Tag Archives: อยุธยา

วัดบันไดนาค วัดร้างที่เหลือเจดีย์ถูกเจาะหาสมบัติพรุนไปทั้งองค์ ในป่าที่อยุธยา

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยวัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้ามไปยังฝั่งทิศใต้นอกเกาะพระนครศรีอยุธยา ที่ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อไปยังวัดบันไดนาค ซึ่งเป็นวัดร้างยังไม่ผ่านการบูรณะ ปัจจุบัน(ปี 2566) ยังหลงเหลือซากเจดีย์สมัยอยุธยา ที่ถูกเจาะหาสมบัติจนพรุนทั้งองค์ วัดแห่งนี้ไม่พบข้อมูลเอกสารบันทึก แม้แต่หนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ที่ อ.น. ณ ปากน้ำได้ลงพื้นทีสำรวจ เมื่อราวปลายปี 2509 ก็ไม่ปรากฏการพบวัดแห่งนี้ ซึ่งสมัยนั้นคงอยู่ในป่ารกทึบ ประกอบกับวัดร้างในอยุธยามีเป็นจำนวนมาก จึงอาจตกสำรวจในครั้งนั้น แม้วัดบันไดนาค จะยังไม่ผ่านการบูรณะ แต่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้เรียบร้อยแล้ว  พื้นที่วัดบันไดนาค มีสภาพที่มีวัชพืชและต้นไม้ขึ้นปกคลุมจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะต้องลุยป่าเข้าไป ซากองค์เจดีย์ของวัดบันไดนาค มีสภาพถูกเจาะหาสมบัติด้านในจนพรุนไปทั้งองค์ เกือบจะพังทลายลงมา เมื่อเรามองเข้าไปด้านในจะเห็นช่องกรุ เป็นห้องกลวงที่เคยถูกค้นหาเมื่อครั้งอดีต สำหรับเรื่องการขุดหาสมบัติในอยุธยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากได้กอบกู้คืนเอกราช ซึ่งมีบันทึกในเอกสารจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาครั้งกรุงศรีอยุธยา บันทึกไว้ว่า มีการขุดหาสมบัติตามวัดในกรุงศรีอยุธยาโดยคนจีนและคนไทย พบของมีค่าและทองคำ มีจำนวนมากจึงต้องนำออกไปเป็นลำเรือ แม้แต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ให้รื้ออิฐไปสร้างกรุงใหม่ ก็มีการลักลอบขุดหาสมบัติด้วยเช่นกัน กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี จนมาถึงปัจจุบัน โบราณสถานทุกแห่งในกรุงศรีอยุธยา จึงถูกทำลายไปมากมาย เนื่องจากไม่พบบันทึกประวัติการสร้างวัด จึงสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปกรรมของเจดีย์ วัดบันไดนาค ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเจดีย์ของวัดบันไดนาคไว้ว่า ชั้นซ้อนเจดีย์มีความคล้ายกับเมรุรายที่วัดไชยวัฒนราม ซึ่งมีชั้นซ้อนรองรับด้วยบัวหงายต่อกันขึ้นไปหลายชั้นจนแทบไม่เหลือยอด แม้จะเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมก็ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างถึงสมัยอยุธยาต้น แต่เป็นเจดีย์ที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบวัดไชยวัฒนารามในสมัยอยุธยาตอนปลาย สุดท้ายนี้ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีครับ / แอดมินลุงตั้ม (ยุทธนา ผิวขม) ช่องทางการติดตาม Facebook : เพจภารกิจเที่ยววัด YouTube… Read More »

โบราณสถานและเจดีย์แบบลาว ลุ่มน้ำป่าสัก วัดพระนอน นครหลวง อยุธยา

วันนี้จะพาไปเที่ยววัดพระนอน อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้มีพื้นที่อยู่ทั้งสองฟากถนน ฝั่งหนึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารโบราณสถานร้าง อีกฟากหนึ่งจะเป็นสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งผมแวะเข้าไปด้วยความบังเอิญ และได้พบกับโบราณสถานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ได้แก่ อาคารร้างรวมถึงซากโบราณวัตถุหลายชิ้น และเจดีย์โบราณแบบลาว เป็นอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงชุมชนลาวที่เข้ามาอาศัยแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักตั้งแต่ครั้งอดีต เจดีย์โบราณซึ่งตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของโบราณสถานร้าง วัดพระนอน เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก จากรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเจดีย์แบบลาว ซึ่งมีความคล้ายกับพระธาตุดำ ในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในสมัยกรุงธนบุรี เกิดความขัดแย้งในอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์คุมกองกำลังไปยึดนครเวียงจันทน์และกวาดต้อนชาวลาวนับหมื่นเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก และในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการยกกองกำลังขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนจนประสบความสำเร็จ และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 ก็มีศึกกับนครเวียงจันทน์และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราจึงอาจจะได้พบเห็นอัตลักษณ์รูปแบบสถาปัตยกรรมของลาวในวัดแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง เช่น วัดใหญ่เทพนิมิตร เป็นต้น ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

เจดีย์ร้างกลางทุ่งที่สร้างไม่เสร็จ วัดเจดีย์หัก นครหลวง อยุธยา

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวอันซีน ไปชมโบราณสถานวัดร้าง กลางทุ่งนา ณ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยคนในพื้นที่เรียกกันว่า “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งหลงเหลือซากเจดีย์ตั้งโดดเด่นรายล้อมไปด้วยท้องทุ่งนาเกษตรกรรม และผมได้ทราบข้อมูลมาว่า เป็นเจดีย์ที่สร้างไม่แล้วเสร็จอายุราวร้อยกว่าปีมานี้เอง สร้างโดยหลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์ วัดบ้านชุ้ง แต่หลวงปู่ปลอดได้มรณภาพไปเสียก่อน ทำให้เจดีย์แห่งนี้สร้างไม่แล้วเสร็จ จึงถูกขนานนามกันว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา คุณณัชทัพพ์ ทองคำ(เพจไสยไสยวิทยา) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดเจดีย์หักไว้อย่างน่าสนใจ เพราะได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวมาจากแม่ยายของเขาเอง คือครูจินตนาซึ่งเป็นลูกหลานของหลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์  คุณณัชทัพพ์ให้ข้อมูลว่า วัดเจดีย์หัก ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์นี้สร้างไม่แล้วเสร็จ เหลือแต่ฐานล่างและซุ้มมุขหน้า แต่ยอดไม่แล้วเสร็จเพราะหลวงปู่ปลอดท่านได้มรณภาพเสียก่อน เจดีย์หักของหลวงปู่ปลอด ปัจจุบันคนนอกถิ่นไม่ค่อยรู้จัก หลายคนอาจคิดไปว่าเป็นโบราณสถานสมัยอยุธยา ซึ่งแท้จริงแล้วสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง หลวงปู่ปลอด ท่านเป็นพระเกจิที่มีพลังจิตแก่กล้า เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่นวม วัดกลาง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระเถระสหธรรมิกกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา และหลวงปู่กรอง วัดเทพจันทร์ลอย พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์ เป็นพระผู้สร้างวัดบ้านชุ้งและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นสายบรรพบุรุษของตระกูล “ทองสาริ” ตระกูลคหบดีเจ้าของคานเรือ และที่นาจำนวนมากในพื้นที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ปลอดท่านมีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ตั้งใจสร้างวัดและพระเจดีย์เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ในช่วงรัชกาลที่ 5 – 6 อีกทั้งท่านยังเป็นญาติและผู้อุปการะครูฟ้อน ดีสว่าง หรืออาจารย์ฟ้อน ประสะเลือด… Read More »

สระน้ำโบราณ 400 ปี วัดยม บางบาล อยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดยม ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา วัดยมแห่งนี้แม้ไม่ใช่วัดร้าง แต่ได้ปรากฏให้เห็นซากโบราณสถานสำคัญ และมีความอันซีนที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้ ได้แก่ สระน้ำโบราณหรือบ่อน้ำโบราณที่มีการก่ออิฐโดยรอบ มีความสมบูรณ์และสวยงามอย่างยิ่ง ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ทุกวัด มีเจดีย์โบราณฐานแปดเหลี่ยมที่ผ่านการบูรณะแล้ว สิ่งปลูกสร้างอื่นเช่น อุโบสถ แม้จะได้รับการสร้างบูรณะใหม่บนฐานอุโบสถเดิม แต่พบใบเสมาหินชนวนแบบอยุธยาที่มีความสมบูรณ์หลงเหลืออยู่จากการค้นหาประวัติ ไม่พบบันทึกการสร้าง แต่มีการบันทึกว่า เคยถูกทิ้งร้างลงหลังภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 จนกระทั่งราวปี พ.ศ.2474 พระครูภาวนารังสี ( เปลื้อง วิสัฏโฐ )ท่านเป็นชาวบางบาล ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดยม จนได้รับการยกให้เป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษา ถือว่าเป็นวัดสำคัญของตำบล จึงได้ตั้งชื่อตำบลที่ตั้งวัดแห่งนี้ ว่าตำบลวัดยมนั่นเอง แม้ว่าเราจะไม่พบบันทึกประวัติการสร้างชัดเจน แต่เราสามารถประเมินอายุได้จากศิลปกรรม เช่น เจดีย์โบราณบนฐานแปดเหลี่ยม และใบเสมาหินชนวนที่พบ จากลักษณะของเจดีย์บนฐานแปดเหลี่ยมที่พบในวัดยม มีความคล้ายกับที่วัดวังชัยในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เก่าถึงราวพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดรับกับรูปแบบของใบเสมาหินชนวนแบบเมืองเหนือ ที่นิยมสร้างในพุทธศตวรรษที่ 21 เช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าวัดยมแห่งนี้ อาจมีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นอย่างช้า หรือมีอายุมากกว่า 400 ปี ขึ้นไป สำหรับท่านที่สนใจท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ผมจึงขอแนะนำวัดยมแห่งนี้ไว้อีกวัดหนึ่ง เพราะท่านจะได้เห็นโบราณสถานอันซีน ที่หลบสายตาจากผู้คนอีกมากมาย ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook… Read More »

วัดท่าทราย วัดร้างที่เคยพบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ

คลิปจากยูทูป FaithThaiStory วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดท่าทราย ซึ่งเป็นโบราณสถานวัดร้างสมัยอยุธยานอกเกาะเมืองอยุธยา ในเขต ต.วัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างที่แอบซ่อนใกล้กับบ่อดูดทรายใกล้เคียงกับวัดช้างใหญ่ ที่หลบซ่อนสายตาผู้คนทั่วไป วัดร้างแห่งนี้ ปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่กรมแผนที่ทหาร ฉบับตีพิมพ์ พ.ศ.2463 จึงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่น้อยคนจะรู้ จากการลงพื้นที่ พบโบราณวัตถุสำคัญคือใบเสมาหนึ่งใบที่ทำจากหินชนวน ลักษณะศิลปกรรมตามรูปแบบนี้ ซึ่งผมได้ค้นข้อมูลจากหนังสือเสมา สีมา โดยอาจารย์พิทยา บุนนาค ได้กล่าวว่าเป็นเสมาแบบลูกผสม พัฒนาการมาเป็นรุ่นที่ 4 โดยมีทับทรวงเป็นรูปข้าวหลามตัด ซึ่งจะมีอายุหลังจากเสมากลุ่มวัดไชยวัฒนารามเล็กน้อย โดยจะอยู่ในช่วงกลางรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้นไป ก็คือต้นพุทธศตวรรษที่ 23 หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย จากการสันนิษฐานยุคสมัยว่าวัดท่าทรายน่าจะเป็นวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 หรืออยุธยาตอนปลาย ซึ่งมีความสอดคล้องกับโบราณวัตถุที่พบอีกชิ้นหนึ่งคือกระเบื้องเชิงชายลายเทพพนม ที่มีความคลี่คลายของลวดลายกลีบบัวเป็นกลีบแบบสะบัดพลิ้วสามชั้น ที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบซากโบราณสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโคกเจดีย์ขนาดใหญ่ รวมถึงซากผนังอาคารที่หลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย พบพระพุทธรูปสำริด จมใต้น้ำบ่อดูดทรายติดวัดท่าทราย(ร้าง) อยุธยา มีเรื่องราวในอดีต จากโพสต์ในเฟซบุ๊คของอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ได้กล่าวว่า ราวปีพ.ศ.2533 ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่หาปลาในพื้นที่ ได้พบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ จึงได้แจ้งต่อกรมศิลปากร และได้มีการขอกำลังทหารมาช่วยกันงมพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวขึ้นมาได้สำเร็จ แต่พบว่าเศียรพระพุทธรูปได้หายไป ตามชุดภาพที่ท่านได้เห็นอยู่นี้ ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลว่า พระพุทธรูปองค์นี้ ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ใด การเดินทางเข้าชมสถานที่ การเดินทางค่อนข้างสะดวก ใกล้วัดช้างใหญ่ แต่จะเป็นเส้นทางที่แคบ ซึ่งอาจจะต้องขออนุญาตเจ้าของบ้านในพื้นที่ในการจอดรถเข้าชมสถานที่ ถ้าเดินทางมาจากวัดภูเขาทอง อยุธยา ให้ไปยูเทิร์นกลับเพื่อจะมายังวัดช้างใหญ่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยแรกก่อนถึงประตูวัดช้างใหญ่ จมีซอยเล็กๆเข้าไป สามารถชมคลิปการเดินทางประกอบการเดินทางที่ผมติดไว้ให้ด้านบนบทความนี้ วัดท่าทราย เป็นโบราณสถานวัดร้างอีกแห่งหนึ่งที่หลบสายตาที่น้อยคนจะรู้… Read More »

ทำไมมีต้นพุทรามากมาย ในเขตวังหลวงโบราณ อยุธยา ?

https://youtu.be/1YjljPrBEsY ทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตพระราชวังหลวง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหลายคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นความเข้าใจผิดของหลายคนด้วยเช่นกัน ผมได้ลองค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ คือสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กล่าวว่า ต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา เริ่มปลูกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาโบราณราชธานินทร์ใช้เป็นกุศโลบายให้ประชาชนนำไปรับประทานได้ และช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลโบราณสถาน ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจอายุต้นพุทราเมื่อปี พ.ศ.2562 ว่าต้นพุทราที่เก่าแก่ที่สุด อยู่ในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา มีอายุราว 140 ปี ซึ่งจะตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง และต้นพุทราในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2562 อีกด้วย และอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ ที่บอกกล่าวเล่าเรื่องไว้โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ได้เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษในโครงการอบรมมัคคุเทศก์ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มานานหลายสิบปี โดยให้คำบรรยายและอบรมในระหว่างการท่องเที่ยวนำชมในเขตโบราณสถาน มักจะเกิดคำถามบ่อยครั้งเมื่อเดินเข้าในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ พระนครศรีอยุธยา ว่าทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตนี้?  และคำตอบจากมัคคุเทศก์ที่ได้ยินคือ กล่าวว่า ทัพพม่าได้ขนเสบียงเป็นพุทรามาเมื่อครั้งสงครามตีกรุงศรีอยุธยาจนแตก จึงได้ทิ้งเมล็ดพุทราไว้จำนวนมาก จนเกิดต้นพุทรามากมายในปัจจุบัน ซึ่งคำตอบดังกล่าวเป็นที่เฮฮา สนุกสนานของผู้เดินทางท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ตรงตามประวัติศาสตร์การบันทึก ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เล่าต่อว่า ได้บังเอิญไปค้นหาข้อมูลในวารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และได้ไปพบกับคอลัมน์และภาพถ่าย ที่เขียนและถ่ายภาพโดยคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนแห่งสยามรัฐ(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538) ซึ่งน่าจะเป็นฉบับในราวปี พ.ศ. 2505 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา ในวารสาร คุณรงค์ได้เขียนว่า ต้นพุทราในพระราชวังหลวงถูกปลูกขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2500 นานหลายปี… Read More »