วัดพระงาม(ร้าง) อยุธยา ประตูแห่งกาลเวลา ซุ้มประตูถูกโอบล้อมด้วยต้นโพธิ์

By | July 8, 2015


https://youtu.be/MScJq551lkA

พาเดินทางไปวัดพระงาม มาตามเส้นทางนี้ถึงแน่นอน


https://youtu.be/BXrBk6ozNCw

สวัสดีกันอีกครั้งครับ สำหรับการเดินทาง ภาระกิจท่องเที่ยววัดวาอาราม ไปทั่วของผม… ช่วงนี้ไม่ได้ไปไหนไกลสักเท่าไหร่ เพราะอากาศร้อนเหลือเกิน เลยเดินทางในเขตพระนครศรีอยุธยาเป็นหลักไปก่อน … ครั้งนี้ก็ได้เดินทางไปชมพื้นที่วัดร้างในเขตของคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะเดินทางง่าย … แต่ถึงแม้จะง่าย ก็ไม่ค่อยเจอผู้คนสักเท่าไหร่ เดินเล่นอยู่คนเดียว เลยครับงานนี้… ถามว่าหลอนมั้ย ก็มีหลอนนิดหน่อย สิ่งที่หลอนคือหลอนสุนัขเห่านะครับ …

วันนี้ผมมาถึงวัดพระงามหรือวัดชะราม เป็นวัดที่เราสามารถมองเห็นเจดีย์มาจากถนนใหญ่ที่จะเดินทางไปวัดภูเขาทอง ในบริเวณคลองสระบัวจะปรากฎวัดร้างเรียงรายเป็นแนวมากมายเลยครับ ผมก็จะทยอยเดินทางเก็บไปเรื่อยๆ แต่ถ้าวัดไหนยังไม่บูรณะ ก็คงไม่เข้าไปนะครับ ผมไม่มีพวก ฮ่าๆ ส่วนมากเดินทางไปคนเดียว …หายากครับสำหรับเพื่อนร่วมทาง เพราะไม่ใช่บรรยากาศที่สุนทรีย์ เหมือนวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่

สำหรับวัดพระงาม ผมก็ไม่ทราบประวัติเลยครับ เดินทางมาตามป้ายบอกทางแล้วก็ทะลุเข้ามาถึงสถานที่ ก็ได้แต่อ่านป้ายประวัติคร่าวๆที่ทางกรมศิลปากรได้ติดประกาศเอาไว้ ระบุเพียงว่า  เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศเหนือบริเวณทุ่งขวัญ มีเจดีย์แปดเหลี่ยมเป็นเจดีย์ประธานของวัด และพบว่าผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง สำหรับประวัติไม่มีปรากฏแน่ชัด
แต่พบปรากฏชื่ออยู่ในโคลงนิราศนครสวรรค์ ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2201 ในโอกาสโดยเสด็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหหยาตราทางชลมารคไปเมืองนครสวรรค์เพื่อรับช้างเผือก

เนื้อเรื่องโคลงโดยสรุปคือ เริ่มต้นกล่าวชมปราสาทราชวัง และกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ต่อจากนั้นพรรณนาสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางการเดินทาง เช่น เพนียดคล้องช้าง วัดพระงาม ไชโย บ้านแป้ง เมืองอินทรบุรี จบลงตอนกล่าวถึงเขาสรรพยา

เนื้อความบางตอนมีดังนี้

เนื้อเรื่องโคลงโดยสรุปคือ เริ่มต้นกล่าวชมปราสาทราชวัง และกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ต่อจากนั้นพรรณนาสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางการเดินทาง เช่น เพนียดคล้องช้าง วัดพระงาม ไชโย บ้านแป้ง เมืองอินทรบุรี จบลงตอนกล่าวถึงเขาสรรพยา

เนื้อความบางตอนมีดังนี้

แสงโสมใสสว่างถั้ว เวหา
เรือดำเนินไคลคลา คล่าวน้ำ
ถึงวัดพระงามนา วาจอด แลนา
วัดพระงามงามล้ำ เลิศแท้งามสม ฯ

วัดพระงาม ประตูสู่กาลเวลา

วัดพระงาม ประตูสู่กาลเวลา

วัดพระงาม ประตูสู่กาลเวลา

วัดพระงาม ประตูสู่กาลเวลา

สำหรับการศึกษาทางโบราณคดีได้กล่าวว่าสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และถูกทิ้งร้างหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310

ซุ้มประตูวัดถูกโอบล้มด้วยต้นโพธิ์

ซุ้มประตูวัดถูกโอบล้มด้วยต้นโพธิ์

ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้ นอกจากพระเจดีย์แปดเหลี่ยมแล้ว ก็จะมีซุ้มประตูวัดที่ถูกโอบล้อมด้วยต้นโพธิ์ ที่นักท่องเที่ยวมักจะถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกเสมอๆ

หน้าพระอุโบสถ

หน้าพระอุโบสถ

เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมหลังพระอุโบสถ

เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมหลังพระอุโบสถ

พื้นที่พระอุโบสถ

พื้นที่พระอุโบสถ

ในส่วนของพระอุโบสถ จะมองเห็นพระพุทธรูปที่แตกหักอยู่ 1 องค์

ใบเสมาที่แตกหัก

ใบเสมาที่แตกหัก

ใบเสมาที่แตกหัก

ใบเสมาที่แตกหัก

โดยรอบพระอุโบสถ เราจะเห็นฐานใบเสมาทั้งแปดทิศที่ได้รับการบูรณะแล้ว โดยจะมีเศษใบเสมาที่แตกหักพังวางตั้งไว้ด้านบนฐานทั้ง 8 ทิศรอบพระอุโบสถ

ภาพซุ้มประตูและกำแพงแก้วอีกด้านหนึ่ง

ภาพซุ้มประตูและกำแพงแก้วอีกด้านหนึ่ง

บรรยากาศในวัด

บรรยากาศในวัด

สระบัวข้างวัด

สระบัวข้างวัด

เด็กๆชาวบ้านแถบนี้ ก็เดินเล่นมาทักทาย น่ารักดีครับ

สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระงามหรือวัดชะราม ผมได้ค้นเจอจากศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม โดยมีเนื้อหาพอสังเขปดังนี้

วัดพระงามนี้ไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสารเกี่ยวกับวัดพระงาม จากหลักฐานการขุดแต่งพบว่าวัดพระงามมีผังตามที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขอบเขตของวัดกำหนดจากคูน้ำล้อมรอบทุกด้าน มีเจดีย์ประธานอยู่หน้าโบสถ์ ซึ่งสันนิษฐานว่า ถูกดัดแปลงมาจากวิหาร เจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมซ้อนอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม เจดีย์องค์นี้มีร่องรอยของการพอกอีกชั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ ลักษณะของเจดีย์สามารถนำไปเปรียบเทียบกับเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นและสืบต่อมาถึงอยุธยาตอนปลาย ส่วนโบสถ์เป็นอาคารยกพื้นมีฐานรอบอาคาร มีร่องรอยการสร้างทับอาคารเดิม จากการขุดแต่งและขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมประเภทดินเผาปูนปั้น และโลหะ กระเบื้องมุงหลังคา ลวดลายปูนปั้นรูปนาคเทวดา เทพนม ตะปูจีน ฯลฯ ส่วนประเภทรูปเคารพทางศาสนาพบส่วนหน้าตักของพระประธาน พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องปางสมาธิ

นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น สิ่ว ผอบ หม้อก้นกลม เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาบ้านบางปูน เตาแม่น้ำน้อย เตาศรีสัชนาลัย เตาสุโขทัยภาชนะดินเผาต่างประเทศที่พบมีเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เครื่องถ้วยเวียดนามและญี่ปุ่น จากโบราณวัตถุที่พบทั้งหมดและลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สามารถกำหนดอายุได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปลายพุทธศตวรรษที่ 19-20 ลงมาถึงอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 23-24

ที่มา : www.m-culture.in.th

 


https://youtu.be/wZRC2ToxqHY

ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด

ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108

หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory

เว็บไซต์หลัก www.faiththaistory.com