ตามรอยหลวงพ่อทองห่อ วัดโคกโพธิ์ อยุธยา พระเกจิสายหลวงพ่อทา (มีคลิป)

https://youtu.be/abboZ2jOmTM สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยพระเกจิแห่งทุ่งอุทัย วัดโคกโพธิ์ พระนครศรีอยุธยา นั่นคือหลวงพ่อทองห่อ ถิรญาโณ พระเกจิสายหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม สถานที่แห่งนี้มีตำนานเล่าขานมายาวนาน กล่าวกันว่าหลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตกได้ธุดงค์กลับมาจากกัมพูชาพร้อมด้วยหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ แล้วมาแยกย้ายกันที่วัดโคกโพธิ์แห่งนี้  ระหว่างนั้นหลวงพ่อทา ท่านเห็นว่าวัดโคกโพธิ์ เสื่อมโทรมอย่างหนัก จึงได้ดำริที่จะช่วยบูรณะวัดก่อนกับนครปฐม จึงทำให้หลวงพ่อทองห่อ ได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อทานั่นเอง ผมเดินทางผ่านบรรยากาศท้องทุ่งนา สวยงาม ได้ชมบรรยากาศรอบข้างก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบ เพราะมีความเงียบสงบที่ผมก็ชอบเป็นทุนเดิม (เดินทางช่วงต้นปี พ.ศ.2560) เมื่อมาถึงวัด ก็ได้พบกับความเงียบพอสมควร แต่ก็ยังเห็นผู้คนในท้องที่ เดินทางมาวัดกันอยู่บ้าง พระอุโบสถอยู่ในระหว่างการบูรณะ และก็เป็นจังหวะพอดีที่ได้พบพระในวัดกำลังเตรียมของประกอบพิธีทางศาสนา ท่านจึงได้เมตตาพาขึ้นไปบนศาลา เพื่อไปกราบสักการะรูปหล่อหลวงพ่อทองห่อ   บรรยากาศการเดินทางผ่านทุ่งนา และบรรยากาศท้องถิ่น ทุ่งอุทัย ผมได้จอดรถไว้บรเวณหน้าวัด ติดกับพระอุโบสถ ซึ่งกำลังบูรณะอยู่ จากนั้นผมก็เดินไปยังหลังวัด เพื่อดูบรรยากาศและหาโอกาสสอบถามเรื่องราวจากพระ  และก็มีพระกำลังเตรียมอุปกรณ์ประกอบพิธีทางศาสนา ผมจึงได้ถือโอกาสเข้าไปสอบถาม และท่านก็พาเดินขึ้นบนศาลาและพระอุโบสถ บนศาลาการเปรียญ จะประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อทองห่อให้ได้สักการะบูชา ผมได้เข้าไปกราบรูปหล่อหลวงพ่อทองห่อ และขอพร จากนั้นก็เก็บภาพบางส่วนไว้ด้วย ระหว่างนั้นพระสงฆ์ที่วัดได้พาไปชมธรรมมาสที่มีความเก่าแก่พอสมควร (สร้างปี พ.ศ.2472) ซึ่งเก็บรักษาไว้ด้านบนศาลา จึงสันนิษฐานกันว่าศาลานี้จะสร้างมาก่อน พ.ศ.2472 จากนั้นพระที่วัดได้พาผมไปที่พระอุโบสถที่กำลับูรณะ เพื่อไปชมพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ประดิษฐานด้านใน มีพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่ง มีจารึกการสร้างที่ฐานพระไว้ว่า หลวงพินิตย์นิตินัยสร้างอุทิศให้แก่บิดา มารดา พ.ศ.๒๔๕๗ จากนั้นผมจึงเดินออกมาหน้าพระอุโบสถ เพื่อไปกราบสถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทองห่อ จากนั้นผมก็เดินไปชมบรรยากาศโดยรอบวัด ก็ได้เห็นสิ่งปลูกสร้างที่ยังมีความเก่าแก่ สร้างจากไม้โดยทั่วบริเวณ เช่น… Read More »

ตามรอยหลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู พระเกจิแห่งสงครามอินโดจีน (มีคลิป)

https://youtu.be/D7CSBX99DPw สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยพระเกจิชื่อดังในอดีตแห่งวัดนางหนู ลพบุรี นั่นก็คือหลวงปู่จันทร์ จันทโชติ ท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียงในช่วงของสงครามอินโดจีน เล่ากันว่าช่วงนั้นมีเหล่าทหารมาขอวัตถุมงคลของท่านเพื่อเป็นสิริมงคลจำนวนมาก สภาพปัจจุบัน วัดนางหนูอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แต่ก็มีบรรยากาศที่เงียบเหงา เนื่องจากไม่ใช่วัดท่องเที่ยว ชาวบ้านจึงจะจัดงานบุญในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัดนางหนูไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างทีแน่ชัด แต่ความมีชื่อเสียงของวัดเกิดขึ้นจากบารมีของหลวงปู่จันทร์ ที่โด่งดังมากในช่วงของสงครามอินโดจีน ร่วมสมัยกับพระเกจิอาจารย์รูปอื่นๆ ได้แก่ หลวงพ่อจาด, หลวงพ่อจง, หลวงพ่อคง, และหลวงพ่ออี๋ เมื่อเดินทางไปถึง ก็จะมองเห็นพระอุโบสถโดดเด่น และมีวิหารรูปหล่อหลวงปู่จันทร์ให้ได้กราบไหว้บูชาและปิดทอง ผมเดินทางแล้วนำรถไปจอดข้างๆพระอุโบสถแล้วเดินกันเข้ามาด้านใน โดยมุ่งไปที่หลังวัดเป็นอันดับแรก ฝั่งตรงข้ามวัดนางหนูคือวัดบัว ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่จันทร์ได้ทำการอุปสมบท จากนั้นท่านก็ขอมาจำพรรษาที่วัดนางหนู เพราะสมัยนั้นวัดนางหนูมีสภาพทรุดโทรม ใกล้จะเป็นวัดร้าง จากนั้นผมก็เดินมายังศาลา ประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่จันทร์   ผมก็เข้ามากราบรูปหล่อหลวงปู่จันทร์ในศาลา  จากนั้นหลวงพ่อเปรื่อง อัตตมโน เจ้าวาสวัดนางหนูรูปปัจจุบัน ท่านได้ออกมาจากกุฏิ ผมจึงเข้าไปกราบนมัสการและบอกจุดประสงค์การเดินทางครั้งนี้ หลวงพ่อเปรื่อง ท่านจึงเมตตานำกุญแจเพื่อเข้าไปกราบรูปหล่อหลวงปู่จันทร์ ในมณฑปซึ่งล็อคไว้ เมื่อเปิดพระมณฑปเข้าไป ก็จะพบกับรูปหล่อหลวงปู่จันทร์ประดิษฐานอยู่ กลุ่มเราก็เข้าไปกราบขอพรตามปกติ หลังจากนั้นกลุ่มของผมก็เข้าสนทนากับหลวงพ่อเปรื่อง เจ้าอาวาสวัดนางหนู ซึ่งท่านก็เมตตามานั่งสนทนาด้วย เล่าเรื่องราวต่างๆให้กลุ่มผมฟัง และนำหนังสือเรื่องราวของวัดมาให้อ่านอีกด้วย การสนทนาใช้เวลาไม่นานนัก  ได้ความรู้และเรื่องราวมาบอกเล่าให้กับท่านผู้อ่านมากมาย จากนั้นกลุ่มของผมจึงกราบลาหลวงพ่อเพื่อเดินทางกลับ ประวัติหลวงปู่จันทร์ จันทโชติ พอสังเขป หลวงปู่จันทร์ จันทโชติ หรือหลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยสงครามอินโดจีน เป็นที่กล่าวขานจนถึงทุกวันนี้ หลวงปู่จันทร์ นามเดิมว่า จัน หรือจันทร์ สุดสาย เป็นชาวจังหวัดลพบุรี โดยกำเนิด… Read More »

หลวงพ่อฉาบ พระผู้ไม่ลงกุฏิกว่า 30 ปี แห่งวัดศรีสาคร สิงห์บุรี (มีคลิป)

https://youtu.be/A6-AKuvNCMQ คลิปแอดมินเล่าเรื่องหลวงพ่อฉาบ มังคโล วัดศรีสาคร สิงห์บุรี https://youtu.be/wGN7q_rc3wA สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ผมมีเรื่องราวดีๆมาถ่ายทอดให้ได้รับชมกัน เป็นเรื่องราวของหลวงพ่อฉาบ แห่งวัดศรีสาคร จังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันปี พ.ศ.2560 ท่านมีอายุย่างเข้าปีที่ 89  โดยท่านไม่ได้ลงกุฏิและไม่ได้รับกิจนิมนต์มากว่า 30 ปีแล้ว ครั้งนี้เป็นการเดินทางครั้งที่ 2 ของผม เนื่องจากครั้งแรกผมยังไม่ทราบเวลาให้เข้ากราบนมัสการ แม้ว่าท่านจะไม่ได้ลงกุฏิเป็นเวลานาน แต่ท่านก็ได้เมตตาต่อญาติโยมให้เข้าดราบไหว้ได้ทุกวัน เวลา 10.00 – 11.00 น. ส่วนเหตุผลที่ท่านไม่รับนิมนต์และลงกุฏินั้น แอดมินไม่ได้สอบถามถึงเหตุผล … แต่การเข้าไปกราบท่านในครั้งนี้ (วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2560) ผมก็ได้สัมผัสถึงความเมตตาของท่านอย่างเป็นที่สุด แม้ท่านจะชราภาพมาก แต่ท่านก็ได้กล่าวให้พรเสียงดังฟังชัด จนผมรู้สึกปิติอย่างบอกไม่ถูก บนกุฏิของท่าน เป็นกุฏิไม้ธรรมดา ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกใดๆ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีวิทยุ ไม่มีโทรศัพท์ส่วนตัว แม้แต่เครื่องปรับอากาศท่านก็ไม่ให้ติดตั้ง  มีเพียงคณะศิษย์ที่คอยดูแลอุปัฏฐากท่านอย่างใกล้ชิด แม้ว่าท่านจะห่างไกลจากเหตุการณ์ภายนอก แต่ท่านก็ทราบทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้น ด้วยปฏิปทาอันดีงามนี้เอง ผมจึงไม่แปลกใจเลยว่า จะมีผู้มีจิตศรัทธาต่อท่านเป็นอย่างมาก สังเกตุได้จาก สิ่งก่อสร้างภายในวัด เช่น เมรุ ศาลาการเปรียญ อาคารเอนกประสงค์ พระอุโบสถ และอื่นๆอีกมากมาย ที่ได้ทยอยสร้างกันในบริเวณวัด ทั้งๆที่ท่านไม่ได้ไปเรี่ยไรที่ไหนเลย …ปัจจัยทุกอย่างล้วนเกิดจากความศรัทธาที่เหล่าคณะศิษย์ได้สัมผัสถึงนั่นเอง ในวัดจะติดป้ายเรื่องห้ามถ่ายรูปหลวงพ่อ อาจจะเพราะด้วยความเชื่อบางอย่างของคณะศิษย์ ซึ่งผมก็ไม่ขอก้าวล่วง จึงได้บันทึกเป็นคลิปเสียงที่ท่านได้อวยพรให้กับแอดมินมาให้ได้รับฟังกันด้วย ตามคลิปบนยูทูปในช่วงท้าย… Read More »

วัดบางปลาหมอ หลวงพ่อสุ่นพระอาจารย์ของหลวงพ่อจงและหลวงพ่อปาน

https://youtu.be/4eVh5PBN2EQ สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดบางปลาหมอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงพ่อสุ่น ซึ่งเป็นพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของพระที่มีชื่อเสียงสองรูปคือหลวงพ่อจง แห่งวัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ประวัติวัดบางปลาหมอ ไม่พบหลักฐานการบันทึก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือไม่ก็รัตนโกสินทร์ตอนต้น แม้แต่ประวัติของหลวงพ่อสุ่น ก็หาได้ยากไม่ค่อยพบการบันทึก มีเพียงแต่การเล่าปากต่อปาก ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ ก็ได้ตายจากไปจนหมด จึงมีเรื่องราวของหลวงพ่อสุ่นน้อยเหลือเกิน ตามบันทึกของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้กล่าวว่า หลวงพ่อสุ่น เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโคและหลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่เรืองวิทยาคมและมีวิชารักษาโรค จึงได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่หลวงพ่อปานอีกด้วย หลวงพ่อสุ่นละสังขารเมื่อไหร่ ไม่มีบันทึก แต่หลังจากที่หลวงพ่อสุ่นละสังขารไป วัดบางปลาหมอก็เงียบลงไปอย่างมาก จนบางครั้งแทบเป็นวัดร้าง ผมได้เดินทางไปยังวัดบางปลาหมอ เมื่อปลายปี พ.ศ.2559 ซึ่งอยู่ห่างจากวัดบางนมโคไม่มากนัก ต้องบอกว่าวัดมีบรรยากาศเงียบเหงาอย่างมาก แตกต่างจากวัดบางนมโคอย่างยิ่ง ในใจผมก็อยากจะให้วัดกลับมามีบรรยากาศเหมือนดั่งในอดีต ให้สมกับเป็นวัดพระอาจารย์ของหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจง เช่นเดิม แต่ผมก็เข้าใจว่าเป็นไปตามหลักสัจธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา ถ้าท่านผู้ฟังได้รับฟังกันในวันนี้ ก็อยากให้ลองไปเที่ยวชมบรรยากาศกันบ้างจะเป็นการดี อาจจะทำให้บรรยากาศกลับมาเหมือนเดิม สุดท้าย ผมจึงขอนำบรรยากาศในวัดบางปลาหมอ มาให้ชมด้วย ซึ่งมีเพียงกลุ่มผมเท่านั้น บรรยากาศเงียบ เห็นเพียงสุนัข ที่คอยวิ่งมาต้อนรับ วิหารรูปหล่อหลวงพ่อสุ่นถูกล็อคเข้าไม่ได้ รวมถึงพระอุโบสถที่สวยงามด้วยประตูลายรดน้ำ ส่วนวิหารพระนอนสามารถเข้าไปกราบได้ครับ เรียนเชิญรับชมบรรยากาศกันเลยครับ       พุทธวิหารมงคลอุปถัมภ์ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ 2 องค์ ตามบันทึก หลวงพ่อสุ่น เป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์มงคลชินวัฒน์ มีความยาว 5.19 เมตร และพระพุทธไสยาสน์มงคลสรรเพชญ มีความยาว… Read More »

