เที่ยววัดทำบุญ ไหว้พระที่ วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) ฉะเชิงเทรา

By | August 20, 2014


https://youtu.be/A_ORu0LS9bI

เที่ยววัดทำบุญ ไหว้พระที่ วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) ฉะเชิงเทรา

อีกครั้งกับการเดินทางไปท่องเที่ยววัดวาอาราม อีกทั้งมีโอกาสได้ทำบุญ ครั้งนี้ผมได้เดินทางมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ เท่าไรนักการเดินทางก็ไม่ลำบาก ถนนหนทางดีตลอดเส้นทาง และผมได้วางโปรแกรมท่องเที่ยวที่วัดสุวรรณคีรี เนื่องจากได้รับทราบข้อมูลมาว่าที่วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประกอบกับสภาพธรรมชาติที่ดูแล้วไม่ทรุดโทรม

วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) ตั้งอยู่ที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา  สามารถดูเส้นทางการเดินทางตามแผนที่ได้เลยครับ

วัดสุวรรณคีรี ตั้งอยู่บ้านปากห้วย หมู่ 7 ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา

แผนที่ไปวัดสุวรรณคีรี

จุดเด่นของวัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง)

ที่วัดสุวรรณคีรี จะมีบันไดทางขึ้นกว่า 718 ขั้น เพื่อขึ้นไปบนยอดเขา ในเรื่องของความชันนั้น ถือว่าไม่ชันมากนัก เดินขึ้นได้สบายๆ ผมเห็นคนแก่คนเฒ่าเดินขึ้นไปกันเยอะ อีกทั้งบรรยากาศระหว่างทางก็สดชื่นสบายตา แต่ถ้ามาช่วงหน้าแล้งก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ ด้านบนจะมีพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และวิหารต่างๆอีกมากมาย มีรอยพระพุทธบามจำลอง และรูปปั้นต่างๆ ที่ทางวัดได้จัดสร้างไว้

และที่สำคัญสำหรับนักแชทและชอบอัพเดทออนไลน์ ก็ไม่ต้องห่วงเพราะมีคลื่นโทรศัพท์ปกติ ซึ่งปกติแล้วเวลาเราเดินขึ้นเขามักจะไม่ค่อยมีคลื่นโทรศัพท์ ถ้าคิดจะแบกโน๊ตบุ็คมาทำงานเอาบรรยากาศผมก็คิดว่าไม่เลวเลยครับ

พระพุทธะทันใจมหาสิทธิโชค

พระพุทธะทันใจมหาสิทธิโชค

ด้านล่างจะประดิษฐาน พระพุทธะทันใจมหาสิทธิโชค เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยปูนปางสมาธิ ซึ่งประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันหล่อขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชมนพรรษา 7 รอบ   5 ธันวาคม 2554 ในการหล่อองค์พระได้ทำแล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน ชาวบ้านจึงเรียกว่าหลวงพ่อทันใจ

ภายหลังจากองค์พระแล้วเสร็จ ในปีถัดมาได้มีการสร้างมณฑปทรง 9 เหลี่ยม ซึ่งบนยอดมณฑป ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ บูชา รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาสร้างหลวงพ่อพุทธโสธร และบรรจุที่ยอดมณฑปด้วยเช่นกัน โดยมีพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและหลวงพ่อพุทธโสธร ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555

ศาลาธรรม

ศาลาการเปรียญ

 

ทางขึ้นเขา

ทางขึ้นเขา

ทางขึ้นเขาจะมีรูปปั้นบริเวณทางขึ้นคือ พระราหู และพระอินทร์

บริเวณเชิงบันไดขึ้นยอดเขา

บริเวณเชิงบันไดขึ้นยอดเขา

สภาพบันไดทางขึ้นเขา

สภาพบันไดทางขึ้นเขา

ถ้าเรามองจากเชิงบันไดขึ้นไป จะมีลักษณะที่ไม่ค่อยชันมากนะ จะชันเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้ยอดเขา แต่ก็ถือว่าไม่เหนื่อยมากนัก ด้วยขั้นบันได้ประมาณ 718 ขั้นเท่านั้น อีกทั้ง2 ข้างทางค่อนข้างร่มรื่น สบายตาและสบายใจมากๆ จึงขอแนะนำว่า การเดินขึ้นเขาตามวัดวาอารามต่างๆ ควรจะเดินขึ้นไปในช่วงที่พอมีฝนตกลงมาบ้าง ถ้าไปฤดูร้อนช่วงเดือนเมษายน จะมีสภาพที่แห้งแล้งเกินไปครับ

