Tag Archives: พระนครศรีอยุธยา

ไหว้สุดยอดพระเกจิ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา

ไหว้สุดยอดพระเกจิ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา ไหว้สุดยอดพระเกจิ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา สวัสดีครับจากบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้ 10 สุดยอดพระเกจิแห่งสยามประเทศ ผมจึงมีความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังวัดที่พระเกจิเคยจำพรรษาอยู่ สำหรับครั้งนี้ผมได้เดินทางมาที่วัดพระญาติการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อมากราบหลวงพ่อกลั่น เพื่อระลึกถึงพระคุณของท่าน หลวงพ่อกลั่น แห่งวัดพระญาติการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระเกจิ 1 ใน 10 สุดยอดแห่งสยามประเทศ ที่ผ่านการทดสอบพลังจิต สามารถเคลื่อนกบไสไม้ให้เดินหน้าและหันกลับได้ ท่านจึงได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนและชาวบ้านมากมากทั้งในพื้นที่และทั่วประเทศไทย สำหรับการเดินทางนั้นสะดวกมากครับ เพราะที่ตั้งวัดอยู่ในตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเดินทางถ้าเดินทางมาจากกรุงเทพฯ จะผ่านโลตัสอยุธยา ตรงไปสักประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงสี่แยกไฟแดงแรก ให้ขับเลยไปจะเจอกับสี่แยกไฟแดงที่สอง ให้ขับชิดขวาเลยครับ เพื่อเลี้ยวขวา จากนั้นตรงไปอีกประมาณ 300 เมตร จะเห็นซุ้มประตูวัดด้านซ้ายมือ ผมมาถึงช่วงเช้าในต้นเดือนมกราคม ซึ่งท้องฟ้าครึ้มๆ อากาศเย็นๆ ไม่ร้อนครับ แต่ลุ้นเกรงว่าฝนจะตก เมื่อเข้ามาผ่านซุ้มประตูวัด จะมองเห็นพระพุทธรูปองค์ยืนสวยงามมากนามว่า “พระศากยมุนีศรีอโยธยา” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้าหน้าวิหารหลวงพ่อกลั่น จากนั้นก็ให้หาพื้นที่จอดรถได้เลยครับ พื้นที่กว้างขวางพอสมควร จุดแรกที่ผมไปชมคือพระอุโบสถของวัด ซึ่งภายในประดิษฐาน “พระพุทธจอมมุนีศรีอโยธยา” สร้างจากหินทราย จากการสอบถามและข้อมูลกล่าวกันว่ามีอายุมากกว่า 500 ปี เลยทีเดียว สภาพของพระอุโบสถค่อนข้างเก่าแก่ และจากสภาพน่าจะผ่านการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง และทางวัดได้ประชาสัมพันธ์เรื่องการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถไว้ด้วยเช่นกัน ถ้าท่านใดมีจิตศรัทธาสามารถเดินทางไปร่วมบริจาคปัจจัยกันได้ครับ สำหรับเรื่องวัตถุมงคลของหลวงพ่อกลั่น คงไม่ต้องกล่าวถึงนะครับว่าราคาจะไปแค่ไหนแล้ว จากข้อมูลปล่อยเช่ากันหลักล้านบาทเลยนะครับ สำหรับรุ่นแรก ต้นโศกข้างวิหารหลวงพ่อกลั่น… Read More »