เหตุการณ์อัศจรรย์ ในงานยกฉัตรบรรจุพระธาตุเจดีย์หลวงปู่มั่น วัดภูริทัตตถิราวาส

https://youtu.be/wqwBB3o38Q0 วันนี้ผมขอนำเรื่องราวอัศจรรย์ เป็นประสบการณ์จากผู้ใช้เฟสบุ๊คที่ชื่อว่า คุณ“Sahai Dhamma” ซึ่งผมอ่านแล้ว รู้สึกปิติอย่างมาก จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้เป็นประวัติศาสตร์อีกครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่คุณ “Sahai Dhamma” ได้ไปอยู่ในพิธีงานยกฉัตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ เจดีย์พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2560 วัดป่าภูริทัตตถิราวาส หรือเดิมชื่อว่า วัดป่าบ้านหนองผือ เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ได้จำพรรษาเป็นเวลา 5 พรรษาสุดท้ายก่อนที่จะละสังขาร ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร จึงถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในเส้นทางธรรมของหลวงปู่มั่น เมื่อปีที่ผ่านมา คือ ปีพ.ศ. 2559 ผมเคยโพสบน Facebook เกี่ยวกับงานบุญสร้างพระเจดีย์และวัตถุมงคลที่ใช้บรรจุในพระเจดีย์แห่งนี้ไว้ด้วย ผมได้เดินทางไปทำบุญในการสร้างพระเจดีย์ ที่วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ และได้รับวัตถุมงคลพระผงหลวงปู่มั่นมาเป็นที่ระลึกจำนวนหนึ่ง โดยผมได้แบ่งแจกฟรีเป็นอภินันทการให้กับแฟนเพจไปจำนวน 17 ท่าน ไว้บูชาด้วย วัตถุมงคลนี้ เป็นวัตถุมงคลที่ได้รับการอธิษฐานจิตอย่างต่อเนื่องจากหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ที่ได้อุปัฏฐากหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิดถึง 4 ปี ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ที่ยังทรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน ด้วยอายุถึง 97 ปี ใน ปีพ.ศ.2560 เมื่อกล่าวถึงหลวงพ่อวิริยังค์ ผมขออนุญาตนำเรื่องราวประสบการณ์ของผมเองเมื่อได้ทำบุญกับท่านครั้งแรกมาเล่าให้ฟัง ผมเคยเดินทางไปทำบุญตักบาตรกับท่านที่ วัดศรีรัตนธรรมาราม จ.สมุทรปราการ ในงานสอนสมาธิแก่คณะสงฆ์ ครั้งนั้น… Read More »

แอดมินเล่าเรื่อง พญาครุฑกับพระอริยสงฆ์ (มีคลิปเล่าเรื่อง)

สวัสดีท่านผู้ติดตามทุกท่าน วันนี้ผมจะขอถือโอกาสมากล่าวถึงตำนานพญาครุฑกับพระอริยสงฆ์ไทยให้ได้รับชมรับฟังกัน โดยปกติในสังคมไทยเกี่ยวกับเรื่องราวความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีมาแต่โบราณ โดยเฉพาะเรื่องเทพเทวดาต่างๆ นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์กึ่งเทพ อาทิเช่น พญานาค พญาครุฑ เป็นต้น แต่ส่วนมากตามข่าวต่างๆ รวมถึงประวัติของครูบาอาจารย์ เรามักจะคุ้นเคยเกี่ยวกับเรื่องพญานาคซะมากกว่า ทั้งนี้ก็ขอให้ใช้วิจารณญาณในการที่จะเชื่อให้มากๆ ด้วยนะครับ ผมเคยสงสัยว่า นอกจากเรื่องพญานาค ที่ปรากฏให้เห็นในประวัติครูบาอาจารย์แล้ว จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับพญาครุฑบ้างหรือไม่ ผมจึงได้ลองค้นหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งส่วนมากเป็นหนังสือประวัติครูบาอาจารย์ และผมก็เคยนำเรื่องราวเกี่ยวกับพญาครุฑมาบันทึกเสียงให้ได้รับฟังกันบนยูทูปไปหลายคลิป อาทิเช่น เรื่องราวของหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี, หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท และ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นต้น แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับพญาครุฑ ค่อนข้างน้อยกว่าเรื่องราวของพญานาค… ทั้งนี้ ตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธเรื่องราวของพญาครุฑและพญานาค โดยมีความเชื่อว่า ทั้งพญานาคและพญาครุฑจะอยู่ในการปกครองของท้าวจตุโลกบาล ในสวรรค์ชั้นที่ 1 หรือ ชั้นจาตุมหาราชิกา ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 แต่ละองค์ได้แก่ ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองครุฑ ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวกุเวรมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ โอกาสนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวสรุปเกี่ยวกับพญาครุฑกับพระอริยสงฆ์ในบางรูปมานำเสนอ ดังต่อไปนี้ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี แห่งวัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นคนลาว ซึ่งแต่เดิมนั้นเคยบวชเป็นฤาษีอาศัยอยู่ตามป่าตามถ้ำ… Read More »