พุทธอุทยานมหาราช หลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

พุทธอุทยานมหาราช หลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ กิโลเมตรที่ 44 ถนนสายเอเชีย เลขที่ 115 หมู่ที่ 4 ต.บ้านใหม่ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา ผมได้มีโอกาสเดินทางผ่านมาที่นี่ โดยได้สังเกตเห็นองค์หลวงพ่อทวดมาแต่ไกล จึงได้แวะเข้าไปเที่ยวชมพื้นที่ จุดเด่นสำคัญก็คงหนีไม่พ้นหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ ซึ่งมีหน้าตักขนาด 24 เมตร สูง 51 เมตร เมื่อเข้ามาถึงบริเวณก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่ร่มรื่นพอสมควร แต่พื้นที่โดยรอบยังมีการขุดสระ และกำลังสร้างวัดวชิรธรรมาราม จากข้อมูลโครงการมาจากแนวคิดเพื่อให้เป็นประโยชน์และความสุขต่อสาธารณะ ความเป็นมาของโครงการพุทธอุทยานมหาราช โครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่รอยต่ออำเภอบางปะหันและอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อเนื่องกับอำเภอป่าโมก อำเภอเมือง ของจังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงได้ตั้งชื่อโครงการเป็น “พุทธอุทยานมหาราช” เพื่อความเป็นสิริมงคลจากคงามตั้งใจของ นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ ประธานมูลนิธิพระเทวราชโพธิสัตว์ ร่วมกับคณะสงฆ์ได้มีแนวคิดที่จะดำเนินโครงการให้สำเร็จ จึงได้ทำการซื้อที่ดินจำนวน 200 ไร่ และได้หารือคณะสงห์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต วัดบวรนิเวศและสมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส เลขาธิการคณะสงห์ธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม ตลอดจนพระเถระผู้ใหญ่หลายรูป และก็ได้เห็นชอบที่จะทำการสร้างวัดขึ้นใหม่ และโรงเรียนในพื้นที่เดียวกัน ทางคณะสงฆ์ยังได้มีความตั้งใจว่าจะให้เป็นโครงกางการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ปัจจุบันนี้ได้ตั้งเป็นวัดแล้วชือ “วัดวชิรธรรมาราม” โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าอาวาสรูปแรก เรามาเริ่มเดินทางไปท่องเที่ยวสถานที่จริงกันเลยครับ สิ่งที่จะสังเกตได้ง่ายๆ เราจะเห็นป้ายหลักกิโลเมตรขนาดใหญ่สีเหลืองด้านซ้ายมือ ถ้าเดินทางมาจาก กรุงเทพฯ เมื่อเข้ามาด้านในพื้นที่อุทยาน จะมีสถานที่จอดรถมากมายกว้างขวาง… Read More »

วัดโค วัดกระบือ วัดเผาข้าว วัดโบราณที่หายสาบสูญไปจากแผนที่พระนครศรีอยุธยา

ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือที่ดีมากๆ ชื่อ “อยุธยา ที่ไม่คุ้นเคย” ของปวัตร์ นวะมะรัตน ได้กล่าวถึงวัดที่หายสาบสูญไปแล้ว คือ วัดโค วัดกระบือ และวัดเผาข้าว ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน วัดโคและวัดกระบือ จะตั้งอยู่ในเกาะเมืองโดยจะอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีถนนโรจนะกั้นกลาง (ในอดีตเรียกว่า ถนนอิฐ) วัดเผาข้าวจะอยู่ถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งจะตั้งริมคลองมะขามเรียง จากหนังสืออยุธยาที่ไม่คุ้นเคย ได้กล่าวว่า ทั้ง 3 วัดนี้ปรากฏชื่ออยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสงครามเสียกรุงครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 พระมหาเทพตั้งค่ายกันข้าศึกอยู่นอกกรุง ถูกกองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระมหาอุปราชตีแตก จนถอยร่นมาตั้งรับที่หน้าวัดโคและวัดกระบือ แต่เมื่อข้าศึกตามมาก็ตีแตกจนถอยไปตั้งรับที่วัดเผาข้าวแต่ก็ไม่สามารถต้านได้อยู่จนแตกทัพไป จากรูปแผนที่จะมีถนนอิฐคั้นกลางระหว่างวัดโคและวัดกระบือ ปัจจุบันถนนอิฐถูกเรียกชื่อเป็นถนนโรจนะ แผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ พ.ศ. 2469 ได้ระบุตำแหน่งวัดโค วัดกระบือ และวัดเผาข้าวไว้อย่างชัดเจน และ น. ณ ปากน้ำ ก็เคยมาสำรวจที่บริเวณนี้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 บันทึกไว้ว่า “วัดโค วัดกระบือ เหลือแต่โคกอิฐ” และในพงศาวดารภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่าได้เขียนไว้ว่า ถนนย่านป่าทุ่ง วัดโค วัดกระบือต่อกัน แต่ก่อนโบราณมีพวกมอญ แลพม่า แขก ฆ่าเป็ดไก่ขายในตลาดนั้นชุกชุม ปัจจุบันวัดทั้ง 3 ได้หายสาบสูญไปจากแผนที่แล้ว มีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆสร้างขึ้นแทนทั้งหมด โดยวัดโคจะเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยา  วัดกระบือเป็นที่ตั้งของตึกพาณิชย์และโรงแรม… Read More »

แผนที่ภูมิสถานอยุธยา รวมวัดร้างจากโครงการประวัติศาสตร์ไทย สังเขป ฉบับมติชน

แผนที่ภูมิสถานอยุธยา รวมวัดร้างจากโครงการประวัติศาสตร์ไทย สังเขป ฉบับมติชน… เนื่องจากผมเองได้เริ่มสนใจเดินทางท่องเที่ยวตามวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นวัดร้าง วัดที่มีพระจำพรรษา หรือวัดที่หายสาบสูญไปจากแผนที่แล้ว ทุกครั้งที่ผมได้ออกเดินทางสำรวจและท่องเที่ยว จะรู้สึกถึงบรรยากาศแบบคลาสสิคดีมากเลยครับ แม้อากาศบางช่วงจะร้อน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับผมเลย แต่อุปสรรคสำคัญของผมก็คือ ต้องเผชิญหน้ากับเจ้าถิ่น (สุนัขทั้งหลาย) เนื่องจากบางสถานที่เป็นจุดที่ผู้คนไม่ค่อยจะรู้จักกันนัก ทำให้สภาพพื้นที่ไม่ค่อยจะได้รับการดูแล ทำให้เจ้าถิ่นครอบครองพื้นที่กันอย่างสบายใจ สถานที่โบราณในพระนครศรีอยุธยาหรือกรุงเก่าในอดีตมีมากมาย และหนาแน่นมากๆ ซึ่งผมได้ค้นหาแผนที่เพื่อใช้ประกอบในการเดินทางจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แผนที่ดังกล่าวจะบอกจุดหลักๆสำคัญที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในอดีตอยุธยาจะมีวัดหนาแน่นมาก แม้กระทั่ง 2 ฟากฝั่งคลองก็ยังเป็นวัด เดินห่างกันไปเล็กน้อยก็เจอกับวัด ฝั่งถนนทั้งสองฟากก็มีวัดมากมาย เรียงกันเป็นแถวเป็นแนว ชี้ให้เห็นว่าชีวิตของคนไทยมีความผูกพันกับวัดและพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก การเดินทางเข้าวัดทำบุญของผู้คนในอดีตคงจะเป็นเรื่องปกติ การเดินทางเพื่อท่องเที่ยวและสำรวจของผมเอง จะมีคู่มือประกอบทุกครั้ง เพื่อให้มีข้อมูลในการท่องเที่ยวได้อย่างลึกซึ้งขึ้นมาบ้าง นอกจากหนังสือคู่มือต่างๆแล้ว สิ่งที่ผมจะขาดไม่ได้ก็คือแผนที่เดินทาง ในเรื่องของแผนที่ ตัวผมเองต้องการแผนที่ ที่มีรายละเอียดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่โบราณที่ร้างผู้คน หรือสถานที่โบราณที่หายสาบสูญไปแล้วจากแผนที่ ผมได้ลองค้นหาตามร้านหนังสือเก่าแต่ก็ยังหาไม่ได้ สงสัยคงจะต้องไปหอสมุดแห่งชาติกันแล้วแหละครับ หนังสือแผนที่โบราณ ที่ผมคิดว่าน่าจะดีมากๆก็คือ “อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์”  และพงศาวดารต่างๆ แต่ผมก็หาได้เพียงบางเล่ม จากความพยายามหาแผนที่อยุธยาให้สนองความต้องการของตนเองให้ได้ก็ได้มาเจอกับ “แผนที่ภูมิสถานอยุธยา” จากโครงการประวัติศาสตร์ไทย สังเขป ฉบับมติชน ซึ่งจัดทำเพื่อขยายและเพิ่มข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ จากหนังสือ ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับเก่า “สร้าง” ฉบับใหม่ ของ ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ และขณะนี้ทางโครงการฯได้จัดทำแผนที่ภูมิสถานอยุธยา ขึ้นจากข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์สำคัญฉบับต่างๆ เช่น คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม :… Read More »

