ตำนานพระพุทธฉาย วัดพระพุทธฉาย สระบุรี

By | February 25, 2014

Camera 360

วัดพระพุทธฉาย สระบุรี ตั้งอยู่เชิงเขาปถวี (ปฐวี) ตำบลหนองปลาไหล เข้าทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธฉาย หรือ เงาพระพุทธเจ้า อยู่บนแผ่นหินซึ่งตั้งอยู่บนชะง่อนผา มีการสร้างมณฑปครอบไว้ มีลักษณะเป็นเงาสีแดงคล้ายประภามณฑล หรือรัศมีโดยรอบพระพุทธรูป คล้ายสีดินเทศ มีความสูงประมาณ 5 เมตร ค้นพบสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งค้นพบพร้อมกับรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ทุกปีจะมีงานนมัสการพระพุทธฉายพร้อมกับงานนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี มีบันไดจากบริเวณวัดด้านล่างขึ้นไปยังมณฑป และต่อไปยังหน้าผาซึ่งอยู่เหนือมณฑปขึ้นไป บริเวณเชิงผามีภาพเขียนลายเส้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพสัตว์ลายเส้นคล้ายตัวกวาง บริเวณข้างประตูเข้าพระพุทธฉาย พบภาพมือคน และภาพสัญลักษณ์ บริเวณจากถ้ำฤาษีไปทางพระพุทธฉายทางทิศตะวันตก พบภาพเขียนรูปไก่ ภาพพระพุทธรูป และภาพสัญลักษณ์ และบริเวณหน้าผา จปร. พบภาพลายเส้นขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน คล้ายภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยถูกค้นพบที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เขียนด้วยยางไม้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 3,000 ปี โดยเขียนสัญลักษณ์ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจในหมู่เดียวกัน และอาจจะเป็นสื่อทางพิธีกรรม และความเชื่อของคนในยุคนั้น ในบริเวณใกล้เคียงมีมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา และมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่อัญเชิญมาจากลังกา เมื่อ พ.ศ. 2492 และเมื่อ พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมมณฑปบนภูเขาบริเวณวัดพระพุทธฉาย และเมื่อรื้อพื้นซีเมนต์พบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาอยู่ใต้ทรายปรากฏเห็นเป็นรูปรอยประทับในหิน

ตำนานแห่งพระพุทธฉาย

ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารบุพพารามในนครสาวัตถี ได้ประทานอุปสมบทให้แก่พระบิณโฑละฯ ให้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วได้มอบให้พระโมคคัลลานะ พาไปปฏิบัติสมณธรรมจนกว่าจะได้สำเร็จมรรคผล พระโมคคัลลานะได้นำพาไปปฏิบัติสมณธรรมทั่วชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน หลายแห่งก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผล จึงได้มาปฏิบัติสมณธรรมในปัจจันตชนบทโดยกำหนดเอาประเทศสุวรรณภูมิ หรือประเทศไทย ณ ภูเขาฆาฏกะ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนายพรานฆาฏกะกับบริวาร จึงได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ในระหว่างที่มาปฏิบัติสมณธรรมอยู่นั้น พระโมคคัลลานะ ได้ทราบถึงพฤติกรรมของนายพรานฆาฏกะกับบริวารว่าเป็นผู้มีสันดาน หยาบช้า โหดร้าย ทารุณ มีอาชีพล่าสัตว์ป่า

พระโมคคัลลานะได้แสดงปาฏิหาริย์หลายประการเพื่อที่จะทำให้นายพรานฆาฏกะได้เลื่อมใสแต่ไม่สำเร็จ พระโมคคัลลานะจึงได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลเรื่อCamera 360งราวให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด และได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างหลายประการด้วยกันเพื่อให้นายพรานฆาฏกะได้ละทิฏฐิมานะสันดานหยาบช้า จนในที่สุดได้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงกับทูลอุปสมบท พระบรมศาสดาได้ทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา หรือบวชให้ด้วยพระองค์เอง แล้วตรัสสั่งสอนให้ปฏิบัติสมณธรรมได้สำเร็จพระอรหันต์เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับบุพพาราม ภิกษุฆาฏกะได้ทูลขอติดตามพระองค์ไปด้วย แต่พระองค์ได้ทรงห้ามไว้เพื่อให้ช่วยประกาศพระศาสนา ดังนั้นพระภิกษุฆาฏกะได้ทูลขอสิ่งที่เคารพสักการะ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ พระองค์จึงได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดไว้ ณ เงื้อมภูเขาแห่งนี้ และได้ประทับ “รอยพระบาท” ติดไว้ ณ บนยอดภูเขาแห่งนี้ด้วย ซึ่งจะได้เป็นที่สักการะเคารพกราบไหว้บูชาของพระฆาฏกะและบริวาร ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ประวัติการค้นพบ พระพุทธฉาย สระบุรี

