Tag Archives: วันพระพุทธฉาย สระบุรี

ตำนานพระพุทธฉาย วัดพระพุทธฉาย สระบุรี

วัดพระพุทธฉาย สระบุรี ตั้งอยู่เชิงเขาปถวี (ปฐวี) ตำบลหนองปลาไหล เข้าทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธฉาย หรือ เงาพระพุทธเจ้า อยู่บนแผ่นหินซึ่งตั้งอยู่บนชะง่อนผา มีการสร้างมณฑปครอบไว้ มีลักษณะเป็นเงาสีแดงคล้ายประภามณฑล หรือรัศมีโดยรอบพระพุทธรูป คล้ายสีดินเทศ มีความสูงประมาณ 5 เมตร ค้นพบสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งค้นพบพร้อมกับรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ทุกปีจะมีงานนมัสการพระพุทธฉายพร้อมกับงานนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี มีบันไดจากบริเวณวัดด้านล่างขึ้นไปยังมณฑป และต่อไปยังหน้าผาซึ่งอยู่เหนือมณฑปขึ้นไป บริเวณเชิงผามีภาพเขียนลายเส้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพสัตว์ลายเส้นคล้ายตัวกวาง บริเวณข้างประตูเข้าพระพุทธฉาย พบภาพมือคน และภาพสัญลักษณ์ บริเวณจากถ้ำฤาษีไปทางพระพุทธฉายทางทิศตะวันตก พบภาพเขียนรูปไก่ ภาพพระพุทธรูป และภาพสัญลักษณ์ และบริเวณหน้าผา จปร. พบภาพลายเส้นขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน คล้ายภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยถูกค้นพบที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เขียนด้วยยางไม้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 3,000 ปี โดยเขียนสัญลักษณ์ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจในหมู่เดียวกัน และอาจจะเป็นสื่อทางพิธีกรรม และความเชื่อของคนในยุคนั้น ในบริเวณใกล้เคียงมีมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา และมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่อัญเชิญมาจากลังกา เมื่อ พ.ศ. 2492 และเมื่อ พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมมณฑปบนภูเขาบริเวณวัดพระพุทธฉาย และเมื่อรื้อพื้นซีเมนต์พบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาอยู่ใต้ทรายปรากฏเห็นเป็นรูปรอยประทับในหิน ตำนานแห่งพระพุทธฉาย ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารบุพพารามในนครสาวัตถี ได้ประทานอุปสมบทให้แก่พระบิณโฑละฯ ให้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วได้มอบให้พระโมคคัลลานะ พาไปปฏิบัติสมณธรรมจนกว่าจะได้สำเร็จมรรคผล พระโมคคัลลานะได้นำพาไปปฏิบัติสมณธรรมทั่วชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน หลายแห่งก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผล จึงได้มาปฏิบัติสมณธรรมในปัจจันตชนบทโดยกำหนดเอาประเทศสุวรรณภูมิ หรือประเทศไทย ณ ภูเขาฆาฏกะ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนายพรานฆาฏกะกับบริวาร จึงได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ในระหว่างที่มาปฏิบัติสมณธรรมอยู่นั้น… Read More »