เที่ยววัดเขาสมอคอน ลพบุรี ตามรอยพระเกจิหลวงพ่อบุญมี

By | December 14, 2015

https://youtu.be/7jo-lZXFDG0

วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยววัดเขาสมอคอน เป็นวัดที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี โดยมีพระเกจิชื่อดังคือหลวงพ่อก๋ง และหลวงพ่อบุญมีเคยเป็นเจ้าอาวาสที่นี่ และที่สำคัญคือเป็นวัดที่เก่าแก่ มีตำนานเล่าขานกันมายาวนาน โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเขาสมอคอนไว้ใน “ตำนานเมืองลพบุรี”

วันที่ผมเดินทางเป็นวันที่แจ่มใสมาก ของช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เว้นว่างจากงานประจำ ระยะทางก็ไม่ไกลากนักเพราะผมพักที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทิวทัศน์ระหว่างการเดินทาง

ทิวทัศน์ระหว่างการเดินทาง

ถึงแล้ววัดเขาสมอคอน

ถึงแล้ววัดเขาสมอคอน

ที่วัดเขาสมอคอน จะมีลานจอดรถกว้างขวาง มองเห็นหนุมานแบกภูเขามาแต่ไกล ถือว่าเป็นจุดเด่นของวัดแห่งนี้เลยหล่ะครับ

ก่อนที่ผมจะพาเดินเที่ยวชมวัดเขาสมอคอนแห่งนี้ เรามารู้ตำนานคร่าวๆกันก่อน ซึ่งผมคัดลอกมาจากป้ายที่วัดดังนี้

ตำนานเขาสมอคอน

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกเกี่ยวกับเขาสมอคอนไว้ใน ตำนานเมืองลพบุรี ตามหลักฐานจากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ ความแก้ใหม่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2456 ว่า

เขาสมอคอน เหมือนเกาะอยู่กลางทุ่งไปทางด้านเหนือ มีถ้ำ และมีวัดโบราณ อยู่ที่เขานี้หลายแห่ง และมีตำนานในหนังสือพงศาวดารเมืองหริภุญไชยว่า เมื่อครั้งขอมเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองละโว้ มีฤาษีตนหนึ่งชื่อ สุกะทันต์ จำศีลอยู่ที่เขาสมอคอนนี้ เป็นผู้ทูลให้พระเจ้ากรุงละโว้ตั้งนางจามเทวีราชธิดาไปครองเมืองหริภุญไชย คือ เมืองนครลำพูน ในมณฑลภาคพายัพ

ตามตำนาน เขาสมอคอนถือว่าเป็นสำนักตักศิลาสำคัญในสมัยโบราณเป็นที่อยู่ของสุกกทันตฤๅษี อาจารย์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา เมื่อครั้งทั้งสองพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยา ณ เขาสมอคอน

พระอุโบสถวัดเขาสมอคอน

พระอุโบสถวัดเขาสมอคอน

ถัดมาเล็กน้อย จะเป็นพระอุโบสถ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่นักและถูกปิดอยู่ จะเปิดเมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนา ผมจึงไม่ได้แวะเข้าไปชมด้านใน

ผมจึงเดินไปยังวิหารที่เก็บรักษาสังขารของหลวงพ่อฉลวยและหลวงพ่อบุญมี ซึ่งมีสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้ว

รูปหล่อหลวงพ่อก๋งและหลวงพ่อบุญมี

รูปหล่อหลวงพ่อก๋งและหลวงพ่อบุญมี

ด้านในศาลาเก็บสังขารหลวงพ่อบุญมี และหลวงพ่อฉลวย

ด้านในศาลาเก็บสังขารหลวงพ่อบุญมี และหลวงพ่อฉลวย

ภายในศาลาจะเป็นสถานที่เก็บรักษาสังขารหลวงพ่อบุญมีและหลวงพ่อฉลวยในโลงแก้ว… สังขารหลวงพ่อบุญมีจะตั้งอยู่ด้านบน ส่วนสังขารหลวงพ่อฉลวบจะตั้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งทั้งสองรูปมีสังขารไม่เน่าเปื่อยเลยครับ

สังขารหลวงพ่อบุญมี

สังขารหลวงพ่อบุญมี

สังขารหลวงพ่อฉลวย

สังขารหลวงพ่อฉลวย

ภายในศาลาติดแอร์เย็นสบายดีครับ สำหรับท่านที่เดินทางมาร้อนๆ ถือว่าได้โอกาสนั่งพักภายในนี้ … หลังจากกราบสังขารหลวงพ่อแล้ว ผมจึงได้บริจาคปัจจัยบางส่วนไว้เป็นสังฆทานแก่วัดด้วย

จากนั้นก็เดินดูรูปเก่าๆ และวัตถุมงคลทั้งเก่าและใหม่ของวัดเขาสมอคอน

มีอาคม หลวงพ่อบุญมี

มีอาคม หลวงพ่อบุญมี

มีดอาคมหลวงพ่อบุญมีถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่นักสะสมต้องการมาก ซึ่งยังมีให้บูชาอยู่หลายเล่มครับ ตามภาพด้านบน

วัตถุมงคลรุ่นหลังๆ

วัตถุมงคลรุ่นหลังๆ

รูปภาพเก่าด้านในศาลา

รูปภาพเก่าด้านในศาลา

ถ้ำพระนอน

ถ้ำพระนอน

หลังจากที่ผมเดินดูถาพต่างๆ และวัตถุมงคลแล้ว…จึงได้เดินทางไปยังถ้ำพระนอน ซึ่งก็เป็นจุดสำคัญของวัดเขาสมอคอนเช่นกัน

ลวสู่ถ้ำพระนอน

ลวสู่ถ้ำพระนอน

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ภายในถ้ำ

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ภายในถ้ำ

พระพุทธไสยาสน์ มีขนาดความยาวๆราวๆ 10 เมตร … สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ก็ได้รับการบูรณะสมบูรณ์ดีครับ

พระพักตร์พระนอน

พระพักตร์พระนอน

นอกจากพระนอนแล้ว ภายในถ้ำยังพบชิ้นส่วนแตกหักของพระพุทธรูปเก่าที่สันนิษฐานว่าเก่าแก่ในสมัยอยุธยาอยู่หลายชิ้น

ซากพระพุทธรูปในถ้ำ

พระพุทธรูปแตกหักในถ้ำ

รอยสลักพระพุทธรูปบนผนังถ้ำ

รอยสลักพระพุทธรูปบนผนังถ้ำ

หลังจากได้กราบไหว้พระพุทธรูปกันเรียบร้อยแล้ว เราก็พากันเดินลงไปยังถ้ำด้านล่าง

ถ้ำด้านล่าง

ถ้ำด้านล่าง

เมื่อลงมายังถ้ำด้านล่าง ก็จะเห็นเป็นลักษณะคล้ายมณฑป มีรูปปั้นฤาษีสุกกะทันตะ ตั้งอยู่

ฤาษีสุกกะทันตะ

ฤาษีสุกกะทันตะ

ป้ายคำบูชาฤาษี

ป้ายคำบูชาฤาษี

ผมได้ทำการบูชาฤาษี เพราะท่านก็เป็นผู้ทรงศีลเช่นกัน มีศีลเหนือกว่ามนุษย์ทั่วไปอย่างเราๆครับ

ปล่องถ้ำด้านบน

ปล่องถ้ำด้านบน

ภายในถ้ำจะมีแสงสว่าง จากปล่องถ้ำด้านบนทำให้ไม่มืด และดูสวยงามดีครับ

เทวรูปต่างๆ ในถ้ำ

เทวรูปต่างๆ ในถ้ำ

นอกจากนี้ ในบริเวณใกล้เคียงกัน ก็จะพบเทวรูปมากมาย ทั้งเทพในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ

หลังจากชมความงามของถ้ำกันจนหนำใจกันแล้ว พวกเราก็เดินขึ้นด้านบนเพื่อไปชมความงามของเจดีย์ทรงลังกา ที่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

พระเจดีย์ด้านบน

พระเจดีย์ด้านบน

บรรยากาศทิวทัศน์จากด้านบน

บรรยากาศทิวทัศน์จากด้านบน

ทิวทัศน์ด้านบน จะมองเห็นทิวเขาสมอคอนด้วยมุม 360 องศา ปะทะกับลมเย็นๆ ช่างได้บรรยากาศอันสดชื่นซะจริงๆครับ

ระหว่างการเดินชมวัด ก็มีเด็ก 2 คนเดินตามผมต้อยๆ และบอกกับผมว่าเป็นมัคคุเทศน์น้อย แต่ผมก็ไม่ได้ใช้บริการอะไรมากมายนะครับ ก็ดูน่ารักดี เลยให้เงินไปกินขนมคนละ 20 บาท

มัคคุเทศน์น้อยที่วัดเขาสมอคอน

มัคคุเทศน์น้อยที่วัดเขาสมอคอน

หลังจากนั้นก็ไป ณ จุดเด่นที่มองเห็นมาแต่ไกลนั่นก็คือ หนุมานแบกภูเขา ซึ่งต้องเดินขึ้นไปอีกราวๆ 300 ขั้น ซึ่งก็ไม่ได้สูงมากมายนักสำหรับผมสบายๆครับ ซึ่งวัดเขาวงพระจันทร์ เดินขึ้นสูงกว่านี้หลายเท่านักก็ยังผ่านมาแล้ว

ขึ้นไปยังรูปปั้นหนุมาน

ขึ้นไปยังรูปปั้นหนุมาน

หนุมาน ณ วัดเขาสมอคอน

หนุมาน ณ วัดเขาสมอคอน

หนุมาน ณ วัดเขาสมอคอน

หนุมาน ณ วัดเขาสมอคอน

เรื่องราวของหนุมานแบกภูเขา จะอยู่ในเรื่องราามเกียรติ์

เมื่อครั้งที่พระลักษณ์ซึ่งเป็นน้องพระรามถูกหอกโมกขศักดิ์ของยักษ์อินทรชิต ซึ่งหอกนี้มีฤทธิ์ร้าย ถ้าไม่ถอนหอกอกได้ภายในราตรี พระลักษณ์จะต้องทิวงคตสิ้นชีพ หนุมานขันอาสาไปหาต้นสังกรณีตรีชวา ซึ่งมีอยู่เพียงแห่งเดียวคือที่ “ภูเขาสรรพยา” เพื่อนำมาฝนเป็นยารักษาพระลักษณ์ แต่ต้นสังกรณีตรีชวาเป็นต้นไม้วิเศษ จึงแอบเล่นซ่อนหากับหนุมาน ด้วยความรีบร้อน หนุมานจึงแปลงกายเป็นร่างใหญ่แบกภูเขาเอาไปทั้งลูก ระหว่างทาง เศษดิน หิน ร่วงหล่นยังทุ่งนาแห่งหนึ่งเกิดเป็นเทือกเขาเล็กๆ ขึ้นกลางทุ่งนาจึงเรียกทุ่งนาแห่งนั้นกันต่อๆ มาว่าเขาสมอคอน มาจนบัดนี้ บางเรื่อง ได้เล่าต่างกันไปว่า ขณะที่หนุมานกำลังเหาะกลับจากเก็บสังกรณีตรีชวา เห็นไฟกำลังไหม้ทุ่งแดงฉานจึงสลัดหินดินทรายที่ติดมากับต้นสังกรณีตรีชวาให้ร่วงหล่นเพื่อดับไฟ หินทรายเหล่านั้นกลายเป็นเทือกเขาสมอคอน

สรุปวัดเขาสมอคอน

ณ จุดนี้จึงเป็นจุดสุดท้ายที่ผมเดินทางมาเที่ยว ทำบุญที่วัดเขาสมอคอน ซึ่งก็ใช้เวลาราวๆ 2 ชั่วโมง ถือได้ว่าคุ้มค่ากับการเดินทางมาในครั้งนี้ … วัดดูสงบเงียบ ผู้คนเดินทางมาไม่มากนัก อาจจะเพราะห่างไกล แต่สำหรับนักเดินทางก็ถือว่าสามารถมากันได้สะดวก อีกทั้งบริเวณเขาสมอคอนยังมีวัดอีกมากมายที่น่าเข้าไปท่องเที่ยวกันได้ ซึ่งตั้งอยู่เขาสมอคอนทั้งหมด ถ้าผมมีเวลาจะกลับมาท่องเที่ยวให้ครบบริบูรณ์ ณ เขาสมอคอนแห่งนี้… สวัสดีครับ…

ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด

ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108

หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory