เที่ยว ทำบุญ ไหว้พระ วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา

By | May 11, 2014

วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล 1 วัดใหญ่ชัยมงคล 2 วัดใหญ่ชัยมงคล 3
เที่ยว ทำบุญ ไหว้พระ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา วันนี้ได้โอกาสมากล่าวถึงวัดในพระนครศรีอยุธยากันต่อนะครับ เมื่อกล่าวถึงวัดใหญ่ชัยมงคล นักท่องเที่ยวทำบุญไหว้พระ ส่วนมากจะรู้จักกันแน่นอน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาเป็นคณะทัวร์ ส่วนมากแล้วจะต้องมีวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ในลิสต์แน่นอน จุดเด่นชัดเจนของวัดก็คือ พระเจดีย์ชัยมงคล ที่เราสามารถจะมองเห็นได้มาตั้งแต่ระยะไกล เวลาเรามองจากระยะไกลหลายๆคนก็ต้องแปลกใจ เมื่อเห็นลักษณะของพระเจดีย์เอียงไปอีกด้านหนึ่ง

ทำไมพระเจดีย์ชัยมงคลจึงเอียง

ผมได้ไปค้นหาข้อมูล ก็ได้ทราบว่า พื้นเจดีย์มีการทรุด เนื่องจากพระเจดีย์มีน้ำหนักถึง 28,154 ตัน เป็นสาเหตุให้เกิดแรงอัดบนพื้นดินอย่างมหาศาล และเป็นผลให้น้ำใต้ดินถูกดันออกไปจนเกิดเป็นช่องโพรงใต้ดิน พื้นดินจึงเกิดการทรุดทำให้เจดีย์เอียงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

 

สถานที่สำคัญในพื้นที่บริเวณของวัดใหญ่ชัยมงคล มีจุดสำคัญดังนี้ครับ

1. พระเจดีย์ชัยมงคล ทรงลังกา มีความสูงโดยประมาณ 60 เมตร

2. พระราชานุสาวรีย์ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งน้ำทักสิโนทกเพื่อประกาศอิสรภาพ

3. พระพุทธไสยาสน์

4. ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย เชื่อกันว่าเป็นศาลที่สถิตของดวงวิญญาณพระราชโอรสองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 5

การเดินทางมายังวัดใหญ่ชัยมงคล ไม่ซับซ้อนครับ โดยให้ตรงเข้าเมืองพระนครศรีอยุธยามาเรื่อยๆ จนถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม (คนในพื้นที่เรียกเจดีย์นักเลง เพราะตั้งอยู่กลางวงเวียน รถทุกคันต้องหลบหมด) แล้วให้เลี้ยวซ้าย เมื่อมองไปด้านหน้าก็จะมองเห็นพระเจดีย์แต่ไกลเลยครับ ขับไปอีกประมาณ 200 เมตรก็จะถึงวัดแล้วครับ ซึ่งจะตั้งอยู่ทางซ้ายมือ

ในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ รถจะหนาแน่นครับ

ในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ รถจะหนาแน่นครับ

เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม ให้เข้าเลนซ้ายเพื่อเลี้ยวซ้ายเลยครับ

เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม ให้เข้าเลนซ้ายเพื่อเลี้ยวซ้ายเลยครับ

จุดสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นสัญลักษณ์ของนักท่องเที่ยวก็คือวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม ซึ่งในอดีตจุดนี้เคยเป็นพื้นที่วัดสามปลื้มมาก่อน จนกระทั่งความเจริญของเมืองได้เข้ามาจึงมีการตัดถนนผ่าน แต่ไม่ได้ทำการรื้อพระเจดีย์ออกไป

