Tag Archives: พระพุทธบาท

บ่อน้ำโบราณ ตำหนักท่าเจ้าสนุก เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สมัยอยุธยา

https://youtu.be/r-9d4qmJuAs อันซีน อยุธยา บ่อน้ำโบราณสมัยอยุธยาที่หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “ท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นชื่อตำบลในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีเรื่องราวความเกี่ยวข้องในเส้นทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท สระบุรี มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏซากร่องรอยบางอย่างที่แสดงให้เห็นในปัจจุบัน คือ บ่อน้ำโบราณ ที่กล่าวกันว่าเป็นบ่อน้ำที่นำน้ำมาใช้ในพระตำหนักที่มีชื่อว่า “พระตำหนักท่าเจ้าสนุก” ซึ่งเป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นไว้พักแรมระหว่างทางเสด็จสักการะรอยพระพุทธบาท จึงเป็นอีกสถานที่ ที่มีความน่าสนใจตามรอยและบันทึกไว้ในการเดินทางครั้งนี้ รอยพระพุทธบาท สระบุรี ถือได้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่และมีความสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะมีบันทึกการค้นพบในพระราชพงศาวดารและมีพระราชประเพณีการเสด็จสักการะมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่องราวของท่าเจ้าสนุกจากเว็บไซต์เทศบาลตำบลท่าเรือ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ท่าเรือ เดิมเรียกว่า “นครน้อย” ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ พ.ศ. 2153 – 2171 เสด็จประพาสเพื่อไปสักการะพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทางชลมารค(ทางเรือ) ได้จอดเรือเพื่อเสด็จทางสถลมารค(ทางบก)ต่อไป ขบวนเรือหลวงมากันคับคั่งจนไม่มีที่จอดเรือ เรือราษฎร์ได้จอดเลยตัวอำเภอท่าเรือในปัจจุบันขึ้นไปจนถึงตำบลท่าหลวง ส่วนขบวนเรือหลวงก็จอดที่ท่าเจ้าสนุก เพราะมีตำหนักประทับแรมตั้งอยู่ ส่วนเรือของบรมวงศานุวงศ์ ก็จอดท่าถัดๆไปจนถึงหน้าวัดสฎางค์ ได้พักค้างแรมที่ตำหนักท่าเจ้าสนุก วันรุ่งขึ้นก็ข้ามฝั่งไปขึ้นช้างที่ท่าเกย(ติดกับบริเวณวัดไม้รวกในปัจจุบัน) แล้วพระราชดำเนินต่อไปยังอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อทรงสักการะพระพุทธบาท ภายหลังพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ ต่างเจริญรอยตามพระราชประเพณีสืบมา  ซึ่งตามหลักฐานที่ สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่บริเวณวัดตำหนักพระเจ้าทรงธรรม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าเจ้าสนุก คือ บริเวณโบราณสถานท่าเจ้าสนุกและตำหนักท่าเจ้าสนุก ซึ่งปลูกสร้างด้วยไม้จึงไม่หลงเหลือซากตำหนักให้เห็นในปัจจุบัน ซากโบราณสำคัญที่ยังหลงเหลือให้เห็นและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของพระตำหนักท่าเจ้าสนุก คือ “บ่อน้ำโบราณ” สันนิษฐานว่าเป็นระบบสาธารณูปโภค เพื่อใช้ในเขตพระตำหนักท่าเจ้าสนุก… Read More »

เขื่อนธารทองแดง เขื่อนโบราณสมัยอยุธยา ในวัดปราสาททรงธรรม สระบุรี

https://youtu.be/uqBIDvQOkA4 โบราณสถานเขื่อนดินธารทองแดง เขื่อนโบราณสมัยอยุธยา ที่ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมีความอันซีนที่หลายๆท่านอาจไม่เคยรู้ เพราะแอบซ่อนสายตาตั้งอยู่หลังวัดปราสาททรงธรรม อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี อาจจะถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมในสมัยโบราณ และเป็นเขื่อนแห่งแรกของสยามประเทศ การเดินทางถือว่าสะดวกมาก โดยให้ตั้ง GPS ไปที่วัดปราสาททรงธรรม สระบุรี ซึ่งเราจะเห็นป้ายบอกเส้นทางไปเขื่อนดินธารทองแดงอย่างชัดเจน เมื่อเดินทางมาถึงเขตพื้นที่วัดแล้ว ให้หาที่จอดรถแล้วเดินไปด้านหลังวัด หรือจะสอบถามคนภายในวัดก็ได้ครับ วัดปราสาททรงธรรม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามประวัติวัดบันทึกว่า ตั้งวัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2530 จึงเป็นวัดใหม่ที่ไม่ได้เก่าแก่มากนัก และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของเหล่าสาธุชน โดยมีการจัดสรรสถานที่ปฏิบัติอยู่บนภูเขา มีบรรยากาศสัปปายะอย่างยิ่ง เมื่อเดินมาหลังวัด เราจะเห็นลำธารทองแดง ซึ่งเป็นลำธารที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและปรากฏเห็นซากเขื่อนกั้นน้ำที่แอบซ่อนอยู่  ประวัติเขื่อนดินธารทองแดง ประวัติของเขื่อนแห่งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2173 – 2199) เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักธารเกษม ซึ่งตั้งอยู่ริมธารทองแดง และไขน้ำจากธารทองแดงมาใช้ในพระตำหนัก รวมถึงในพระตำหนักท้ายพิกุลด้วย ผมจึงได้ค้นหาเอกสารบันทึกในพงศาวดาร เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลนี้ คือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 2 สมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อผมอ่านเนื้อหาในพระราชพงศาวดารที่บันทึกถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อครั้งเสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี… Read More »