วัดหอระฆัง วัดร้างโบราณ ริมคลองมะขามเรียง พระนครศรีอยุธยา

https://youtu.be/tMfGbZYR3EA ผมได้หาโอกาสเดินทางมาสำรวจพื้นที่และท่องเที่ยวที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาอีกครั้ง และได้ค้นหาข้อมูลวัดโบราณและวัดร้างมาบางส่วน ก็ได้เจอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดหอระฆัง จากข้อมูลแต่เดิมนั้น จะมองเห็นแต่เพียงสิ่งก่อสร้างก็คือหอระฆังที่โดดเด่นอยู่เท่านั้น ต่อมาทางกรมศิลปากรได้ทำการขุดพื้นที่และสำรวจในปี พ.ศ. 2540 พบว่ามีตัวอาคาร และชิ้นส่วนพระพุทธรูปมากมายด้านหลังของหอระฆังนี้ จากการขุดสำรวจพบว่า วัดหอระฆังจะตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก  โดยหอระฆังจะอยู่ทิศตะวันออก มีคลองมะขามเรียงผ่านหน้าวัด ในอดีตจะเรียกชื่อว่าคลองนายก่าย และเพี้ยนมาเป็นในไก่ และมาเปลี่ยนเป็นคลองมะขามเรียงในปัจจุบันนี้ เดินทางตามรอยกันเลยครับ การเดินทาง ถือว่ามาง่ายและสะดวกครับ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้ข้ามสะพานสะพานปรีดี-ธำรง  เจอกับสี่แยกไฟแดงแรก ให้เลี้ยวขวาได้เลยครับ แล้วตรงไปอีก 50 เมตรก็จะเห็นหอระฆังตั้งตระง่านอยู่ข้างทางด้านซ้าย แล้วก็เข้าชมพื้นที่ได้เลยครับ วันนี้ผมเดินทางด้วยมอเตอร์ไซด์ เลยสะดวกขึ้นเยอะแวะข้างทางถ่ายรูปกันได้ แต่ต้องระวังอุบัติเหตุให้มากๆ เนื่องจากในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยามีจุดที่เป็นวงเวียนหลายจุด เวลาขับรถเหมือนจะวัดใจว่าใครจะไปด้านหน้าหรือเลี้ยว ยิ่งเราขับมอเตอร์ไซด์ก็อาจจะเสียจังหวะได้ง่ายๆ ต้องระวังครับ ส่วนท่านที่ไม่นิยมขับมอเตอร์ไซด์ ก็จะมีเรื่องลำบากก็คือหาที่จอดลำบากในบางพื้นที่ สรุปเลยนะครับ เดี๋ยวจะสับสนกันซะก่อน คลองในไก่ ก็คือคลองเดียวกันกับคลองมะขามเรียงนั่นแหละครับ อีกประมาณ 50 เมตร จากทางแยกไฟแดงก็จะถึงวัดหอระฆังแล้วหล่ะครับ อยู่ริมถนนซ้ายมือ คลองมะขามเรียงจะวางตัวในแนวทิศเหนือและใต้ของเกาะเมืองอยุธยา ในอดีตบริเวณนี้เป็นย่านการค้าสำคัญในสมัยอยุธยา รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของหอระฆังมีการเจาะช่องโค้งรูปกลีบบัว เป็นรูปแบบที่นิยมกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงสันนิษฐานกันว่าวัดหอระฆังแห่งนี้สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซุ้มโค้งรูปกลีบบัวทะลุถึงกันแนวทิศตะวันออกและตะวันตก ผนังชั้นบนเจาะเป็นรูปโค้งกลีบบัวทั้งสี่ด้าน ชั้นบนเป็นที่แขวนระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นยอดทรงปราสาทที่ชำรุดทรุดโทรมไปแล้ว วัดหอระฆังนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดใครเป็นผู้สร้าง สำนักโบราณคดี กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60 ตอนที่ 39 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2486 หลังหอระฆังจะเป็นตัวพระวิหาร อาคารก่ออิฐถือปูนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า… Read More »

