวที่บอกเล่าต่อๆกันมา อีกทั้งช่วยกันพยาบามบูรณะพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย

เกษตรกรในพื้นที่

เกษตรกรในพื้นที่

เกษตรกรในพื้นที่มีอัธยาศัยดีมากๆครับ

รูปปั้นขุนตานาค สร้างขึ้นใหม่

รูปปั้นขุนตานาค สร้างขึ้นใหม่

นอกจากพระพุทธรูปที่ได้บูรณะกันขึ้นมาแล้ว ยังมีรูปปั้นขุนตานาค ที่ชาวบ้านได้อาศัยจินตนาการในการสร้างรูปปั้นนี้ขึ้นมา

หลังพระเจดีย์

หลังพระเจดีย์

ช่องที่ถูกเจาะของพระเจดีย์

ช่องที่ถูกเจาะของพระเจดีย์

ภายในโพรงของพระเจดีย์ที่ถูกเจาะ

ภายในโพรงของพระเจดีย์ที่ถูกเจาะ

ช่องเจดีย์ที่ถูกเจาะลงไปนั้น เกิดจากฝีมือของนักล่าสมบัติในอดีต ที่ได้ขุดเจาะลงไปหาสมบัติและพระเครื่องต่างๆ เป็นช่องโพรงมองเห็นถึงภายในเลยครับ

เรื่องราวอาถรรพ์ ที่เล่าสืบต่อกันมาที่วัดขุนตานาค

สำหรับเรื่องราวความอาถรรพ์ ที่เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมานั้น ชาวบ้านเล่าให้ผมฟังว่า ประมาณ 40 ปีก่อนได้มีชาย 2 คน ได้เข้ามาแอบขุดเจาะพระเจดีย์แห่งนี้เพื่อค้นหาสมบัติและพระเครื่องต่างๆ และได้เกิดอาถรรพ์ขึ้นมาคือ เสียชีวิตบริเวณปากทางพระเจดีย์ 1 คน และอีกคนไปเสียชีวิตที่บริเวณต้นไม้ใหญ่ห่างออกไปประมาณ 100 เมตร ซึ่งชาวบ้านก็กล่าวขานกันไปว่าเป็นเรื่องอาถรรพ์ ที่เข้ามาลักลอบหาสมบัติดังกล่าว

นอกจากนั้นยังได้เล่าเหตุการณ์ตรงของตนเองให้ฟังอีกว่า วันหนึ่งได้เดินทางเข้ามาเพื่อปรับปรุงพื้นที่และทำเกษตรกรรม ได้มองเห็นคนนอนอยู่บนพระเจดีย์และมองลงมา และก็หายไป ผมได้ฟังนี่ก็ขนลุกเบาๆเลยครับ นี่ขนาดกลางวันยังเจอกับเรื่องหลอนๆแบบนี้ ถ้าเป็นกลางคืนคงไม่ต้องพูดถึงหล่ะครับ

พื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน

พื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน

พื้นผิวพระเจดีย์

พื้นผิวพระเจดีย์

พื้นผิวอิฐของพระเจดีย์

พื้นผิวอิฐของพระเจดีย์

พระพุทธรูปที่ชาวบ้านนำมาวางไว้บนพระเจดีย์

พระพุทธรูปที่ชาวบ้านนำมาวางไว้บนพระเจดีย์

ฐานพระเจดีย์

ฐานพระเจดีย์

บริเวณฐานพระเจดีย์จะมองเห็นเป็นเหลี่ยมอยู่ด้านหนึ่ง ถ้าลองมองไปให้รอบๆ น่าจะมีทรงเป็นแปดเหลี่ยม

เศษอิฐเก่าในพื้นที่

เศษอิฐเก่าในพื้นที่

เศษซากหักพังของเครื่องใช้โบราณ และกระเบื้อง

เศษซากหักพังของเครื่องใช้โบราณ และกระเบื้อง

ผมได้เดินดูพื้นที่โดยรอบไปตามคันนา ก็จะพบเศษอิฐต่างๆโดยรอบสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเศษสิ่งปลูกสร้างและกำแพงวัด สำหรับการเดินทางมาครั้งนี้ก็ได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้านอีกแบบหนึ่งที่เต็มไปด้วยไมตรีจิตอันดี และพร้อมที่จะบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ให้ดียิ่งขึ้น ส่วนการต้อนรับต้องบอกเลยครับว่าต้อนรับได้ดีมากจริงๆ จนผมเกรงใจ อีกทั้งก่อนกลับก็ยังรีบทำอาหารมาเลี้ยงผมอีก รสชาติแสนอร่อย อิ่มพุงไปเลยครับ

พี่ที่นำทางทำอาหารเลี้ยงก่อนกลับ

พี่ที่นำทางทำอาหารเลี้ยงก่อนกลับ

ขอบขอบคุณเพื่อนร่วมทาง ผู้นำทาง และเกษตรกรในพื้นที่

ขอบขอบคุณเพื่อนร่วมทาง ผู้นำทาง และเกษตรกรในพื้นที่

เนื่องจากชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือในการบูรณะสถานที่เป็นอย่างดี ในใจผมก็หวังว่าในอนาคตทางกรมศิลปากรจะเข้ามาสำรวจพื้นที่แห่งนี้ และได้รับการบูรณะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของวัดขุนตานาค

ผมพยายามค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของวัดแห่งนี้ แต่ก็ไม่พบหลักฐานใดๆปรากฏอยู่ น่าจะเป็นวัดราษฎร์โบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อลองศึกษาเส้นทางเดินทัพของพระยาตากเมื่อปี พ.ศ. 2309 ก็พบว่ามีเส้นทางใกล้เคียงกับเส้นทางเดินทัพนี้

เส้นทางเดินทัพพระยาตาก

เส้นทางเดินทัพพระยาตาก

จากแผนที่เส้นทางเดินทัพพระยาตาก จะผ่านบริเวณที่ว่าการอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับที่ตั้งของวัดขุนตานาค (ดูเส้นทางตามเส้นเดินทัพสีน้ำเงิน)

ไปดูสถานที่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

https://youtu.be/EY3iFqfxt8E

ภาพบรรยากาศการเดินทางไปดูสถานที่ครั้งที่ 2

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_1

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_2

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_3

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_4

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_5

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_6

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_7

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_9

วัดขุนตานาค_วัดร้าง_อยุธยา_8

ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด

ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108

หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory

ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด