เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา

By | June 3, 2014

เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา … ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมได้มีโอกาสเดินทางมาวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานประวัติศาสตร์ วัดแห่งนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  วัดมหาธาตุตั้งอยู่ในเขตเกาะเมือง ทำให้การเดินทางสะดวกและเป็นที่คุ้นเคยของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั่วไป

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) โปรดเกล้าให้สถาปนาวัดมหาธาตุในปี พ.ศ. 1917 แต่การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร (ปี พ.ศ.1931 – 1938)

จากหนังสือโบราณคดีห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา โดย น. ณ ปากน้ำ ได้สันนิษฐานว่า วัดมหาธาตุอาจจะตั้งมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะภายในวัดพบพระพุทธรูปหินในสมัยลพบุรี และพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท (พระคันธารราฐ) ซึ่งเป็นศิลปะในสมัยทวารวดี มีอายุมากกว่า 1,500 ปี (ปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดหน้าพระเมรุ)

รูปแผนผังวัดมหาธาตุในอดีต

รูปแผนผังวัดมหาธาตุในอดีต

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์ประธานเคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกำลังทหารไปช่วยกันสร้างยอดพระปรางค์ด้วยไม้สักชั้นเยี่ยมและได้สถาปนาให้เป็นพระปรางค์ประจำชาติ และในที่สุด พระปรางค์วัดมหาธาตุก็ยังคงอยู่ที่นั้นตลอดไป

การก่อสร้างวัดจะเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้น คือจะมีลักษณะให้ความสำคัญต่อพระวิหารมากกว่าพระอุโบสถ จะสร้างพระวิหารไว้ด้านหน้า ถัดมาจะเป็นพระปรางค์ประธาน และพระอุโบสถจะอยู่หลังสุดและมีขนาดที่เล็กกว่า

วัดมหาธาตุจะมีความสำคัญอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีและใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ต่อมาได้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ จึงได้ย้ายไปประกอบพระราชพิธีที่วัดพระศรีสรรเพชญแทน

 

จุดเด่นสำคัญของวัดมหาธาตุที่นักท่องเที่ยวควรรู้จัก

1. เศียรพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะอยุธยาวางอยู่ในรากโพธิ์ จุดนี้นักท่องเที่ยวจะให้เป็นจุด Landmark ของวัดมหาธาตุเลยครับ จะอยู่บริเวณผนังของวิหารเล็กนะครับ

2. เจดีย์แปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น เป็นเจดีย์ที่แปลกตาและพบได้องค์เดียวในอยุธยา

3. วิหารเล็ก วิหารนี้จะมีรากต้นโพธิ์แผ่เต็มที่ผนังและล้อมเศียรพระพุทธรูปหินทรายไว้ กรมศิลปากรจึงไม่ได้ถอนรากออก

4. พระปรางค์ประธาน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

5. จิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพเรือนแก้วใต้ต้นโพธิ์

6. วิหารหลวง จะอยู่ด้านหน้าของพระปรางค์ประธาน

7. พระอุโบสถ จะตั้งอยู่ด้านหลังหรือทิศตะวันออกของพระปรางค์ประธาน

 

ป้ายหน้าวัดมหาธาตุ

ป้ายหน้าวัดมหาธาตุ

 

บริเวณที่จอดรถ วัดมหาธาตุ

บริเวณที่จอดรถ วัดมหาธาตุ

เราสามารถจอดรถในพื้นที่ที่มีการจัดสรรไว้ให้บริเวณทางเข้า หรือถ้าที่จอดรถเต็มก็จอดเลียบฟุตบาทข้างถนนกันได้ครับ

บริเวณทางเข้าจะมีร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึกและเครื่องดื่ม

บริเวณทางเข้าจะมีร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึกและเครื่องดื่ม

ก่อนที่จะเดินทางเข้าวัดมหาธาตุ ควรเตรียมเครื่องดื่มน้ำเย็นๆ ติดตัวไว้ด้วยนะครับ เพราะพื้นที่วัดมีความกว้างพอสมควร และอากาศอาจจะร้อนด้วย

ห้องน้ำบริการภายในพื้นที่ ค่าบริการ 5 บาท

ห้องน้ำบริการภายในพื้นที่ ค่าบริการ 5 บาท

เข้าห้องน้ำห้องท่าให้เรียบร้อยก่อนเข้าพื้นที่วัด จะดีที่สุด แต่ค่าบริการผมว่าแพงไปนิดนึงตั้ง 5 บาท

คณะทัวร์ที่มาท่องเที่ยว

คณะทัวร์ที่มาท่องเที่ยว

ก่อนเดินทางเข้าไปในพื้นที่วัด ผมก็เห็นกลุ่มทัวร์กลุ่มหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่พอสมควร แสดงว่าวัดนี้เป็นเป้าหมายการท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง

เตรียมข้อมูลสักนิดก่อนเข้าตามรอยสถานที่จริง

เตรียมข้อมูลสักนิดก่อนเข้าตามรอยสถานที่จริง

ทุกครั้งที่ผมจะเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ผมมักจะเตรียมข้อมูลไว้บ้างสักเล็กน้อยเพื่อไม่ให้พลาดในจุดหลักสำคัญๆ หรือไปในจุดที่หลายๆคนที่อาจจะไม่คุ้นเคย เพื่อให้การท่องเที่ยวแต่ละครั้งได้ลิ้มรสบรรยากาศได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ทางเข้าพื้นที่วัดต้องซื้อตั๋วผ่าน

ทางเข้าพื้นที่วัดต้องซื้อตั๋วผ่าน

เพื่อเป็นการสนับสนุนงบประมาณในการบำรุงสถานที่โบราณสถานจะมีค่าธรรมเนียมทางผ่าน สำหรับคนไทย 10 บาท ต่างชาติ 50 บาท

ที่จำหน่ายตั๋วเข้าวัดมหาธาตุ

ที่จำหน่ายตั๋วเข้าวัดมหาธาตุ

 

ผมเป็นคนไทย ค่าธรรมเนียม 10 บาทครับ

ผมเป็นคนไทย ค่าธรรมเนียม 10 บาทครับ

 

บริเวณจำหน่ายตั๋ว มีของที่ระลึกจำหน่าย

บริเวณจำหน่ายตั๋ว มีของที่ระลึกจำหน่าย

ในบริเวณที่จำหน่ายตั๋วค่าธรรมเนียม จะของที่ระลึกจำหน่ายมากมายเช่น โปสการ์ด พวงกุญแจ หนังสือคู่มือท่องเที่ยว เป็นต้น

Let's go ลุยกันเลยครับ

Let’s go ลุยกันเลยครับ

 

เจดีย์แปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่น 4 ชั้น

เจดีย์แปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่น 4 ชั้น

 

เจดีย์แปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่น 4 ชั้น มองในระยะใกล้

เจดีย์แปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่น 4 ชั้น มองในระยะใกล้

 

เจดีย์แปดเหลี่ยม จะอยู่ในจุดหมายเลข 3

เจดีย์แปดเหลี่ยม จะอยู่ในจุดหมายเลข 3

จุดที่ 1 ที่เราจะเดินผ่านกันจะเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ซ้อนลดหลั่น 4 ชั้น  ถ้าเราเดินผ่านประตูทางเข้าแล้วเลี้ยวขวาจะตั้งอยู่ทางซ้ายมือ หรือให้สังเกตุจุดหมายเลข 3 ก็ได้ครับ หากจะสังเกตองค์เจดีย์ให้ดี จะเห็นด้านข้างซุ้มแต่ละชั้นจะประดับด้วยรูปเทวดา ยกเว้นในชั้นที่ 4 จะเป็นรูปพระพรหม ส่วนบนยอดสุดจะเป็นปรางค์ขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าลายประดับองค์เจดีย์ดังกล่าวจะเป็นการแสดงระดับชั้นของสวรรค์ เจดีย์นี้เป็นเจดีย์ที่มีความแปลกตาและพบเพียงองค์เดียวในอยุธยา

เศียรพระพุทธรูปหินทราย

เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา

 

เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา

เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา

 

เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา

เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา

 

เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา

เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา

ศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยาจะเป็นจุดที่เราจะต้องผ่านมาเป็นจุดที่สอง จะสังเกตเห็นผู้คนมากมายคอยถ่ายรูปกันค่อนข้างมาก เป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากที่สุดของวัดมหาธาตุ เศียรพระพุทธรูปจะถูกรากต้นโพธิ์ล้อมไว้บริเวณผนังของวิหารเล็ก เศียรพระพุทธรูปทรายนี้เป็นศิลปะอยุธยา ไม่ทราบประวัติที่แน่ชัด แต่ได้สันนิษฐานกันว่าเมื่อครั้งเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 พระพุทธรูปส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย และเศียรพระนี้อาจจะแตกหักแล้วถูกทิ้งร้างจนรากไม้ห่อหุ้ม จนมีสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

วิหารเล็ก

วิหารเล็ก

จุดที่ 3 วิหารเล็ก วิหารเล็กแห่งนี้ มีรากไม้แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนัง รากไม้ส่วนหนึ่งได้ล้อมเศียรพระพุทธรูปไว้ธรรมดา กรมศิลปากรจะต้องตัดต้นไม้ออก แต่ที่นี่ดูจะว่าเป็นที่ยกเว้น ผนังที่มีรากต้นโพธิ์หุ้มเศียรพระพุทธรูปจะอยู่ด้านขวามือของรูปนี้ครับ

วิหารหลวง

วิหารหลวง

 

วิหารหลวง

วิหารหลวง

 

วิหารหลวง

วิหารหลวง

จุดที่ 4 ที่ผมจะพาไปคือวิหารหลวง จะตั้งอยู่ด้านหน้าของพระปรางค์ประธาน เป็นวิหารขนาดใหญ่ ปัจจุบันจะมีเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมเหลือเพียง 1 ต้น และผนังด้านข้างจะเหลือเพียงด้านเดียวตามรูปด้านบน ผนังจะเจาะเป็นซี่ลูกกรงในแนวตั้ง ใช้ระบายลมแทนหน้าต่าง

กรมศิลปากรได้พบว่ามีผู้แอบลักลอบขุดฐานชุกชีลงไปประมาณ 2 เมตร จึงได้ทำการขุดสำรวจลงไปอีก 2 เมตร พบภาชนะดินเผา 5 ใบ บรรจุแผ่นทองบางๆวางซ้อนอยู่บนแผ่นทองดุนลายเป็นรุปพระพุทธรูป ปนอยู่กับแผ่นทองรูปเต่า ช้าง ม้า และปลา

บริเวณวิหารหลวง ที่จะเดินไปตอยังปรงค์ประธาน

บริเวณวิหารหลวง ที่จะเดินไปต่อยังปรางค์ประธาน

 

ปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน

 

พื้นที่โดยรอบปรางค์ประธาน

พื้นที่โดยรอบปรางค์ประธาน

 

ปรางค์ประธาน ก่อนที่จะพังทลายลงมา ถ่ายไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5

ปรางค์ประธาน ก่อนที่จะพังทลายลงมา ถ่ายไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5

จุดที่ 5 ที่เราจะไปกันต่อก็คือ พื้นที่ปรางค์ประธาน  ถ้าสังเกตรูปที่ผมได้ถ่ายมา ทำไมบางรูปครึ้มบางรูปสว่าง ก็เนื่องมาจากระหว่างเดินชอมสถานที่ ก็เกิดฝนตกลงมาด้วย เลยมีรูปที่แตกต่างกัน

ปรางค์ประธาน เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ วัสดุที่ใช้สร้างเป็นอิฐและศิลาแลง มีปรางค์ทิศ 4 องค์ และโดยรอบพื้นที่ปรางค์ประธานจะเป็นวิหารคดซึ่งปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้ว

ปรางค์ประธาน ปัจจุบันได้พังทลายลงมาเหลือระดับแค่ใต้ซุ้มปรางค์ ตามประวัตินั้น ปรางค์ประธานที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้ ได้ถล่มลงมาถึง 2 ครั้ง เกิดในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ส่วนบนของพระปรางค์ได้ทลายลงมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2176 ในสมัยพระเจ้าปราสาททองได้มีการปฏิสังขรณ์ใหม่โดยเสริมปรางค์ประธานให้สูง เพรียวขึ้น

จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2447 เวลาประมาณ 11 โมงเช้าปรางค์ประธานก็ได้พังทลายลงมาจนมีสภาพที่เห็นดังปัจจุบันนี้

วิหารคด

วิหารคดโดยรอบพื้นที่ปรางค์ประธาน ได้พังทลายทั้งหมด มีพระพุทธรูปที่ทรุดโทรมอย่างมากประดิษฐานโดยรอบ

ในพื้นที่ของปรางประธานโดยรอบจะเป็นวิหารคด ซึ่งในปัจจุบันได้พังทลายลงมาทั้งหมด ซึ่งภายในจะประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ก็มีความทรุดโทรมอย่างมากตามรูปด้านบน

พระพุทธรูปแบบอู่ทอง

พระพุทธรูปแบบอู่ทอง

ทิศตะวันตกของปรางค์ประธานจะประดิษฐานพระพุทธรูปแบบอู่ทอง สลักจากหินทราย ซึ่งได้ทำการบูรณะไว้สมบูรณ์ทั้งองค์

 

จิตรกรรมฝาผนังในคูหาปรางค์มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

จุดที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือปรางค์ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์ประธาน ถ้าดูตามรูปด้านบนก็จะอยู่ฝั่งขวาขององค์พระพุทธรูปแบบอู่ทองนั่นแหละครับ จุดนี้ผมเดินวนหานานพอสมควรเพราะหลงทิศทาง ประกอบกับไปเดินหาผิดปรางค์ ที่หาเจอยากเพราะไม่มีป้ายบอกเลยครับ และปรางค์ก็เยอะเอามากๆ เมื่อผมพบจุดที่ถูกต้องแล้ว ก็เลยหาทางเดินขึ้นไปด้านบน ก็หาทางขึ้นลำบากนิดนึง เพราะดูแล้วไม่มีใครขึ้นมาเลย นอกจากผมคนเดียว

คูหาปรางค์ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

คูหาปรางค์ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

 

ทางขึ้นคูหาปรางค์เพื่อชมจิตรกรรมฝาผนัง

คูหาปรางค์ทิศ จิตรกรรมฝาผนัง

พื้นคูหาปรางค์จะมีมูลค้างค้าวเต็มไปหมด

พื้นคูหาปรางค์จะมีมูลค้างคาวเต็มไปหมด

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง "เรือนแก้ว"

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “เรือนแก้ว”

คูหาปรางค์ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์ประธานตามที่ผมได้เขียนรายละเอียดไว้ ภาพดังกล่าวเป็นภาพที่หลงเหลืออยู่เพียงภาพเดียวในวัดมหาธาตุแห่งนี้ สันนิษฐานกันว่าคูหาปรางค์อื่นๆก็น่าจะมีการเขียนจิตรกรรมไว้เช่นกันแต่ถูกทำลายในช่วงที่มีการพังทลายของปรางค์ประธาน

ภาพที่เห็น เป็นภาพเรือนแก้วใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งจะเป็นการเล่าถึงพุทธประวัติในสมัยพุทธกาลที่เจ้าชายสิทธัตถะ ได้บรรลุธรรมเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและได้ทรงพิจารณาธรรมใต้ต้นโพธิ์อยู่นาน 7 สัปดาห์ แล้วพระอินทร์ได้ทรงเนรมิตเรือนแก้วนี้ถวายพระพุทธเจ้าระหว่างการพิจารณาธรรมก่อนที่พระพุทธองค์จะตัดสินพระทัยในการแสดงธรรมโปรดเหล่ามนุษย์

