Tag Archives: วัดมหาธาตุ

พระธาตุประจำผู้เกิดวันเสาร์ พระธาตุนคร วัดมหาธาตุ นครพนม

https://youtu.be/vFdy3rSRuNo สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับภารกิจเที่ยววัดตามรอยความศรัทธา วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปถึงจังหวัดนครพนม ดินแดนที่มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง มีวัดท่องเที่ยวและทำบุญมากมาย โดยเฉพาะพระธาตุพนม พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของเมืองนครพนม ที่ตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนอกของพระพุทธเจ้า) มาประดิษฐานไว้ แต่สำหรับบทความนี้ ผมจะพาทุกท่านไปชมความงาม ของพระธาตุนคร วัดมหาธาตุกันก่อน ซึ่งมีความเชื่อกันว่า เป็นพระธาตุประจำของผู้ที่เกิดวันเสาร์ จะด้วยเหตุใดนั้น ผมไม่ทราบข้อมูลเรื่องนี้ แต่ที่สำคัญคือ ผมเกิดวันเสาร์จึงต้องขอนำมากล่าวไว้ด้วยครับ ผมได้เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม โดยมีจุดประสงค์หลักคือมาสักการะ นมัสการองค์พระธาตุพนม และถือโอกาสเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาอีกหลายๆในนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งใช้เวลาเดินทางมากพอสมควร ผมกลับเข้าที่พักก็มืดค่ำ ผ่านมาในเมืองนครพนม และเห็นองค์พระธาตุนคร ตั้งตระหง่านดูสวยงามในยามค่ำคืน และที่สำคัญคือ ผมเดินทางในช่วงเข้าฤดูหนาว ก็ได้สัมผัสถึงบรรยากาศอันเย็นสบาย มีลมพัดเข้าฝั่งได้บรรยากาศดีจริงๆครับ ผมได้สอบถามเพื่อนที่พาผมเที่ยว เขาก็บอกว่าเรื่องลมจากแม่น้ำโขงมีตลอดทั้งปี   วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง บนถนนสุนทรวิจิตร เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนมหรือถนนเลียบริมแม่น้ำโขง มี “พระธาตุนคร” เป็นปูชนียสถานอันสำคัญ พระธาตุนคร มีลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ 4.85 เมตร สูง 24 เมตร มีรูปร่างตามพระธาตุพนมองค์เดิม รูปทรงตั้งบนฐานใหญ่ 2 ฐาน ต่อลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละฐานมีรูปประตูอยู่ตรงกลางบนประตูเป็นรูปคล้ายบัวบาน มีรูปและลายต่างๆ ข้างประตูทำเป็นเครื่องไม้ดอกไม้ผล รูปพระราชาทรงช้างทรงม้า ต่อจากฐานใหญ่ทั้ง 2 ขึ้นไป แล้วก็มีลักษณะแหลมเรียวขึ้นตามลำดับ ตอนกลางในด้านทั้ง 4… Read More »

เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา

เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา … ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมได้มีโอกาสเดินทางมาวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานประวัติศาสตร์ วัดแห่งนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  วัดมหาธาตุตั้งอยู่ในเขตเกาะเมือง ทำให้การเดินทางสะดวกและเป็นที่คุ้นเคยของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั่วไป สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) โปรดเกล้าให้สถาปนาวัดมหาธาตุในปี พ.ศ. 1917 แต่การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร (ปี พ.ศ.1931 – 1938) จากหนังสือโบราณคดีห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา โดย น. ณ ปากน้ำ ได้สันนิษฐานว่า วัดมหาธาตุอาจจะตั้งมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะภายในวัดพบพระพุทธรูปหินในสมัยลพบุรี และพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท (พระคันธารราฐ) ซึ่งเป็นศิลปะในสมัยทวารวดี มีอายุมากกว่า 1,500 ปี (ปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดหน้าพระเมรุ) ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์ประธานเคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกำลังทหารไปช่วยกันสร้างยอดพระปรางค์ด้วยไม้สักชั้นเยี่ยมและได้สถาปนาให้เป็นพระปรางค์ประจำชาติ และในที่สุด พระปรางค์วัดมหาธาตุก็ยังคงอยู่ที่นั้นตลอดไป การก่อสร้างวัดจะเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้น คือจะมีลักษณะให้ความสำคัญต่อพระวิหารมากกว่าพระอุโบสถ จะสร้างพระวิหารไว้ด้านหน้า ถัดมาจะเป็นพระปรางค์ประธาน และพระอุโบสถจะอยู่หลังสุดและมีขนาดที่เล็กกว่า วัดมหาธาตุจะมีความสำคัญอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีและใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ต่อมาได้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ จึงได้ย้ายไปประกอบพระราชพิธีที่วัดพระศรีสรรเพชญแทน   จุดเด่นสำคัญของวัดมหาธาตุที่นักท่องเที่ยวควรรู้จัก 1. เศียรพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะอยุธยาวางอยู่ในรากโพธิ์ จุดนี้นักท่องเที่ยวจะให้เป็นจุด Landmark ของวัดมหาธาตุเลยครับ… Read More »