บริเวณพื้นที่จอดรถของวัดใหญ่ชัยมงคล

บริเวณพื้นที่จอดรถของวัดใหญ่ชัยมงคล

พื้นที่จอดรถของวัดใหญ่ชัยมงคลจะมีพื้นที่กว้างขวางมากครับ เนื่องจากเป็นวัดที่ได้รับความนิยมในการเดินทางมาท่องเที่ยวและทำบุญของทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จึงได้จัดสรรพื้นที่อำนวยความสะดวกไว้เป็นอย่างดี

สะพานข้ามคลองน้ำของวัด

สะพานข้ามคลองน้ำของวัด

เมื่อจอดรถแล้วผมก็เดินข้ามสะพานข้ามคลองเพื่อเดินไปยังฝั่งเจดีย์ชัยมงคลก่อน คลองน้ำของวัดจะมีเต่าจำนวนหนึ่งอยู่นะครับ เราสามารถให้อาหารเต่าได้

สะพานข้ามคลองน้ำ มาฝั่งพระเจดีย์ชัยมงคล

สะพานข้ามคลองน้ำ มาฝั่งพระเจดีย์ชัยมงคล

ทางวัดได้จัดสถานที่อำนวยความสะดวกไว้เป็นอย่างนี้ โดยเฉพาะห้องน้ำ

ทางวัดได้จัดสถานที่อำนวยความสะดวกไว้เป็นอย่างนี้ โดยเฉพาะห้องน้ำ

เมื่อเดินข้ามสะพานก็จะมองเห็นห้องน้ำที่ทางวัดจัดไว้ให้นักท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกครับ

บริเวณพระอุโบสถของวัด

บริเวณพระอุโบสถของวัด

องค์พระพุทธรูปด้านหน้าพระโอสถ

องค์พระพุทธรูปด้านหน้าพระอุโบสถ

ด้านหน้าพระอุโบสถจะจัดเป็นสถานที่ให้กราบไหว้บูชา สมารถจุดธูป เทียน และปิดทององค์พระได้ นอกจากนี้ก็ยังมีเซียมซีให้ทำการเสี่ยงทายกันด้วยครับ

วัดใหญ่ชัยมงคล 12 วัดใหญ่ชัยมงคล 13 วัดใหญ่ชัยมงคล 14 วัดใหญ่ชัยมงคล 15

นักท่องเที่ยวได้ทำการปิดทองพระพุทธรูปด้านหน้าพระอุโบสถ

นักท่องเที่ยวได้ทำการปิดทองพระพุทธรูปด้านหน้าพระอุโบสถ

บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ จะมีผู้คนจำนวนมากยังไงก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันนะครับ

ด้านหน้าก่อนเข้าพระอุโบสถ

ด้านหน้าก่อนเข้าพระอุโบสถ

พระพุทรูปหยกขาว พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทรูปหยกขาว พระประธานในพระอุโบสถ

รูปเหมือนสมเด็จพระวันรัตน

รูปเหมือนสมเด็จพระวันรัตน

ประวัติพอสังเขปการสร้างวัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล ตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำป่าสัก มีเจดีย์ชัยมงคลซึ่งเป็นพระเดีย์ที่สูงที่สุดในพระนครศรีอยุธยามีความสูงโดยประมาณ 60 เมตร  ประวัติการสร้างวัด เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 1900 สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้ให้ทำการพระราชทานเพลิงศพให้แก่ เจ้าแก้วและเจ้าไท ซึ่งเป็นราชโอรสที่สิ้นพระชนม์จากโรคอหิวาตกโรค และได้โปรดให้สถาปนาพระอารามขึ้นในบริเวณนี้ ให้ชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” ชื่อวัดป่าแก้ว มาจากที่วัดมีคณะสงฆ์ที่ได้ร่ำเรียนมากจากสมเด็จพระวันรัตนมหาเถรในลังกาทวีป ซึ่งนิกายนี้มีชื่ว่า “คณะป่าแก้ว” จึงได้มีชื่อว่าวัดป่าแก้วมาตั้งแต่นั้นมา