วัดโคกพระยา สถานที่สำเร็จโทษพระบรมวงษานุวงศ์และเจ้านายชั้นสูง ในสมัยอยุธยา

วัดโคกพระยา เป็นวัดร้างที่สำคัญมากอีกวัดหนึ่งในสมัยอยุธยา ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับวัดหน้าพระเมรุ ความสำคัญของวัดแห่งนี้คือ เป็นสถานที่สำเร็จโทษเจ้านายชั้นสูงในสมัยอยุธยา ซึ่งตามหลักฐานที่บันทึกไว้มากมายเกี่ยวกับเรื่องการสำเร็จโทษ (ประหารชีวิต) พระบรมวงษานุวงศ์ จึงน่าจะเป็นสถานที่ใกล้กับวัดหน้าพระเมรุ ใกล้เคียงกับวัดหัสดาวาส สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และร้างไปหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310 ทั้งนี้วัดโคกพระยา ตามบันทึกมีอยู่ 2 แห่ง คือ ใกล้กับวัดหน้าพระเมรุ และบริเวณกลางทุ่งภูเขาทอง ข้อสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สำเร็จโทษเจ้านายชั้นสูง เพราะว่า เป็นสถานที่ใกล้กับวังหลวง ถ้ามีการเคลื่อนย้ายนักโทษจะถึงเร็วกว่าการเดินทางไปถึงบริเวณวัดภูเขาทอง และลดความเสี่ยงเรื่องการชิงตัวนักโทษ อีกทั้งชื่อวัดหน้าพระเมรุ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะเกี่ยวกับวัดโคกพระยา ที่เป็นสถานที่สำเร็จโทษด้วยเช่นกัน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวัดโคกพระยาหลายตอน ผมจะขอยกตัวอย่างบางตอนดังนี้ 1. ในแผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ 2) ในพงศาวดารระบุว่า “สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรีเข้าในพระราชวัง กุมเอาเจ้าทองลันได้ ให้พิฆาตเสีย ณ วัดโคกพระยา” 2. ในแผ่นดินขุนวรวงศาธิราช พ.ศ. 2072 ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดินคิดกับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา ที่จริงแล้วยังมีเรื่องราวอีกเยอะนะครับ จะใช้เป็นสถานที่ประหารชีวิตชนชั้นสูงอีกมากมาย การเดินทางมาที่วัดโคกพระยา จะใช้ถนนเส้นเดียวกับการเดินทางไปวัดหัสดาวาส และวัดตะไกร แต่จะต้องเลี้ยวเข้าไปในซอยอีกเล็กน้อย >>> แผนที่วัดต่างๆ ในอยุธยา <<< การเดินทางไปวัดโคกพระยา ผมได้วนเวียนหาวัดโคกพระยาสักพักใหญ่ๆ เพราะคิดว่าวัดจะตั้งติดริมถนน ก็เลยขับมอเตอร์ไซต์วนไปมาหลายรอบ และไปถามทางกับชาวบ้านแถวนั้น ก็เลยรู้ว่าเส้นทางไปวัดโคกพระยา จะต้องเลี้ยวเข้าซอยไปอีกเล็กน้อย โดยซอยไปวัดโคกพระยาจะอยู่สุดเขตวัดหน้าพระเมรุพอดีเลยครับ ถนนเส้นนี้จะอยู่ข้างวัดหน้าพระเมรุ ติดกับวัดหัสดาวาส… Read More »

พาชมวัดตะไกร อยุธยา สถานที่ปลงศพนางวันทองในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน

https://youtu.be/woIPc-q35fA วัดตะไกร เป็นวัดร้างที่น่าสนใจอีกวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้ว่าจะไม่พบหลักฐานทางเอกสารการสร้างวัดแห่งนี้ก็ตาม เนื่องจากมีชื่อปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ว่าเป็นสถานที่ปลงศพนางวันทอง ซึ่งผมเองคิดว่าวรรณคดีขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องแต่งขึ้น แต่จากการบันทึกพบว่าเป็นเค้าโครงจากเรื่องจริง ในวันที่ผมเดินทางมาที่วัดนี้ เป็นวันเดียวกับที่ผมได้เดินทางไปที่วัดหัสดาวาส ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก จึงได้ถือโอกาสเดินทางไปชมสถานที่แห่งนี้ >>>แผนที่วัดต่างๆในอยุธยา<<< หลังจากผมได้เที่ยวชมวัดหัสดาวาสเรียบร้อยแล้ว ผมก็เดินทางไปตามถนนเส้นนี้ไปอีกประมาณ 1 – 2 กิโลเมตร ก็จะพบกับวัดตะไกร ตั้งอยู่ทางซ้ายมือ โดยมีบ้านเรือนชาวบ้านอยู่โดยรอบ วัดตะไกร อยู่ริมถนนฝั่งซ้ายเลยครับ มองเห็นชัดเจน ไม่หลงทางแน่นอน เมื่อผมมาถึงก็จอดรถไว้บริเวณนี้ บรรยากาศดูเงียบสงบมากครับ มีสุนัขเจ้าถิ่น 2 – 3 ตัว แต่ไม่ดุ แค่หันมามองหน้าผม แล้วมันก็นอนหลับต่อ (ค่อยยังชั่วหน่อย เจอสุนัขอัธยาศัยดี) นี่ถ้าผมเดินทางมาช่วงเย็นๆ คงได้บรรยากาศวังเวงพิลึกแน่ๆ แต่ช่วงเวลาที่ผมเดินทางมาถึงประมาณเที่ยงพอดี ยังรู้สึกสยิวที่หลังนิดๆ ฮ่าๆ (ผมค่อนข้างกลัวผีอ่ะครับ) วัดตะไกร มีชื่อในวรรณคดีขุนช้าง ขุนแผน จากหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 63 ตอนว่าด้วยแผนที่กรุงศรีอยุธยา ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 หน้า 166 – 167 ได้กล่าวถึงตลาดบกนอกกรุงว่า ที่หน้าวัดตะไกรเป็นตลาดลงท่าน้ำที่หน้าวัดพระเมรุแห่งหนึ่ง ในจำนวนตลาดนอกกรุงซึ่งมีอยู่ถึง 23 แห่ง ประกอบกับหลักฐานทางด้านวรรณคดีเรื่อง “เสภาขุนช้างขุนแผน” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้ทรงสันนิษฐานโดยอาศัยพงศาวดารและคำให้การชาวกรุงเก่าไว้ว่า… Read More »

ตามรอยกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา วัดหัสดาวาส (วัดช้าง) วัดร้างหลังเสียกรุงครั้งที่ 2

https://youtu.be/556YV9Q5XJA วัดหัสดาวาส หรือวัดช้าง เป็นวัดร้างวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถ้าเราจะเดินทางไปท่องเที่ยวหรือถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ก็สามารถที่จะไปได้ง่ายมาก เพราะอยู่ติดกับวัดหน้าพระเมรุ และผมเองได้ตั้งใจว่าจะไปเที่ยววัดหน้าพระเมรุ จึงตั้งใจว่าจะไปเที่ยวดูซากโบราณที่วัดหัสดาวาสด้วยเช่นกัน ความสำคัญของวัดหัสดาวาส มีบันทึกไว้ว่าเป็นสถานที่ทำสัญญาสงบศึกระหว่างพระเจ้าจักรพรรดิและพระเจ้าบุเรงนองเมื่อปี พ.ศ.2092 แผนที่วัดต่างๆ ในอยุธยาสามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ ===> แผนที่วัดต่างๆ ในอยุธยา วัดหัสดาวาส หรือวัดช้าง จะมีถนนเส้นเล็กๆกั้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุ การเดินทางเมื่อมาถึงวัดหน้าพระเมรุ ให้เลยจากทางเข้ามาเล็กน้อย จะมีถนนเส้นเล็กๆกั้น ก็จะมองเห็นซากวัดโบราณ มีเจดีย์เด่นเลยครับ ซึ่งพื้นที่นี้ก็คือวัดหัสดาวาสนั่นเอง การเดินทางครั้งนี้ผมได้ขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ เพราะสะดวกในการเดินทาง เนื่องจากตั้งใจว่าจะไปดูวัดโบราณอีกหลายๆวัด ซึ่งสามารถขับรถซอกแซกได้ง่ายกว่าและรวดเร็ว สำหรับท่านใดจะไปเที่ยวชมวัดที่ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกันนัก แนะนำมอเตอร์ไซต์นี่แหละครับ สะดวกที่สุด และอาจจะรวดเร็วกว่าด้วย ยิ่งในวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ต้องบอกเลยว่า ปริมาณรถจะค่อนข้างมาก มีทั้งคณะทัวร์และนักท่องเที่ยวทั่วๆไป และเป็นผลให้การจราจรติดขัดในบางช่วง ผมได้ขับรถมอเตอร์ไซต์ไปจอดไว้ในพื้นที่จอดของวัดหน้าพระเมรุ และก็เดินออกมายังถนนเส้นเล็กๆนี้ และเดินตามเส้นทางลงไป เพื่อเข้าไปเขตพื้นที่วัดหัสดาวาส เมื่อเดินตามเส้นทางบนถนนเส้นนี้มาเรื่อยๆ สักพักก็จะมีเดินดินทางเข้าพื้นที่วัดแล้วหล่ะครับ สิ่งที่เห็นโดดเด่นมาแต่ไกลก็คือ เจดีย์ 2 องค์ และซากพระวิหาร ซึ่งเหลือแต่เพียงเนินวิหารเท่านั้น โดยรอบก็ยังมีซากกำแพงโบราณ และคูน้ำโดยรอบวัด เมื่อผมเดินเข้ามาสู่เขตของวัดหัสดาวาสแล้ว จะมองเห็นคูน้ำรอบทิศ ตอนแรกผมคิดว่าเป็นคูน้ำที่เพิ่งเกิด หรือเกิดจากการขุดขึ้นภายหลัง แต่จากบันทึกได้บอกว่าเป็นคูน้ำโบราณที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสร้างวัดเลยครับ หลังจากนั้นผมก็เดินมาทางฝั่งซ้ายของพื้นที่วัด และก็มองเห็นคูน้ำรอบวัดจริงๆด้วยครับ สำหรับสิ่งก่อสร้างสำคัญที่ยังหลงเหลือให้เราได้เที่ยวชมและเก็บภาพ ในปัจจุบันมีดังนี้ 1. พระเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ขนาดค่อนข้างใหญ่ทรงกลมหรือที่มักเรียกกันว่า ทรงลังกาตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ… Read More »