ศาลเจ้าพ่อเขาตก ศาลเจ้าสมัยอยุธยา เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สระบุรี

https://youtu.be/_3znyme6Dyo ศาลเจ้าพ่อเขาตก ศาลเจ้าสมัยอยุธยา เส้นทางสักการะพระพุทธบาท สระบุรี… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปสักการะศาลเจ้าสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นเส้นทางการสักการะรอยพระพุทธบาท สระบุรี ที่มีมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ศาลเจ้าพ่อเขาตก ตั้งอยู่ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ห่างจากมณฑปพระพุทธบาทราว ๓ กิโลเมตร มีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์มากมาย แต่ผมได้พบชื่อศาลเจ้าแห่งนี้บ่อยครั้ง ในการเสด็จประพาสสระบุรี ของในหลวงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์เสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี และประพาสถ้ำแถบนี้มากมายและโปรดเกล้าฯ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ไว้หลายแห่ง อาทิ แท่งหินบนเขาพระพุทธบาท, ถ้ำวิมานจักรี, ถ้ำมหาสนุก เป็นต้น เนื่องจากเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่และมีบันทึกว่า รัชกาลที่ ๔ และ ๕ พระองค์ได้เสด็จมาสักการะบ่อยครั้ง ผมจึงได้เดินทางไปสักการะศาลเจ้านี้และนำเรื่องราวมาแบ่งปันครับ การเดินทางถือว่ามีความสะดวก เพราะมีถนนตัดผ่าน โดยศาลเจ้าตั้งอยู่ริมถนนมีป้ายบอกชัดเจน โดยการเดินทางจากพระพุทธบาท สระบุรี ไปทางอำเภอบ้านหมอ หรือจะใช้วิธีตั้ง GPS จาก Google Map ก็ถือว่าสะดวกดีครับ เมื่อเดินทางมาถึง มีบรรยากาศที่ค่อนข้างเงียบอาจจะเป็นเพราะผู้คนเดินทางไปสักการะศาลเจ้าพ่อเขาตกที่ตั้งใหม่บริเวณวงเวียนใกล้มณฑปพระพุทธบาท ซึ่งมีความสะดวกมากกว่า ถึงแม้จะมีความเงียบแต่สภาพมีการดูแลรักษาความสะอาดที่ดีอยู่ครับ  เทวรูปเจ้าพ่อเขาตก องค์ด้านบนเป็นองค์ที่รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยมีจารึกที่ฐานองค์เทวรูป ประวัติศาลเจ้าพ่อเขาตก จากคำบอกกล่าว ศาลเจ้าพ่อเขาตก เป็นเทวรูปในศาลเจ้าที่ตั้งอยู่เชิงเขาที่เรียกกันว่าเขาตก ตั้งอยู่ห่างจากมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี ราว 3 กิโลเมตร… Read More »

จารึก จปร. บนแท่งหินจากภาพวาดของมูโอต์ และวิหารร้างบนเขาพระพุทธบาท สระบุรี

  คลิปจาก FaithThaiStory ตามรอยวิหารร้างและจารึกพระปรมาภิไธย จปร. ร.ศ.๑๑๕ บนแท่งหินซึ่งปรากฏภาพแท่นหินนี้จากภาพวาดของ อ็องรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสำรวจในสมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๔๐๑ – ๒๔๐๔) จารึกนี้เป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งที่ รัชกาลที่ ๕ เสด็จสักการะพระพุทธบาท สระบุรี ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๙ (ร.ศ.๑๑๕) สวัสดีครับ ท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทางวัฒนธรรมทุกท่าน การเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางร่วมค้นหาโบราณสถานบนเขาพระพุทธบาท โดยมีทีมร่วมเดินทางจากเพจภารกิจเที่ยววัด และ เพจตามรอยวัดเก่าลุ่มน้ำลพบุรี ผมได้รับข้อมูลว่า มีวิหารร้างบนเขาพระพุทธบาท แต่น้อยคนจะทราบว่ามีโบราณสถานด้านบนนี้ นอกจากวิหารร้าง ยังพบซากโบราณสถานอีกหลายจุด เช่น วิหารแกลบ หอระฆัง เจดีย์ รวมถึงพบจารึก จปร. บนแท่นหินสูงอีกด้วย และมีข้อมูลว่าแท่นหินนี้ ได้ถูกสเก็ตภาพไว้โดย อ็องรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสในระหว่างการเดินทางไปยังเขาพระพุทธบาท แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่าก้อนหินนี้อยู่ตรงไหน  การเดินทางครั้งนี้จึงเป็นการค้นหาโบราณสถาน แท่นหินในประวัติศาสตร์และจารึก จปร. พระพุทธบาทที่นี่ ถือเป็นพระพุทธบาทที่มีความเก่าแก่ และเป็นรอยพระพุทธบาทที่ค้นพบเป็นรอยแรกในผืนแผ่นดินไทย ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่พระสงฆ์กรุงศรีอยุธยา เดินทางไปสักการะพระพุทธบาทยังลังกา และได้รับทราบข้อมูลว่าที่กรุงศรีอยุธยาก็มีรอยพระพุทธบาทตามพระคัมภีร์ และถูกค้นพบในเวลาต่อมาโดยนายพรานบุญ เป็นผู้ค้นพบคนแรก หลังจากที่กราบสักการะรอยพระพุทธบาท เป็นที่เรียร้อยแล้ว จึงได้เดินทางขึ้นไปบนเขาพระบาทเพื่อหาซากโบราณสถานทันที ก่อนไปถึงยอดเขา จะผ่านจุดที่เรียกว่าพระพุทธฉาย ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างและเขียนขึ้นภายหลังให้สอดคล้องกับที่วัดพระพุทธฉาย สระบุรี เมื่อเดินขึ้นมาจนถึงหน้าถ้ำพระนอน จะมีทางบันไดลงไปตามทาง… Read More »

วัดสุทธาวาส วิหารพระพุทธบาทและพระพุทธฉายเก่าแก่ที่สิงห์บุรี

https://youtu.be/_EoI77rpSls วัดสุทธาวาส สิงห์บุรี มีโบราณสถานที่น่าสนใจได้แก่ อาคารที่ประกอบด้วยประติมากรรมพระพุทธฉาย ภายในมีประติมากรรมปางถวายพระเพลิงและวิหารพระพุทธบาท  สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดสิงห์บุรี ที่มีโบราณสถานน่าสนใจรวมถึงภาพจิตรกรรมโบราณให้ได้ศึกษา นั่นก็คือ วัดสุทธาวาส วัดสุทธาวาส ตั้งอยู่ที่ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี การเดินทางสะดวกมากครับ สามารถใช้ GPS นำทางได้ และก็เช่นเดิม บรรยากาศภายในวัดเงียบสงบ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าวัดจะเห็นอาคารโบราณสถานตั้งอยู่อย่างชัดเจนครับ ภายในอาคารโบราณสถานนี้ มีประติมากรรมปางถวายพระเพลิง (คล้ายกับที่วัดกลาง นครหลวง) ซึ่งวันที่ผมเดินทางไปชมนั้นมองไม่เห็นถึงประติมากรรมนี้ได้ชัดเจนนัก เพราะมีหญ้าขึ้นรก จึงได้ค้นหาภาพเก่าของอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ที่ได้มาสำรวจก่อนแล้วเมื่อปี พ.ศ.2541 ลักษณะจะเป็นโลงพระพุทธเจ้ามีพระบาทยื่นออกมา และพระมหากัสสปะเถระประคองอัญชลีที่พระบาท ภายในอาคารยังพบซากพระพุทธรูปหินทรายและปูนปั้นอยู่บางส่วน หลังจากชมอาคารโบราณสถานหน้าวัดแล้ว จุดต่อไป เราจะไปชมวิหารพระพุทธบาทภายในวัดกันครับ ภายในวิหารพระพุทธบาท มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวในพุทธประวัติตั้งแต่เสด็จหนีจากพระราชวังเพื่อออกผนวช จนกระทั่งการถวายพระเพลิง สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาบที่ 5 ด้านหน้าทางเข้าวิหารพระพุทธบาท มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยและปางป่าเลไลยก์ที่ชำรุดไปมากแล้ว ภาพจิตรกรรมจะมีสอดแทรกธรรมเนียมร่วมสมัยประกอบในพุทธประวัติ เช่นในภาพเสด็จหนีออกผนวช มีภาพธงช้างเผือกเป็นต้น  ภาพจิตรกรรมผนังฝั่งขวา จะเป็นภาพอธิบายพุทธประวัติหลังปรินิพพาน ซึ่งสอดแทรกธรรมเนียมร่วมสมัย มีกระบวนแห่พระบรมศพ, การถวายพระเพลิง และโทณะพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จิตรกรรมด้านบนทางเข้า จะเป็นภาพพระมาลัยบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กำลังสนทนากับพระอินทร์ มีพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์เป็นเจดีย์ประธาน หลังจากเที่ยวชมและเก็บภาพจิตรกรรมภายในวิหารพระพุทธบาทแล้ว จึงได้ออกเดินชมพื้นที่ภายในวัดครับ เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีความประทับใจเกี่ยวกับภาพจิตรกรรม ซึ่งแม้ไม่เก่ามากแต่สัมผัสได้ถึงความสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ จึงขอแนะนำให้ทุกท่านลองไปเก็บภาพเที่ยวชมกันครับ ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีครับ…แอดมินตั้ม ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook… Read More »

เหตุผลที่ต้องขึ้นเขาวงพระจันทร์ สักการะพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาท วัดเขาวงพระจันทร์ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี เป็นสถานที่วัดกำลังใจอีกสถานที่หนึ่งที่ได้รับความสนใจของนักท่องเที่ยวและทำบุญ เพราะต้องใช้กำลังกายและกำลังใจในการเดินขึ้นเขาวงพระจันทร์ ความสูง 3,790 ขั้นบันได รวมระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตร เพื่อกราบสักการะรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาแห่งนี้ แม้ว่าผมจะเดินทางขึ้นเขาวงพระจันทร์แห่งนี้มาหลายครั้ง แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายในการเดินทางอยู่เสมอ เพราะตามความเชื่อ ได้กล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาไว้อย่างน่าสนใจ ผมจึงขอถือโอกาสนี้ นำเสนอเรื่องราวของเขาวงพระจันทร์ที่ไม่ควรพลาดที่จะไปพิชิตสักครั้งหนึ่งในชีวิต เหตุผลที่ต้องขึ้นเขาวงพระจันทร์ 1. หลวงพ่อโอภาสี เคยขึ้นมาปฏิบัติธรรมบนยอดเขาวงพระจันทร์แห่งนี้ และเปิดเผยถึงตำนานอัศจรรย์ของรอยพระพุทธบาทแห่งนี้แก่หลวงปู่ฟัก ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาส วัดเขาวงพระจันทร์ เรื่องราวตำนานรอยพระพุทธบาทเขาวงพระจันทร์อ่านได้ที่ลิ้งก์นี้ https://www.faiththaistory.com/buddha-footprint-wongprajan 2.เป็นการตามรอยเส้นทางธุดงค์ของหลวงพ่อปานโสนันโท ที่ได้นำคณะศิษย์ออกเดินทางธุดงค์มาถึงเขตนี้ หนึ่งในคณะศิษย์คือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และยืนยันเรื่องความศักดิ์สิทธิ์เร้นลับไว้หลายเรื่อง รวมถึงเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหลายองค์อีกด้วย บันทึกเหตุการณ์เร้นลับการธุดงค์ของหลวงพ่อและหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาที่เขาวงพระจันทร์ https://www.faiththaistory.com/lp-khao-wong 3.ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน ก่อนถึงวัดเขาวงพระจันทร์ เป็นเทวดาบริวารของท้าวเวสสุวรรณ ที่หลวงพ่อปานและหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้สัมผัสถึงฤทธิ์เมื่อครั้งธุดงค์มาถึงสถานที่แห่งนี้ 4.กราบสรีระสังขารหลวงปู่ฟัก อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาวงพระจันทร์ที่ศาลาไม้ 5. หลวงตามหาบัวเคยเดินทางขึ้นเขาวงพระจันทร์เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท และเขียนบันทึกในประวัติหลวงปู่มั่นกล่าวว่า บนยอดเขาวงพระจันทร์แห่งนี้ เคยมีพระอรหันต์มานิพพานอีกด้วย ซึ่งถูกบันทึกในหนังสือ ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ 6.เป็นการท่องเที่ยวและออกกำลังกาย ขึ้นเขา 3,790 ขั้นบันได ระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตร ทั้งหมดนี้คือการสรุปเหตุผลในทัศนะของผม ที่เราต้องขึ้นเขาวงพระจันทร์ โดยเฉพาะเรื่องราวที่มีบันทึกในประวัติครูบาอาจารย์อย่างชัดเจน เพื่อเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของแต่ละบุคคลต่อไปครับ บรรยากาศขึ้นเขาวงพระจันทร์ ครั้งที่ ๔ ช่องทางการติดตามเรื่องราว ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel… Read More »