Tag Archives: กินเจ

กินเจ อย่างไรให้ได้บุญเต็มๆ

กินเจ อย่างไรให้ได้บุญเต็มๆ เข้าสู่เทศกาลกินเจกันแล้ว หลายๆคนก็เตรียมตัวและรอคอยวันดีๆนี้อย่างใจจดใจจ่อ ถ้าจะกล่าวถึงความเชื่อต่างๆ เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก และผมก็มักจะเห็นกระทู้ที่ตั้งขึ้นมาถกเถียงกันในเรื่อง “การกินเจได้บุญจริงหรือ” อยู่เป็นประจำ ในฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ต่างงัดเอาหลักความคิดและหลักฐานต่างๆ ขึ้นมาเป็นประเด็นหักล้างความคิดของฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอๆ  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เรื่องความเชื่อ เราไม่สามารถลบล้างความคิดกันได้หรอกครับ เพียงแต่เราจะหาจุดสมดุลตรงไหนดีเท่านั้นเอง และสุดท้ายผมก็คิดว่าอย่าไปก้าวก่ายความคิดกันจะดีที่สุด โดยให้คิดไปแนวทางบวก มองผู้ที่คิดต่างว่าเข้าอาจจะคิดไปแนวทางอื่นๆ ที่มีเจตนาดีซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรไปเลย เนื่องจากเรื่องนี้ละเอียดอ่อนมาก ผมจึงค้นคว้าหาข้อมูลเป็นการอ้างอิงและสรุปออกมา เพื่อเป็นแนวความคิดที่เป็นกลางๆ โดยสรุปสุดท้ายว่าใครใคร่ที่จะกินเจก็กินกันไป ใครใคร่ไม่สนใจกินเจ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด ก็แล้วกันนะครับ ผมได้เปิดอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “มังสวิรัติ ในทัศนะท่านพุทธทาสภิกขุ พร้อมด้วยทัศนะของพระราชวรมุนี”  ซึ่งมีรายละเอียดที่ค่อนข้างชัดเจน ความรู้สึกของผมเมื่ออ่านดูแล้ว ก็ดูเป็นกลางดีครับ   ทัศนะเรื่องมังสวิรัติของท่านพุทธทาสภิกขุ และพระราชวรมุนี จากรายละเอียดในหนังสือมีบันทึกค่อนข้างยาว จึงขอสรุปให้อ่านง่ายกันดังนี้ 1. สำหรับภิกษุสงฆ์เป็นผู้ที่ขอเลี้ยงชีพ ไม่ได้ให้ยึดติดว่าอาหารที่รับมาจากบิณฑบาตจะเป็นอะไร เมื่อมีผู้ถวายต้องรับ ยกเว้นว่ารับรู้ว่าเนื้อนั้นเกิดจากการฆ่าเพื่อนำมาถวาย เช่น ได้รับรู้ว่าไก่ตัวนี้ ถูกฆ่ามาเพื่อบิณฑบาตโดยตรง แต่ถ้าไม่รู้อันนี้ไม่ถือว่าผิดวินัย 2. ผู้ที่ถือมังสวิรัติ ควรได้รับคำชื่นชมของผู้อื่นเท่านั้น แต่ด้วยหลักธรรมไม่ถือว่ามีธรรมที่สูงกว่าผู้กินเนื้อ 3. ผู้ที่ถือมังสวิรัติ ควรระลึกตนอยู่เสมอว่า ไม่ได้ประเสริฐไปกว่าคนกินเนื้อ เนื่องจากคนมีหลากหลาย ไม่สามารถที่จะเลือกกินได้ แต่สำคัญว่าจะมีกินหรือเปล่า จึงเป็นเหตุว่า การถือมังสวิรัติไม่ได้เป็นปัจจัยหลักว่าประเสริฐกว่าใคร 4. การถือมังสวิรัติ ไม่ได้ถือเป็นการดำรงตนในศีล แต่เป็นข้อวัตรที่ถือปฏิบัติกันมา ซึ่งอาจจะเป็นการส่งเสริมในข้อศีลนั้นๆให้มั่นคงได้เช่นกัน    สรุปโดยเนื้อหา จากหนังสือ จะเป็นทัศนะ ให้เราดำรงตนให้เหมาะสม… Read More »