บริเวณด้านบนคูหาปรางค์

บริเวณด้านบนคูหาปรางค์

พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ

พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ

พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ

พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ

หลังจากฝนได้หยุดตก ผมก็ได้เริ่มเดินชมสถานที่ต่างๆต่อไป โดยมาที่จุดของพระอุโบสถ แล้วก็เดินวนอ้อมไปอีกด้านหนึ่งของปรางค์ประธาน วนไปวนมาก็มาจุดซ้ำเดิมนั่นแหละครับ ฮ่าๆ ก่อนจากกันไปผมก็พยายามเก็บบันทึกภาพให้มากที่สุดก่อน

พืนที่โดยรอบ วัดมหาธาตุ

พื้นที่โดยรอบ วัดมหาธาตุ

พื้นที่โดยรอบ วัดมหาธาตุ

พื้นที่อื่นๆโดยรอบ วัดมหาธาตุ

พื้นที่อื่นๆ โดยรับวัดมหาธาตุ

พื้นที่อื่นๆ โดยรับวัดมหาธาตุ

สลักรูปพระพุทธรูป บนปรางค์ วัดมหาธาตุ

สลักรูปพระพุทธรูป บนปรางค์ วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญวัดในหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และยังเป็นที่สถิตของพระพุทธรูปองค์อื่นๆที่เคลื่อนย้ายเข้ามา รวมทั้งพระพุทธรูปที่ได้มาจากการชนะสงคราม พระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลได้ทรงดูแลไว้ รวมถึงที่วัดมหาธาตุเป็นที่รวมศิลปะและสถาปัตยกรรมหลายยุคหลายสมัยอีกด้วย

ระหว่างที่ผมได้เดินชมพื้นที่ ผมก็เห็นนักท่องเที่ยวแวะวเียนเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และที่สำคัญคือนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเยอะซะด้วยครับ มีทั้งชาวยุโรป และฝั่งเอเชียของเรา (ผมพยายามฟังภาษาที่เขาคุยกัน แล้วเดาๆเอาครับ)  บ่งบอกได้ว่าวัดแห่งนี้ได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ดี จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมากมากเช่นนี้ ในใจผมก็หวังและภาวนาไว้ว่าการเจริญเติบโตของเมืองและอุตสาหกรรม อย่าได้มาทำลายอดีตความทรงจำของโบราณสถานนี้เลย อยากได้ให้ชนรุ่นหลังได้เข้ามาเห็นภาพอดีตความรุ่งเรือง ที่กว่าจะมาเป็นชาติไทยในปัจจุบันนี้ มันมีเรื่องราวที่ควรศึกษายิ่งนัก

ก่อนจากกัน ขอแนะนำอีกนิดสำหรับท่านที่ต้องการจะเช่าจักรยาน หรือพักเหนื่อยหาอาหารรับประธาน ผมขอแนะนำร้านที่อยู่ด้านหน้าวัดบริเวณสามแยกครับ จะมีร้านอาหารตามสั่งและร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ ราคาไม่แพง และมีร้านเช่าจักรยานด้วยครับ

จุดนี้เยื้องวัดมหาธาตุมาด้านขวา จะมีร้านอาหารตามสั่งและร้านก๋วยเตี๋ยวอร่อยๆ และมีจักรยานสำหรับเช่าด้วยครับ

จุดนี้เยื้องวัดมหาธาตุมาด้านขวา จะมีร้านอาหารตามสั่งและร้านก๋วยเตี๋ยวอร่อยๆ และมีจักรยานสำหรับเช่าด้วยครับ

ร้านขายพรรณไม้ประดับ ฝั่งเดียวกับวัดมหาธาตุ

ร้านขายพรรณไม้ประดับ ฝั่งเดียวกับวัดมหาธาตุ

– จบบันทึกความศรัทธา เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก พระนครศรีอยุธยา 

คลิปบรรยากาศในวัดมหาธาตุ