Category Archives: ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

เมืองโบราณพันปีไพศาลี และเมืองเก่าเวสาลี นครสวรรค์

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองเก่าเวสาลี ตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงชัย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ การเดินทางถือว่ามีความสะดวก รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ กลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ได้รับการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 โดยกรมศิลปากร กำหนดอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นไป ความพิเศษของกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้คือ เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณไพศาลี ซึ่งเป็นเมืองโบราณอายุกว่าพันปี ในสมัยทวารวดีอีกด้วย แผนผังการสำรวจเมืองโบราณไพศาลี เมื่อปี พ.ศ.2511 ได้ระบุตำแหน่งของกลุ่มโบราณสถานเมืองเก่าเวสาลี จะตั้งอยู่ทางทิศะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณไพศาลี งานวิจัยการพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนแรกเริ่ม ในเขตอำเภอไพศาลี โดย นฤพล หวังธงชัยเจริญ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่ามีการพัฒนาการของชุมชนมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทวารวดี เช่นเดียวกับเมืองโบราณอื่นๆ ที่ค้นพบในลพบุรีและนครสวรรค์ จากนั้นได้พัฒนาการใช้งานในสมัยอยุธยา จากหลักฐานโบราณสถานในกลุ่มเมืองเก่าเวสาลี เมืองโบราณไพศาลี ในสมัยทวารวดี เดิมมีแผนผังคล้ายสี่เหลี่ยมมุมมน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปัจจุบันถ้าดูแผนที่จาก Google Earth จะยังคงมองเห็นคูคันดิน และคูน้ำล้อมรอบในบางส่วน มีขนาดเมืองยาวประมาณ 700 เมตร กว้าง 500 เมตร เป็นรูปแบบเมืองโบราณทวารวดีที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป และคงมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับเมืองโบราณแถบภาคกลางของไทย ได้แก่ นครสวรรค์ ลพบุรี เพชรบูรณ์ สำหรับเมืองเก่าเวสาลีเป็นพัฒนาการต่อเนื่อง มาถึงสมัยอยุธยา โบราณสถานประกอบไปด้วย โบสถ์ วิหาร มณฑป ปรางค์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐและได้รับการบูรณะแล้ว เมืองเก่าเวสาลีแห่งนี้คงถูกทิ้งร้างในช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา จึงมีการบูรณะและสร้างกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ขึ้น ปัจจุบันตัวเมืองโบราณถูกปรับสภาพและผ่านกาลเวลามานานนับพันปี จึงไม่พบซากโบราณสถานใดๆ เราจึงได้ท่องเที่ยวเพียงกลุ่มโบราณสถานเมืองเก่าเวสาลี ที่มีอายุอยู่ในสมัยอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณเท่านั้น  สุดท้ายนี้ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ… Read More »

เมืองโบราณบ้านคูเมือง สิงห์บุรี จากเมืองโบราณพันปีสู่สวนรุกขชาติ

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองโบราณทวารวดีอีกแห่งหนึ่งในภาคกลาง นั่นก็คือ “เมืองโบราณบ้านคูเมือง” สิงห์บุรี ปัจจุบันพื้นที่ได้ถูกจัดสรรเป็นสวนรุกขชาติคูเมือง เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เมืองโบราณแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน และยังปรากฏคูน้ำคันดินล้อมรอบอย่างชัดเจน ภายในเมืองโบราณมีขนาดกว้าง 650 เมตร ยาว 750 เมตร สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันออก และแม่น้ำน้อยทางทิศตะวันตก และมีลำน้ำเครือข่ายอยู่โดยรอบ การขุดสำรวจภายในคูเมืองไม่หลงเหลือซากของโบราณสถาน  แต่พบหลักฐานทางโบราณวัตถุและร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ หลังการสำรวจ จึงได้จัดสรรพื้นที่ให้เป็นสวนรุกขชาติ เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชและเป็นแหล่งโบราณคดี การขุดสำรวจทางโบราณคดี ตั้งแต่ปี 2511-2526 พบโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา อาทิ ธรรมจักร พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา แวดินเผา ลูกปัด เป็นต้น คุณภัทราวดี ดีสมโชค นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 พบหลักฐานทางโบราณคดี เป็นโครงกระดูกเด็ก โครงกระดูกสัตว์ เครื่องประดับลูกปัดต่างๆ เครื่องปั้นดินเผาและ เศษภาชนะดินเผาที่มีอักษรปัลลวะ การหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ จากโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ด้วยวิธีคาร์บอน 14 พบว่ามีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 ในส่วนโบราณวัตถุที่พบ จะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่… Read More »

เทือกเขางู ราชบุรี อารยธรรมวิหารถ้ำโบราณพันปี

ก่อนหน้านี้ผมเคยเดินทางไปชมถ้ำฤาษี เทือกเขางู เมืองราชบุรีมาแล้ว ซึ่งเทือกเขาแห่งนี้ ประกอบด้วยถ้ำหลายแห่ง ที่เคยเป็นสถานที่ทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี และน่าจะมีความเชื่อมโยงกับเมืองโบราณคูบัว ที่ห่างออกไปไม่ถึง 20 กิโลเมตรเท่านั้น ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดราชบุรีอีกครั้ง เพื่อไปชมถ้ำต่างๆบนเทือกเขางู ที่ประกอบไปด้วยถ้ำหลักๆ 4 ถ้ำได้แก่ ถ้ำฤาษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ ซึ่งแต่ละถ้ำล้วนพบร่องรอยการใช้พื้นที่ในทางศาสนา ได้แก่ภาพสลักและลวดลายปูนปั้นในศาสนาพุทธ อีกทั้งยังพบว่ามีภาพสลักพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ที่ถือว่าเป็นภาพสลักผนังถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย จุดแรกที่เราจะเดินทางขึ้นไปสักการะคือที่ถ้ำฤาษี จะเป็นถ้ำที่อยู่ไม่สูง นับได้คงไม่เกิน 40 ขั้นบันไดเท่านั้น จึงเป็นจุดที่หลายท่านคุ้นเคย และได้เข้าชมและสักการะมากที่สุด ถ้ำฤาษี ภายในเป็นถ้ำตื้นๆมีหลืบช่องเป็นถ้ำย่อยอีก 2 ถ้ำ มีพระพุทธรูปหลายองค์ พระพุทธรูปสำคัญของถ้ำฤาษีคือ สลักพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรม มีความสูงราว 2.5 เมตร จากฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้ระบุว่าปรากฏจารึกโบราณที่ฐานพระบาทลักษณะรูปอักษรเหมือนรูปอักษรที่ใช้อยู่ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ประเทศอินเดีย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ยอร์ช เซเดส์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวฝรั่งเศส เคยขึ้นมาสำรวจเมื่อปีพ.ศ.2472 และทำการอ่านชำระเพิ่มเติมคำแปลและคำอธิบายเมื่อปี พ.ศ.2504 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2529 อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกโบราณ ได้ทำการอ่านและแปลจารึกนี้ใหม่อีกครั้ง ความแปลพอสังเขป อธิบายว่าอาจเป็นการบอกชื่อของผู้สร้างพระพุทธรูป ในที่นี้คือ ฤาษีสมาธิคุปตะ หรือ พระศรีสมาธิคุปตะ ว่าเป็น ผู้บริสุทธิ์ ด้วยการทำบุญ จากจารึกนี้ จึงมีการสร้างรูปฤาษีในหลืบถ้ำเพื่อเป็นการแสดงถึงสถานที่บำเพ็ญพรตของฤาษีผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา… Read More »

“เขาคลังหน้า” หรือจะเป็นสถูปพันปีอีกแห่งของเมืองโบราณศรีเทพ

พื้นที่การเกษตร ห่างจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ไปทางทิศใต้ ราว 10 กิโลเมตร ปรากฏร่องรอยเนินดินขนาดใหญ่ ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเขาคลังใน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “เขาคลังหน้า” ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เมืองโบราณพันปี สมัยทวารวดี ที่สืบทอดการอยู่อาศัยของมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จากหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โบราณสถานสำคัญของเมืองศรีเทพ ที่หลายท่านรู้จักกันดี อาทิ ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง เขาคลังใน ปรางค์ฤาษี เขาคลังนอก เป็นต้น ด้วยอาณาเขตของเมืองศรีเทพมีขนาดใหญ่ จากการสำรวจจึงพบร่องรอยโบราณสถานและกิจกรรมของมนุษย์ยุคโบราณ กระจายตัวนอกเขตคูเมืองโบราณอย่างกว้างขวาง ทำให้ทราบว่า ยังมีปริศนาที่ยังไม่ผ่านการสำรวจอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุมชนโบราณ และโบราณสถานที่ยังไม่ขุดค้น เมื่อเร็วๆนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์และสภาวัฒนธรรมอำเภอศรีเทพ ได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ ซึ่งย่อมาจาก Light Detection and Ranging ด้วยการยิงเลเซอร์ทางอากาศ กระทบกับวัตถุต่างๆบนพื้นโลก เพื่อวัดช่วงระยะทางที่แปรผันกับผิวโลก แล้วคำนวณสร้างภาพสามมิติ  หนึ่งในจุดสำรวจคือ พื้นที่เนินดินขนาด 13 ไร่ ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรม ต.คลองกระจัง อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็นสถานที่ที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้จัก ยกเว้นคนในพื้นที่ ที่เรียกกันว่า “เขาคลังหน้า” ซึ่งสถานีข่าว Thai PBS ได้เผยแพร่ออกอากาศการสำรวจครั้งนี้ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ผมได้เดินทางไปชมสถานที่จริง เส้นทางห่างจากเมืองโบราณศรีเทพราว 10 กิโลเมตร พบว่าปัจจุบันมีการสร้างที่พักสงฆ์ และก่อสร้างรูปเคารพ โดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม… Read More »

“พงตึก” ชุมชนการค้าโบราณพันปี กาญจนบุรี

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานพงตึก ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สถานที่แห่งนี้เคยเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มานานนับพันปี มาตั้งแต่สมัยทวารวดี พบหลักฐานทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู จากการศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า พื้นที่แถบนี้ จะเป็นชุมชนโบราณเชื่อมเส้นทางการค้าจากดินแดนฝั่งตะวันตก เชื่อมต่อกับเมืองโบราณอื่นๆ อาทิ เมืองคูบัว นครปฐม กำแพงแสน เมืองสิงห์ เมืองอู่ทอง เป็นต้น ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ ได้เข้ามาสำรวจโบราณสถานพงตึก เมื่อปี พ.ศ.2470 ได้พบพระพุทธรูป พระพิมพ์จำนวนหลายองค์ ซึ่งมีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ปัจจุบันมีโบราณสถาน 2 แห่ง ที่ได้รับการสำรวจอย่างเป็นทางการ แห่งที่ 1 มีลักษณะเป็นฐานศิลาแลงของอาคารมีบันไดทางขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นฐานของวิหาร ในช่วงแรก ที่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ เข้าสำรวจ พบหลักฐานโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ และพบโบราณวัตถุชิ้นเก่าแก่ คือ ตะเกียงแบบกรีก โรมัน ที่มีความเก่าแก่ถึง พุทธศตวรรษที่ 6 ตะเกียงกรีก-โรมัน ทำจากสำริด อายุกว่า 1,900 ปี พบที่โบราณสถานพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ที่ฝาตะเกียงเป็นลายใบหน้าของเทพเจ้าซิเลนุส (Silenus) ด้ามจับเป็นลายปาล์มและปลาโลมา 2 ตัว เชื่อกันว่าผลิตขึ้นในช่วงราชวงศ์ปโตเลมี แห่งอเล็กซานเดรีย อียิปต์ นักโบราณคดีประเมินอายุอาจเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 หรือมีอายุมากกว่า 1,900 ปี… Read More »

“ดงละคร” เมืองโบราณพันปี สมัยทวารวดี นครนายก

เมืองโบราณดงละคร จ.นครนายก ชื่อ “ดงละคร” นี้มีที่มาจากชาวบ้านที่จะกล่าวกันว่า พื้นที่นี้คือ “เมืองลับแล” เพราะเล่าขานสืบต่อกันว่าในเวลากลางคืนจะได้ยินเสียงดนตรีวงมโหรีคล้ายการเล่นละครอยู่ในป่า จึงเรียกขานกันว่า “ดงละคร” ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งกล่าวว่า เดิมพื้นที่นี้เรียกว่า “ดงนคร” แปลว่า “นครในดงป่า” ต่อมาได้เรียกเพี้ยนไปเป็น ดงละคร ในภายหลัง  จากรายงานของคุณจิราพร เพชรดํา ผู้สํารวจ และนักวิชาการวัฒนธรรมชํานาญการ ได้เขียนรายงานไว้ว่า บ้านดงละครเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบย้อนการเข้ามาอยู่อาศัยหลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย โดยเข้ามาทำการเกษตรกรรม จึงขุดพบโบราณวัตถุมากมาย จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 จึงมีการสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นทางการ พบร่องรอยการเข้ามาอยู่อาศัยเป็นชุมชน ตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยการพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์เนื้อเงิน ศิลปะแบบทวาราวดีเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบสีน้ำตาล เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและซ้อง รวมทั้งลูกปัดแก้วหลายสี ลูกปัดแบบลูกตา ลูกปัดสลับสี ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาร์เกต พบความรุ่งเรืองอย่างเด่นชัดเป็น 2 ช่วงคือ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12 – 16 และในยุคขอมรุ่งเรือง ในพุทธศตวรรษที่ 17-19 เมืองดงละครมีผังเมืองเป็นรูปไข่หรือวงรีมีคันดินและคูน้ำ มีประตูทางเข้าเมืองและสระนาอยู่ทั้งสี่ทิศ สันนิษฐานว่าชุมชนนี้มี การติดต่อกับต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่เป็นทรัพยากรในป่า โดยใช้แม่น้ำนครนายกล่องเรือสู่ท้องทะเล เมืองโบราณดงละคร เป็นเมืองโบราณพันปี สมัยทวรวดี ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ แม้จะล่มสลายไปแล้ว แต่ยังคงหลงเหลือสภาพของสัณฐานชัดเจนของคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตามแผนผังของเมืองโบราณในสมัยทวารวดี อีกทั้งยังคงมีสภาพป่าหลงเหลือ ซึ่งผมเดินทางไปช่วงกลางวัน ยังได้ยินเสียงจั๊กจั่นร้องกันระงมป่า ถ้าช่วงกลางคืนคงวังเวงน่าดูเลยครับ  สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม… Read More »