กรุสมบัติ วัดราชบูรณะ อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก อยุธยา

>> อ่านเรื่องราวการเดินทางไปยังสถานที่จริง กรุสมบัติ วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยาที่นี่ !! << >>> อ่านบทความวัดราชบูรณะ และวัดเจ้าชาย (วัดกระซ้าย) วัดเฮี้ยนติดอันดับ 8 เอเชีย ที่นี่ <<< !!! กรุสมบัติ วัดราชบูรณะ อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก อยุธยา ผมได้ค้นเจอคลิปวีดีโอจาก youtube เกี่ยวกับกรุสมบัติวัดราชบูรณะ  อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก พระนครศรีอยุธยา คลิปวีดีโอนี้มีความยาวเพียงไม่ถึง 10 นาที แต่เนื้อหาดีมากเลยครับ อยากให้ได้ชมกัน รายละเอียดคร่าวๆได้กล่าวไว้ว่า ในฤดูฝน ปี พ.ศ. 2499 ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ทำการขุดกรุวัดมหาธาตุ ซึ่งมีความลึกกว่า 17 เมตร ได้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ และเครื่องทองอันล้ำค่ามากมาย ทำให้เป็นข่าวโด่งดัง จนเกิดกระแสตื่นทอง และในปี พ.ศ. 2500 ได้มีโจรประมาณ 10 – 20 คน ได้ร่วมกันเข้าลักลอบขุดกรุวัดราชบูรณะ ได้เครื่องทองล้ำค่าไปมากมาย และอีก 2 วันต่อมาทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมคนร้ายได้ 2 คน ได้คืนเครื่องทองมาเพียงบางส่วน  จากการสันนิษฐานคาดว่าคนร้ายจะได้เครื่องทองไปกว่า 75 กิโลกรัม  ฝ่ายเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจึงได้เร่งทำการขุดกรุอย่างละเอียดอีกครั้ง  รายละเอียดเป็นเช่นไรให้ชมได้จากวีดีโอเลยครับ เครื่องทองที่ถูกค้นพบและได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้ 1. กลุ่มพระพุทธรูปและพระพิมพ์ 2. กลุ่มเครื่องราชกกุธภัณฑ์… Read More »

เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา

เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา … ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมได้มีโอกาสเดินทางมาวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานประวัติศาสตร์ วัดแห่งนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  วัดมหาธาตุตั้งอยู่ในเขตเกาะเมือง ทำให้การเดินทางสะดวกและเป็นที่คุ้นเคยของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั่วไป สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) โปรดเกล้าให้สถาปนาวัดมหาธาตุในปี พ.ศ. 1917 แต่การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร (ปี พ.ศ.1931 – 1938) จากหนังสือโบราณคดีห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา โดย น. ณ ปากน้ำ ได้สันนิษฐานว่า วัดมหาธาตุอาจจะตั้งมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะภายในวัดพบพระพุทธรูปหินในสมัยลพบุรี และพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท (พระคันธารราฐ) ซึ่งเป็นศิลปะในสมัยทวารวดี มีอายุมากกว่า 1,500 ปี (ปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดหน้าพระเมรุ) ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์ประธานเคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกำลังทหารไปช่วยกันสร้างยอดพระปรางค์ด้วยไม้สักชั้นเยี่ยมและได้สถาปนาให้เป็นพระปรางค์ประจำชาติ และในที่สุด พระปรางค์วัดมหาธาตุก็ยังคงอยู่ที่นั้นตลอดไป การก่อสร้างวัดจะเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้น คือจะมีลักษณะให้ความสำคัญต่อพระวิหารมากกว่าพระอุโบสถ จะสร้างพระวิหารไว้ด้านหน้า ถัดมาจะเป็นพระปรางค์ประธาน และพระอุโบสถจะอยู่หลังสุดและมีขนาดที่เล็กกว่า วัดมหาธาตุจะมีความสำคัญอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีและใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ต่อมาได้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ จึงได้ย้ายไปประกอบพระราชพิธีที่วัดพระศรีสรรเพชญแทน   จุดเด่นสำคัญของวัดมหาธาตุที่นักท่องเที่ยวควรรู้จัก 1. เศียรพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะอยุธยาวางอยู่ในรากโพธิ์ จุดนี้นักท่องเที่ยวจะให้เป็นจุด Landmark ของวัดมหาธาตุเลยครับ… Read More »