ระหว่างทางขึ้นเขา

ระหว่างทางขึ้นเขา

มองจากด้านบน จะเห็นพื้นที่การเกษตร

มองจากด้านบน จะเห็นพื้นที่การเกษตร

ระหว่างทาง จะมีจุดนั่งพักเป็นระยะ สามารถพักเหนื่อยกันได้ ชมบรรยากาศธรรมชาติ รู้สึกผ่อนคลายในวันพักผ่อนจริงๆครับ

ใกล้ถึงเป้าหมาย

ใกล้ถึงจุดเป้าหมาย

เมื่อเราเดินมาใกล้ถึงจุดหมาย จะสังเกตุเห็นรูปปั้นพระพุทธรูปด้านหน้า

รูปปั้นบูชาด้านบนยอดเขา ที่วัดสุวรรณคีรี

รูปปั้นบูชาด้านบนยอดเขา ที่วัดสุวรรณคีรี

ศาลาด้านบน

ศาลาด้านบน

เมื่อเดินขึ้นมาถึงยอดเขากันแล้ว จะมีศาลาหลังหนึ่ง เป็นการก่ออิฐ มุงหลังคา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป และมีการก่ออิฐกลางศาล คล้ายๆกับสร้างไว้เป็นพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งทุกๆปีในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) จะมีงานบุญประจำปีบนยอดเขานี้ และบูชารอยพระพุทธบาทจำลองด้วยครับ

รอยพระพุทธบาทจำลอง

รอยพระพุทธบาทจำลอง

เมื่อได้ทำการนมัสการกราบไหว้พระแล้ว เราจะเดินต่อไปยังพระวิหารอื่นๆต่อไปครับ

พระวิหารด้านบน

พระวิหารด้านบน

พระวิหารนี้จะตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลา พระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจะประดิษฐาน พระพุทธชินราช

ทางเดินขึ้นไปนมัสการพระพุทธไสยาสน์

ทางเดินขึ้นไปนมัสการพระพุทธไสยาสน์

พระเจดีย์บนยอดเขา

พระเจดีย์บนยอดเขา

วิหารพระพุทธไสยาสน์

วิหารพระพุทธไสยาสน์

พระพุทธไสยาสน์

พระพุทธไสยาสน์

จุดสำคัญอีก 1 จุด ของวัดสุวรรณคีรี (เขาดงยา) ฉะเชิงเทรา จะมีพระวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งจะมีประชาชนผู้มีจิตศรัทธามากราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก

ซากโบราณสถานบนเขาดงยาง

ประเพณีงานบุญประจำปี วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) ฉะเชิงเทรา

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งอพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งจะเรียกตัวเองว่า “ชาวลาวเวียง” ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา “งานบุญข้าวหลาม” เป็นประเพณีการทำบุญถวายข้าวหลาม ขนมจีนน้ำยาป่าแด่พระภิกษุสงฆ์ วัดหนองบัว วัดหนองแหน ซึ่งอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ประเพณีนี้มีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี (มาฆบูชา)