สันนิษฐานว่าพระพุทธฉายนี้ ถูกค้นพบในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังจากพบรอยพระพุทธบาท ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163-2171) ซึ่งมีรับสั่งให้ค้นหารอยพระพุทธบาทตามภูเขาทุกแห่ง จึงพบพระพุทธฉาย ณ ภูเขาแห่งนี้ สมัยที่ค้นพบพระพุทธฉายได้สร้างพระมณฑปครอบพระบรมฉายาลักษณ์ไว้เป็นสถานที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ตลอดจนพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมา และเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เป็นต้น

 

จากพงศวดารตำนานที่ปรากฏชัดว่า “สมเด็จพระเจ้าเสือพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์และข้าราชการบริพาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉาย แล้วเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท เป็นต้น จนถึงกษัตริย์พระองค์สุดท้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา 3 ปี (พ.ศ. 2307) ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนมาศ (เจิม) หน้า 484 ได้กล่าวไว้ในบท “สมโภชพระพุทธฉาย” เกี่ยวกับพระพุทธฉายว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ว่า “ครั้นเดือนอ้ายเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธฉาย แรมอยู่ 3 วัน ฯลฯ แล้วเสด็จกลับมาสมโภชพระพุทธบาท 7 วัน”

จากประวัติและพระราชพงศาวดารดังกล่าวมาแสดงให้เห็นว่า พระพุทธฉายได้เจริญมาสมัยหนึ่งแล้ว ปรากฏจากหลักฐานและวัตถุโบราณนานัปการ ที่ยังปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ เช่นมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขาลม วัดพระพุทธฉาย เป็นต้น แต่เนื่องจากภัยทางสงคราม บ้านเมืองไม่สงบสุข มีการรบทัพจับศึก เกิดการระส่ำระสายเปลี่ยนแปลงแผ่นดินบ้านเมืองเดือดร้อน ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาจนกว่าจะตั้งกรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นเมืองหลวง พระพุทธฉายก็ได้ถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลาช้านานจนชำรุดทรุดโทรมลง มณฑปเดิมซึ่งสร้างไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และศาสนสถานถาวรวัตถุต่างๆ ได้ขาดการดูแลเอาใจใส่และภัยธรรมชาติได้ทำลายเสียหายเป็นอย่างมาก

กาลเวลาได้ผ่านมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะฟื้นฟูพระพุทธฉายอีกครั้งหนึ่ง ตามศิลาจารึกที่ค้นพบเป็นหลักฐานว่า “พระพุทธศาสนาล่วงมาได้ 2374 ปีมะโรง นักษัตรจัตวาศก มีพระคุณเจ้าสมภาร 4 วัด คือพระปลัดวัดปากเพรียว 1 สมภารวัดบางระกำ 1 สมภารดวง วัดเกาะเลิ่ง 1 และสมภารวัดบางเดื่อ 1 สมภารทั้ง 4 พร้อมทั้งญาติโยมได้มีอุสาหะพากันมาบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธฉาย เป็นเวลาถึง 7 ปี และในปีที่ 8 พระมหายิ้ม ได้มาร่วมกับสมภารทั้ง 4 พร้อมด้วยญาติโยม ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธปฏิมากร ระเบียงมณฑป ลงลักปิดทอง บ้างจำลองลายสุวรรณอันบวร ปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์ สร้างหอระฆัง สร้างศาลา เป็นต้น ด้านยอดเขา ได้บูรณะพระมณฑปและลานพระโมคคัลลานะขุดสระบ่อน้ำ บูรณะพระอุโบสถ และตบแต่งสCamera 360ถานที่เป็นเวลาอีก 3 ปี จนถึงปีฉลูจึงเสด็จตามความประสงค์ ได้จัดมหกรรมฉลององค์พระพุทธฉาย เมื่อปีเถาะ เบญจศก”

จากศิลาจารึกที่นำมาโดยสังเขปนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธฉายได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาในระยะหนึ่ง กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช และสมเด็จพระพันวษาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จมาฟื้นฟูบูรณะพระพุทธฉายทรงสร้างมณฑปขึ้นใหม่เป็นมณฑปสองยอดแทนมณฑปเดิม และทรงบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่นๆ มีเสนาสนะสงฆ์ เช่น ศาลา พระอุโบสถบนยอดเขาพระพุทธฉาย ปฏิสังขรณ์มณฑปครอบรอยพระบาทจำลองยอดเดี่ยว บนยอดภูเขาด้านตะวันออกพระอุโบสถบริเวณลานพระโมคคัลลานะ วัดพระพุทธฉาย ซึ่งยังเหลือเป็นอนุสรณ์อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ นอกจากนั้นพระองค์พร้อมด้วยพระราชวงศ์และข้าราชบริพาร ยังได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉายอีกหลายครั้ง

 

ดังปรากฏในประวัติศาสตร์การประพาสต้นและจดหมายเหตุ การบำเพ็ญพระราชกุศลนับเนื่องเกี่ยวกับพระพุทธฉาย เกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์รัน และพระอธิการรูปอื่นๆ อีกมาก ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ติดอยู่ ณ เงื้อมผาด้านทิศตะวันตกของพระมณฑปพระพุทธฉาย พร้อมด้วยนามาภิไธยพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งปรากฏชัดจนถึงปัจจุบันนี้ ในรัชกาลต่อๆ มาก็ได้มีพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จมาพระพุทธฉายเป็นประจำ จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าลูกเธอฯ ได้เสด็จมาทรงทอดผ้าพระกฐิน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2516

พระพุทธฉายได้บูรณะซ่อมสร้างมาเป็นเวลาช้านาน ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก จนทางข้าราชการร่วมกับคณะสงฆ์เห็นว่าจะปล่อยทิ้งรกร้างไว้อีกต่อไปไม่ได้ ปูชนียสถานที่สำคัญจะถูกทำลายลง จึงได้ส่ง พระครูพุทธฉายภิบาล (นาค ปานรัตน์) มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2491 เพื่อบูรณะซ่อมสร้างสถานที่พระพุทธฉายให้เจริญต่อไป เจ้าอาวาสได้ซ่อมแซมใหญ่ โดยซ่อมที่มณฑปที่ชำรุดซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงเทพฯ บนยอดภูเขาตามเดิม ส่วนมณฑปเก่าครอบพระบาทจำลองบนยอดเขายังคงไว้เป็นอนุสรณ์ ในลำดับต่อมาได้สร้างบันไดจากพื้นล่างด้านตะวันออกพระพุทธฉายขึ้นไปจนถึงยอดภูเขายาวประมาณ 270 ขั้น เพื่อให้ความสะดวกแก่ประชาชน จะได้ขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปปางต่างๆ ข้างบนและภายในอุโบสถ โดยบูชารอยพระพุทธบาทจำลองและชมวิวทิวทัศน์อันสวยสดงดงาม พร้อมด้วยบูชาสักการะพระรูปพระโมคคัลลานะ ที่ได้สร้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2526 ประดิษฐานอยู่ ณ ลานพระโมคคัลลานะ ในวิหารพระปฏิมากรเป็นประหนึ่งสังเวชนียสถานอันจะเกิดเป็นกุศลผลบุญต่อไป

>>> การเดินทางทำบุญ วัดพระพุทธฉาย <<< คลิก !!

Camera 360บันไดทางขึ้นเพื่อนมัสการ พระพุทธฉาย สระบุรี

Camera 360รอยพระพุทธบาท เบื้องขวา, ประดิษฐานบนยอดเขา วัดพระพุทธฉาย สระบุรี

ลิ้งค์เพิ่มเติม

หลวงพ่อปาน นมัสการพระพุทธฉาย และยืนยันว่าเป็นพระพุทธฉายแท้จริง