นิกายนี้ได้รับความเลื่อมใสจากชาวอยุธยาอย่างมาก และสมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระวันรัตน เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวา คู่กับสมเด็จพระธรรมโฆษาจารย์ ที่มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย

ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย

ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย

ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย เมื่อกราบนมัสการพระในพระอุโบสถแล้ว ผมก็เดินออกมาด้านนอก ก็จะพบกับศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย เป็นศาลที่เชื่อันว่าเป็นที่สถิตของดวงวิญญาณของราชโอรสองค์หนึ่งของเสด็จพ่อ ร.5 และที่น่าแปลกใจคือ ผมได้มองเข้าไปในศาลเห็นตุ๊กตาโดเรม่อน จำนวนมาก  ผมก็ได้ทราบว่า มีคนมาบนบานเรื่องขอลูก และสมหวังโดยการบนจะให้ตุ๊กตาโดเรม่อน จึงเป็นความเชื่อต่อๆกันมา ซึ่งจากจำนวนตุ๊กตาในศาลผมสันนิษฐานว่าคงจะสมหวังกันหลายคนแน่ๆเลยครับ

วิหารพระพุทธไสยาสน์

วิหารพระพุทธไสยาสน์

เมื่อเดินเลยมาอีกเล็กน้อย เราก็จะได้พบกับวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ตัววิหารปัจจุบันได้เสื่อมโทรมไปแล้ว ส่วนองค์พระพุทธไสยาสน์ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2508 และตัวพระวิหารจะยังคงเหลือเป็นซากปรักหักพังของกำแพงทั้ง 3 ด้าน

ป้ายวัดขนาดใหญ่ด้านหน้า

ป้ายวัดขนาดใหญ่ด้านหน้า

เมื่อถึงวิหารพระพุทธไสยาสน์แล้ว ผมก็เดินอ้อมมาด้านหน้า จนมาถึงด้านหน้าทางเข้าวัด จะเป็นป้ายชื่อวัดขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยวมักจะมาถ่ายรูปที่ป้ายนี้เป็นที่ระลึกกลับไปเสมอ ระหว่าทางที่จะเดินมาถึงจุดนี้ ก็จะผ่านร้านขายของที่ระลึกจากพ่อแค้าแม่ค้า ร้านขายอาหารเครื่องดื่ม ได้พบคณะทัวร์มากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตัวผมก็นึกภูมิใจที่ชาวต่างประเทศมาเที่ยวบ้านเราเยอะขนาดนี้

วัดใหญ่ชัยมงคล 24 วัดใหญ่ชัยมงคล 25 วัดใหญ่ชัยมงคล 26 วัดใหญ่ชัยมงคล 27

เมื่อผมได้เดินมาจนถึงหน้าวัดแล้ว ต่อไปผมจะพาเดินย้อนกลับไปยังพระเจดีย์ชัยมงคล ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญของวัดใหญ่ชัยมงคลเลยครับ

พระเจดีย์ชัยมงคล

พระเจดีย์ชัยมงคล

ด้านหน้าทางขึ้นพระเจดีย์ชัยมงคล

ด้านหน้าทางขึ้นพระเจดีย์ชัยมงคล

ผมจะขอเล่าเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของพระเจดีย์นี้คร่าวๆดังนี้

ความเป็นมาของพระเจดีย์ชัยมงคล

เมื่อปี พ.ศ. 2135 ฝ่ายสมเด็จพระมหาอุปราชได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา และเกิดสงครามยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยด้วยความปรีชาสามารถและชาญฉลาดของพระองค์ โดยพระองค์อยู่ท่ามกลางกองทัพข้าศึก เนื่องจากกองทัพของฝ่ายไทยเดินทางมาไม่ทัน ซึ่งความผิดนี้แม่ทัพนายกองทั้งหลายจะต้องได้รับโทษถึงขั้นถูกประหาร สมเด็จพระวันรัตนเมื่อได้ทราบเรื่องจึงได้นำพระราชาคณะทั้งสิ้น 25 รูปเดินทางเข้าถวายพระพรแด่สมเด็จพระนเรศวรที่ทรงมีชัยเหนือข้าศึก และได้ขอพระราชทานอภัยโทษแก่แม่ทัพทั้งหลาย และได้แนะนำให้สร้างพระเจดีย์อนุสรณ์แห่งชัยชนะนี้ ฝ่ายแม่ทัพนายกองทั้งหลายจึงได้ร่วมกันสร้างพระเจดีย์จนแล้วเสร็จ และได้เรียกชื่อว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” นับแต่นั้นมา พระเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สองข้างของบันได้ทางขึ้นจะมีมณฑป 2 หลัง ซึ่งชำรุดทรุดโทรมไปแล้ว เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย นามว่า “เจ้าแก้ว” และ “เจ้าไท” (ชื่อพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง) โดยรอยพระเจดีย์จะประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยมากมายโดยรอบเลยครับ

วัดใหญ่ชัยมงคล 30 วัดใหญ่ชัยมงคล 31 วัดใหญ่ชัยมงคล 32 วัดใหญ่ชัยมงคล 33

ต่อไปผมจะพาเดินขึ้นไปบนพระเจดีย์กันเลยครับเลยครับ

บันได้ทางขึ้นพระเจดีย์ชัยมงคล

บันได้ทางขึ้นพระเจดีย์ชัยมงคล

ภาพบรรยากาศด้านบนพระเจดีย์

ภาพบรรยากาศด้านบนพระเจดีย์

บรรยากาศด้านบนของพระเจดีย์

บรรยากาศด้านบนของพระเจดีย์

โพรงด้านบนเจดีย์

โพรงด้านบนเจดีย์

ด้านบนพระเจดีย์นี้ จะมีโพรงขนาดใหญ่ที่ถูกเจาะไว้ ลงไปด้านล่าง แต่เดิมนั้นภายในโพรงจะเป็นกรุ จะมีทั้งพระเครื่องต่างๆมากมาย ปัจจุบันได้นำออกมาหมดแล้ว และได้ทำไม้กั้นไม่ไว้เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว นอกจากจะเคยเป็นกรุแล้ว แต่ยังมีประวัติอันน่าอัศจรรย์ เพราะเป็นจุดที่ค้นพบพระคาถา “พุทธชัยมงคลคาถา” โดยหลวงพ่อจรัญ แห่งวัดอัมพวันเป็นผู้ค้นพบ โดยมีประวัติการค้นพบพระคาถาดังนี้

ประวัติการค้นพบพระคาถา “พุทธชัยมงคลคาถา” (พาหุง มหากา)

หลวงพ่อจรัญ ได้เล่าไว้ว่าดังนี้ คืนหนึ่งอาตมานอนหลับ แล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโส ผู้รัตตัญญู จึงน้อมนมัสการท่าน ท่นหยุดยืนตรงหน้าอาตมา แล้วกล่าวกับอาตมาว่า “ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อดูจารึก ที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะ เหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว” เมื่อกล่าวถึงพระพนรัตน์ ผมก็แปลกใจว่าเป็นองค์เดียวกับสมเด็จพระวันรัตน หรือไม่ ผมจึงไปค้นหาข้อมูลจาก Wikipedia ก็พอจะได้ข้อมูลว่าเป็นองค์เดียวกัน เพราะข้อมูลดังนี้ครับ

วันรัต (อ่านว่า วันนะรัด) แปลว่า ผู้ยินดีในการอยู่ป่า ผู้รักการอยู่ป่า เดิมใช้คำว่า พนรัตน์ และ วันรัตน์ ซึ่งแปลว่า ป่าแก้ว วันรัตน์ เป็นนามที่ได้มาจากลังกา สันนิษฐานตามคำแปลว่าคงเป็นสังฆนายกฝ่ายอรัญวาสี คู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นสังฆนายกฝ่ายคามวาสี นามนี้มีปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชพงศาวดารในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ที่มีชื่อเสียงปรากฏเด่นชัด คือ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งได้เข้าไปถวายพระพรสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขอพระราชทานอภัยโทษแก่ข้าราชการที่ตามเสด็จไม่ทันในครั้งทำยุทธหัตถี

ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งที่บรรจุให้ แล้วก็ตกใจตื่นตอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝัน ก็นึกอยู่ในใจว่า เราเองนั้น กำหนดจิตด้วยกรรมฐาน มีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านนั้นเป็นไปไม่ได้ อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ ในวัดใหญ่ชัยมงคล

หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ภาพจาก : www.dhammajak.net

หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี

และจะทำการบรรจุพระบรมธาตุที่ยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร บอกนายภิรมณ์ ชินเจริญ ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอที่อาตมาได้สร้างขึ้น ตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล๋งเป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมา ตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ ๆ แต่แตกหัก ผุพัง ทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึง ก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันได แล้วมองเห็นโพรงที่ทางเข้าทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม่พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่า ลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านไม้ ก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมา เขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ 09.00 น. อาตมาลงไปภายในพบลานทองคำ 13 ลาน ดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือ บทสวดมนต์ที่เรียกว่า “พาหุง มหาการุณิโก” ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า “เราสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ ถวายพระพรแด่พระมหาบพิตรเจ้า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

ภาพวิวด้านล่างจากด้านบนพระเจดีย์

ภาพวิวด้านล่างจากด้านบนพระเจดีย์

บรรยากาศเมื่อมองมาจากด้านบนพระเจดีย์

บรรยากาศเมื่อมองมาจากด้านบนพระเจดีย์

หลังจากได้ชมความงามด้านบนพระเจดีย์กันแล้ว ก็เหลืออีก 1 สถานที่ ที่มีความสำคัญของวัดใหญ่ชัยมงคล ก็คือ พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะเป็นตำหนักขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของวัด

พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วัดใหญ่ชัยมงคล 46 วัดใหญ่ชัยมงคล 42 วัดใหญ่ชัยมงคล 44 วัดใหญ่ชัยมงคล 43

ตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ด้านหลังวัด ได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2535 และได้สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 ภายในประดิษฐาน พระราชานุสาวรีย์ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักสิโนทกประกาศอิสรภาพ หล่อด้วยสำริด และบริเวณโดยรอบตำหนักมีรูปปั้นไก่ชน จำนวนทั้งสิ้น 52 ตัว และทั้งหมดก็เป็นรายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของวัดใหญ่ชัยมงคล ถ้ามากันแล้วก็เที่ยวให้ครบทุกจุดนะครับ โดยรวมการจัดสถานที่ของวัดผมรู้สึกประทับใจดีมากครับ เพราะสะอาดดีมาก มีห้องน้ำบริการนักท่องเที่ยวมากมาย และได้ซึมซับบรรยากาศทางประวัติศาสตร์ได้ดีอีกด้วย วัดนี้เป็นที่นิยมของชาวไทยและต่างประเทศนะครับ ผมมั่นใจว่าใครที่เดินทางมาทำบุญไหว้พระ 9 วัด คงไม่พลาดวัดใหญ่ชัยมงคลแน่ๆ ขอจบบทบันทึกแห่งความศรัทธาอีก 1 บทครับ…

https://youtu.be/oe_qQJYXQ9Q
เลือกจองโรงแรมราคาถูกในอยุธยา โดย Hotel2Thailand ตาม Link ด้านล่าง

ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด

ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108

หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory

 

One thought on “เที่ยว ทำบุญ ไหว้พระ วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา

  1. Pingback: เที่ยวปราสาทนครหลวง วัดนครหลวง พระนครศรีอยุธยา | Faith Thai Story

Comments are closed.