สาเหตุที่ถวายข้าวหลามนั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะเดือน 3 เป็นฤดูกาลของการเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่จะประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรทำนา จึงได้นำข้าวอันเป็นพืชหลักของตนเอง ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ซึ่งเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก นำมาทำเป็นอาหาร โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกเป็นวัสดุในการบรรจุ และนำไปเผาเพื่อทำให้ข้าวสุก เรียกว่า “ข้าวหลาม” และนำไปถวายพระภิกษุ การเผาข้าวหลาม ชาวบ้านจะเริ่มเผาในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 โดยชาวบ้านจะออกไปหาไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในหมู่บ้านมาทำกระบอกข้าวหลาม ซึ่งจะต้องเลือกลำไผ่ที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป ไม่มีตามด เพราะตามดจะทำให้มีกลิ่นเหม็นและไม่มีเยื่อ ทำให้ข้าวติดกระบอก ความยาวของปล้องไม้ไผ่ ห่างพอควร ยาวประมาณ 18 นิ้ว นำไม้ไผ่ทั้งลำมาตัด หรือเลื่อยเป็นท่อน ๆ โดยมีข้อต่อที่ก้นกระบอกจากนั้นนำ “ข้าวเหนียว” ที่มีกะทิผสมเรียบร้อยแล้ว ใส่กระบอกนำไปเผาไฟที่ลานบ้าน โดยขุดดินเป็นรางตื้น ๆ เป็นที่ตั้งกระบอกข้าวหลาม รอบ ๆ แถวข้าวหลามก่อกองไฟขนานไปกับข้าวหลาม บางบ้านใช้ต้นไม้ที่ตายแล้วทั้งต้นมาเป็นเชื้อเพลิง เช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะนำข้าวหลามขนมจีนไปทำบุญที่วัดการทำบุญข้าวหลามของชาว “ลาวเวียง” ยังคงทำกันตามประเพณีดั้งเดิมและผสมผสานกับประเพณีไทยก็คือการปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดเขาดงยาง (วัดสุวรรณคีรี) เขต ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กลางเดือน 3 ชาวบ้าน “ลาวเวียง” ซึ่งอยู่ห่างจากวัดดงยาง ประมาณ 4 – 6 กิโลเมตร ต้องเดินทางด้วยเท้าไปปิดทอง โดยใช้เส้นทางผ่านบ้านหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว ซึ่งมีชาวไทยเชื้อสายเขมร ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก ประเพณีบุญข้าวหลามจึงแพร่หลายสู่บ้านหัวสำโรง และรับเป็นประเพณีของชนกลุ่มตน เป็นประเพณี “ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม” ของชาวชุมชนหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา มาจนถึงทุกวันนี้

ช่วงเวลา
ประเพณีบุญข้าวหลามเป็นประเพณีของชาวลาวเวียงและลาวพวนในอำเภอพนมสารคามซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายลาวที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยเชื้อสายเขมรประเพณีนี้อาจเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่ก่อนเมื่อครั้งยังอยู่ในประเทศลาวจึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเท่ากับเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง
พิธีกรรม
วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านทุกบ้านจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระในเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ ตอนสายจะพากันเดินไปขึ้นเขาดงยาง ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อปิดทองรอยพระพุทธบาทบนเขาดงยาง และนำข้าวหลามไปรับประทานบนเขา

นอกเหนือจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกัน ของชนเผ่าผู้อพยพทางหนึ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องจากชุมชนลาวรุ่นแรกๆล้วนมาจากประเทศลาวแล้วแยกย้ายกันบุกเบิกป่าสร้างที่ทำกิน การกำหนดนัดพบหน้าโดยถือเอาวันสำคัญทางศาสนาเป็นแกนนั้นนับได้ว่าได้ทั้งบุญกุศส ได้ทั้งความรู้สึกอบอุ่นทางเชื้อชาติในคราวเดียวกัน

ที่มา : www.stou.ac.th

Image from : www.nakhontoday.com

Image from : www.nakhontoday.com

สำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวและทำบุญในครั้งนี้ ถือว่าได้บรรยากาศที่ร่มรื่น ร่มเย็นมากจริงๆ และวัดแห่งนี้ห่างจากนอกตัวเมือง จึงทำให้มีธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกทำลาย อีกทั้ง วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) แห่งนี้ได้ถูกจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จึงยิ่งทำให้สภาพของธรรมชาติมีความสมบูรณ์วัดหนึ่ง

ถ้ามีโอกาสได้เดินทางมาจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงขอแนะนำวัดแห่งนี้ เป็นโปรแกรมด้วยนะครับ

– จบบันทึกท่องเที่ยว วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) ฉะเชิงเทรา –

ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด

ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108

หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory

ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด