Tag Archives: ลพบุรี

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

https://youtu.be/F1anpvudLhU วันนี้ผมจะพาไปชมความงดงามของเศียรพระพุทธรูปโบราณที่มีอายุกว่าพันปี หรือสมัยทวารวดี ที่มีความสมบูรณ์สวยงามมากที่สุดเศียรหนึ่งที่เคยค้นพบ เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ก่อนการค้นพบเมืองโบราณซับจำปา ได้พบโบราณวัตถุต่างๆตามพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ตั๊กแตนปาทังการะบาดในพื้นที่ ราวปี พ.ศ.2513 กรมการเกษตรจึงส่งอากาศยานเพื่อโปรยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงได้เห็นสัณฐานคูเมืองโบราณซับจำปาทางอากาศ คล้ายรูปหัวใจ จึงเกิดข่าวโด่งดังแพร่กระจายในแวดวงโบราณคดี และเริ่มมีการสำรวจทางโบราณคดีนับแต่นั้นมา โดยนำทีมสำรวจโดยอาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ อาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ ได้กล่าวว่าการสำรวจเมืองโบราณซับจำปามีความน่าสนใจเพราะมีความผสมผสานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี เช่น มีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพบเศษภาชนะ รวมถึงรูปปั้นตุ๊กตาดินเผายุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีเป็นต้น การขุดสำรวจทางโบราณคดี ได้ค้นพบโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น แต่ในสมัยนั้น การควบคุมยังลำบากเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้มีโบราณวัตถุบางชิ้นได้หลุดรอดถูกลักขโมยไปขายในตลาดต่างประเทศ โบราณวัตถุที่ขุดพบในเมืองโบราณคดีซับจำปามีมากมาย จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ซับจำปา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี ส่วนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบคือ เศียรพระพุทธรูปโบราณ สมัยทวารวดี อายุกว่าพันปี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ที่มีความงดงามและสมบูรณ์มากเศียรหนึ่ง ภาพด้านบนที่ท่านได้เห็นในขณะนี้ เป็นภาพเมื่อครั้งขุดพบเศียรพระพุทธรูปครั้งแรก จากเพจเมืองโบราณซับจำปา และชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร คุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดี ผู้ขุดสำรวจในไซต์งานครั้งนั้น ได้กล่าวว่าตั้งแต่เขาได้เรียนและอ่านหนังสือทางโบราณคดี ไม่เคยพบเศียรพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่สวยงามขนาดนี้ โดยปกติจะพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีเป็นแบบพระเนตรโปนพระโอษฐ์ใหญ่ แต่การค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีความงดงามแตกต่างจากข้อมูลที่เคยรับรู้มาก่อน และโบราณวัตถุสำคัญอีกชิ้นที่ค้นพบคือ ฐานและเสาธรรมจักรแปดเหลี่ยม มีจารึกภาษาบาลี ตัวอักษรปัลลวะ คาถาในพระไตรปิฎก 4 คาถา อายุราวพุทธศตวรรษที่… Read More »

โบราณสถานแปลกตา ปล่องระบายแรงดันน้ำประปา สมัยอยุธยา

https://youtu.be/80tyfssifJ0 วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวของท่อหรือปล่องระบายความดับน้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่อาจจะไม่คุ้นตาของใครหลายๆคน ที่ยังปรากฏให้เห็นชัดเจนในปัจจุบัน จากข้อมูลระบุว่ามีอยู่สองแห่งในเมืองลพบุรี ได้แก่ ข้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และถ้าจะกล่าวถึงระบบท่อประปา จะถือกันว่าในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเป็นต้นกำเนิดครั้งแรกในแผ่นดินสยาม ดังที่เราได้เห็นหลักฐานท่อประปาดินเผาและระบบประปามากมายในโบราณสถานต่างๆ และในเขตพระราชวัง ข้อมูลจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลพบุรี. กรมศิลปากรจัดพิมพ์ ปี พ.ศ.2542 ได้เขียนเรื่องการนำน้ำสะอาดมาใช้ในเขตพระราชวังไว้ว่า มีการนำน้ำมาจากทะเลชุบศรและห้วยซับเหล็ก ในระยะแรก รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้นำน้ำมาจากทะเลชุบศร ด้วยการสร้างประตูระบายน้ำปากจั่นและบังคับให้น้ำไหลตามท่อไปยังอ่างพักตะกอน (อ่างแก้วและสระแก้ว) จากนั้นจึงจ่ายน้ำตามท่อน้ำดินเผาที่ฝังใต้ดินเพื่อนำไปใช้ยังพื้นที่ต่างๆ โดยมีวิศวกรชาวเปอร์เซียเป็นที่ปรึกษาและออกแบบ ในส่วนของห้วยซับเหล็กได้เริ่มนำมาใช้ช่วงท้ายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เพราะต้องใช้น้ำมากขึ้นจากการสร้างเมืองที่ใหญ่ขึ้น และมีการสร้างน้ำพุภายในพระราชวัง   ซึ่งน้ำจากห้วยซับเหล็กเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ใสสะอาดที่ไหลลงมาตามซอกเขาธรรมชาติที่อยู่ในระดับสูงน้ำไหลแรงดี และเนื่องจากระยะทางค่อนข้างไกลมากห่างจากเมืองลพบุรีไปทางทิศตะวันออกราว 12 กิโลเมตร จึงมีการดำเนินการเป็นสองช่วง ช่วงแรกทำเป็นลำรางชักบังคับน้ำจากลำห้วยซับเหล็ก ยาวทอดจนมาถึงบริเวณวังศาลา(ต.ท่าศาลา เมืองลพบุรี) และมีการดำเนินงานประปาช่วงที่สองตั้งแต่วังศาลาจนถึงเมืองลพบุรีโดยวิธีการฝังท่อน้ำดินเผาลงใต้ดิน และในระหว่างเส้นทางลำเลียงน้ำเข้าเมืองลพบุรี จะมีการสร้างท่อหรือปล่องระบายแรงดันของน้ำไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นจุดผ่อนคลายแรงดันของน้ำในฤดูที่มีน้ำมาก กระแสน้ำไหลแรง ป้องกันไม่ให้แรงน้ำสูงมากเกินไป จนเกินกำลังรับน้ำของท่อน้ำดินเผา และนี่ก็คือเรื่องราวความเป็นมาของโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นสูงเด่นผ่านสายตาของหลายคนมากมาย ที่อาจไม่มีใครรู้เลยว่าคืออะไร ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไป สวัสดีครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

อันซีนลพบุรี สะพานโบราณอายุกว่า 300 ปี สะพานเรือก สมัยพระนารายณ์

https://youtu.be/A0FlFA8aRpg วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองลพบุรี เพื่อตามรอยโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันในปี 2563 กำลังได้รับการบูรณะ เพื่อเปิดเผยสู่สาธารณชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของลพบุรี นั่นก็คือ สะพานเรือก หรือสะพานคลองท่อ ซึ่งมีหลักฐานทาประวัติศาสตร์ว่ามีขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวเกี่ยวกับคลองเรือกมีความน่าสนใจ ผมจึงได้เดินทางร่วมกับเพจตามรอยวัดเก่าลุ่มน้ำลพบุรีเพื่อบันทึกข้อมูลนี้ไว้ ดังนี้ เมืองลพบุรีด้านทิศตะวันออกมีคูเมืองหลายชั้น ชั้นนอกสุดคูเมืองค่อนข้างกว้างและยังคงสภาพที่สมบูรณ์ขอคลองจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเมืองเรียกกันว่า คลองเรือก ในรายงานการเสด็จประพาสเมืองลพบุรีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ระบุชื่อคลองนี้ว่าคลองท่อ เช่นในข่าว เสด็จประพาสเมืองลพบุรีราชกิจจานุเบกษา วันที ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) ลงข่าวไว้ว่า …วันที่ ๓๑ ตุลาคม  เวลาเย็นเสด็จลงเรือพระที่นั่งพายประพาสในคลองท่อ จนถึงวัดตองปุ… …วันที่ ๑ พฤศจิกายน… เสด็จเรือพระที่นั่งพายล่องลงไปเข้าคลองเมืองด้านใต้ ทอดพระเนตรสถานที่โบราณนอกเมืองแล้วมาเข้าคลองท่อข้างใต้ ประทับวัดสัมปหล่อ (วัดสันเปาโล) แล้วเสด็จไปตามคลองท่อได้ไปออกข้างเหนือที่ทุ่งพรหมาสตร์… และมีปรากฏในหลักฐานทางประศาสตร์ในแผนที่เมืองลพบุรีสำรวจและวาดโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ชื่อ เดอ ลามาร์ เมื่อ ค.ศ ๑๖๘๗ (๒๒๓๐) ได้วาดตำแหน่งสะพานข้ามคลองท่อไว้ ๒ แห่ง คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและด้านทิศตะวันออก และในแผนที่เมืองลพบุรี จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ พ.ศ ๒๔๕๗ ระบุตำแหน่งข้ามคลองท่อด้านทิศตะวันออก ชื่อว่า สะพานราเมศร์ และน่าจะตรงกับตำแหน่งสะพานเดียวกับที่ระบุในแผนที่ของ เดอ ลามาร์ ฉะนั้นสะพานที่สร้างขึ้น ณ ตำแหน่งนี้มีมาแล้วตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ… Read More »

วัดพระยาออก วัดร้างเก่าแก่สมัยอยุธยา ในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ลพบุรี

https://youtu.be/we541R49Uto สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวไปยังวัดร้างนามว่า วัดพระยาออก ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จ.ลพบุรี และจากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า อาจมีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาตอนต้นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังประดิษฐานหลวงพ่อขาว เป็นที่สักการะของประชาชนในพื้นที่มายาวนาน จึงเป็นอีกวัดร้างหนึ่งที่น่าสนใจ การเดินทาง ผมขอแนะนำให้เดินทางไปในวันหยุด เพราะไม่มีการเรียนการสอน จึงจะมีความสะดวกที่สุดครับ วัดพระยาออกเป็นวัดร้างอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ในตำแหน่งที่ตั้งภายในเมืองชั้นใน ใกล้กับกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณป้อมด้านหน้าเมือง ชื่อของวัดพระยาออก สันนิษฐานว่ามาจากตำแหน่งที่ตั้งของวัด ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเมือง เดิมนั้นบริเวณวัดพระยาออกจะก่อฐานด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตัก 420 เซนติเมตร ขนานนามว่า หลวงพ่อขาว ด้านหลังองค์พระพุทธรูปมีกำแพงเชื่อมต่อกับองค์พระ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาคารขนาดย่อมก่อด้วยศิลาแลง และทิศตะวันตกเฉียงใต้มีบ่อน้ำทรงแปดเหลี่ยมภายในก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี ชายจีวรยาวพาดข้อพระกรซ้าย ประทับนั่งบนฐานบัว ปัจจุบันถูกพอกทับเป็นฐานหน้ากระดาน พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม คล้ายได้รับอิธิพลจากเขมร พระรัศมีเป็นเปลวได้รับอิทธิพลแบบสุโขทัย จัดเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ 2 องค์หลวงพ่อขาวหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกพบได้ไม่บ่อยนัก อาจเทียบได้กับพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี และวัดอื่นๆที่มีอายุการสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น วัดราชบูรณะ วัดพุทไธศวรรย์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่าอาคารวิหารนี้น่าจะเป็นอุโบสถเช่นกัน จากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว จึงสันนิษฐานว่า วัดพระยาออกน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ระหว่างที่เดินชมพื้นที่วิหารหลวงพ่อขาว ได้เห็นแกนพระกรองค์เดิมเป็นไม้ ซึ่งผมไม่เคยเห็นพระแกนไม้แบบนี้มาก่อน… Read More »

วัดป่าจุฬามณี วัดที่เกือบร้างท่ามกลางขุนเขา เมืองลพบุรี

https://youtu.be/At9HVTkrTIM วัดป่าจุฬามณี ลพบุรี วัดที่เกือบร้างท่ามกลางทิวเขาสวยงาม… สวัสดีครับ ท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดป่าจุฬามณี อ.เมือง จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นวัดที่อยู่เชิงเขาและมีทิวเขาสวยงามล้อมรอบในบรรยากาศที่ร่มรื่นเป็นอย่างยิ่ง แต่เกือบกลายเป็นวัดร้าง เนื่องจากที่เจ้าอาวาสรูปเดิม(หลวงพ่อประสงค์) ได้อาพาธ ทำให้ท่านไม่สามารถรับกิจนิมนต์นิมนต์ต่างๆได้ ทำให้วัดไม่มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา จากที่เคยเป็นสถานที่ปฏิบัติจึงเงียบเหงาลง จนกระทั่งท่านได้มรณภาพในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 วัดป่าจุฬามณีเงียบเหงาลงท่ามกลางความรกร้างของสถานที่ มีต้นไม้ปกคลุมดูรกทั่วบริเวณจนกระทั่งผมได้ทราบเรื่องราวของวัดป่าจุฬามณีทางโซเชียลมีเดีย Facebook เนื่องจากผู้ใช้ Facebook “Bird Erawan” ซึ่งมีอาชีพเป็นข้าราชการทหาร(ร้อยเอกธงชัย เจือจันทร์) ได้แชร์เรื่องราวของวัดในสภาพที่เกือบร้าง จนมีผู้แชร์ไปมากกว่า 26,000 แชร์ จนส่งผลให้วัดป่าจุฬามณีเป็นที่รู้จักกันในสังคมโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว และทำให้วัดเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีผู้มีจิตศรัทธาเดินทางมาช่วยทำความสะอาดสถานที่ และจะร่วมกันฟื้นฟูวัดให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมตามแนวท่านพุทธทาสดังเดิม หลวงพ่อกลชัย(รักษาการเจ้าอาวาสปัจจุบัน) ได้กล่าวว่า ตั้งใจจะบูรณะวัดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติ และต้องการจะสร้างโรงครัวรองรับการปฏิบัติธรรมในเบื้องต้นเสียก่อน จึงเริ่มมีผู้คนมาช่วยงานมากขึ้นและจะมีการจัดผ้าป่าจากผู้มีจิตศรัทธาต่อไป ผู้กองได้เขียนเรื่องราวที่มีการแชร์ไว้ดังนี้ “บุญหล่นทับ จนรับไม่ไหว” เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ไปออกโรงทานงานทอดกฐินที่ “วัดดงมณี” อ.พระพุทธบาท สระบุรี มีพี่ที่รู้จักกันคนนึง พาพระมาหาเรา แล้วพูดว่า “ผู้กองครับ…พระรูปนี้เป็นรักษาการเจ้าอาวาส “วัดป่าจุฬามณี” แถวอ่างซับเหล็กท่านอยากจะขอผ้าป่าผู้กองซักกองนึง เพื่อสร้างโรงอาหารที่วัด เพราะโรงอาหารที่วัดพังหมดแล้ว ทั้งวัดมีท่านอยู่องค์เดียว “ เราได้ฟังแล้ว ก็ตอบตกลง ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าวัดอยู่ตรงไหนของอ่างซับเหล็ก วันนี้เจอกัลยาณมิตรสายธรรม เลยเล่าเรื่องที่เราจะทำบุญงานนี้ให้ฟัง ก็ตอบตกลงที่จะร่วมทำบุญด้วยกัน เลยพากันไปดูวัด ***สภาพเห็นแล้วหดหู่ใจคือ ดูแล้วเคยเป็นวัดที่ดูเจริญในอดีตแต่ตอนนี้สถาพปล่อยร้าง สอบถามเจ้าอาวาสได้ความว่า “แต่ก่อนวัดนี้เป็นวัดที่เจริญมี “หลวงพ่อประสงค์”… Read More »

ซากวัดจมใต้น้ำเขื่อนป่าสัก โผล่ให้เห็นจากภัยแล้ง – วัดหนองบัว(ใหญ่) ลพบุรี

https://youtu.be/fqIUimCrUCk วัดหนองบัว(ใหญ่) ลพบุรี ซากวัดจมใต้น้ำเขื่อนป่าสัก โผล่ให้เห็นจากภัยแล้ง… สวัสดีครับ ท่านผู้รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปพบกับความ Unseen ของซากวัดที่จมใต้น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กว่า 20 ปี ได้โผล่ให้เห็นอีกครั้งจากวิกฤตการณ์ภัยแล้ง (ขณะเขียนบทความ ปี พ.ศ.2562) ผมได้ทราบข่าวจากหลายสำนักข่าวว่า เกิดวิกฤตการณ์ภัยแล้ง น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลดลงไปเหลือเพียง 4% (จากความจุ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือเพียง 38 ล้านลูกบาศก์เมตร) เป็นเหตุให้เกิดสภาพสันดอนใต้น้ำปรากฏให้เห็น รวมถึงซากวัดหนองบัว(ใหญ่) ที่ตั้งอยู่ที่ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สร้างขึ้นสืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 การก่อสร้างเขื่อนป่าสักฯ ดังกล่าว ทำให้ต้องมีการเวนคืนและย้ายชุมชนเพื่อทำการกักเก็บน้ำสร้างเขื่อน ซึ่งวัดหนองบัว(ใหญ่) ก็เป็นหนึ่งในสถานที่… Read More »