ไหว้ขอพร หลวงพ่อทันใจ วัดกลางคลองสระบัว อยุธยา

ไหว้ขอพร หลวงพ่อทันใจ วัดกลางคลองสระบัว อยุธยา หลายๆคน คงเคยมีทุกข์ใจ และบ่อยครั้งก็ต้องหันเข้าหาวัด เข้าหาพระ เพราะต้องการหาที่พึ่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา ที่เมื่อมีสุขมักหลงลืมที่จะทำความดี รักษาจิตใจให้สงบ แต่จะคิดถึงวัด คิดถึงพระ ก็เมื่อทุกข์ใจจนหาที่พึ่งกันไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ผมก็อยากให้ทุกท่านวนเวียนเข้าวัดเข้าวากันบ้าง เดือนละครั้งก็ยังดี เพื่อไม่ให้วิถีชีวิตหลุดออกนอกกรอบจนเกินไป เอาเป็นว่าไม่ว่าท่านจะสุขหรือทุกข์ใจในตอนนี้ ผมขอแนะนำวัดแห่งหนึ่งที่กล่าวขานกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อทันใจ หลวงพ่อทันใจเป็นคติความเชื่อมาแต่โบราณ ที่ชาวบ้านเชื่อว่าจะสามารถขอพรและสัมฤทธิ์ผลได้ในเวลาอันรวดเร็ว ความเป็นมาเรื่องหลวงพ่อทันใจอ่านได้ที่นี่  ===> ความเชื่อหลวงพ่อทันใจ สมปรารถนา เร็วทันใจ ที่กล่าวเกริ่นนำ เพราะผมกำลังจะพาท่านไปกราบขอพรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เรียกกันว่าหลวงพ่อทันใจ ที่วัดกลางคลองสระบัว เป็นวัดที่เงียบสงบดีมากครับ ไม่ไกลจากวัดหน้าพระเมรุเท่าไหร่นัก โดยขับรถผ่านวัดหน้าพระเมรุไปประมาณ 1 – 2 กิโลเมตรก็ถึงแล้วหล่ะครับ ก่อนหน้าที่ผมจะเดินทางมาที่วัดกลางคลองสระบัว ผมได้เดินทางไปไหว้พระที่วัดหน้าพระเมรุมาก่อน ซึ่งทั้งสองวัดนี้ตั้งไม่ห่างกันมากครับ เป็นถนนเส้นเดียวกัน โดยให้ขับรถเข้ามาจากวัดหน้าพระเมรุเข้ามาอีกเล็กน้อย พอผ่านซุ้มประตูวัดเข้ามา ผมก็ตรงดิ่งมาสุดทางเลยครับ ที่จอดรถมีเพียบ และผมก็เตรียมเข้าไปกราบขอพรหลวงพ่อทันใจภายในวิหาร ประวัติคร่าวๆ ของวัดกลางคลองสระบัว ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ในสมัยปี พ.ศ.2309 กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายลงด้วยน้ำมือกองทัพพม่าวัดวาอารามและบ้านเมืองถูกทำลายจนสิ้นเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง ต่อมามีพระธุดงค์มาพำนักในบริเวณวัดคลองสระบัวและเห็นว่ามีร่องรอยของเสมาวิหารเก่าปรากฎให้เห็นเป็นซากอยู่ อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปปูนปั้น 4 พระองค์ประดิษฐานอยู่ จึงได้ทำการบรูณะวัดขึ้นมาใหม่ภายหลังได้เกิดเหตุการณ์ประหลาด มีเสียงฟ้าร้องดังอยู่หลายครั้ง โดยไม่มีสาเหตุทั้งที่ท้องฟ้ายังโปร่งใส เสียงฟ้าร้องครั้งนั้นทำให้พระพุทธรูปปูนปั้นปริแตกพร้อมกันทั้ง 4 พระองค์ ทำให้แลเห็นพระพุทธรูปทองสำริดอยู่ภายใน สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้พบเห็น พระพุทธรูปชื่อดังของวัดนี้… Read More »

สะพานป่าถ่าน และเจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่ พระนครศรีอยุธยา

https://youtu.be/E-mTXXcsY64 สะพานป่าถ่าน และเจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่ พระนครศรีอยุธยา ตามบันทึกในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐได้บันทึกไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 1967 สมเด็จพระนครินทราธิราชได้เสด็จสวรรคต ได้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่าง ราชโอรสองค์โตคือเจ้าอ้ายพระยา และราชโอรสองค์รองคือเจ้ายี่พระยา โดยการยกทัพทำยุทธหัตถีที่บริเวณเชิงสะพานป่าถ่านด้านฝั่งตะวันตกของคลองประตูข้าวเปลือก แต่ทั้งสองพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ในสงครามพร้อมกัน ทำให้ราชโอรสองค์เล็กคือเจ้าสามพระยา ได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน และได้พระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2″ และพระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์ 2 องค์บริเวณเชิงสะพานป่าถ่านเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ ปัจจุบันจะยังมีซากโบราณสถานของสะพานป่าถ่านและเจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่อยู่ บริเวณสี่แยกถนนตลาดเจ้าพรหม สะพานป่าถ่านเป็นสะพานก่ออิฐทอดข้ามคลองประตูจีน (ตลองประตูข้าวเปลือก) บนแนวถนนตลาดเจ้าพรหม (ปัจจุบันเรียกว่าถนนนเรศวร) ลักษณะสะพานป่าถ่านเป็นสะพานโค้งก่อช่องใต้สะพานให้เรือสามารถสัญจรผ่านได้ 3 ช่อง แต่ละช่องเป็นช่องโค้งแหลมทรงกลีบบัว ก่ออิฐสันตั้ง โดยช่องกลางมีขนาดสูงใหญ่กว่าอีก 2 ช่องที่ขนาบด้านข้าง ซึ่งเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางยุโรป คาดว่าน่าจะมีอายุการก่อสร้างในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชลงมา ลักษณะที่เห็นซากปัจจุบันจะเป็นเพียงส่วนที่เป็นฐานรากของสะพาน   สภาพปัจจุบันของเจดีย์เจ้าอ้าย เจ้ายี่ จะทรุดโทรมหักพังไปมากแล้วครับ ตามรูปด้านบน ส่วนบริเวณด้านหลังเจดีย์คือ ซากของสะพานป่าถ่าน ที่ในอดีตจะมีคลองประตูข้าวเปลือกทอดยาวในทิศเหนือใต้ แต่ปัจจุบันไม่เหลือสภาพคลองให้เห็นแล้ว เพราะถูกการสร้างบ้านเรือนทับไปจนหมดแล้ว ในอดีตคลองประตูข้าวเปลือกจะทอดแนวยาวทิศเหนือและใต้ จากรูปปัจจุบัน จะเห็นว่าไม่มีสภาพคลองแล้ว โดยมีบ้านเรือนอยู่ทั้งสองฝั่งทิศเหนือใต้ทั้งหมด สะพานป่าถ่านและ เจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่ จะอยู่สี่แยกของถนนตลาดเจ้าพรหม โดยตั้งอยู่ระหว่างวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ เป็นจุดที่สังเกตุได้ง่าย แต่การจะเดินทางเข้าไปดูสถานที่อย่างใกล้ชิด ก็ควรหาที่จอดรถแล้วค่อยเดินข้ามถนนมาบริเวณเกาะกลางสี่แยกจะดีที่สุด ยังไงก็ระวังรถที่สัญจรด้วยนะครับ ปัจจุบันแม้สภาพของสะพานป่าถ่านและเจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่จะทรุดโทรมไปมาก แต่ทางกรมศิลปากรก็ยังได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานของชาติสำหรับเราชาวไทยก็ควรร่วมกันอนุรักษ์กันด้วยนะครับ โดยเฉพาะในเรื่องความสะอาด ผมเห็นว่าบริเวณสะพานป่าถ่านจะมีเศษขยะค่อนข้างมาก ก็ไม่ทราบว่ามีใครเอามาทิ้งในบริเวณนี้  ซึ่งบริเวณจุดนี้จะมีนักท่องเที่ยวผ่านมากันค่อนข้างมากเนื่องจากอยู่ใกล้เคียงกับวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ การเดินทางมาครั้งนี้ ในใจลึกๆก็รู้สึกสลดใจ… Read More »